​หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 29-31 สิงหาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำ

ขอต้อนรับลูกศิษย์หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) ทุกท่านอย่างเป็นทางการ

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นผู้จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาผู้นำ ผู้บริหาร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 6 ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวหลักสูตร

http://www.gotoknow.org/posts/613445

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 6-21 กันยายน 2559

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 29 สิงหาคม 2559

การอภิปรายหัวข้อ Networking Developments and Management Forum

โดย นายนิพนธ์ บุญญามณี

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

นายสุริยา ยีขุน

นายกเทศมนตรีตำบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา

นายสุภโรจน์ ทรงยศ

ประธานศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านม่าหนิก

ร่วมดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การบริหารที่ยากอย่างหนึ่งคือการบริหารเครือข่าย Network คือการรวมตัวของกลุ่มที่ต้องมีการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ สิ่งใดที่เชื่อมโยงและทำให้ภาควิชาการเป็นภาคที่สำคัญ

เครือข่ายเปรียบเสมือนก้อนหินแต่ละก้อนมารวมกัน มีเรื่องกระทบกระทั่ง และความคิดไม่ตรงกัน ซึ่งเราต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร

การแบ่งตัวละครเป็น 4 กลุ่ม คือ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคชุมชน

ภาครัฐเป็นภาคที่กำหนดนโยบาย เป็นต้นน้ำ แต่อย่างไรก็มีปลายน้ำคือภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคชุมชน หลายเครือข่ายต้องใช้ความร่วมมืออย่างยิ่ง

นายนิพนธ์ บุญญามณี

คิดว่าสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการนำไปสู่เป้าหมาย มี 2 สิ่งที่ต้องมีคือต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์

1. ความรู้ แม้มีความรู้มากมาย แต่ต้องมี 2.ศิลปะและประสบการณ์ หมายถึงการมีทฤษฎีอย่างเดียวจะทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการได้

การบริหารเครือข่ายจะเป็นส่วนช่วยในการทำงานให้ประสบความสำเร็จของรัฐ

ทำไมต้องมีเครือข่าย

1. ทำให้งานหรือปริมาณงานขยายตัวไปได้สู่สิ่งกว้างขวาง

2. งบประมาณ คน ที่ต้องบริหารจัดการ แต่เราจะใช้คนและงบประมาณอย่างประหยัดได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของหลักการบริหาร ดังนั้นการบริหารงาน คน งบประมาณต้องไปด้วยกัน ยิ่งมีเครือข่ายมากเท่าไหร่เราจะช่วยลดงบประมาณไปได้มากเท่านั้น เราจะทำอย่างไรให้ทำงานให้สำเร็จโดยไม่ใช้งบประมาณ

ได้ยกตัวอย่างพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน ทำไมเหมาเจอตุงถึงทำประสบความสำเร็จ

ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย เกิดโดยจิตอาสาล้วน ๆ

ในปี 2548-2549 ประเทศไทยมีแนวทางที่จะจัดทำแพทย์ฉุกเฉิน มีหน้าที่จัดอบรมหลักสูตร ข้อปฏิบัติทางแพทย์เท่านั้น

การทำให้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมทุกพื้นที่และมีมาตรฐานเดียวกันต้องให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เราจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ โดยรัฐลงทุนไม่ซ้ำซ้อน โดยต้องวางมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินเป็นระบบเดียวกันแล้วเชิญท้องถิ่นมาร่วม มีการสร้างตัวชี้วัดในเรื่องเครือข่ายว่าเอาองค์กรการกุศลที่มาร่วมมือกับการแพทย์ฉุกเฉินได้มากน้อยเพียงใด สรุปคือ ความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากเครือข่ายที่ช่วยขับเคลื่อน แต่ทำอย่างไรให้มีมาตรฐานเดียวกัน ตัวอย่างเช่นมีการทำ MOU เรื่องการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ บุคลากร รถรับส่ง สังเกตได้ว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินประสบความสำเร็จเพราะมีเครือข่ายจาก อบจ. อบต.เข้าร่วมด้วย มีการเชื่อมโยงในการนำเทคโนโลยีด้านการนำแผนที่มาใช้ประกอบด้วย สรุปคือการร่วมกันจะช่วยลดภาระงบประมาณ และมีการรวมศูนย์สั่งการกันได้ ตัวชี้วัดอยู่ที่การพัฒนาของคนว่ามีตัวชี้วัดที่ดีอย่างไร ระบบสาธารณสุขของประเทศ เป็นสิ่งที่ประเทศอื่น ๆ อยากทำเหมือนประเทศไทยบ้าง

สิ่งที่ทำมี 1. ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2. ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุใน 30 ปีข้างหน้า 3.อสม.ผู้เชี่ยวชาญ มีการเอาคนมาอบรม มีการช่วยดูแลสุขภาพประจำตำบล 4.ลานออกกำลังกายและลานกีฬาของผู้สูงอายุ มีการจัดมหกรรมช่อลำดวนเกมส์ มีลานกีฬาให้คนออกกำลังกาย

ดังนั้นการทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้สำเร็จต้องมีเครือข่าย มีการถ่ายโอนศูนย์กีฬาจาก กกท. มาที่ อบจ. ใช้งบประมาณจ่ายเงินคนน้อยมากเนื่องจากเน้นการบริหารเครือข่าย ดังนั้นเวลาไปทำงานในพื้นที่ไหน ให้นำคนเหล่านั้นมาเป็นเครือข่าย แต่อย่าไปเจ้ากี้เจ้าการหรือครอบงำในทุกเรื่อง ต้องให้เขาคิดเอง เลือกหัวกะทิที่เราจะไปคุยเก่ง เชิญมาทำงานด้วยจะทำให้ถือว่าได้บุคลากรที่เก่งมาทำงานร่วมกัน สรุปคือการให้คนมีความรู้ ส่งคนไปเรียนยากและใช้เวลาในการพัฒนากว่าจะเก่ง

มีการจัดอบรมและคนผ่านหลักสูตรการแพทย์ฉุกเฉินที่สงขลามีมากที่สุด

สรุปคือ ระบบเครือข่ายมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทั้งสิ้น อยู่ที่เราจะคาดหวังอย่างไร ม.อ.จะเอาองค์ความรู้ที่ ม.อ.มีอยู่ไปพัฒนาในพื้นที่ในจังหวัดสงขลาอย่างไร ตัวอย่างเช่นเมื่อมีคนมาเที่ยวที่สงขลาแล้วเกิดอุบัติเหตุจะมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินไปทันที เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วย และ ม.อ.จะทำอย่างไร

1. ระบบความเชื่อมั่นต้องมาก่อน เพราะความเชื่อมั่นเป็นเรื่องใหญ่ของการเข้ารับบริการ ความเชื่อมั่นเป็นความสำเร็จของทุกโครงการ

สิ่งที่ทำ

- มีการจัดอบรมเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำงาน ถ้าตำบลไหนไม่ได้อบรมหรือผ่านหลักสูตรจะไม่ให้รถ

- มีการนำกล้อง CCTV มาติดกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มีการนำตำรวจมาเป็นเครือข่ายของการแพทย์ฉุกเฉิน

สรุปคือ เครือข่ายนอกจากช่วยลดงบประมาณ และลดคนแล้วยังทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการดำเนินงาน อะไรที่ดีให้นำมาใช้

การชวนคนเป็นแนวร่วมต้องไปหาเขา แต่อย่าไปแสดงว่าตัวเองใหญ่กว่าเขาต้องเข้าไปด้วยการให้เกียรติ ต้องมีท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติคนที่ทำงานร่วม

การทำงานแนวร่วมให้ดี ต้องมีการให้เกียรติคนที่ทำงานด้วย ตัวอย่างเช่นโคนันทวิสาน เป็นตัวอย่างของการให้คนพูดจาอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่มาตะคอก ขนาดเป็นสัตว์ยังต้องพูดด้วยดี ๆ สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำเร็จหนึ่งของการพัฒนาเครือข่าย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กล่าวถึงการหาแนวร่วม และการใช้ศิลปะในการบริหารจัดการ มีการหาแนวร่วมที่คนโดยทั่วไปไม่มี มีการทำให้เห็นเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายที่เป็นอิสระแก่กัน ได้อธิบายถึงแนวร่วมซึ่งมีหลายเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันได้

เรื่องเครือข่ายส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่น่าสนใจและสำคัญ ตัวอย่างจากงานที่ทำเป็นการย้ายจากการสร้างสาธารณูปโภคมาสู่สาธารณสุขสงขลา

สิ่งที่คุณนิพนธ์พูดสอดคล้องกับการทำงานของ ดร.จีระ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปที่คุณนิพนธ์กล่าวเรื่อง Economic of Networking

1. Save คน

2. Save งบประมาณ

อยากให้คนในห้องนี้มีศักยภาพ มีทัศนคติทีอยากไป Networking หรือไม่

ความสำเร็จเกิดจาก

1. ความศรัทธาของตัวละคร

2. การสร้างความยอมรับ

3. ความต่อเนื่อง ต้องส่งคนที่ให้เขามีทัศนคติที่ดี และชอบการเรียนรู้ มีพื้นฐานของการยอมรับความเสมอภาค ต้องลด Ego

4. Mutual Benefit คือการได้ทุกคน

ขอให้ทั้ง 5 กลุ่มคิดเรื่อง Networking และเสนอ Case ที่ Reality

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จากที่คุณนิพนธ์กล่าว มี Economic Networking มีเรื่อง Team Commit

นายสุภโรจน์ ทรงยศ

จังหวัดภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่สุดในประเทศไทย ที่บ้านเป็นภูเขา น้ำตก นกร้อง อ่างเก็บน้ำ มีธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยว ได้คิดว่าจะทำอย่างไรที่ทำให้เกิดสิ่งที่มีประโยชน์ในชีวิต ได้ไปคุมงานก่อสร้างที่เขาหลัก ได้ไปพื้นที่ที่เกิดเหตุสึนามิ เห็นศพและมีคนตาย มีอาสาสมัครลงไป ไปช่วยอาสาสมัคร และสถานทูต ได้มองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง แม้เจ้าของโรงแรมก็ตาย จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ จึงกลับไปปลูกผักปลอดสารพิษ และการออกกำลังกาย มีการสร้างเครือข่ายของคน โดยเริ่มจากเพื่อนหรือคนใกล้ตัวก่อน คนไหนชอบเรื่องไหนก็ไปคุยเรื่องนั้น

ความคิดต่อมาคือการสร้างกลุ่มขึ้นมาต้องสร้าง Story ขึ้นมา เอาศูนย์ฯ สร้างที่เรียนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีแนวคิดในการน้อมนำสาสน์ของพระราชาฯ มาใช้ในส่วนที่ไม่มี

1. สร้าง Story ขึ้นมา

2. มีความอดทนในการตั้งใจทำอย่างต่อเนื่องแล้วจะมีคนเข้ามาช่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ

การเริ่มต้นเกิดจาก 1. การสร้างศรัทธา 2.มีการปฏิบัติ 3. มีการประสานงาน 4. มีการแบ่งระยะสั้น กลาง ยาวในการทำงาน โดยเปรียบเทียบเป็นพืช 5 ประเภท

  • พืชปัญญาอ่อน
  • พืชฉลาด
  • พืชพี่เลี้ยง
  • พืชบำนาญ
  • พืชมรดก

ตัวอย่างการเชื่อมโยงเครือข่าย ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำอุตสาหกรรมโดยรวม ทำการแพทย์ทางเลือก การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพ การทำสมุนไพร มีการนำการวิจัยมาช่วยในการพัฒนาเครือข่าย

จากสมาชิก 20 คน มีขยาย 30-40 คน

ทำงานด้วยความขาดแคลนแต่ไม่อาศัยความขาดแคลนเป็นเรื่องยาก เช่นการสร้างบ่อน้ำน้ำไม่ซึม

การทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง และต้องการปลูกฝังไปในมนุษย์ให้รู้จักพอ เราสามารถโปร่งใสและผูกเชื่อมโยงเครือข่าย ได้รับรางวัลสิงห์ทองในการบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของประเทศ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Networking ต้องไปสร้างสะพานต่อแล้วให้ทำต่อเนื่องเป็น Mutual Benefit ได้แนวคิดของ Economic of Networking คือลดคนและลดงบประมาณ ตัวอย่างที่สะเดาการขนส่งมีมูลค่ามหาศาล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เครือข่ายสร้างได้ตลอดเวลา

นายสุริยา ยีขุน

วันนี้เป็นเสมือนการมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น

การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น

จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ

1. การอยู่บนพื้นฐานในสิ่งที่เรามี จะทำให้เราไม่สามารถไปไหนได้

2. ทำอย่างไรให้เกิดการมีอิทธิพลได้ ต้องมีองค์ประกอบที่ดีด้วย เราต้องสามารถคิดอะไรที่เป็นตัวช่วยในการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ชีว Management

3.เปลี่ยนวิธีคิด เราต้องเรียนรู้ที่จะคิดก่อน ก่อนก้าวสู่เครือข่ายเชื่อมโยง

โมเดลจากการสร้างเครือข่ายที่จะเริ่มต้นและเกิดการเชื่อมโยงต้องเกิดจากการคิดก่อน ตัวละครที่สำคัญในพื้นที่ หนีไม่พ้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างในมหาวิทยาลัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การนำเรื่องสะเดาModel หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นต้อองคิดตั้งแต่เกิดจนตาย

4. เรื่องการสร้างความแตกต่าง เอาสิ่งที่มีความเป็นตัวตนขึ้นมาก่อน ให้ดูว่าตัวเองมีทุนอะไรเป็นพื้นฐาน เมื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้น ด้วยการอยู่ด้วยกันจะนำวัฒนธรรม วิถีชุมชนออกนอกภายนอกได้อย่างไร สามารถทำเรื่องท่องเที่ยวได้ ต้องทำให้เห็น นำเรื่องชุมชนมากองที่โต๊ะว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร

- สะเดามีวัฒนธรรมชุมชน แม้ไม่มีทะเล ภูเขา ก็สามารถนำเอาวัฒนธรรมชุมชนมาสู่การเปลี่ยนผ่านนักท่องเที่ยวเข้ามาในเขตสะเดา

- ความเชื่อมโยงระหว่างพี่น้องไทยพุทธในมาเลเซีย และในไทย นำสิ่งนี้มาเป็นตัวเชื่อม สร้าง Story ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวขายในการเข้าไปเยี่ยมญาติที่เป็นตัวเสริมขึ้นมา

- ด้านอาหารการกิน มีนักท่องเที่ยวมุสลิมเข้ามามาก ดังนั้นร้านอาหารที่ Support อาหารฮาลาล ต้องพยายามให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปหามา

- กลุ่มที่มาทัศนศึกษา และโครงการแลกเปลี่ยนมาทางรถบัส จุดนี้ถ้าสามารถบริการเรื่องความสะดวก เรื่องอาหาร การประกอบศาสนกิจ จะเป็นตัวช่วยได้ สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน ส่งเสริมให้มีทักษะการคิดทางการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงผลประโยชน์ทางการท่องเที่ยว ดังนั้นอปท.ต้องเป็นตัวเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน ต่อจิ๊กซอว์ภารกิจเดียวกัน ที่ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืนในอนาคตได้ และท้องถิ่นไม่ควรนิ่งเฉย มีเวทีที่ให้ท้องถิ่นมาคุยกันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เกิดมาแล้วได้ประโยชน์อะไรจากเขตเศรษฐกิจพิเศษบ้าง จะมีการตื่นตัวมากขึ้น มีการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน มีการแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ได้ คนที่คิดต้องฟังเพื่อนำมาใช้กับพื้นที่ด้วย ประโยชน์จะทำอย่างไรให้เขตเศรษฐกิจสะเดาสามารถฟังในระดับพื้นที่มากขึ้นได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เห็นว่าการสร้างเครือข่ายมาจากการแก้ปัญหาเช่นการจัดการขยะ แต่อย่างไรก็ตามได้มองเห็นถึงโอกาสด้วยว่าจะช่วยเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างมาก เนื่องจากมีสะเดายั่งยืนเข้ามา

นายนิพนธ์ บุญญามณี

จากที่ผ่านมาพบว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษไม่ได้คิดมาจากว่าคนในพื้นที่ได้อะไร เป็นเพียงมองจากนโยบายข้างบน สิ่งที่ได้ส่วนหนึ่งคือการสร้างงาน แต่คนสะเดาได้อะไรต้องดูตรงนี้ด้วย ให้เอาทุกตำบลมาคุยกันก่อนว่าแต่ละตำบลมีจุดแข็งอย่างไร ต้องไปคิดเอง เพราะเราต้องการใช้แนวร่วม อย่าคิดอะไรที่เป็นสูตรสำเร็จ ประเทศไทยคิดให้เหมือนกันทั้ง 76 จังหวัดไม่ได้ ต้องรู้ว่าแต่ละจังหวัดมีจุดแข็งอะไร ไม่ต้องทำอะไรเหมือนกัน เริ่มคิดตรงนี้แล้วสร้างแนวร่วม แล้วจะสร้างองค์กรเครือข่ายเพื่อการท่องเที่ยวได้อย่างไร

สรุป

นายสุริยา ยีขุน

1. การเจริญเติบโตและให้เห็นถึงความต่อเนื่อง มีเครือข่ายที่อยู่กับเราคือ Play and Learn คือเล่นบ้างจริงบ้าง แต่ขอให้สาระดี การเชื่อมโยงเครือข่ายจะมีกิจกรรมให้เกิดความศรัทธาและยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งเนื้อหาจะยอมรับได้ เครือข่ายที่มาร่วมจะหาข้อมูลเบื้องต้นว่ามีปัญหาอะไร อะไรที่แก้ไม่ตกแล้วมาลงที่สุขภาพทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ และขยะ ให้นำตัวละครที่มาร่วมกับเราเป็นผู้เล่นด้วย การสร้างเครือข่ายในเบื้องต้นจะค่อย ๆ กระชับขึ้นมา สร้างให้มีกิจกรรมที่เชื่อมร้อยและให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกัน

2. การสร้าง Connection หรือเชื่อมร้อย ตัวที่สำคัญที่สุดคือตัวเดินเรื่องหรือ Issue Based ได้ยกตัวอย่างของ ดร.ปาริชาติ ว่ามีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนในเดือนตุลาคม จะจัดสะเดายั่งยืนจะเป็นอย่างไร การไปเที่ยวกระบี่ ภูเก็ต ต้องหยุดเหลียวน่า แลหลังที่สะเดา เน้นการสร้าง Connection ที่ต่างประเทศด้วย การขยายตัวความเป็น Network มากยิ่งขึ้นจะใช้ Issue เป็นตัวนำ จะนำเรื่องก่อสร้างไปเน้นการเชื่อมโยงได้ ความเป็นมาตรฐานหรือนวัตกรรม โครงสร้างหรือนวัตกรรม เราจะนำคนที่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสายช่างมาเรียนรู้ได้อย่างไร การใช้ความสัมพันธ์เชิงโมเดลแบบแนวราบจะเป็นอย่างไร แต่ละคนอยากทำของตัวเอง แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การสร้างประเด็นร่วมกันจะทำอย่างไร

3. การสร้างโมเดลส่งเสริมการท่องเที่ยวจะเชื่อมโยงไปชุมชนและท้องถิ่นอย่างไร การนำองค์ความรู้ไปเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงจะทำได้อย่างไร การทำให้เห็นแก้ปัญหาและทำให้เห็นผล ชาวบ้านได้ประโยชน์ เน้น Issue ของท้องถิ่นเป็นปัญหาของชุมชนและสังคมอย่างไร

4. การท่องเที่ยวในสะเดาจะไปตอบโจทย์คนสะเดาถามได้ว่าถ้าเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้น คนสะเดาจะได้อะไร คนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นปลื้ม ภูมิใจ มีคุณค่าต่อคนในพื้นที่นั้น ๆ และสามารถสร้างจุดเปลี่ยนได้ว่าแม้เขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้นจะนำเรื่องการท่องเที่ยวมาสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องอย่างไร

นายสุภโรจน์ ทรงยศ

ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ใช้เวลาตอนเย็นหลังเลิกงาน มีแม่บ้านมาช่วยในการทำงาน ความเหน็ดเหนื่อยหรือความลำบากใจในการส่งไม้ต่อค่อนข้างหนักใจ แต่อย่างไรก็ตามก็มีความหวัง เราจะทำให้คนรับรู้ได้อย่างไร อย่าง ดร.จีระ อยากทำให้มีรายได้สู่ชุมชนชั้นล่าง มีการทำ SWOT มองหาจุดเด่น จุดด้อย โอกาส ทิศทาง วิสัยทัศน์ พันธกิจ เพื่อส่งต่อให้รุ่นต่อไป แต่ก่อนส่งต่อต้องทำให้เข้มแข็งก่อน พยายามสร้างแล้วผลักดันให้ไปถึงฝั่งของมหาสมุทร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชุมชนเต็มแล้ว เงินที่จะเข้าไประดับกลางและล่างขึ้นกับบทบาทของ ม.อ. ด้วย ต้องเปลี่ยนจาก Local Standard เป็น Global Standard ผู้นำของ ม.อ.จะรวมตัวกันอย่างไรในการสร้างมูลค่าเพิ่มของมหาวิทยาลัย อยากให้มุ่งมั่น เด็กรุ่นใหม่ต้องทำงานเป็นทีม และทางด้าน Resource จะมีมูลค่ามหาศาล ต้องสามารถ Turn Networking เป็น Productive Networking และการ Raise fund ไม่สามารถทำคนเดียวได้

นายนิพนธ์ บุญญามณี

เรื่องยากที่สุดที่จะทำคือเรื่องคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวังวน ความคิดเก่า สิ่งแวดล้อมเก่า ตัวอย่างตอนทำการแพทย์ฉุกเฉิน มีแนวคิดบอกว่าเป็นของสาธารณสุขจังหวัด อบจ.มายุ่งอะไรด้วย มีปัญหาเรื่องอาณาจักรทันที วิธีการคือให้ไปหาคนที่สามารถพูดได้ก่อน คนพูดยากไว้ทีหลัง พูดคุยกับคุณหมอประสิทธิ์ที่ ม.อ. เรื่องการอบรมคน และอีกคนคืออาจารย์ภควัฒน์ ที่ ม.หาดใหญ่ คุยกันเรื่องการสั่งการสามารถคุยกันผ่านทางไลน์ได้ มีการทำห้องเพื่อรวมศูนย์มาไว้ที่เดียว มีการสร้างห้องที่รวมกล้อง CCTV สามารถดูได้ทั้งหมด

สรุปคือให้แสวงหาจุดร่วมกันก่อน แล้วเอาจุดต่างไว้ที่หลัง ใช้คู่กับหลักของการอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติคนที่เราไปหา มีอะไรที่เราสามารถทำร่วมกันได้ก่อน มีอะไรที่เหมือนกันคุยบนโต๊ะ มีอะไรที่แตกต่างกันไว้ใต้โต๊ะ

ม.อ. บอกว่าจะประกาศสงขลาเป็นเมืองนวัตกรรมในอีก 20 ปีข้างหน้าได้อย่างไร ทำอย่างไรให้เมืองน่าอยู่ อบจ.มีหน้าที่ทำอะไร บริหารผังเมือง เอาสิ่งที่มีอยู่มาทำให้เกิดได้อย่างไร ตัวอย่างการฟื้นฟูโมเดลคลองแดง ให้ศึกษาคนที่เขาสำเร็จแล้วว่ามีเส้นทางเดินอย่างไรบ้าง ถอดโมเดลออกมา

หลักความคิดเบื้องต้น คนบริหารยากมากที่สุด

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ศูนย์กีฬาม.อ. พูดถึงการเชื่อมโยงในอนาคตจะเชื่อมโยงกับจังหวัดและท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งการรับ Tournament ต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้จะทำให้ทราบว่าปัญหา อุปสรรคในอนาคตเป็นอย่างไร เป็นนโยบายที่จะร่วมมือในอนาคต อย่างมีแนวคิดว่าอยากให้เมืองสงขลาเป็นเมืองนวัตกรรม และกีฬา ทางศูนย์กีฬา ม.อ.ยินดีร่วมมือ และอยากให้มีสนามกีฬาที่รองรับการแข่งขันระดับโลกได้ ซึ่งภาคใต้ยังไม่มี เสนอว่า ม.อ.มีพื้นที่ระดับหนึ่งที่สามารถสนองต่อสิ่งนี้ได้ สงขลาในอนาคตต้องสามารถรองรับกีฬาในอนาคตใหญ่ ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

ในอนาคตอยากให้ฐานข้อมูลของ ม.อ. อยู่ในแนวคิดของอบจ.ด้วย

คุณนิพนธ์ตอบ กีฬาสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ คนที่เป็นนักกีฬาจะสามารถเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดี เราต้องให้กีฬากับท่องเที่ยวและกีฬาไปด้วยกันให้ได้ เสนอให้มีการจัดสัมมนาเรื่องการพัฒนากีฬา

ดร.จีระ กล่าวว่าในอนาคตกีฬาจะกระทบต่อภาคธุรกิจต่าง ๆ ด้วย

2. ถ้าเราสามารถทำให้โครงการเรายั่งยืนจะสามารถทำให้ผู้นำในพื้นที่เป็นผู้ประกอบการ แล้วจะสร้างเจ้าของดูแลและส่งทอดได้อย่างไร ตัวอย่างคณะเภสัชฯ ยินดีในการสร้าง Network เช่นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การทำอาหารสมุนไพร การพัฒนายา การยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีคณะศิลปะศาสตร์ดูแลเรื่องภาษา มีการทำเพื่อความยั่งยืน สร้างเป็น Work based Education ด้วย ตัวอย่างที่สะเดามีการท่องเที่ยวหลายแบบ อาจทำเป็นชิม ช้อป ชี่ แชะ คือมีอาหาร มีแหล่งช้อปปิ้ง มีห้องน้ำ มีสปา มีนวด มีที่ถ่ายรูป สามารถรองรับวัฒธรรมที่หลากหลาย ซึ่งมีข้อมูลทางวัฒนธรรมที่มีอยู่

คุณนิพนธ์ตอบว่า ต้องมองในเรื่องความยั่งยืนด้วย อบจ.มีข้อบัญญัติว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน แม้ไม่มีใครอยู่ต้องให้โครงการฯสามารถเดินต่อไปได้ การจัดการศึกษา และสร้างความยั่งยืน ทำอย่างไรให้สามารถตอบโจทย์ให้ได้ว่าให้โครงการฯนี้อยู่ยาว

คุณสุริยาตอบว่า เรื่องชุมชน การใช้ Issue based เป็นประโยชน์มาก ต้องให้ลงพื้นที่และทำกิจกรรม เป็น Intellection learning to action อาจารย์สามารถต่อยอดเพื่อคลี่คลายพื้นที่ปัญหาได้มากขึ้น และถ้าดูจากการท่องเที่ยวที่พูดถึงโจรสะเดา ในวันที่ 1 ก.ย. สถาบันฮาลาล และ World Halal คนเริ่มให้ความสนใจ และถ้าเราสามารถมีเส้นทางการท่องเที่ยวที่ตอบสนอง มีร้านอาหารฮาลาลสร้างเป็น Global Standard

ดร.จีระ อยากให้ทางม.อ.ยึดเรื่อง ฮาลาลไว้ ได้พูดถึงหาดใหญ่เหมาะสมว่าเป็นเมืองผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการที่มาจาก Chinese ในหาดใหญ่น่าจะไปสู่ World Class ได้ แต่ม.อ.มีภาพลักษณ์ตรงนี่อ่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชื่อที่ว่าคณะวิทยาการจัดการได้คล้ายกับ ม.ราชภัฏ ควรเปลี่ยนเป็น Business School มีการปะทะกันทางปัญญา

นายนิพนธ์กล่าว่า ได้เป็นคนเอางบไทยเข้มแข็งมาให้ เอาฮาลาลเสนอไปที่จุฬาได้งบมา 200 ล้าน

3. คณะศึกษาศาสตร์ กล่าวว่าจะลงไปคณะธุรกิจเป็นเรื่องยาก ทั้งสองครั้งที่พบคือมีปัญหาเรื่องศูนย์เด็กเล่น พบว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ มีการพัฒนาบุคคล และพัฒนาครูของศูนย์เด็กเล็ก มีการทำหลักสูตรอย่างไรให้ยั่งยืน เร็วและมีคุณค่า ใช้ฐานจากวิทยาลัยชุมชน 5 แห่ง ใช้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นฐานในการพัฒนา ต้องมีการเขียนหลักสูตรให้เสร็จ มีการทำ MOU กับวิทยาลัยชุมชน และเมื่อได้ด้านล่างแล้วด้านบนจะทำอย่างไร และจะเชื่อมกับอบต. และพัฒนาร่วมกับ 3 ส่วนด้านล่างอย่างไร

นายนิพนธ์กล่าวว่า สิ่งนี้คือการสร้างเครือข่ายที่สำคัญ ใน 5 วิทยาเขตใครจะทำเรื่องอะไร อยากให้นำทรัพยากรบุคคลมาพูดก่อน เพราะคนสำคัญที่สุด ม.อ.ต้องไปคุยกับผู้นำ อบจ. สันนิบาตและ นายกอบต. เสนอว่าคณะศึกษาศาสตร์ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ อย่างภาษาอังกฤษต้องสอนพูดก่อนแล้วค่อยไปเขียน

คุณสุริยา เรื่องศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มคนเหล่านี้มีการพัฒนาอย่างไร การเอาตัวเองเป็น Center และเด็กเป็น Center จะทำอย่างไร สร้างตัวละครสำคัญได้อย่างไร ควรมีการคุยกันเพื่อสอดรับกับความต้องการของลูกค้าว่าจะทำอะไร

4. มีประสบการณ์ลงไปประชุมกับชุมชนจะเจอแรงต้านจากกลุ่มที่มีผลประโยชน์เดิม มีความต้องการขอร้องให้ทำหลายอย่าง แต่พอส่งผลไปให้ปรากฏว่าไม่มีชื่อ ไม่มีอะไรให้เลย ทำอย่างไรให้โครงการดีดำเนินไปได้

คุณนิพนธ์ กล่าวว่าต้องปูประสบการณ์ มีความเข้าใจตรงกันก่อน ยอมเสียเวลาทำความเข้าใจกับผู้นำก่อน เน้นผู้นำตามธรรมชาติ ดูว่าใครชาวบ้านเชื่อถือ แล้วต้องถามให้ได้ว่าชาวบ้านต้องการอะไร ลูกค้าต้องการอะไร สร้างให้เขามีส่วนร่วมให้คิดและทำกับเขาไปด้วยกัน สร้างความรู้สึกให้เขาเป็นเจ้าของให้เขาเป็นคนขับเคลื่อน เพราะเราไม่ได้อยู่กับเขาตลอด

คุณสุริยา กล่าวว่าเรื่องการมีส่วนร่วม เรื่องการยอมรับเป็นสำคัญ เราต้องหาข้อเท็จจริง สภาพปัญหาให้ได้ ตัวผู้นำเป็นภาพลับลวงพราง ผู้นำที่ทำกิจกรรมหรือผู้นำที่เป็นตัวทำกิจกรรมจำเป็นต้องหาให้เจอ

ดร.จีระ ต้องศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ เส้นทางในอนาคตต้องเจอไปเรื่อย ๆ การทำงานต้องสู้ เส้นทางการพัฒนาการทำงานและความสำเร็จต้องใช้เวลา ต้องเข้าไปศึกษาเขา ให้เกียรติเขาและต้องแลกเปลี่ยนกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ขอให้แต่ละกลุ่มที่ทำ Workshop ดูว่าจะแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร


วันที่ 29 สิงหาคม 2559

การบรรยายเรื่อง ผู้นำกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

โดย พล.อ.ต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ

อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

ปัญหาคนเป็นปัญหาอันดับหนึ่งคน “การสอนให้คนทำดีต้องมีปัญญากำกับด้วย”

ผู้ที่จะสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้นได้ในองค์กรและสังคมต้องทราบก่อนว่าคุณธรรมและจริยธรรมต่างกันอย่างไร?

- คุณธรรมคือความถูกต้องดีงาม

- จริยธรรมคือการปฏิบัติในความถูกต้องและดีงามอย่างเหมาะสม

ภาวะที่พึงประสงค์ของการเป็นผู้นำที่ดี

- การกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานความถูกต้องและเหมาะสม

- ความซื่อสัตย์สุจริต

- ความยุติธรรม

- ความเป็นผู้มีพรหมวิหารธรรมในขอบข่ายที่เหมาะสม

- การมีทักษะในการสื่อสาร

- การเป็นผู้ที่มีภาษากายที่งดงาม

ในยุคปัจจุบัน ผู้ที่จะอยู่รอดได้อย่างมีความสุข ควรมีความรู้ถึงสี่ภาษา

- ภาษาไทย

- ภาษาอังกฤษ

- ภาษาคอมพิวเตอร์

- ภาษากาย

คุณสมบัติที่จะช่วยเสริมให้เรามีภาษากายที่งดงามก็คือ

- วินัย

- ความรักความเมตตา

- ความสุภาพอ่อนน้อมต่อกันและกัน

- ความกตัญญูกตเวที

ตัวอย่างพ่อแม่ต้องประพฤติตัวอย่างไรให้ลูกกตัญญู ต้องรักและอุปการะเลี้ยงดูเราอย่างดีตั้งแต่เด็ก การสอนให้คนทำดีต้องมีปัญญากำกับด้วย เด็กจะกตัญญูบนความถูกต้อง

- ความไม่ละโมบ ติดวัตถุ

ทุกคนมีทั้งปมเด่น และปมด้อย ไม่มีใครไม่มีปมด้อย แต่วิธีการผิด ๆ คือ คนที่มีปมด้อยจะชอบไปว่าคนอื่นก่อน หรือนินทาและจะชอบปกปิดปมด้อยตัวเอง

บางคนต้องการให้คนยอมรับจะมีการโป๊ะวัตถุใส่ตัว

ดังนั้น คนที่ต้องการให้คนยอมรับ ต้องรู้จริง ทำจริง และมีสามัญสำนึก ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ยึดติดกับเปลือกนอกของคน

ภาวะที่พึงประสงค์ของการเป็นผู้นำที่ดี

- การกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานของความถูกต้องและเหมาะสม

- ความซื่อสัตย์สุจริต

- ความยุติธรรม

- ความเป็นผู้มีพรหมวิหารธรรมในขอบข่ายที่เหมาะสม

- การมีทักษะในการสื่อสาร

- การเป็นผู้ที่มีภาษากายที่งดงาม

- การเป็นผู้มีหลักการในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

ท่านคิดว่าขณะนี้ประเทศไทยมีทุนทางคุณธรรม-จริยธรรมสูงมากน้อยเพียงใด ?

ทุกวันนี้เมื่อเปิดวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ยังมีข่าว

- อุบัติเหตุซ้ำแล้วซ้ำอีก

- การปล้นธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ ขโมยกล้วย

- การหลอกลวงที่ความโลภทำให้ตกเป็นเหยื่อ

- การฆ่ากันตาย และฆ่าตัวตาย

- ความงมงายในรูปแบบต่าง ๆ

- การละเมิดกันอย่างหลายหลายทั้งทางตรงและทางอ้อม

- การเสพติดในรูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ

สภาวะบ้านเมืองในปัจจุบันสะท้อนให้เห็น

ความล้มเหลวของระบบการศึกษา ความล้มเหลวของสถาบันศาสนาในบ้านเรา ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว

ทั้งหมดนี้มีพื้นฐานมาจากการ “ขาดวินัย” ทั้งสิ้น ดังนั้นผู้นำที่ดีต้องมีวินัย

ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัวเกิดจากการขาดความซื่อสัตย์และเลี้ยงลูกอย่างผิด ๆ

- ทำให้เกิดพฤติกรรม ติดเกมส์ มักง่าย เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ หมกมุ่นทางเพศ

- แต่จะโทษพ่อแม่อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะเด็กทุกคนไม่ใช่ผ้าขาว และเด็กก็ไม่ได้อยู่แต่ในบ้าน

ความล้มเหลวของระบบการศึกษาเกิดจากการเน้นแค่ “ความรู้” แต่ไม่เคยเน้น “ปัญญา”

การจะป้องกันการเสพติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องรู้ถึงสาเหตุ วัยรุ่น แค่อยากลอง มีโอกาสติดสุราน้อยมาก

เหตุและปัจจัยที่ทำให้คนติดสุรา

- มีความเครียด มีความทุกข์

- มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่สูง

- มีโอกาสได้สุรามาเสพ

- เสพแล้วเกิดอาการที่ตัวเองพึงพอใจ

ผู้ที่ติดยาเสพติดทุกคนคือผู้ที่ขาดความสมดุลในชีวิตอย่างรุนแรง

หน้าที่ของครู

- ถ่ายทอดความรู้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- ชี้แนะให้ศิษย์รู้จักทักษะเฉพาะตัวเพื่อการดำเนินชีวิตในสาขาอาชีพที่เหมาะสม

- ชดเชยสิ่งที่ศิษย์ขาดจากครอบครัว

- แนะนำให้ศิษย์รู้จักกับตนเอง (ปัญญา)

ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คนเป็นมนุษย์

- ปัจจัย 4

- ความรักความเมตตา

- สัมผัสที่อบอุ่น

- การอบรม สั่งสอน

สิ่งที่นักการศึกษาในยุคนี้อาจเผลอมองข้ามไปก็คือ

- ความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ของความเป็นครู

สังคมปัจจุบัน

- ขณะนี้โลกเรากำลังอยู่ในยุคแห่ง “สังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร” Information base society

- ทุกประเทศพยายามก้าวไปสู่ “สังคมแห่งการเรียนรู้” Knowledge base society

- แต่กลับมองข้ามสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้มนุษยชาติอยู่รอดร่วมกันได้อย่างมีความสุข นั่นก็คือ “สังคมแห่งปัญญา” Wisdom base society

ปัญญาที่ยิ่งใหญ่ คือ

ปัญญาแห่งการรู้จักตนเอง รู้เท่าทันธรรมชาติ (ถ้าเราเป็นพุทธศาสนิกชน) และเข้าถึงพระประสงค์ของพระผู้สร้าง (ถ้าเราเป็นคริสตศาสนิกชนหรือเป็นมุสลิม)

ซึ่งเป็นปัญญาแห่งความเป็นสากลสำหรับความเชื่อของทุกศาสนารวมทั้งผู้ไม่มีศาสนา

การวัดมาตรฐานทางการศึกษาในปัจจุบันกำลังหลงทาง

- มหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของโลกวัดกันที่วุฒิของอาจารย์และผลงานทางด้านการวิจัย

- อาจารย์อาจถูกเลิกจ้างถ้าภายในระยะเวลาที่กำหนดไม่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นได้

- แต่ไม่เคยคำนึงว่าบัณฑิตมีความเป็นมนุษย์มีจิตสาธารณะและมีความสุขมากน้อยเพียงใด

มาตรฐานการศึกษาของไทยถูกจัดอยู่ในอันดับเกือบท้ายสุดของกลุ่มประเทศอาเซียน

มาตรฐานการวัด “ปัญญา” นั้นใช้ความทุกข์เป็นตัววัด

ปัญญาแห่งการรู้จักตนเอง รู้เท่าทันธรรมชาติและการเข้าถึงพระผู้สร้างในระดับปุถุชน ซึ่งเป็นสากลสำหรับความเชื่อของทุกศาสนิกชน รวมทั้งคนที่ไม่มีศาสนา

ความล้มเหลวของสถาบันศาสนาเกิดจาก “โปรแกรมโง่” ที่กำลังบิดเบือนแก่นคำสั่งสอนของศาสนาหลัก ๆ เกือบทุกศาสนาในโลกนี้

- ศาสนาคริสต์เป็น “ศาสนาแห่งความรัก” พระเยซูคริสต์เจ้าทรงสละพระชนม์ชีพบนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ทรงสอนให้อภัยแม้กระทั่งศัตรู แต่ประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์ในอดีตยังล่าอาณานิคมและในปัจจุบันยังค้าอาวุธสงคราม

- ศาสนาอิสลามเป็น “ศาสนาแห่งสันติภาพ” การฆ่าตัวตายและฆ่าผู้อื่นเป็นบาปมาก แต่ยังมีมือระเบิดฆ่าตัวตายที่โง่และอำมหิตสุด ๆ

- ศาสนาพุทธเป็น “ศาสนาแห่งปัญญา” แต่พุทธศาสนิกชนในบ้านเรายังเต็มไปด้วยความงมงายและหลงทาง

สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นเมื่อทำหน้าที่วิทยากรก็คือ

1.ผู้เข้ารับการอบรมรู้สึกว่าเสียเวลาที่มาเข้ารับการอบรม

2.ถึงเขาจะได้อะไรไปบ้าง ก็ไม่ตรงกับเป้าหมายหลักที่เขาคาดว่าจะได้รับ (ไม่ตรงวัตถุประสงค์)

3.ผู้รับการอบรมเกิดความประทับใจหรือแรงบันดาลใจในลักษณะของไฟไหม้ฟาง

4.ผู้เข้ารับการอบรมออกจากห้องอบรมด้วยความเข้าใจที่ผิดจากวัตถุประสงค์ หรือเกิดอคติด้วยความไม่กระจ่าง

แล้วเราจะนำอย่างไรให้ได้ผลที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

1. ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรซึ่งต้องเน้นเรื่องวินัย

- ความซื่อสัตย์สุจริต

- ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

- ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคง

วินัยคือการลงทะเบียนแล้วไม่โดดตรงเวลา มีสมาธิในการฟัง กรุณาอย่าเน้นกิจกรรมความสนุกหรือทัศนาจรเป็นหลัก

2. มีการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ

- การสอนที่ดีที่สุดคือการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง การอบรมจะได้ผลต้องอบรมจนถึงขั้นเกิดการตกผลึกแห่งปัญญา

กระบวนการปลูกฝังค่านิยมในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เท่าที่ผ่านมาอาจได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

- เพราะเราปลูกฝังแบบฝืนธรรมชาติ

- อะไรที่ฝืนธรรมชาติจะอยู่ได้ไม่ยั่งยืน

- ผมไม่เคยสอนให้ใครเสียสละ แต่จะบอกให้ทุกคนทำทุกอย่างเพื่อตนเองแต่อย่าเห็นแก่ตัว

ทุกวันนี้จะว่าไปแล้ว มนุษย์ทุกคนกำลังเล่นเกมส์ “เติมความสุขให้เอง”

หรืออาจเรียกแบบเปรียบเทียบว่าเกมส์ “เติมน้ำใส่กระป๋อง”

ถังน้ำคือความสุขที่เกิดจากรายได้ ปัจจัยสี่ ชื่อเสียง โอกาสพบคนที่เรารักหรือพบคนดี ๆ โอกาสที่ได้ทำความดี ฯลฯ ขนาดกระป๋อง คือความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวมาก กระป๋องใหญ่ เห็นแก่ตัวน้อย กระป๋องเล็ก

การหาความสุขใส่ตัวเปรียบเหมือนการตักน้ำใส่กระป๋อง

เวลาที่คุยกับเยาวชนจะบอกว่า

- ปุถุชนอย่างเรา ๆ จงทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง

- แต่อย่าเห็นแก่ตัว

- จงแขวนความสุขไว้กับการมีโอกาสได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง ดีงามและเหมาะสม ด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลกรรม สายกลาง

การลดกระป๋องแห่งความเห็นแก่ตัวใช้ความรู้ไม่ได้ ปัญญาและหรือศรัทธาคือคำตอบ

ชีวิตนี้เพื่อใคร ?

1. เพื่อการรู้จักตัวเอง – เราคือใคร มาจากไหน และเกิดมาทำไม

แต่ก็ยังไม่สามารถตอบคำถามว่าทำไมสิ่งไม่มีชีวิตจึงมีชีวิตขึ้นมาได้

- ลัทธิพราหมณ์เชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างโดยพระพรหมและโลกนี้มีเทพเจ้าหลายองค์

- ศาสนายูดาย คริสต์ และอิสลามเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้าง

- ศาสนาพุทธสอนว่าทุกสิ่งเกิดจากเหตุและปัจจัยโดยไม่ระบุว่ามีผู้ใดเป็นผู้สร้าง

2. เพื่อการพัฒนาตัวเอง

3. เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี

4. เพื่อการเสพสุขอย่างรู้เท่าทัน

5. เพื่อ.........?

สรุปแล้วเราเกิดมาทำไม?

คำตอบคือเกิดมาเพื่อรับใช้ผู้ที่สร้างเราขึ้นมา

ในวงจรของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ก่อนจะจากโลกนี้ไปได้ถูกโปรแกรมให้ดิ้นรนทำหน้าที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือการ “สืบพันธุ์” ก่อนตาย

- ถ้าเบื้องบนต้องการให้แค่สืบพันธุ์ ท่านคงไม่สร้าง คนไม่อยากมีลูก คนอยากมีลูกแล้วเป็นหมัน คนอยากแต่งงานแล้วไม่อยากมีลูก คนไม่อยากแต่งงาน นักบวช คนชอบเพศเดียวกัน

- เบื้องบนต้องการให้เราดำรงเผ่าพันธุ์ที่ท่านสร้างมาให้ดีขึ้น

ตั้งแต่จำความได้ หาคำตอบมาตลอดว่าเราเกิดมาทำไม

นพ.บุญเลิศ รับประกันว่าผู้ที่ทำหน้าที่ดำรงเผ่าพันธุ์ให้ดีขึ้นด้วยสติ ปัญญา ศรัทธา กุศลธรรม และการเดินสายกลางแล้ว จะได้กำไรชีวิตอย่างคุ้มค่าที่เกิดมาเป็นมนุษย์ และหาต้องเผชิญกับสิ่งลบอันไม่พึงปรารถนาก็จะสามารถรับมือกับมันได้อย่างมั่นคง

ที่เราต้องถูกโปรแกรมให้ไม่สามารถฉลาดสุด ๆ เพราะผู้ที่สร้างเราขึ้นมา ถูก “โปรแกรมโง่” ครอบงำ ไม่ต้องการให้เราสูญพันธุ์

คำตอบคือ แล้วแต่ใครจะยึดโปรแกรมไหน

สำหรับผู้ที่เชื่อในพระเจ้า เราคือสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้และถวายพระเกียรติ สำหรับพุทธศาสนิกชน เราคือสิ่งที่เกิดจากการไหลเรื่อยของธรรมชาติตามเหตุและปัจจัย

แรงผลักดันหรือแรงกระชากสองแรงที่มนุษย์ถูกกระทำอยู่

1. การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด Survival Drive

2. การดิ้นรนเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ Sex Drive

สิ่งที่ตามมาคือ อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาติ ก่อให้เกิดการทำสิ่งไม่ดีจนเกิดข่าวต่าง ๆ

สิ่งที่ควรคือ1. เอาตัวรอดโดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน (และไม่ทำผิดกฎหมาย)

2. เสพกามโดยไม่ผิดทำนองคลองธรรม

ผู้ที่สร้างเราไม่ต้องการให้เราสูญพันธุ์

- ท่านจึงโปรแกรมให้เราเกิดมาพร้อมกับสัญชาติญาณของการเอาตัวรอดไปแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว แล้วก็โปรแกรมให้เราเสพกามเพื่อใช้ให้เราดำรงเผ่าพันธุ์ โดยมีโลกิยสุขที่สุดเย้ายวนให้เป็นรางวัล

แต่ผู้สร้างเราท่านเกรงว่าถ้าเรารู้แจ้งว่าโลกนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มนุษย์ก็อาจพากันหาทางเสพกามโดยไม่ให้มีการตั้งครรภ์

- ท่านจึงโปรแกรมให้มนุษย์ติดยึดในความเป็นตัวกูของกูทุกขณะจิตที่ขาดสติเพื่อจะได้อยากมีลูกกูสืบทอดต่อไป

- ตัณหาก็เหมือนทุกสรรพสิ่งในโลกนี้คือมีมากกว่าหนึ่งฟาก มีทั้งฟากงดงามและอัปลักษณ์ ฟากสุนทรีย์และฟากบัดซบ

ความทุกข์ที่ท่วมโลกอยู่ขณะนี้ นอกจากความทุกข์ที่เกิดตามธรรมชาติแล้ว เกือบทั้งหมดเกิดจากความโง่ของมนุษย์ที่ปล่อยให้ธรรมชาติจิกหัวใช้ตามยถากรรม

ความพอใจที่จะทำความดีด้วยเหตุผลว่าควรทำและปล่อยสามารถวางได้หากไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้

- ความยึดติดในฟากที่ดีงาม ทำให้เราเกิดความพอใจที่จะทำความดี ทางพุทธเรียกว่า “ฉันทะ” สุข (ทุกข์น้อยลง)

- ความยึดติดในฟากโง่ ทางพุทธเรียกว่า “กิเลส”

สรุปคือ “โปรแกรมโง่” ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของมนุษย์

- ทุกสรรพสิ่งอุบัติหรือถูกสร้างขึ้นมาในโลกนี้ ถูกกำหนดให้มีมากกว่าหนึ่งฟากอยู่ในตัวเพื่อจัดสมดุล

- “โปรแกรมโง่” จึงถูกสร้างมาให้ถ่วงดุลกับ “โปรแกรมฉลาด”

- ความติดยึดในความเป็นตัวกูและของกูจะคอยกระโดดครอบงำจิตของเราทุกครั้งที่เราขาดสติเพื่อให้เราอยากมีลูกหลานกูสืบไป

- ฟากดีของความติดยึดทำให้เกิด “ฉันทะ”

- ฟากโง่ของความติดยึดคือ “โปรแกรมโง่” ทำให้เกิด “กิเลส”

ความยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือการที่เราสามารถนำเอา “ฉันทะ” มาใช้โดยไม่ปล่อยให้ “กิเลส” ครอบงำ ด้วยสติ ปัญญา กุศลธรรม และทางเดินสายกลาง เราก็จะได้สัมผัสสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการนั่นก็คือ “กำไรชีวิต” “งานได้ผล คนเป็นสุข”

ความหมายที่แท้จริงของ “งานได้ผล คนเป็นสุข”

- แค่การทำงานให้เสร็จ ไม่ได้หมายถึง “งานได้ผล”

“งานได้ผล” ต้องเป็นงานที่เสร็จอย่างมีคุณธรรม

- แต่การที่ใครไม่ทุกข์ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็น “คนเป็นสุข”

“คนจะ “เป็นสุข” อย่างเต็มภาคภูมิได้ต่อเมื่อคนที่อยู่รอบตัวเราต้องไม่ทุกข์เพราะพฤติกรรมของเราและเราต้องพร้อมที่จะเอาชนะความทุกข์ที่อาจจะเกิดขึ้น

เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดกับเราได้ทุกขณะ ทำไมคนที่ทำแต่ความดีก็ยังมีโอกาสพบสิ่งลบในชีวิตได้ การทดสอบของพระเจ้า และกรรมเก่า

สูตรสำเร็จของการทำงานให้ได้ผลและคนมีความสุขก็คือ การดำเนินชีวิตให้ถึงพร้อมด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลธรรม สายกลาง

ปัญญาที่ยิ่งใหญ่

คือปัญญาแห่งการรู้จักตนเอง รู้เท่าทันธรรมชาติ (ถ้าเราเป็นพุทธศาสนิกชน) และเข้าถึงพระประสงค์ของพระผู้สร้าง (ถ้าเราเป็นคริสต์ศาสนิกชน หรือเป็นมุสลิม

ซึ่งเป็นปัญญาแห่งความเป็นสากลสำหรับความเชื่อของทุกศาสนา รวมทั้งผู้ไม่มีศาสนา

เรื่องที่คุยในวันนี้มาจากการผสมผสานของ

- วิทยาศาสตร์

- แพทยศาสตร์

- ศาสนศาสตร์ (พุทธ คริสต์ ยูดาย(ยิว) อิสลาม ฮินดู ฯลฯ)

ความมหัศจรรย์ของพระธาตุ

จำนวนพระธาตุสามารถเพิ่มหรือลดเองได้ในภาชนะที่เราบรรจุในหิ้งบูชาส่วนตัว

สำหรับผู้ที่นับถือพระเจ้า

- เราไม่มีกรรมเก่าเป็นเครื่องกำหนด

- หากเราทำแต่ความดีแต่ต้องประสบสิ่งลบในชีวิต

- ส่วนหนึ่งก็คือการทดสอบของพระผู้เป็นเจ้า

สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธเจ้า

- เรามีทั้งกรรมเก่าและกรรมไม่เป็นเครื่องกำหนด

- หากเราทำแต่ความดีแต่ต้องประสบสิ่งลบในชีวิต

- ส่วนหนึ่งเป็นผลของกรรมเก่า

สาเหตุของความทุกข์คือความยึดติดใน “ความเป็นตัวกูของกู”

เราสามารถดับทุกข์ได้ด้วยการละชั่วทำดีและชำระจิตให้บริสุทธิ์ด้วยปัญญาแห่งการเข้าถึงความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา” ของทุกสรรพสิ่งเพื่อลดความทุกข์ที่เกิดจากความติดยึดในความเป็นตัวกูของกู อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง


วันที่ 29 สิงหาคม 2559

นำเสนองานกลุ่ม : สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานและแนวทางการปรับใช้

การศึกษาดูงานที่ SCG

กลุ่ม 1 SCG จะมีเรื่อง Recruit คนที่ทำอย่างไรจะถึงได้คนที่เหมาะสมมาได้ เรื่องการเปลี่ยนวัฒนธรรม และเรื่อง Reconstruction องค์กร ส่วนอีกเรื่องจะกล่าวถึง Labor workforce ดูว่าบัณฑิตที่อยากได้มีทิศทางไหนบ้าง นิสิตที่จบไปมีอ่อนอะไรบ้าง

เช่น อีเมล์ และ Presentation Script

มีเรื่องการ Rebrand และ Green Initiative และเรื่องการสร้างความสัมพันธ์องค์กรที่จะทำให้ก้าวหน้าไป

เพิ่มเติม

- บริษัทนี้ตั้งมานานและเกิดวิกฤติก็ให้ย้อนกลับมาที่ตัวเองว่าถนัดอะไรแล้วเลือกที่ 3 อย่าง ได้นำมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ เปลี่ยนภาพลักษณ์ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับ ม.อ. จะต้องทำเพิ่มอะไรมากกว่านี้

- เรื่องการสื่อสารไปกับผู้ปฏิบัติการต้องมีการสื่อสารให้อย่างทั่วถึงมากกว่านี้

- เขาเน้นการสร้างวัฒนธรรมใหม่คือ Open การเปิดใจรับฟัง Challenge การหามุมต่าง และInnovation การหาโปรดักส์ใหม่ ๆ

- มีเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ทุกระดับสามารถมี Innovation ได้ และบรรยากาศการทำงานจะเป็นลักษณะ Happy at work และอยากให้ละลายคำว่ามหาวิทยาลัย

- วัฒนธรรมองค์กรจะนำสิ่งที่เราฟังของ SCG มาเปรียบเทียบในสังคม ม.อ. ที่บอกว่าอะไรก็มหาวิทยาลัย สร้างให้มหาวิทยาลัยเข้มแข็งขึ้น และนักศึกษาจะสร้างอะไร สร้างนักศึกษาให้ตรงกับสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการมากขึ้น

- ในการปรับใช้ใน ม.อ. น่าจะมีการประสานงานกันในระดับแนวราบ เป็นการทำงานร่วมกัน ต้องเปลี่ยนจาก Me เป็น We

- การเปลี่ยนโครงสร้างของ ม.อ.ยังเป็นลักษณะของ Hierarchy ทำให้คนระดับล่างเชื่อมโยงได้ แต่การเปลี่ยนโครงสร้างนี้ ม.อ.จะเปลี่ยนแต่เปลือกหรือไม่ การบริหารจัดการเปลี่ยนโครงสร้างเปลี่ยนเปลือกแต่ข้างในยังเป็นเหมือนเดิมจะทำอย่างไร การถ่ายทอดยังเป็นผู้บริหารจากข้างบนลงมาข้างล่างเหมือนเดิม

- SCG เน้นเรื่องคนคัดคนที่ถูกต้องขึ้นรถบัส มีจิตวิญญาณของ Good to Great ต้องการเป็นที่หนึ่งและเอาชนะให้ได้ จะเห็นภาพชัดเจน

- สิ่งที่พูดส่วนใหญ่จะพูด What แต่ไม่มี How

- สิ่งที่ประสบความสำเร็จคือ การคัดเลือกคนที่มี Attitude ที่ดี เพราะการสอบได้คะแนนสูงตอนนี้มีการติวกันมาก

- สิ่งที่มองคือ ม.อ.ยังไม่รู้สถานการณ์ที่แท้จริงของตัวเอง เป็นปัญหาในระดับคณะและมหาวิทยาลัย เขาทำอะไรในการประเมินสถานการณ์ แล้วเราเผชิญกับอะไร แล้วมาสื่อสารกับเขา

- การสื่อสารเป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุดที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิภาพและสำเร็จ ในอนาคตอาจมีโอกาสที่จะไป

- วัฒนธรรมองค์กรก้าวขึ้นมาได้ในเรื่องคน จากเดิม SCG มีชนชั้นมาก แต่สามารถเปลี่ยนเป็นกลุ่มเพื่อน พี่ น้อง คิดว่าทุกคนเป็นเจ้าขององค์กร

- การเปลี่ยนแปลงองค์กร จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร

- เคยพบคนที่ทำงานใน SCG ถึงประเด็นเรื่องการ Re-organization องค์กรเป็นอย่างไร สิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จได้เพราะการสื่อสารเข้าถึงทุกระดับ และตอนนั้นอยู่ในการแย่งชิงลำดับ 1 ของปูนฯ จึงมึความร่วมมืออย่างแท้จริง

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์

กลุ่ม 2 ช่วงเช้าเน้นเรื่องการพัฒนาเรื่องต้นน้ำ เน้นการพัฒนา Work based Education และการพยายามสร้าง Network เปลี่ยนจากการผลิตเองไปเป็นการสร้าง Network กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แทน และได้มีการเสนอว่าที่ภาคใต้ ควรมีการสร้าง International ด้วย

การคิดเชิงรุก คิดนอกกรอบ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคน เน้นการสื่อสาร มีการสื่อตั้งแต่ระดับบนลงล่าง และถ้าเกิดอะไรขึ้นเขาจะคาดเดาได้ว่าคนในองค์กรทำอะไรกัน เช่นเมื่อมีเสียงกริ่งไฟไหม้เกิดขึ้น เขาจะทราบว่าคนในองค์กรต้องทำอะไร

ถ้าเปรียบกับ ม.อ.ต้องมีการสื่อสารให้คนเข้าใจทุกคน

เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ Managing Change จะทำอย่างไรให้ทัน

เพิ่มเติม

- ม.อ.ต้องมองนักศึกษาเป็นยุทธศาสตร์

- เราต้องเปลี่ยนมุมมองของผู้บริหาร คณบดี และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

- สิ่งที่เราดูคือต้องดูว่าเรามีปัญหาอะไรบ้างที่เราจะรับรู้ในลักษณะ Sense of Urgency

- อยากให้ผู้บริหารในองค์กรเปลี่ยนทัศนคติที่ยึดติดว่าทุกคนเป็นเจ้าของ เปลี่ยนจากมองผลประโยชน์เฉพาะหน่วยงานตนเองเป็นมองผลประโยชน์ในระดับมหาวิทยาลัย บางคณะมีพื้นที่ตัวเองมาก แต่บางคณะไม่มีทำให้หมดโอกาสสิ่งที่สร้างประโยชน์

- ม.อ.ต้องมองที่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทัศนคติ ถ้าทำไม่ได้ ให้เอามืออาชีพมาทำให้ อีกเรื่องคือการสื่อสารยังไม่ทั่วถึง ต้องมี Change Agent Team ขึ้นมา เป็นการบริหารกับวิทยาเขตด้วย

- ต้องไปดูว่าระบบใช้ใน ม.อ.ได้หรือไม่ ถ้าเป็นระบบการศึกษาที่มีโดดเด่นจะนำมาใช้และ Apply ได้หรือไม่

- ใน ม.อ.ทุกหลักสูตรต้องมองโอกาสและเริ่มงาน อาจารย์ต้องมีโอกาสในการบริหารงานข้างนอก บางครั้งอาจารย์ต้องขวนขวายเอง ต้องให้คณะไปปรึกษากับตัวแทน ต้องดูที่นโยบายว่าแน่นอนหรือไม่อย่างไร ผู้บริหารในระดับคณะต้องชัด และจะสื่อสารอย่างไรในองค์กรไม่ให้รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ

บริษัทกิฟฟารีน

กลุ่ม 2 พื้นที่สะดวกสบาย สร้างให้การทำงานรู้สึกเหมือนอยู่บ้านและทำให้การทำงานมีความสุข มีอิสระในการทำโน่นทำนี่ของตัวเอง คนมีความสุขในการทำงานเป็นลักษณะ Happy at work

1. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ส่งเสริมให้คนเรียนหนังสือ ให้ทุกคนจบปริญญาตรี มีการให้รางวัล และเรื่องการฝึกงานทุกคนต้องมีเรียนเพิ่มด้วย สิ่งที่แตกต่างคือให้ทุกคนไปหาประสบการณ์ในการทำงาน

2. เป็นสถานวิจัยทำงานโดยใช้การวิจัย สร้างองค์ความรู้ และนำความรู้ไปสร้างผลิตภัณฑ์

3. สร้างความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ได้ความรู้จากองค์กรต่าง ๆ มากมาย

4. เป็นองค์กรที่มีความสุข มีธรรมาภิบาล รายได้เหมาะสม และช่วยเหลือต่าง ๆ มีการดูแลเรื่องสุขภาพ ถ้าคนใช้สายตามากจะมีการสับเปลี่ยนเร็วกว่าคนไม่ใช้สายตา ให้มีการออกกำลังกาย แข่งกีฬาและอุปกรณ์ต่าง ๆ และให้มีการดูแลคนไปถึงบ้าน

5. ความสุขถึงการดูแลคนอย่างใกล้ชิดทุกคนต้องดูแลอย่างทั่วถึง การฟ้องแค่รับฟังและไปหาความจริงและทำความจริงให้กระจ่าง

6. เป็นองค์กรแห่งคุณธรรม ผิดพลาดให้อภัย ชั่วไล่ออก เน้นความรับผิดชอบของคนที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ในงาน สร้างความรับผิดชอบ และสร้างศรัทธาในองค์กร ให้ผู้บริหารและผลิตภัณฑ์

เพิ่มเติม

- การพัฒนาต่อยอดตามความต้องการของลูกค้า และทำวิจัยเพื่อความรู้และออกสู่ตลาด

- ศึกษาตัวอย่างของบริษัทที่ทำด้วยปรัชญาและหลักการง่าย ๆ

- เจ้าขององค์กรเป็นคุณหมอทั้งคู่ โรงงานมีความพร้อมที่จะไปดูงาน มีการเตรียมเส้นทางดูงาน เป็นการต้อนรับลูกค้าใหม่ตลอดเวลา และการเยี่ยมชมจะทำให้เกิดศรัทธาว่าอยากเป็นลูกค้าอีก 1 คน

- คุณหมอจะตอบปัญหาสุขภาพเพื่อการสร้างแบรนด์ แต่ ม.อ. อาจปรับให้เป็นการส่งเสริมด้านองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนสื่อสารต่อไป เหมือน Website ถาม-ตอบ ไขข้อข้องใจความรู้

- ความรักองค์กร มีการตระเวนหลายมหาวิทยาลัย สิ่งที่ไปพบคือที่ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี สามารถนำกลยุทธ์มาเรียนเป็นกอบเป็นกำ เน้นการทำงานให้ต่อเนื่องแล้วเด็กจะรู้เอง อย่าจัดเป็นกิจกรรมแต่เน้นเรื่องความต่อเนื่อง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

จากที่ฟังทั้งหมดเราต้องกลับมาดูว่าจะตั้ง Key อย่างไร เรากำลังเปรียบเทียบองค์กรที่สำเร็จอย่างไร อย่าง SCG ผ่านร้อน ผ่านหนาวมามาก เราต้องมาปรับใช้กับ ม.อ.ว่าจะนำเครื่องมืออะไรไปปรับใช้ ม.อ.ต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพ ถ้าเป็นเรื่อง Change ม.อ.อาจใช้การ Transform หรือการเปลี่ยน สิ่งที่เราควรทำคือต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อน และเราจะทำอะไรเพิ่มเติม ต้องมีเครื่องมือในการจับประเด็น การจะเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่ต้องทิ้งรากเหง้าเดิม การจะตั้งเป้าหมายถึงยอดจะใช้เวลากี่ปีที่จะไต่ถึง Summit เป็น Milestone ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะไปตรงไหน มีอะไรแค่ไหน ต้องทำการวิเคราะห์ว่าทำไมเขาถึงรักองค์กร คือถ้าจะอยู่อยู่ด้วยเหตุผลอะไร อยากให้มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเริ่มทำตรงนี้ และจะทำให้เป็นงานที่มีคุณค่า อาจเป็น PSU New Era ตั้งทีมแล้วหาจุดไปตรงไหน ใช้กระบวนการ SWOT Analysis อย่าเปลี่ยนหมด อย่าเปลี่ยนรากเหง้าไม่เช่นนั้นความเป็นตัวตนจะหาย เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ มีคนที่เดินไปหาเราเอง

เราต้องได้เด็กที่มาฝึกงานอย่างน้อย 10 % ดังนั้นในสหกิจศึกษาต้องทำได้เช่นกันเพียงแต่ว่าความชัดเจนจะเป็นอย่างไร

เราต้องมีคุยเรื่อง How to Start? ต้องสร้าง Talent Community และสร้างให้แบรนด์ขององค์กรเกิดขึ้น

เรื่อง Recruitment ของ SCG ใช้แบบ Behavior Based เป็นการถามเรื่อง Situation Action Result

การสื่อสารมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงอย่างไร ผู้บริหารต้องเรียนรู้ถึงการสื่อ Message ต้องอาศัยการอธิบายเพิ่มเติม เป็น Blue Message Yellow Message หรือ Red Message

ได้ยกตัวอย่างของ CPAll หน้าที่ของ Manager จะมาช่วยดูใน HR ด้วย เขาจะวางระบบได้ดี

อยากให้อาจารย์ไปดูตัวอย่างของโมเดลแต่ละองค์กร เอามาปรับแต่อย่าลืมตัวตนของเรา ต้องเลิกคิดเรื่องเอาชนะก่อน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ที่ชอบคือ SCG หานักศึกษาจากการแอบดูกิจกรรมรับน้อง มีการดูคนที่มีความเป็นผู้นำในกิจกรรมรับน้อง คน ม.อ. ต้องมีลักษณะของ ม.อ. เราน่าจะมีโครงการฯที่มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ ศิษย์เก่าเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษา ส่วนโครงการฯ ให้เน้นการทำให้คณะให้ดีก่อน ตัวอย่างการบริหารจัดการของอธิการบดีบอกว่าทำแบบลูกทุ่ง การได้เปิดโอกาสให้อาจารย์ได้เรียนเพราะต้องการให้อาจารย์มาช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย ตัวอย่างปัญญาภิวัตน์เน้นเรื่องการหาผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลายรุ่น (Entrepreneurial) ซึ่งทาง ม.อ.ก็ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นทีเดียว อีกเรื่องคือเรื่องการสร้างการจัดการให้บรรลุเป้าหมาย

เรื่อง Product ใช้ Innovation & Creation เราจะให้บัณฑิตพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศอย่างไร


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 30 สิงหาคม 2559

Group Assignment & Presentation

Lesson Learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 4

The Rise and Fall of Nations – Ten Rules of Change in the Post – Crisis World by Ruchir Sharma

ร่วมให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล และ ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเป็นสถาบันวิจัย World Class ใครก็เป็นได้ แต่การเป็นสถาบันต้องมี Component สิ่งที่เป็นคือต้อง Realistic and Reality สิ่งที่อยากเสนอในวันนี้คือ Content มาก ในแต่ละ 5 กลุ่มทำสองเรื่อง

Demand for สินค้าที่เรียกว่าโภคภัณฑ์ตกหมด และพอตกหมดเศรษฐกิจก็ลง หนังสือเล่มนี้เลยกระทบว่าหลังจากเศรษฐกิจโลกเริ่มตก เลยไปกระทบเศรษฐกิจอเมริกาเกิด Subprime

เราต้องทำให้คณาจารย์ทุกท่านในวันนี้ได้มอง Globalization มองเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มองตั้งแต่ 2008 มาการเมือง

ประเทศไทยถ้ามองจากหลัง Crisis ไม่ได้แย่อย่างที่คิดไว้ ประกันสังคมเกิดขึ้นในยุคที่ประเทศไทยร่ำรวย ประกันสังคมไม่ได้เป็นการทำกฎหมายฟรี

กลุ่ม 2 : 3. Good Billionaires, Bad Billionaires 4. Perils of the State

3. Good Billionaires, Bad Billionaires

เป็นเรื่องเศรษฐีดีและเศรษฐีเลว เรื่องความไม่เท่าเทียมกันเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ

เริ่มต้นด้วยประธานาธิบดีของชิลีมาบริหารประเทศแล้วลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน มีแนวคิดว่าเราจะกระจายรายได้อย่างไร และสืบเนื่องด้วยการทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน มาจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี

ผู้แต่งได้อ่านตัวอย่างของมหาเศรษฐีต่าง ๆ ในโลก ได้พูดถึงการรายงานใน Forbes เงินที่ได้มาของมหาเศรษฐีได้หายไปมาก

พบว่า Top Billionaires ได้มีส่วนแบ่ง GDP ในจำนวนมาก

เศรษฐีดีจะเป็นตัวบ่งบอกว่าประเทศดี ใช้ Innovation ทำสิ่งสร้างสรรค์

เศรษฐีเลวจะเป็นตัวบ่งบอกว่าประเทศมีส่วนในการทำในสิ่งที่ไม่ค่อยถูกต้อง เช่นสัมปทาน ธุรกิจสีเทา ธุรกิจที่ใช้อำนาจ ไม่ได้บ่งบอกความเจริญทางเศรษฐกิจที่แท้จริง

Good Billionaires การใช้ความสามารถของเขาเองจนพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น Jack Ma แต่ก็มีบ้างที่สืบทอดมาจากครอบครัวเน้นการทำนวัตกรรม เช่น Prada Chanel

Bad Billionaires ส่วนใหญ่จะเป็นการสืบทอดมาจากครอบครัว เช่นธุรกิจสัมปทาน

มีการแสดงสัดส่วนกลุ่มประเทศต่าง ๆ ถ้าตัวเลขมาก เงินส่วนใหญ่จะเป็นของมหาเศรษฐี ไม่ได้มีการกระจายรายได้ มีเศรษฐีเลวต่อปริมาณเงินของเศรษฐีทั้งหมด มีพวกที่ร่ำรวยมาจากวงตระกูลทั้งหมด

ถ้า Bad Billionaires มากกว่า Good Billionaires จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศเช่นเดียวกัน แต่ตัวอย่างที่ดี จะมีที่เกาหลี หรือฝรั่งเศสเป็นต้น

Bad Billionaires มีผลต่อการทำ Innovative Product และยับยั้งการเจริญเติบโต การทำประชานิยมจะทำให้ประเทศ Lack of Balance ประเทศที่ยากจนมาก ๆ จะมีปัญหาคอรัปชั่น ทำให้การเจริญเติบโตช้า คนรวยจะรวยเร็วกว่าคนจน

สิ่งที่นำมาใช้กับ ม.อ.

ควรเน้นเรื่องการเติบโตไปด้วยกัน เก่งด้วยกัน เพื่อพัฒนาไปด้วยกัน ในเรื่องความร่ำรวยอาจมีการได้สวัสดิการร่วมกัน

ดร.จีระ เสริมว่า ให้ Science และ Social Science ไปด้วยกัน อย่าห่างกันมาก อาจตั้งเป็นคณะนวัตกรรมทางธุรกิจ ต้องรีบทำ Wealth ของมหาวิทยาลัยมาจากลูกค้า มาจาก Channel Capital

ตัวอย่าง Bad Billionaires มาจากค่านิยมที่ผิด เป็นสิ่งที่น่าถามว่าได้ Wealth มาได้อย่างไร อาจารย์ต้องให้ค่านิยมเรื่องความเสมอภาค

หนังสือเล่มนี้เป็น Period ของ Hamburger Crisis และสถานการณ์เหล่านี้มากระทบกับที่ ม.อ. และจะ Emerge ผู้นำที่มาสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในช่วงสงครามโลกน้อยมากที่เป็น Innovation Product ม.อ.อย่ากินบุญเก่า

อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า เรื่องเศรษฐีน้ำมัน พอมาในยุคนี้เห็นผลกระทบชัดเจนอย่างซาอุดิอาระเบียรวยมาก และมีผลเรื่องเพชรซาอุฯในประเทศไทย และในที่สุด ซาอุดิอาระเบีย ไม่มีเงิน พยายามเร่งผลิตน้ำมัน ซึ่งน้ำมันราคาถูก ผลิตมากกว่าความต้องการ เป็นตัวอย่างของตระกูลเลว ที่ไม่ยั่งยืน

ตระกูลดี ตัวอย่างเช่น Prada เริ่มต้นจาก Handicraft มีการใส่เรื่อง Innovation และ Entrepreneur แล้วทำให้สำเร็จ ร

4. Perils of the State

ภยันตรายที่เกิดกับประเทศชาติหรือรัฐ มี 11 หัวข้อใหญ่ มีการสรุปภาพรวมที่มาใช้ร่วมกับ ม.อ. เช่นการที่รัฐบาลจะแทรกแซงเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ บริษัทใหญ่ ๆ สนับสนุนโดยรัฐบาล มีอเมริกา Free Market
Economy มีการวัดอัตราการเติบโตที่ Growth Rate และถ้าลองดูปี 2008 บริษัทที่รัฐบาลมาควบคุมมี 30 % ในตลาดหุ้น และ 5 ปีต่อมาส่วนแบ่งลดลงครึ่งหนึ่ง และโดยทั่วไปบริษัทที่เป็นของรัฐยังไม่ได้

เรื่องการใช้จ่ายเป็นปัญหา และเมื่อรัฐจ่ายมากเกินไปเช่นให้อาหารฟรี หรือสนับสนุนน้ำมันราคาถูก หรือสายการบิน จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมแย่ลงในระยะยาว ซึ่งประเทศที่แย่ที่สุดคิดเป็น 57% ของ GDP เช่นฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรายจ่ายที่สูง ดังนั้นรัฐบาลต้องลดรายจ่ายเหล่านี้ให้ต่ำลงมาเพื่อสามารถจัดการกับหนี้ได้ ประเทศบราซิล ก็ใช้จ่ายมากสุดใช้จ่าย 41% ก็มีปัญหา ภาษีที่บราซิลเก็บไป 35% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากแต่นำมาใช้เงินไม่ดี ต่างกับเกาหลีเก็บน้อยกว่าแต่สามารถนำมาใช้ในโครงการดูแลเด็กอ่อนได้ให้แม่ทำงานได้เร็วขึ้น

สิ่งที่นำมาใช้กับ ม.อ.

ต้องนำมาใช้เงินงบประมาณดีทั้งคุณภาพและปริมาณถึงจะทำให้ ม.อ. เติบโต

ดร.จีระ เสริมเรื่องบราซิลที่พอมีเงินแล้วโลภ ได้ขอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกและโอลิมปิก แต่ความจริงต้องคำนึงถึงเศรษฐกิจมีขึ้นแล้วต้องมีลง อย่างที่ ม.อ. ต้องมีการรวมตัวกันแล้วชนะ ต้องนำ IQ ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Creation , Value Diversity อยู่ตรงไหน ให้หาพันธมิตรในโลก ม.อ.เป็นแบรนด์ของสังคม เป็นมหาวิทยาลัย 1 ใน 3 ที่จอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอมสร้างขึ้นมา

บทนี้ได้พูดเรื่องบทบาทของรัฐในโลกในเรื่อง Crisis อย่าให้เป็นอันตรายต่อระยะยาว อย่าให้รัฐบาลเน้นใช้เงินเพื่อประชานิยม คือการที่อยากได้คะแนนเสียมากเลยให้ทุกอย่างแก่ประชาชน แต่อย่าลืมว่าสิ่งนี้เป็นการลงทุน ทุกคนปรับ Mindset แต่ถ้าไม่ปลูกฝังความคิดที่ดีจะทำให้เกิดความล้มเหลว มีความสับสนและมั่ว สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างคือการลงทุน ทุนมนุษย์คือการเสียก่อนและได้ทีหลัง การลงทุนเรื่องคน เรื่อง R&D และโครงสร้างพื้นฐาน การมีเงินประจำบวกกับดอกเบี้ยที่เสียไป เงินในประเทศไทยที่เหลืออยู่ในการลงทุน ในแต่ละปีงบที่ใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สำนักงบประมาณเมืองไทยเวลารถเสียจะมีงบซ่อม เราต้องมีงบฯในการพัฒนาสมองเรา นิสัยในการอ่านหนังสือของทุกคนในห้องนี้ต้องติดตัวไป

กลุ่ม 1 : 1. People Matter 2. The Circle of life

1. People Matter

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลงคือการลดลงของคนที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ตัวอย่างประเทศไทยเข้าสู่ Aging Society เริ่มตั้งแต่คุณมีชัยที่รณรงค์เรื่องการใช้ถุงยาง ได้พูดถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแปรผันตรงต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณี เช่น ถ้าประเทศที่มีประชากรมากขึ้นแต่นโยบายไม่ได้สนับสนุนก็ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจเสมอไป

มีจำนวนนโยบาย และจำนวนแรงงานลดลง มีการแก้ปัญหาของประเทศโดยการเพิ่มประชากร นโยบายลดลงเพื่อเพิ่มจำนวนทำให้เกิดการไม่สมดุลกันระหว่างเพศ มีการเลือกเพศเช่นเมืองจีนเลือกเพศชายเพื่อให้สืบสกุล

ตลาดแรงงานมีการนำผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานให้ผู้หญิงเป็นผู้บริหารมากขึ้นเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป

เรื่องคนสูงอายุอาจมีการยืดอายุในส่วนของ Retirement และเรื่อง Population ประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการเกิดในโลกในประเทศที่ยากจนยังสูงอยู่ แต่ต่ำในประเทศที่เจริญ

ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าประเทศที่กำลังฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คุณภาพกำลังแรงงานต่ำ แต่ถ้าไม่พัฒนาคุณภาพและอัตราการเกิดจะทำให้ประเทศมีปัญหา

การทำวิจัยร่วมกับอาจารย์เทียนฉายพบว่าแต่ก่อนพ่อแม่มีลูก 6 คน แต่สัดส่วนปัจจุบันลดลงเหลือ 2 คน มีผลกระทบต่อกำลังแรงงานที่เกิดขึ้นในอนาคต เราต้องปรับพัฒนาแรงงานเด็กเหล่านั้นให้มีคุณภาพ ถึงจะใช้ได้ แต่ยังขาดแรงงานอยู่จึงทดแทนด้วยแรงงานต่างด้าว

การทดแทนทำได้โดย 1. นำคนแก่เป็น Productive workforce 2. เลื่อนการ Retirement ตัวอย่างที่ฝรั่งเศสอายุ 67 ปี แต่ที่ไทยยังเป็น 60 ปี ในมหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยที่เวลาต่ออายุข้าราชการเกษียณอาจเข้าสภาฯก่อน และมีการเล่นการเมืองในคณะ มีแต่ Yong PhD. ไม่มี Old PhD. คนเราอยู่ที่สุขภาพ ร่างกาย จิตใจ และค่านิยม

2. The Circle of life

ประเทศนั้น ๆ พร้อมสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่หรือยัง ให้ย้อนมาดูว่าตอนนี้ประเทศอยู่ที่วังวนไหน เริ่มต้นที่ว่าประเทศมี Crisis อะไร และคนเริ่มเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคนจะดีขึ้น และเมื่อดีขึ้นเศรษฐกิจจะค่อย ๆ แย่ แล้วเราก็ต้อง Reform ใหม่

ประเทศในช่วงเวลาที่มีปัญหา มีผู้นำคนที่มีความสามารถเรียกกระแสประชานิยมได้ ที่เป็นกำลังสำคัญในการ Reform ครั้งนี้

ผู้นำทางการเมืองเห็นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นตัว Confirm ว่าเขาได้จริง ทำได้จริง พอเศรษฐกิจดีจะให้มองว่าเป็นเครดิตเขา แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจะโทษสิ่งแวดล้อมภายนอก

Great Leader และ Fail Leader

เมื่อสถานการณ์ที่เป็นเรื่องใหญ่ คนต้องการเปลี่ยนแปลง ผู้นำคนใหม่ส่วนใหญ่เป็นคน No Name

ความหงุดหงิดใจทางเศรษฐกิจทางเวลานาน

คนที่ขึ้นมาได้ต้องเป็นคนที่มีความเหมาะสมสองด้านคือต้องเป็นที่ยอมรับมีวิธีการพูดที่คนพอใจ และเมื่อเกิดวิกฤติแล้วเราเป็นที่รักของคน เราเข้าใจปัญหาจะดี ใช้วิธีการชาตินิยมที่เราต้องช่วยกัน

Leader ที่มาจากมวลประชาชน และนักวิชาการที่มีความรู้

นักวิชาการที่มีความรู้ส่วนใหญ่ช่วยในการสนับสนุนผู้นำมากกว่า แต่ผู้นำก็ต้องฟังด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญสามารถทำลายบ้านเมืองเศรษฐกิจได้เช่นกันถ้าพูดอะไรที่เป็นทฤษฎีโดยไม่ตอบโจทย์คนในพื้นที่

Leader ที่เป็นประชาธิปไตย และเผด็จการ

เมื่อทุกอย่างถูกเกียร์ไปด้านเดียวโดยไม่มีใครล้างเลย ถ้าดี ก็ดีไปแต่ถ้าไม่ดีก็ศูนย์ เพราะเป็นระบบเบ็ดเสร็จ เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าที่ดีนั้นดีจริงหรือไม่อาจมีไม่ดีซ่อนอยู่ก็ได้

สิ่งที่นำไปใช้กับ ม.อ.

เรื่อง Cycle เป็นเรื่องที่ดีและไม่ดี ต้องเปลี่ยนคนใหม่ ๆ มาเรื่อย ๆ ซึ่งดีบ้างในบางครั้งแต่ต้องคำนึงถึงความต่อเนื่อง การเปลี่ยนคนไม่สำคัญเท่ากับการดูว่าแกนนั้นสำคัญหรือไม่ และนำไปสู่การ Reform ได้ ต้องฟัง Local มากขึ้น ถ้าร่วมมือกับ Local ได้ ก็จะดีกับทั้งคู่

ดร.จีระ เสริมว่า Circle of life ของแต่ละประเทศเกิดอย่างไรและนำไปสู่การปฏิรูปหรือไม่ ซึ่ง ม.อ.ต้องคิดให้ดีว่า Leader ที่จะ Emerge ขึ้นมา Pattern เดิมที่เคยสรรหาอยู่อาจจะไม่เหมาะเพราะยุคต่อไป ยุค Entrepreneur ,Proactive และสั่งการ อธิการส่วนใหญ่มีอำนาจในการอนุมัติแต่ไม่ได้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ที่ ม.อ. มข. มช. คล้ายกัน คิดว่าการได้มาของผู้นำในยุคต่อไป Different Period of Life , of Organization , of Country เกิดจากคนอเมริกาอยากเติมความยิ่งใหญ่ต่อไป หลักสูตรนี้จึงน่าจะเป็นหัวใจอย่างหนึ่งที่ไปคิดต่อ อาจคิดรวมกับรุ่น 1 หรือ รุ่น 3 เป็น Collective Wisdom

Leader ที่ดีต้อง Reform ต้องปฏิรูป ไม่ใช่ทำไปเรื่อย ๆ

กลุ่ม 3 : 5. The Geographic Sweet Spot 6.Factories First

บทเกริ่นนำ

ผู้เขียนได้อุปมาในสิ่งที่เขาเล่าถึงในการเดินไปในประสบการณ์ เดินทางไปเมืองใหญ่ ๆ หลายประเทศ เป็นลักษณะการมองเศรษฐกิจของโลกที่เป็นเหมือนระบบนิเวศ ที่ยกบทกวีเรื่องเล่าของชนเผ่า ในช่วงป่าอเมซอนที่น้ำท่วม น้ำลด การข้ามเส้นทางสีเขียว หญ้าขึ้นข้างทาง เป็นวัฏจักรน้ำขึ้นน้ำลง การอพยพของสัตว์ต่าง ๆ กล่าวถึงระบบเศรษฐกิจโลกมีการขึ้นลง เกิดดับ และนำมาสู่ระบบการเตือนภัยที่ดี

จุดเร้าใจในเชิงภูมิศาสตร์

ประเทศสามารถกำหนดพื้นที่ได้ด้วยตัวเองหรือไม่ ได้ยกตัวอย่างการเล่าเรื่องหรือประสบการณ์ เป็นประเทศในกลุ่มอาหรับที่ทันสมัย ในเชิงภูมิศาสตร์ ประเทศดูไบมีความสำคัญ ได้มองตัวเองแตกต่างจากประเทศในกลุ่มอาหรับอื่น ๆ เป็นจุดที่ได้เปรียบ จากอิหร่านในกลุ่มประเทศที่เย่อหยิ่งและยโส ไม่ครบใคร ถือเป็นประเทศใหญ่ในอาหรับจะวางนโยบายอีกแบบหนึ่ง แต่ดูไบเปิดประเทศ จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นตลาดทางการค้า การช้อปปิ้ง เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ สะท้อนให้เห็นว่าดูไบสามารถเลี้ยงตัวเอง สร้างจุดได้เปรียบทางการแข่งขัน สร้างพันธมิตรทางธุรกิจได้ดีกว่าอิหร่าน

ในหนังสือเล่มนี้พูด 3 เรื่องคือการวางตัวในเวทีทางการเมืองและนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศและการวางPosition ของตนเอง ประกอบกับ Infrastructure มีความพร้อม

5. The Geographic Sweet Spot

ทำไมยุโรปได้เปรียบเนื่องมาจากยุโรปมีการรวมตัวกันสร้างภูมิศาสตร์การค้า มีความพร้อมในการขยายดินแดนและการค้า เกิดเมืองท่าที่สำคัญ รวมไปถึงระบอบการปกครอง ในยุคการเปลี่ยนแปลงยุโรปในยุคนั้นนำไปสู่การปฏิรูปทางการเมือง เรื่อง Public Place และ Private Sector ยุโรปสถาปนาขึ้นมาได้

ในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สงครามอเมริกาใหญ่โตขึ้นมาได้

บทเรียนภูมิศาสตร์ที่ได้รับ

ปัจจุบันมีการมองเปลี่ยนแปลงไป คือทำไมเวียดนามถึงโตขึ้นมา ทำไม SEA จึงย้ายอำนาจทางเศรษฐกิจมาตะวันออกมากขึ้น ให้มีการลดต้นทุนหาแรงงานตะวันออกมากขึ้น ในปัจจุบันไม่เอาแล้ว การมองพื้นที่ใหม่ การลงทุนทางการค้าต้องไปจ่อที่หน้าประตูของลูกค้าและ Supplier เวียดนามหรือประเทศเล็ก ๆ จึงสำคัญขึ้นทั้งในตะวันออกและละตินอเมริกา เนื่องจากเปลี่ยนเส้นทางการค้าใหม่ และสามารถสั่งซื้อได้ทางไกล สามารถลดต้นทุนได้ มีการวาง Location ที่ได้เปรียบ ส่วนอีกปัจจัยหนึ่ง การกำหนดนโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ถูกต้องจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและInfrastructure การเมืองที่นิ่งและการวาง Infrastructure ที่พร้อมจะมีส่วนสำคัญมาก อย่างจีนมีการมองในเรื่องการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐาน ในทุกเคสผู้เขียนให้ความสำคัญมาก ส่วนอีกเรื่องคือ Economic Reform

เรื่องการหาแนวร่วม Free trade Agreement มีการรวมกลุ่มทางการค้า ได้โมเดล EU มีการเซ็นสัญญาทางการค้า

ผู้นำของประเทศต้องมีวิสัยทัศน์และพร้อมที่จะเป็นเพื่อนกับคนอื่น มีการพัฒนาแบบ Fling Piece Model มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น มีนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า หาพันธมิตรในลาวและเวียดนาม และเปลี่ยนเป็นนโยบายทางการค้า เห็นเส้นทางการค้า เป็นการรวมกลุ่มทางการค้า มีการวิพากษ์วิจารณ์

Trade Group มีความเข้มแข็ง มีข้อได้เปรียบ มีการรวมกลุ่มทางการค้า ซึ่งเมื่อรวมกลุ่มกันแล้วถ้ามีการตัดสินใจที่ไม่ยืดหยุ่นอาจมีผลต่อนโยบายทางเศรษฐกิจได้

ดร.จีระเสริมว่าบทนี้เหมาะกับ ม.อ.และเหมาะกับประเทศไทย อย่างคุณนิพนธ์บอกอยากให้สงขลาเป็นเมืองนวัตกรรม ดร.จีระเสริมว่าอยากให้เป็นเมืองผู้ประกอบการโดยไปเชื่อมกับอาเซียนได้ทั้งหมด อยากให้ใช้โอกาสทางภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศอาเซียนมากขึ้น เพราะปัจจุบันใช้โอกาสน้อยไป ใช้เมืองเป็นตัวสร้าง เมืองนวัตกรรม ไบโอต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ ม.อ.เล่นได้ น่าจะเอาไปขยายในคณะ ให้มีการ Aware มากขึ้น

6.Factories First

สิ่งที่น่าสนใจคือดูเรื่อง Second City ต้องระวังเรื่องเมืองบางเมืองโตมากเกินไป คือเมืองใหญ่เมื่อเกิดมามากอาจกระจุกตัว และเกิดความเหลื่อมล้ำ

ภาค Service ที่พูดเรื่องการลงทุน มี Economic Drive ที่สำคัญคือ Investment กับ Consumption ในภาคเกษตร บริการ และภาคอุตสาหกรรมการผลิต และบางครั้งอาจเป็น Weak Investment ตอนใช้อาจไม่ Productive เช่นคนขโมยใช้ไฟฟ้าฟรี หรือลงทุนด้านรถไฟ แต่คนยังใช้รถอยู่ แสดงว่าประเทศไม่ Productive หรือประเทศที่เจริญแต่ยังรถติดอยู่แสดงว่าระบบเครือข่ายแย่ จึงต้องให้ดูเรื่องสัดส่วนการลงทุนที่สามารถก่อให้เกิด Productive ได้ด้วย

ดังนั้นนักลงทุนต้องก้าวไปสู่การผลิตให้ได้โดยเฉพาะเทคโนโลยีและ Infrastructure

ภาค Service ไม่ได้ลงทุน Infrastructure สูงและไม่ได้ใช้แรงงานมาก แต่เราต้องเน้นเรื่องการพัฒนาให้รู้จักวิธี Transformation คือจะรู้จักวิธีการ Transform ในเรื่องวิกฤติได้อย่างไร และอย่ามองเรื่องการให้บริการแบบเดิม ๆ หาวิธีการใหม่ ๆ

สิ่งที่นำไปใช้กับ ม.อ.

เรื่อง Location เรื่องภูมิศาสตร์ ได้นำไปสู่ระบบในการสร้างพื้นที่ของตัวเอง PSU จะกำหนดได้หรือไม่ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันได้อย่างไร

เรื่อง Leadership โครงสร้าง นโยบายพร้อมหรือไม่ ผู้นำปรับตัวได้หรือไม่

เรื่อง Infrastructure PSU มีความพร้อมหรือยังที่เข้าสู่การแข่งขัน

ดร.จีระเสริมว่าถ้าจะ Shift จาก Manufacturing ไป Service นั้นได้ แต่ Return of Investment จะน้อย ประเทศไทยตัว I ลดลงเพราะไทยย้ายฐานการผลิตไปสู่ สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยอาจ Move ไป Innovation Car ต้องดูว่าจะทำอะไร

ควรมีผู้นำระดับท้องถิ่น Trend ของโลก Shift ไปทาง Service ทำให้เพิ่ม Consumption แต่เป็นการลด Investment

กลุ่ม 4 : 7. The Price of Onions 8.Cheap is Good

7. The Price of Onions

Infration เงินเฟ้อที่ต่ำเป็น Good Sign เงินเฟ้อที่สูงเป็น Bad Sign

เงินเฟ้อเกิดจาก

1. Demand Pool คือ Supply – ราคาของโดยเฉลี่ยสูงและมีการสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าสูงจะไม่ดี ถ้าต่ำจะดี เงินเฟ้อสูงนิด ๆ จะดี แต่อย่าสูงมาก

เงินเฟ้อมาจาก demand มากกว่า supply และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

2. เงินเฟ้อเป็นโรคร้ายที่คุกคาม ทำลายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นภาวะที่ของแพง ถ้าแพงขึ้นเรื่อย ๆ คนจะจับจ่ายมาก และยิ่งทำให้เฟ้อมากขึ้น ทำให้การออมและการลงทุน น้อยลง การส่งออกน้อยลง คนมีค่าครองชีพสูง กระทบต่อการเมืองทำให้การเมืองสั่นคลอนได้

3. ต้องมีการต่อสู้เป็นสงคราม ซึ่งทุกประเทศต้องเอาชนะตลอดเวลา ต้องคอยควบคุมและเอาชนะให้ได้ และจะทำอย่างไรที่จะชนะเงินเฟ้อและชนะอย่างยั่งยืน

วิธีการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ มีนโยบายหลัก ๆ 2 นโยบายคือนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน เช่นการลดการปล่อยสินเชื่อ การเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อกระตุ้นการออม ต้องมีการค้าที่เปิดกว้าง และต้องมี Financial Network ตัวอย่างประเทศตุรกีที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ชั่วขณะ ตัวอย่างประเทศตุรกีที่ชนะได้เพราะใช้เงินเฟ้อช่วย อินเดียพยายามต่อสู้โดยให้ชาวบ้านทำเกษตรพื้นฐานเพิ่มเติม มีการต่อสู้กันอยู่

Deflation เป็นลักษณะเงินเฟ้อติดลบลงไปคือสินค้าลดลงอย่างต่อเนื่องคนจะไม่ซื้อ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวจะไม่ดี Consumer Price ไม่ใช่ทั้งหมดของเงินเฟ้อ ไปอ้างอิงของประเทศอินเดียที่บริโภคหัวหอมเป็นหลักเกิดวิกฤติหัวหอม จึงต้องระงับการส่งออกเพื่อไม่ให้หัวหอมแพง แต่ในที่สุดไม่ได้ขึ้นกับหัวหอมอย่างเดียวแต่ขึ้นกับสินทรัพย์ด้วย

ดร.จีระ เงินเฟ้อน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีจาก Growth อย่างที่ประเทศไทยน้ำเปล่าถูกมาก 7 บาท แต่ที่นิวซีแลนด์ 150 บาท อยู่ที่เราสามารถแลกเปลี่ยนสินค้าได้เท่าไหร่ เงินเฟ้อมากจะซื้อสินค้าได้น้อย ตัวเงินไม่สำคัญเท่ากับ Real Value ถ้า Stable จะทำให้ประเทศฟื้นขึ้นมาได้ภายใต้วิกฤติ เราควรลงทุนให้เร็วที่สุดไม่เช่นนั้นเงินเฟ้ออาจขึ้นมาอีกได้ บทนี้สำหรับ ม.อ.ฝ่ายการเงินควรคิดให้ดี เพราะถ้าเศรษฐกิจขยายมากกว่านี้Demand สินค้าต้องมาก เราควรจะใช้ประโยชน์จากการใช้เงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ แต่เงินเฟ้อที่ต่ำมากเกินไปก็ไม่ดีเรียก Deflation

เอาเงินที่ส่งออกลบนำเข้า ให้นำ Research วัสดุก่อสร้างถูก

ในทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นกับของจริงและของที่คาดคะเน ตัวอย่างเช่น ก.พาณิชย์มีธงฟ้า หรือของบิ๊กตู่ก็มีเรื่องขายสินค้าราคาถูก หรือ ม.อ.ที่คณะแพทยศาสตร์จะมีการควบคุมราคา

8.Cheap is Good

ถูกแล้วดีหรือไม่ ประเทศเราถูกหรือแพง ต้องดูสินค้าชนิดเดียวกันแล้วจะรู้ว่าอันไหนถูกอันไหนแพง เมื่อไปอิงกับตัวเงินเข้าและเงินออกเราจะอ่านเรื่องการไหลของเงินได้อย่างไร ให้เปรียบเทียบการผลิตกับการบริโภคว่าสมดุลหรือไม่จะรู้ได้ทันที เงินที่ได้จากการส่งออกกับการนำเข้าเป็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือสถานะบัญชีขาดดุลหรือไม่ เงินเข้าหรือเงินออก ส่วนประกอบที่ชี้ว่าการเงินวิกฤติคือประเทศขาดดุลมากกว่า 5% เป็นเวลาหลายปี หรือการไม่ชำระหนี้ของต่างชาติ หรือบัญชีขาดงบ หรือมีหนี้สะสมก้อนโตมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณในการเกิดวิกฤติทางการเงิน แล้วการกระจายของกระแสเงินนี้จะเป็นอย่างไร สกุลเงินจะผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างไร นักลงทุนจะเริ่มถอนทุนและเปลี่ยนประเทศ

ถ้าเราไม่มองว่าเป็นเรื่องของการเปลี่ยนโลกาภิวัตน์จะเปลี่ยนกฎในการลดขนาดได้อย่างไรจากมองที่ภาพกว้างเป็นการมองที่ภาพแคบได้หรือไม่ ต้องหาแหล่งเงินกู้ไม่ใช่แหล่งเงินกู้ของประเทศเพื่อนบ้าน และถ้าเกิดกระทบมากจะมองแคบ ๆ ได้หรือไม่ต้องวิ่งหาคนอื่น ๆ อีก และเมื่อเกิดแล้วมองเห็นว่าเริ่มดีขึ้น ตัวเลขในบัญชี งบดุลของประเทศจะรู้

Follow the locals

ตามท้องถิ่นได้อย่างไร เมื่อเกิดวิกฤติ นักลงทุนหนีไปหมด คนที่มาลงทุนเกิดจากคนในประเทศ เมื่อมีสัญญาณดีขึ้น คนกลุ่มนี้จะมาก่อนประเทศอื่นแล้วคนอื่นจะมาตาม บ้านตัวเองต้องให้ตัวเองกู้ แล้วในที่สุดจะกลับมา การ Rebound เป็นการขาดดุลหรือเกินดุล

You can’t Devalue Your Way to Prosperity

เราไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจแข็งแกร่งโดยลดค่าของเงินได้เพราะปัญหาคือชำระเงินกู้ และมีปัญหาเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบ เพราะจะทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาไม่ยั่งยืน

ดังนั้นวิกฤตที่เกิดขึ้นจากกระแสเงินมีอะไรบ้าง เมื่อไหร่แพง เมื่อไหร่เข้า เมื่อไหร่ออกจะให้ผู้บริหารปรับใช้ได้อย่างไรทำอย่างไรไม่ให้ขาดดุลและล้มเหลว เราจะลดอย่างไรให้ลูกค้าหรือนักศึกษารู้สึกว่าไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบจากที่อื่น แต่ระวังเป็นการลดคุณค่าตนเอง การเงินเป็นตัวบ่งชี้ว่าเมื่อไหร่จะอยู่ได้หรือไม่ได้

การแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศจะทำอย่างไร เราจะใช้ประโยชน์ค่าเงินเรา และอัตราการแลกเปลี่ยนได้อย่างไร ทำอย่างไรให้นักศึกษาต่างประเทศมาเรียนที่เราได้บ้าง แต่สินค้าจะลดตามหรือไม่อยู่ที่ความรู้สึก

ดร.จีระ เสริมว่า ในหลักการในโลกประเทศเราต้องเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก และตอนที่ฟองสบู่แตกเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเพราะเราขยายตัวมาก เราจะโลภ มีการเปิดเสรีทาง BIBF แบงค์ไทยสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ เป็นการปฏิรูปทางการเงิน แต่ตอนที่ไปกู้มาแลกเป็นเงินบาทได้ 22 แต่พอจะคืนไปขึ้นไปเกือบ 50 บัญชีธุรกิจที่ดีจะไปล้มละลายทุกอัน ในอนาคตข้างหน้าขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเราจะบริหารสิ่งเหล่านี้อย่างไร คนที่ดีไม่อยากกู้ แต่ธนาคารให้กู้อาจพังไปด้วย ดังนั้นประเทศไทยต้องดูแล 2 อย่างคืออย่าให้ดุลการค้าติดลบเกินไป และแบงค์ชาติต้องดูแลให้ดี โชคดีที่ไม่มี Single Currency แบบยูโร ของไทย Export กินบุญเก่า แต่ในปัจจุบัน Export ไทยพังเนื่องจากไม่ได้พัฒนาสินค้า สินค้ายังเป็นแบบเดิมอยู่ เราจะเปลี่ยนสินค้าเป็นภูมิปัญญาของเราได้อย่างไร

เราต้องเอาจริง อย่าบ้าคลั่งวิชาการมาก เราต้องพลิกเอาทรัพย์สินทางปัญญาของเรามาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างรายได้เข้ามา ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อหา Income และให้มี Entrepreneurial Spirit นักเรียนจะเปลี่ยนได้เร็วกว่าเพราะง่ายในการปลูกฝัง

กลุ่ม 5 : 9. The Kiss of Debt 10.The Hype Watch

9. The Kiss of Debt

การจุมพิตจากหนี้สิน หนี้สินเป็นเสมือนดาบสองคม ไม่มีประเทศไหนไม่มีหนี้สินเพราะสังคมส่วนใหญ่ต้องการการเจริญเติบโต หลายประเทศมีฝันร้ายเกี่ยวกับหนี้สิน เช่นอเมริกาเรื่อง Hamburger Crisis ที่เม็กซิโก และประเทศไทย วิกฤติต้มยำกุ้ง 1997

จุมพิตจากหนี้สินเป็นทั้ง Rise and fall คือรุ่งเรืองและเสื่อมถอย

หนี้สินเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความรุ่งโรจน์และล้มละลายได้ เมื่อเราเริ่มก่อหนี้สิน เป็นภาวะที่เศรษฐกิจกำลังไปด้วยดี และอยากเติบโตด้วยอัตราที่เร็วขึ้น มีการใช้หนี้สินจนเกินตัวคือการก่อหนี้แล้วสำลักเป็น Financial Crisis คือวิกฤติทางการเงิน และทำให้หลายอย่างเริ่มเสื่อมถอย ต่างประเทศไม่เชื่อถือ และนำมาซึ่งเศรษฐกิจ Slow Down เกิดภาวะคนเริ่มขยะแขยงกับการเป็นหนี้ กลัวการเป็นหนี้ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่รู้สึกเช่นเดียวกันคือการใช้เงินเกินตัว และหลังจากนั้นทุกคนจะเริ่มไม่ก่อหนี้ แบงค์เริ่มมีการเช็คมากขึ้น คนมีวินัยมากขึ้น และจะกลับสู่การปลดปล่อย และจะเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง สำหรับประเทศไทยอยู่ในช่วย Recover and Grow คืออยู่ในช่วงที่เสวยสุขทางด้านนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในสภาวะที่กำลังเชื่อมั่นต่อประเทศไทย

ในสภาวะที่มีหนี้มาก ความต้องการการบริโภคสูงขึ้น การมีก่อหนี้มากจะทำให้ทุกคนหลงระเริง เกิดสภาวะที่บูมมาก ๆ ซื้อง่ายขายคล่อง

การก่อหนี้ไม่ควรเกิน 40 % ของ GDP จากการศึกษาจะเป็นตัวกำหนดว่าเกิดการเกินเส้นซึ่งถ้าเกินนี้ไปจะเกิดการ Tricker คือ Economic Slow down และจากจุดนี้จะทำให้เกิด Financial Crisis คือการป้องกันอย่างไร พยายามให้การก่อหนี้ช้ากว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

The Hype Watch

ประเด็นเรื่องการประโคมข่าว จะมีการเขียนถึงประเทศไทย เขียนถึงประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้อย่างไร สื่อต่าง ๆ จะมีการพูดเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ

ประเด็นที่ศึกษาคือการประโคมข่าวเป็นสื่อนิตยสาร ซึ่งสื่อนิตยสารโดยมากจะสวนทางความเป็นจริง สิ่งที่ปรากฏในสิ่งเหล่านี้ สื่อแบบหนึ่งแต่ความเป็นจริงเกิดขึ้นอีกแบบหนึ่ง ให้เครดิตกับ IMF และ World Bank ต้องมีการสังเกต

มีการพูดถึง GDP Growth พูดเรื่อง Emerging Country มีการพูดถึงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ดอกเบี้ยขึ้นหรือไม่ มีการพูดถึงการลงทุน พูดถึงเศรษฐกิจภูมิภาคต่าง ๆ มีการพูดเรื่องความท้าทายของคน

ตัวอย่างประเทศจีนมีเรื่องการก่อหนี้ภายใน

Mass Convergence คือกลุ่มของประเทศ มีตุรกี มีรัสเซียต่าง ๆ อัตราการเติบโตอยู่ระยะการเติบโตแบบก้าวกระโดด

เศรษฐกิจจะผูกติดกับราคาโภคภัณฑ์ ราคามีผลต่อเศรษฐกิจ การคาดการณ์มีการขึ้นลง ไม่สามารถคาดการณ์โดยเอาตัวเลขต่าง ๆ มา หลายประเทศไม่เคยปลูกข้าวมาก่อนจะเริ่มปลูกข้าว

การมองเศรษฐกิจกลุ่มนี้ต้องมองว่าปัจจัยที่รองรับเป็นอย่างไร

Middle Income “Trap”

ประเทศในกลุ่มจะมีกับดักของมันคือ กลุ่มที่อยู่ในกับดัก ประเทศไทย ไทยแลนด์ 4.0 เป้าหมายคือการขับเคลื่อนจากโลกที่สองไปโลกที่หนึ่ง ถ้าอยู่ใน Trap จริงคือเป็นประเทศที่มีฐานะปานกลาง แต่ขาดในปัจจัยพื้นฐานที่รองรับ เปลี่ยนจากฐานะยากจนเป็นปานกลาง ซึ่งฐานะยังไม่เข้มแข็งพอ เราจึงควรสร้างปัจจัยการรองรับที่เข้มแข็ง

ตัวอย่างเมียนมา เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ เปลี่ยน Infrastructure และมาอยู่ใน Middle Income

Indifference

จะมีลูกรักลูกชัง ตัวอย่างเวเนซูเอล่าอยู่ในการ Cheer up มองการเติบโตของบางประเทศที่ดีเป็นลูกรัก ประเทศที่เติบโตไม่ดีเป็นลูกชัง เมื่อมีการประโคมข่าวว่าประเทศไหนคือลูกรัก ประเทศไหนคือลูกชัง สิ่งที่พบคือเชียร์ประเทศไหนอีกไม่นานจะล้ม และลูกที่ไม่เชียร์แท้จริงแล้วจะมีโอกาสขึ้นมาแล้วสามารถพลิกโผลได้ ดังนั้น เราต้องค้นหาประเทศที่ Indifferent ประเทศที่แตกต่างเป็นสิ่งที่น่าสนใจคือการเข้าไปค้นหาเพชรในตม

ภูมิต้านทานคือเราจะไปรับมืออย่างไรกับสิ่งที่เรียกว่าเป็นการประโคมข่าว ให้เช็คประเด็นก่อนว่าคืออะไรกันแน่ ให้ใช้สมมุติฐานขึ้นมา

1. ประเทศที่มีการเติบโตมายาวนานให้ระวังจะถึงคราวไปสู่ความล่มสลาย

2. ลูกรักมีโอกาสเติบโตไปในอนาคตค่อนข้างยาก

3. ต้องหาเหตุผลว่ากลุ่มเหล่านี้มีโอกาสเกิดและเป็น Succession Story ได้อย่างไร

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

อยากเชิญชวนทุกท่านดูเนื้อหา 11 หัวข้อพูดถึงเรื่องอะไรและกระทบกับ ม.อ.อย่างไรบ้างกับความปรารถนาดีที่ให้คือทุกท่านจะทำอะไรต่อ

ภาพ Micro เรื่องของคน ทุนมนุษย์ ดูว่าโลกนี้ปัญหาเรื่อง Population จะนำคนเหล่านั้นมาทดแทนการเชื่อมโยงคนได้อย่างไร เป็นปัญหาของม.อ.เช่นกัน จะแลกเปลี่ยนคนทั้งสองกลุ่มและทำให้เกิดประโยชน์กับสองกลุ่มอย่างไร

วัฏจักรเปรียบได้กับธรรมชาติคือสูงสุด เสมอทรงตัว และตกต่ำ ตรงกับทฤษฎีของดร.จีระคือต้องค้นหาความจริงให้ได้ อย่าดาวกระจาย ปัญหาที่โดดเด่น และสร้างให้เติบโต ให้ดู Circle ของมหาวิทยาลัยว่าเป็นอย่างไร

ในฐานะที่เป็นอาจารย์ต้องสร้างความรู้ใหม่ นวัตกรรมทางธุรกิจต้องสร้างความร่วมมือระหว่างนักเรียน ครูและผู้บริหาร ทุกคนต้องดูปัญหาร่วมกัน

ทุนทางจริยธรรมใน ม.อ. ถ้าเทียบกันระหว่าง Good Billionaires กับ Bad Billionaires ทั้งสองสิ่งนี้ต้องอยู่คู่กัน ต้องต่อสู้กันแล้วจะได้สิ่งที่ดีระหว่างฝั่ง Good และ Bad

รัฐบาล ต้องให้ Support ม.อ. และงบประมาณที่ใช้เมื่อได้มาต้องใช้ให้คุ้มค่า แต่ถ้าใช้อย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่คุ้มค่าอาจมีปัญหา

Location ที่ม.อ.เป็น Center ของโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้เปรียบที่สุด ต้องค้นหาให้ได้ว่าในประเทศไทยเป็น Good location , Good Shipping ทั้งทางโลกตะวันออกและตะวันตก ต้องดึงชุมชนเข้ามาเห็นทางภูมิศาสตร์และ Location

ทางด้านอุตสาหกรรมทิ้งไม่ได้ เราต้องค้นหา Value Added ให้ได้ว่าอยู่ตรงไหน และเชื่อมโยงให้ได้ว่าผืนดินของไทยที่แปรเป็น Logistics ได้โยงสัมพันธ์ได้อย่างไร

เรื่องราคา ถ้ามหาวิทยาลัยจะแข่งขันคนอื่นได้ แล้วลดราคาลง คุณภาพย่อมต่ำลง เพิ่มคุณภาพสูงขึ้นแล้วทำส่วนแตกต่างให้เป็นที่ประจักษ์ต้องรู้ตัวตนของเราว่าเป็นอย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะหาแก่นแท้ของตัวเราเอง แล้วหาจุดสุดยอดของตัวเองเพื่อไปแสดงต่อสังคมโลกได้อย่างไร ยกตัวอย่างพระบรมราชินีนาถไปค้นหาเรื่องศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถ้าเราทำได้แล้วพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้วทำให้โดดเด่นจะสามารถไปได้ ตัวอย่างที่ดีของอเมริกาคือการรวมกันระหว่าง 50 รัฐ ตอนนี้อเมริกาหากินกับคำว่า Technology ดูได้จาก Facebook Amazon เป็นต้น แล้วม.อ.จะขุดของเก่าให้มีคุณภาพที่คนอื่นไม่เห็นแล้วเราเห็นได้อย่างไร

ราคาถูกไม่ได้บอกว่าจะดีเสมอไป ขายถูกไม่มีคนซื้อ จึงได้ปรับเป็นราคาแพง ก็อาจมีกำไรคุ้มค่าและคนแย่งซื้อ

เรื่องหนี้สินเป็นตัวเสริมกลไกของเรา ต้องสร้างหนี้อย่างมีคุณภาพและคุ้มค่า ม.อ.ต้องศึกษาให้ได้ว่าเขาคือใครและเราคือใคร หาส่วนต่างที่คนอื่นไม่มีแล้วเรามี ให้ค้นหา Location คือสิ่งที่ทำมาหากินได้ แล้วนักวิชาการของ ม.อ.จะช่วยให้คนได้ประโยชน์จาก Location ให้เกิดเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูได้อย่างไร

ตัวอย่างประเทศจีน มีการเปิดประเทศ ยอมลงทุนขายของก่อน แล้วให้คนย้อนกลับมาว่าของห่วยใช้ไม่ได้เลย ต่อมามีการส่งเสริมการผลิตและสร้างคนให้มีคุณภาพซึ่งคาดว่าจีนจะกลายเป็นผู้นำเศรษฐกิจของโลก ในอนาคตอาจทำให้เราผูกกับจีนและญี่ปุ่น

ม.อ.ต้องเรียนรู้ในการบริหารแบบประชาธิปไตยและเผด็จการอย่างไรให้เกิดผลประโยชน์ และเรียนรู้วิธีการพูดแบบการทูต

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

หนังสือเล่มนี้เหมือนละครที่สะท้อนตัวตน ในการดำเนินงานไม่ได้เขียนอะไรที่ถูกต้องทั้งหมดแต่เป็นการเขียนจากมุมมองคนหนึ่ง ประเทศชาติเสมือนเป็นองค์กรใหญ่ในเรื่องการหารายได้และการใช้จ่าย เรื่องการใช้จ่ายต้องมีความรู้เรื่องการเงินและการคลัง การเป็นหนี้ต้องสามารถใช้คืนได้ ถ้าลงทุนจะลงทุนอะไร เรื่องการบริหารจัดการ เรื่องของคนต้องสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถแล้วสะท้อนมาที่ ม.อ. สะท้อนเป็นพนักงานที่มีคุณภาพ สร้างแบรนด์ให้ ม.อ. และสร้างให้องค์กรอย่างไร ต้องมีคนที่เป็นผู้นำที่เท่าเทียมกัน ความไม่เท่าเทียมกันจะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ผู้นำต้องสามารถนำทีมได้ ผู้นำเป็นผู้นำแบบฝูงห่านป่า ต้องบินในระยะเวลาที่นานมาก เป็นการบินที่ไม่ต้องต้านลมมาก แต่เป็นลักษณะช่วยกันนำ เป็นผู้นำ ผู้ตาม การช่วยเหลือกันและฟันฝ่าอุปสรรคไปสู่เป้าหมายได้ ผู้นำจึงต้องสร้างความเท่าเทียมกันให้ได้

การมีภูมิศาสตร์ที่ดีต้องสร้างคนของเราให้เสริมในการช่วยเหลือคนให้มากขึ้นคือเราจะ Positioning อย่างไรมีจุดยืนตรงไหน

การใช้จ่ายอย่างไร เรื่อง Infrastructure สำคัญมาก แต่เราใช้ไม่ได้ หลายที่เราชอบทุ่มทุนสร้างและอลังการ แต่ความใหญ่สามารถมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด

เรื่องราคา ได้รับการปลูกฝังเสมอว่า ลดราคา แต่ต้องทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของ Product ที่ต้องสมน้ำสมเนื้อ คือควรตั้งราคาที่เหมาะสม The right quality with the right people

ในโลกปัจจุบันคนจะซื้อคุณค่าคือ Good and Reasonable Price ในขณะที่ใช้เราต้องหาเงินเข้ามาได้ สร้างให้เกิดความสมดุล การมีผู้นำที่ดี การมี Leader ที่ดีใช้ในการบริหารจัดการ สร้างทฤษฎีในการปรับองค์กรไม่ให้ตกในวังวนคือมีเกิด มีดับ เราต้องใส่สปริงตลอดเวลา แล้วเราจะไม่ตกต่ำ เรื่องเศรษฐกิจควบคุมไม่ได้แต่เราจะใช้ประสบการณ์ในอดีตมองแผนปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หนังสือเล่มนี้เล่าประสบการณ์ สิ่งที่ม.อ.ได้คือเลือกให้ถูกและเร่งให้เป็น ในทางการเงินอย่าสร้างหนี้ ตัวอย่างทำไมเกาหลีลงทุนสร้างศูนย์เด็กอ่อนเพื่อให้ผู้หญิงมาทำงาน ดังนั้นอย่าไปติดกับว่าสร้างหนี้ไม่ได้ แต่ต้องลงทุนอย่างมีการวางแผนที่ดี ทุกวันนี้ที่ไทยเกิดต้มยำกุ้ง ทรัพยากรกลายเป็นเรื่องเงิน เงินกลายเป็นเรื่องการลงทุน แต่เราต้องระมัดระวัง Man made ก็มีแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่มีต้องเล่นให้เป็น เราต้องสร้าง Expert เราต้องสร้าง Entrepreneur เราต้องทายอนาคตที่แม่นยำ

คนไทยหรือ ม.อ.มีเครื่องมือที่ดีคือเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ที่ช่วยให้ ม.อ. มีเงินทุนมากจนปัจจุบันนี้ คือ ความมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน คือมีวิชาความรู้ มี Network มีทีม พึ่งพาคนอื่นและร่วมมือกัน มีเงื่อนไขคือเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งรวมถึงความขยัน หมั่นเพียร อดทนและมีมาตรฐาน และเงื่อนไข Life Long Learning

กุญแจสำคัญอีกเรื่องคือ Infrastructure มีระบบโทรคมนาคม ตัวอย่างท่านฐากร เลขาธิการ กสทช. บริหารจัดการด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ตามทฤษฎี 2R’s ของดร.จีระคือเราต้องตระหนักถึงความจริงและนำสู่การใช้ประโยชน์ได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเล่มนี้ Reverse Trend ทำงานตลาดหุ้น การลงทุนและทำงานอยู่ลิเวอร์บราเธอร์ แต่เขียนหนังสือเล่มนี้ แต่บางครั้งข้อมูล Data ที่ใช้วิชาการมากเกินไป การเขียนเล่มนี้เป็นการวิ่งจาก Micro ไปสู่ Macro จะทำให้รู้พฤติกรรมตัวละครว่ามีความโลภและอันตรายต่อประเทศ ดังนั้นคนในห้องนี้ต้องอ่านหนังสือประเภทนี้ และอยากให้ไปแชร์กับเพื่อนที่ไม่ได้มา

บางครั้งคนจบมหาวิทยาลัยไม่ดีก็สามารถขึ้นได้ อาจารย์ที่ดีคืออาจารย์ที่ให้เวลากับเด็ก

ให้เขียนถึง ดร.จีระ สั้น ๆ ว่าคนที่ไม่ได้มาในวันนี้เขาพลาดอะไรไป


วันที่ 30 สิงหาคม 2559

การบรรยายเรื่อง การพัฒนาเชาวน์ความอึด (Adversity Quotient : AQ) และเชาวน์ด้านอารมณ์ (Emotional Quotient :EQ)

โดย ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์

ตัวอย่างจีนในยุคสิจิ้นผิง เป็นคนที่สนใจเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความเรียบง่ายและเศรษฐกิจพอเพียงมากทีเดียว ปรัชญาจีนเป็นเรื่องสำคัญ มีคำทำนายว่าจีนจะกลับมารุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและปัญญาอีกครั้งหนึ่ง คำแต่ละคำมีความหมายอย่างมาก

การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วย EQ และ AQ

เขียน 6 Q ในการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย

1. IQ (Intelligence Quotient)

2. EQ (Emotional Quotient)

3. MQ (Moral Quotient)

4. AQ (Adversity Quotient) – ความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เปลี่ยนโอกาสเป็นความสำเร็จ

5. HQ (Health Quotient)

6. SQ (Spiritual Quotient) – คือเชาว์ทางด้านจิตวิญญาณ พวกนี้โดยทั่วไปจะอายุยืนมากกว่าคนทั่วไป 10-20 % หรือมีสุขภาพมากกว่าคนทั่วไป 10-20%

ตัวอย่างการวิเคราะห์คุณทักษิณ

IQ สูง – สมองดี การคิดวิเคราะห์ดี

EQ ต่ำ – สังเกตจากการโดนยั่วยุ ปากไม่มีวาสนา พูดจาไม่ดี

MQ ต่ำ – ไม่ค่อยมีคุณธรรมจริยธรรม สังเกตได้จากสิ่งที่ทำที่ปัจจุบันทำให้ไม่สามารถเข้าประเทศไทย

AQ สูง – สามารถนำวิกฤติของประเทศเป็นโอกาสของตัวเอง เป็นพวกเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ชอบหนังสือชื่อ “อึดเกินพิกัด” และอยากกระตุ้นให้คนไทยอ่าน เขียนคำนิยมให้ในหนังสือ

ตัวอย่าง อาจารย์ทายาททำวิทยานิพนธ์เรื่องการสะกดจิตย้อนอดีตเพื่อไปละลายกรรมของผู้บริหาร อาจตรวจสอบได้โดยอาจตรวจ DNA

การเรียนจิตวิทยา ใช้แบบสอบถามใช้แบบทดสอบ การรู้จักตัวเองเป็นเรื่องที่ยาก มีคำพูดว่า “คนบางคนรู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องตัวเอง

สิ่งที่ง่ายที่สุดของมนุษย์คือการตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์คนอื่น เป็นการสนอง Ego ตัวเองที่สูงขึ้น เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์จะชอบเอาตัวเองเปรียบเทียบคนอื่น และคนจะรู้สึกว่าสนองตนเองว่าอยู่เหนือผู้อื่น

สิ่งที่ยากที่สุดคือการรู้จักตนเอง เพราะอายาตนะ ทั้งหลายจะมองออกนอกตัวเอง มีสิ่งที่อยู่ในคือใจ แต่เราก็ใช้ใจไปที่คนอื่นอีก ดังนั้นถ้าอยากรู้ธรรม อย่าส่งจิตออกนอกแต่ให้ส่งจิตเข้าสู่ภายในใจตัวเอง ความจริงมนุษย์ไม่ต้องเรียนรู้อะไรอีกแล้ว เราเรียนรู้หลายพันปีแล้ว เราส่งจิตส่งใจออกนอกมากเกินไป โดยลืมสิ่งที่เรารู้มาแล้ว

ดังนั้นการ Education คือให้ค้นหาในสิ่งที่มีในตัวเองมาก่อนแล้วนำออกมาให้ได้ เป็นการเอาสิ่งที่มีออกมาให้เด่นชัด คือเรียกได้ว่าเป็นการเจียระไนเพชรให้ออกมา เคลียหินและทรายออก

สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการมีความรักให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

การทำแบบทดสอบจิตวิทยา

1.ให้ทำตามความรู้สึกแรก โดยเฉพาะความรู้สึก มนุษย์เรามีพฤติกรรมที่เป็นภายใน พฤติกรรมภายนอกและภายใน พฤติกรรมภายนอกเป็นการสังเกตจากสิ่งที่เห็นได้

พฤติกรรมภายในคือความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึก ขอถามว่าอันไหนจริงกว่า

คำถาม ความคิดกับอารมณ์ และความรู้สึกกับเหตุผลอันไหนเป็นตัวสะท้อนความจริงของชีวิตมากกว่ากัน

คำตอบ มนุษย์อยู่ด้วยทั้งอารมณ์และเหตุผล สังเกตได้จากเช่น เวลาเห็นคนอื่นเดินกับแฟน คืออารมณ์จะใจเต้นและหน้าเปลี่ยนสี และอาจก่อเหตุรุนแรงถ้าเราไม่มีเหตุผลมาควบคุม เหตุผลคือตัวเบรก อารมณ์คือตัวผลัก เราเบรกด้วยเหตุผลและความคิด เช่นผู้หญิงคนนั้นอาจเป็นเพื่อนหรือญาติ ซึ่งอาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ได้ การเข้าไปตบอาจเป็นข่าวมีทั้งทางบวกและทางลบ

ในทางจิตวิทยา Feeling is the fact ความรู้สึกคือความจริง และหลายครั้งจะพบว่าเหตุผลขึ้นกับอารมณ์ก็ดี คือชอบก็บอกว่าดี ไม่ชอบก็บอกว่าดี ตัวอย่าง มีลูกศิษย์ 2 คน คนนึงชอบมาก อีกคนไม่ชอบ เช่นพบว่ามีลูกศิษย์ไปกินเหล้า ถ้าเป็นคนที่ชอบอาจบอกว่าคงเครียดจากการเรียน คนที่ไม่ชอบอาจบอกว่าคงพาเพื่อนไปกิน ดังนั้นการวิจารณ์จึงมีทั้งตรงบ้างและไม่ตรงบ้าง

ดังนั้นการตอบแบบทดสอบจึงควรทำตามความรู้สึกแรกแล้วจะรู้ว่าเป็นอย่างไร

ความหมายและองค์ประกอบของ EQ

หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น บริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่นได้ มีความเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนสื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

อะไรที่เป็นความรู้ ความสามารถ ต้องฝึกฝน ต้องรู้อย่างเดียวไม่พอต้องฝึก ที่ไหนที่มีความกดดันทางอารมณ์คือที่ที่ฝึก EQ ที่ดีที่สุด (มารไม่มีบารมีไม่เกิด)

เวลาโกรธ ให้รู้ว่าโกรธ รักให้รู้ว่ารัก ชอบให้รู้ว่าชอบ ไม่ต้องปรุงต่อ ดังนั้นการตระหนักรู้คือต้องรู้ให้ Awareness คือมีสตินั่นเอง เรียกว่าการรู้เนื้อรู้ตัว ให้ดึงภูมิปัญญาที่มีอยู่มาใช้ การที่เกิดมาหลายพบหลายชาติทำให้กิเลสเข้ามา จิตเดิมดีอยู่แล้ว เมื่อเราเข้าใจตนเอง เราจะเข้าใจคนอื่น เพราะเขากับเราไม่ต่างกัน การไม่ชัดเจนในตัวคนอื่นเพราะเราไม่ชัดเจนในตัวเอง การไม่ชัดเจนในคนอื่นคือการเห็น Part ทั้งหมด

การบริหารอารมณ์คือการบริหารวิธีคิดนั่นเอง เช่น ยิ่งคิดยิ่งแค้น ยิ่งคิดยิ่งน้อยใจ ยิ่งคิดยิ่งยั่ว ดังนั้นถ้าอยากสุขให้คิดบวก อยากทุกข์ให้คิดลบ แต่ถ้าอยากพ้นทุกข์ให้คิดเป็นระบบคือคิดตามความจริงคิดเป็น System Thinking คือทุกอย่างในโลกนี้เป็นระบบทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวข้องกันหมด มี Collective มนุษย์เราทุกคนมีความเชื่อมโยงกัน ที่บอกว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกันและเป็นอิสระเป็นความเชื่อเท่านั้น เพราะกรรมต่างกัน เกิด แก่ เจ็บ ตายและกลับมาเกิด มนุษย์สับสนเพราะคิดไม่เป็นระบบ เพราะเราไม่มีปัญญาพอที่คิดเป็นระบบ เด็ดดอกไม้กระเทือนถึงดวงดาว แค่คิดชั่วก็กระเทือนถึงแกนโลก เพราะความคิดของมนุษย์มีพลัง ตัวเราเป็นตัวเก็บข้อมูลที่ดี

การทำแบบสอบถามองค์ประกอบของ EQ

ข้อ 1 – 5 เป็นเรื่องการตระหนักรู้ตนเอง (Self Awareness)

ข้อ 6 – 10 เป็นการจัดระเบียบอารมณ์ (Emotional Regulation)

ข้อ 11 – 15 เป็นการจูงใจตนเอง (Self Motivation)

ข้อ 16 -20 เป็นการร่วมรับรู้ความรู้สึก (Empathy)

คล้าย ๆ กับการเลียนแบบ เป็นเชาว์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาของมหาวิทยาลัยหรือปัญหาของสังคมก็ดีไม่ได้ดูปัญหาที่แท้จริง บางครั้งคนที่มี IQ อาจไม่ได้ตอบโจทย์คือคิดเกินความเป็นจริง หรือที่เรียกว่ามโน แต่ความจริงไม่ได้เกิดตามนั้น

ข้อ 21-25 เป็นทักษะทางสังคม (Social Skill)

คิดก่อนที่จะพูดไม่ใช่พูดก่อนคิด การพูดมีความจำเป็นต้องคิดก่อนที่จะพูด พูดแบบนักการทูต เราต้องรู้จักเลือกที่ใช้คำพูด คำพูดเป็นเรื่องที่สำคัญ ปากเป็นเอก เลขเป็นโท

หน้าที่ของสมองมนุษย์

สมองซีกซ้าย - วิธีการ

ซ้ายบน ได้แก่การคิดวิเคราะห์ คิดเชิงเหตุผล การแก้ปัญหา การคำนวณ ข้อเท็จจริง รายละเอียด IQ

ซ้ายล่าง ได้แก่ การวางแผน การจัดการ การบริหาร การควบคุม การจัดระเบียบ

สมองซีกขวา - เป็นเรื่องหลักการ การสร้างแรงบันดาลใจ อุดมการณ์

ขวาบน ได้แก่ นวัตกรรม การหยั่งรู้ การผสมผสาน มองภาพรวม

ขวาล่าง ได้แก่ มนุษยสัมพันธ์ อารมณ์ ความรู้สึก ความเป็นมิตร ความเห็นใจผู้อื่น

ปรมาจารณ์ขงจื้อกล่าวว่า “หลักการให้เขียนบนแผ่นทองคำแต่วิธีการให้เขียนบนผืนทราย” หมายถึงหลักการเป็นสิ่งที่ต้องยึดเหนี่ยวคือหลักธรรมชาติ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่วิธีการเปลี่ยนได้

ตรงกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตล์กล่าวว่าคนสำเร็จต้องเอาตัวเองผูกกับเป้าหมาย อย่าผูกที่ตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม

การทำแบบฝึกหัดการวิเคราะห์และการตระหนักรู้ในตนเอง

1. ถ้าเกิดเป็นดอกไม้จะเป็นดอกอะไร เพราะอะไร – วัดความเป็นตัวตน (Self) ของเรา

2. ถ้าเกิดเป็นสัตว์จะเป็นสัตว์อะไร เพราะอะไร – วัดความเป็นตัวตน (Self) ของเรา

คำถามข้อ 1 และข้อ 2 สะท้อนความเป็นตัวตนสามารถแทรกด้วย 3 วงกลม คือ

- ตัวในอุดมคติ (Ideal Self) คือสิ่งที่เราคิดว่าเป็นจริงอาจไม่ได้เป็น

- ตัวที่คิดว่าเราเป็น (Perceives Self)

- ตัวที่เป็นจริง (Real Self)

คนที่เป็นพระอรหันต์จะซ้อนทั้ง 3 วงกลมเป็นวงกลมเดียวกัน แต่ถ้า 3 วงกลมไปคนละทางเรียกว่าบ้า

3. ถ้าหากมีแก้วสารพัดนึก จะอธิษฐานอะไร 3 ข้อ – สะท้อนความขาดแคลนในสิ่งที่มีอยู่ (Scarcity State)

4. ถ้าหากตายไปแล้วอยากให้คนอื่นพูดถึงเราอย่างไร – เป้าหมายสูงสุดในชีวิต (Ultimate Goal of Life)

4.1 ในฐานะพนักงานของบริษัท

4.2 ในฐานะสามี – ภรรยา

4.3 ในฐานะเพื่อนร่วมงาน

4.4 ในฐานะพ่อ-แม่-ลูก

คำถามข้อ 4 ทำให้หลายคนเกิดความกระจ่างแจ้งในชีวิตได้ เป็น 1 ในคำถามยอดฮิตของ 7 Habits ปลายทางสุดท้ายจะเป็นอย่างไร เราควรเอาชีวิตเราไปผูกไว้คือสิ่งที่อยากให้คนอื่นพูดถึงเราอย่างไร 99.99% อยากให้คนพูดถึงเราในข้อดี หลักการคือความดี เพราะเราใช้ชีวิตไปผูกกับคนอื่น จนลืมเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตคือการทำเรื่องดี ๆ ให้กับตัวเรา คือเรามีทั้งกายและใจ ความดีเป็นเรื่องของใจ ความรวยเป็นเรื่องของกาย เราต้องเลี้ยงทั้งกายและเลี้ยงทั้งใจ ปรัชญาศาสนาสอนให้เรามาดูแลจิตใจของเราหรือที่เรียกว่าความดี สังเกตได้ว่านิยายทุกเรื่องสะท้อนให้เห็นว่าธรรมะชนะอธรรม เพราะเราทุกคนต่างยกย่องในความดี เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์คือเป็นคนดี เพราะเป้าหมายของจิตมนุษย์คือการเป็นจิตที่ดีหรือเรียกว่าจิตประภัสสร

วงจร EQ

1. ทำความดี

2. จิตปิติ

3. Pituitary gland – คือที่อยู่ของจิตเดิมของเรา เวลารับธรรมะ หรือนิพพานถ้าออกจากตาที่สามอาจไปนิพพานได้ เป็นเสมือนการตื่นรู้จากจิตเดิม

4. Endorphin – ทำให้มีความสุข และหายปวดเมื่อย เป็นมอร์ฟีนที่ร่างกายเป็นผู้สร้าง เป็นตัวตรงข้ามกับอดรีนาลีน

5. Endocrine – พลังจักกระ พลังชีพต้องสัมพันธ์กับพลังจักรวาล บริเวณจักระ 7 จุดคือต่อม Endocrine

6. T-Lymphocyte – เม็ดเลือดขาวคือระบบภูมิคุ้มกันโรค นำสู่ภูมิคุ้มกันโรคที่ดี

7. Immunity System –ระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดี สู่ร่างกายกแข็งแรง

8. ร่างกายแข็งแรง – ร่างกายที่แข็งแรงเพื่อไปทำความดี รักษาการเวียนว่ายตายเกิด

สรุปคือการมีความสุขไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน คนที่ทำดี จิตจะรู้สึกถึงความปิติ การทำดีคือการสะสมอริยะทรัพย์ที่ใช้ในการเวียนว่ายตายเกิด เป็นทรัพย์ที่ไม่มีใครแย่งชิงไปได้

ความหมายของ AQ

AQ หมายถึงความสามารถในการควบคุมวิกฤต มีสติ และมองวิกฤตมาจากปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน แต่ยินดีเข้าร่วมรับผิดชอบ ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหาได้

การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

ในปัจจุบันมีวิกฤตเกิดขึ้นมากมาย

พระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องความไม่ประมาท วิกฤตครั้งสุดท้ายของชีวิตคือตอนที่วิญญาณจะออกจากร่าง ใน Moment นั้นในหลักของการแพทย์สมองยังทำงานอยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้าถูกฝึกจิตมาดีรู้สึกเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสจะสามารถพลิกชีวิตได้ วิกฤตอื่นใดไม่สำคัญเท่ากับวิกฤตอันนี้

แบบทดสอบ AQ คือ แบบตรวจสอบพฤติกรรมการเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวัน

ข้อ 1 – 5 เป็นคะแนนความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

ข้อ 6 – 10 เป็นการมองความล้มเหลวเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ

ข้อ 11 – 15 มองปัญหาเป็นพลังชีวิต

ข้อ 16 – 20 เปลี่ยนทางชันให้เป็นทางลาด “ปัญหามีไว้สำหรับการแก้ไขไม่ใช่มีไว้ท้อแท้”

เรามี Potential ที่มากมายเพราะเราเกิดมาหลายชาติ แต่เราไม่ได้มี Performance เท่ากับ Potential เลย มนุษย์มีศักยภาพมากกว่าที่เราคิดเพียงแค่ขาดสติ

องค์ประกอบของ AQ

1. Control ควบคุม,มีสติ

ใน Moment ที่มีวิกฤติสติจะช่วยได้

2. Origin of Ownership ไม่โทษตนเอง แต่พร้อมรับผิดชอบแก้ไข

มองปัจจัยภายนอกเข้ามาสู่ภายใน แต่ยินดีรับผิดชอบ เพราะการโทษตัวเองพลังในการดึงศักยภาพมาใช้จะหดหาย คนที่มี AQ สูงจะโทษที่ความพยายามของตนเองมากกว่าความสามารถของตนเอง มองว่าตนเองพยายามไม่พอ เพราะถ้าโทษความสามารถจะตัดโอกาสตนเอง เช่นนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีกเพราะพยายาม คนที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่เพราะความฉลาด แต่ขยันกว่าคนอื่นเท่านั้น

3. Reach ไม่ทำเรื่องเล็ก เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ปล่อยให้วิกฤติยืดเข้าไปสู่เรื่องอื่นในชีวิต

ตัวอย่างเช่นคนสอบตก ก็มองว่าเป็นเรื่องสอบตก ไม่ได้คิดเรื่องอี่นเลย มองดูเป็นหาเป็นเรื่อง ๆ ปัญหาเกิดที่ไหนแก้ที่นั่น มีวิธีการให้กำลังใจตัวเอง ถ้าเจอวิกฤตคือให้มองที่วิธีคิด คือมองปัญหาเป็นเรื่องชั่วคราว และมองปัญหาเป็นสากล มีกำลังใจมาแก้ปัญหา

4. Endurance อดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหา

สรุปคือเมื่อเจอปัญหาเราต้องมีสติควบคุมได้ แต่เราต้องมีศักยภาพที่รู้ได้ ไม่ตื่นตกใจ ให้เราไปลองทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำ แล้วจะสร้างใยประสาทขึ้นมา เพราะสมองขึ้นกับใยสมอง และ เมื่อไหร่ก็ตามที่พฤติกรรมใหม่ ๆ ใยประสาทชนิดนั้นจะเพิ่มมากขึ้น

เซลล์ประสาทถ้าฝึกในเรื่องใดจะมีความสามารถในเรื่องนั้น วิธีฝึกสร้างเซลล์สมองเช่นการฝึกภาษาอังกฤษ โดยอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ พูดภาษาอังกฤษ

อัจฉริยภาพสามารถสร้างได้ เพราะคนเรามีความสามารถ ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ถ้าเราจะทำ ต้องเชื่อว่าเรามีความสามารถที่จะทำ เรียกว่า Self Efficiency


วันที่ 30 สิงหาคม 2559

Intensive Workshop & Group Study :

PSU Value Diversity Project Designing and Action Plans

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โครงการไหนที่แต่ละกลุ่มสามารถมาร่วมกันได้ทำเป็นโครงการใหญ่ 3 โครงการ แต่สิ่งที่ทำต้องตอบสนองการเรียนการสอน การบูรณาการทางวิชาการ และงานวิจัย คิด Pilot Project ก่อนจะเริ่มตรงไหน

การสร้างให้เกิด Impact เสริมว่าถ้าทำศูนย์ฮาลาลก็ต้องกว้างออกไป

Intensive Workshop เป็น Workshop ที่สร้างแรงบันดาลใจ เล็กกว่า Mini Research ต้องมีเหตุและผล มีวิธีการที่มา Support ดังนั้น PSU Value Diversity Project Designing and Action Plans คือการออกแบบโครงการฯ มี Action Plan ประกอบด้วยการ Design โครงการ และ Action Plan เราต้องจำเป็นที่ร่วมกันคิดโครงการฯ

ความแตกต่างหลากหลาย หลักต้องอยู่กลุ่มหนึ่ง

- การทำโปรเจคต้องดูว่าเป็นปัญหา หรือ Solution อย่างเช่น Solution

- การทำโครงการฯต้องมี R&D

- ทฤษฎี 3 V ต้องตอบโจทย์ สถานที่เป็นอย่างไรต้องปรับแค่ไหน ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มหรือคุณค่าใหม่

- Change & Challenge แนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยต้องปรับต้องเปลี่ยน จะปรับอย่างไรให้ทันสมัย เราเลือกจุดเด่นและของที่โดดเด่นมา เราต้องดูที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

- PSU New Era

- Thailand 4.0

Thailand 4.0

คือวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของโครงการฯ ไปสู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน การเรียนการสอนจะไปอย่างไร การบริการทางวิชาการไปอย่างไร

- New Engine of Growth เน้นการผลิตทางการเกษตร และขายเป็นหลัก

- Creative Economy และ Cultural Economy การขยายคุณค่าทางเศรษฐกิจ และนวัตกรรม ให้เอาของเก่ามาทำใหม่

- ฐานการคิดของ Thailand เปลี่ยนจาก 4.0 ไปเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากภาคผลิตสินค้าไปภาคบริการ อุตสาหกรรมเป้าหมายมี 1.กลุ่มอาหารเกษตรและชีวภาพ เป็นเมืองนวัตกรรมอาหาร Inopolis เราต้องใช้เมล็ดพันธุ์แบบไหน เอาผลิตภัณฑ์ไปพัฒนาตลาดขึ้นมา เราจะเอาแป้งไปบวกกับสวิสเบรดได้อย่างไร

- ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จะมี R&D ไปขับเคลื่อน ต้องมีตัวมหาวิทยาลัยไปขับเคลื่อนว่าจะเดินไปอย่างไร

- กลุ่มเครื่องมือ เครื่องกลอัจฉริยะ IT Internet

ไทยแลนด์ 4.0 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ

2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์

3. กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ระบบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

4. กลุ่มดิจิตอล และเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและงานบริหารมูลค่าสูง

องค์ประกอบการออกแบบโครงการฯ

1. จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

- หลักการและที่มาของโครงการฯ

2. กรอบแนวคิด มาจากปัญหาและ Solution

3. วิธีการ Where are we? มีศูนย์กีฬา มีศูนย์ฮาลาล เราจะเดินไปแบบไหน เป็นการเดินไปในระดับโลก เป็นการบริการทางวิชาการ ถ้าออกมาตรฐาน Level ดู Where do we want to go? และ How to do it? ทำยุทธศาสตร์วิธีและกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์อย่างหนึ่งอาจต้องมีสถานที่ หรือเป็นการสั่งซื้อ ยุทธศาสตร์ด้านคน การกำหนดระยะเวลาทุกโครงการฯ ต้องมี Time Frame มีระยะสั้น กลาง ยาว

4. ทรัพยากร เงินต้องมาจากไหน

5. กำหนดระยะเวลา

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การหารือเพื่อจัดทำโครงการฯ

1. ให้ทุกคนแยกกันทำตามหัวข้อเดิม ภายใต้ Theme เดียวกัน คือ ทุกกลุ่มจะมีความเป็นเลิศเหมือนกันคือฮาลาล

2. นัดประชุมคุยหลักสูตรวันอาทิตย์ 13.00 น.

1. Halal - เราอาจทำเป็นหลัก ต้องทำให้กว้างขึ้นแล้วอย่างอื่นมาเสริม อาจใส่อย่างอื่นมาด้วย

2. IT – IT เสริมได้อย่างไร

3. สปาและแพทย์แผนไทย

4. ศูนย์กีฬา-ในหลักสูตรคิดเรื่องนำเสนออะไร

5. PSU New Era ก็ให้ใส่ทั้งสองเรื่องอย่างเรื่องคนต้องเดินอย่างไร


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 31 สิงหาคม 2559

Problem – Based Learning Workshop :

CEO-HR-Non HR-Stakeholders and Value Creation

โดย ดร.ทายาท ศรีปรั่ง และ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. เพื่อให้ทราบข้อมูลการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่ม.กำกับของรัฐ

2. การบริหารคนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

4 ขั้นตอนการบริหารงานบุคคล

People Management

1. Change Management

2. Goal Setting

3. People Performance

4. People Career

การบริหารในบริบทการเปลี่ยนแปลง

1. เข้าใจและสร้างกระบวนทัศน์ใหม่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2. ร่วมกันพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่

3. ร่วมกันกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา

คุณลักษณะคนในศตวรรษที่ 21

1. ใฝ่รู้ (Disciplined Mind)

2. สังเคราะห์เป็น

3. สร้างสรรค์

4. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

5. มีคุณธรรม

สรุปคือสร้างคนให้มีความรู้ ทักษะ และมีเหตุผล

สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำ

1. Alumni Management

2. Career Counseling

มีการคำนวณคุณภาพของนักศึกษา พบว่าถ้ามีความพอใจมากจะมีการสนับสนุนมหาวิทยาลัยนั้นมากขึ้น เราต้องผลิตนิสิตให้สามารถทำงานได้เลย

3. Community ชุมชน กลุ่ม เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นในโลกนี้

สรุป มหาวิทยาลัยจึงต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณภาพทางการศึกษา มีศักยภาพสร้างให้เป็น Global Citizen ซึ่งประกอบด้วย

- มีความเป็นเลิศทางวิชาการ (Smart)

- ความสามารถในการสื่อสารสองภาษา (Communication)

- ความสามารถทางการคิด (Thinker)

- ความสามารถในการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ (Innovator)

- ความรับผิดชอบต่อสังคมโลก (Global Citizenship)

สิ่งที่ควรทำคือ ทุกคณะต้องหาจุดแข็งในการสร้าง สร้างความแตกต่างที่เหมาะสมกับเรา

Value Chain in Higher Education

Primary Support Service – Technology ,Research Training and Development , Teaching and Learning ม

1. Inbound Logistics – นิสิต นักศึกษา อาจารย์ (คนเก่งจะเลือกมหาวิทยาลัยฯ) Funding (การระดมทุน, งานวิจัย (ตัวอย่างที่เมืองนอกเป็นตัวเรียกเงิน) สร้างความโดดเด่น

2. Process – Student Learning , Teacher Development , การปรับหลักสูตรให้ทันสมัย

กระบวนการจัดการคือ สอนเด็กให้เก่งขึ้น พัฒนาครูอาจารย์ และพัฒนางานวิจัย

3. Outbound Logistics – Skill จะได้นิสิตเก่ง อาจารย์มีความสามารถมากขึ้น มีผู้วิจัยที่เก่ง

4. Marketing and sales - มีการสร้างแบรนด์ของตนเองเพื่อทำการตลาด (Marketing)

5. Services – Management Alumni Education , Recruit Relations, Clients Relation

6. Margin - สิ่งที่จะได้รับคือสามารถอยู่ได้ด้วย

กิจกรรม การกำหนดเป้าหมายและพันธกิจใหม่

การเขียนคือจะพัฒนาอะไรและให้เกิดอะไร

1. วัตถุประสงค์ – เพื่อทบทวนสาระสำคัญของเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของคณะท่าน

2. วิธีการ – สรุปสาระสำคัญหรือ Key Words ในวิสัยทัศน์ใหม่ที่รองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับสำหรับคณะของท่าน

- สรุปสาระสำคัญหรือ Key Words ในพันธกิจใหม่ที่รองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับสำหรับคณะของท่าน

- ใช้เวลาดำเนินกิจกรรม 30 นาที

การร่วมแสดงความคิดเห็น

คณะอุตสาหกรรมเกษตร

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาที่มีมาตรฐานเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในสากล

2. ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ

3. ให้บริการวิชาการและมีส่วนร่วมกับชุมชน

4. ปลูกฝังวัฒนธรรมและประเพณีไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์

พันธกิจ

จัดการเรียนการสอนเพื่อให้บัณฑิตมีคุณภาพ

2. สร้างองค์ความรู้

3. บูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่การเรียนการสอน

4. สร้างสภาพแวดล้อมที่เรียนรู้เปิดกว้างต่อสังคม (ไม่ใช่นักศึกษา บริการประชาชนทั่วไป)

คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี

พันธกิจ

1. สร้างบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ

2. สร้างองค์ความรู้ใหม่และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการสื่อสาร งานวิจัยเน้นเรื่อง Multi Culturalism and Peace Culturalism

3. บูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาการสื่อสารสู่การสร้างอัตลักษณ์สากล

4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งและหลากหลาย

สำนักวิจัยและพัฒนา

พันธกิจ

1. เน้นผลิตงานวิจัยเน้นนวัตกรรมมากขึ้น โดยไม่ลืมองค์ความรู้ด้าน Basic Science เน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อCommercialization หรือประโยชน์ชุมชน

2. เพื่อ Entrepreneurship Ecosystem ในมหาวิทยาลัย มีระบบในการสนับสนุนตั้ง Start up company (ส่งเสริมให้ตั้งและถ้ามีศักยภาพจะร่วมลงทุนด้วย)

3. สร้างระบบการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัย (พยายาม grouping งาน Research ที่มากขึ้น Research มุ่งไปที่ Product อะไร แล้วครุภัณฑ์ไปทางนั้น)

4. เน้นงานวิจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาและชัดเจน

คณะเภสัช

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตที่มีลักษณะเด่นด้านการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม

2. สร้างงานวิจัยมีมาตรฐาน

3. ส่งเสริมงานวิจัยสู่สังคม

4. อนุรักษ์ภูมิปัญญาและต่อยอดงานวิจัย

คณะพยาบาลศาสตร์

พันธกิจ

1.ผลิตบัณฑิตพยาบาลตามมาตรฐานสากล ข้ามวัฒนธรรมและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มการบรรเทาสาธารณภัยจากน้ำมือมนุษย์ เน้นบัณฑิตที่มีทั้ง 2 อย่าง และให้บัณฑิตสามารถอยู่ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. พัฒนาองค์ความรู้บนฐานด้านงานวิจัย ต่อยอดต่อสุขภาพและอุตสาหกรรม ด้านการเรียน การสอนและงานวิชาการ

3. บริการสุขภาพตอบสนองชุมชน

4. ส่งเสริมวัฒนธรรมภายใต้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

คำถาม ทำอย่างไรให้คนไทยสามารถ Trasform lตนเองได้

คำตอบ มี Roadmap ว่าเด็กที่จะเข้ามาจะอยู่ภายใต้การต่างวัฒนธรรมได้อย่างไร คณาจารย์และบุคลากรต้อง Internalization ด้วย

คณะศิลปะศาสตร์

พันธกิจ

1. พัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษและภาษาที่สามให้นักศึกษา ม.อ.

2. สร้างบริการทางวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งภาษาอังกฤษให้กับชุมชน

3. ส่งเสริมพัฒนางานประกันคุณภาพ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พันธกิจ

1. ส่งเสริมผลิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถทำงานได้

2. สิ่งเสริมงานวิจัยตอบสนองต่อชุมชน เพิ่มศักยภาพของประเทศ

3. ทำนุบำรุงอัตลักษณ์ท้องถิ่น

4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายวิชาการพัฒนาสู่ Asean + 3

คำแนะนำ : ทำอย่างไรให้นิสิตทำงานได้และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

คณะการแพทย์แผนไทย

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคม

2. ส่งเสริมงานวิจัยที่ทันสมัยเพื่อยกระดับวิชาชีพ

3. บริการวิชาชีพที่ยอมรับในระดับสากล

4. ทำนุบำรุงศิลปะด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

คำแนะนำ : เพิ่มการทำงานวิจัยเพื่อสร้าง Evidence Based

ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

พันธกิจ

1. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่

2. จัดการองค์ความรู้ด้านศิลปะภาคใต้ของชาติ

3. ส่งเสริมและร่วมกับหน่วยงานอื่นในการปลูกจิตสำนึกที่ดีงามทั้งใน PSU และบุคลากรของม.อ.

4. สร้างเครือข่ายการดำเนินงานให้เกิดความเข้มแข็งและร่วมมือกัน

ดร.ทายาท ศรีปลั่ง

กล่าวว่าที่เราเขียนเป้าหมายและพันธกิจแสดงถึงว่าเรายังไปไม่ครบ มีการสร้างหน่วยงาน Supportด้วย โดยต้องดูเป้าที่จะไปด้วย

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการรู้จุดเป้าหมายในอนาคต ต้องบริหารให้คนและองค์กรไปกับเราโดยรู้เป้าหมายสุดท้าย โดยคนต้องมีความเต็มใจที่จะไปเพื่อให้บรรลุพันธกิจได้ง่ายขึ้น

หลายครั้งที่เป้าสุดท้ายมองไม่เห็น แต่เราสามารถเอาเป้าที่มองเห็นได้ก่อนเพื่อหาตัววัดบางตัวและสามารถทำให้ชัดได้

ประเภทของการเปลี่ยนแปลง

1. Development Change คือการเปลี่ยนเชิงปรับปรุง เช่น การ Training สัมมนา

2. Transitional Change คือ การเปลี่ยนเชิงพัฒนา กายภาพเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน ระบบเปลี่ยน

3. Transformation Change คือ การเปลี่ยนในเชิงปฏิรูป คล้ายข้อ 2 แต่ วิธีคิด Mindset ต้องเปลี่ยนด้วย วัฒนธรรมการทำงานต้องเปลี่ยนรูปแบบ มุ่งเป้าใหม่ แล้วองค์ประกอบจะเปลี่ยนตาม แล้วหาตัว Pioneer เพื่อนำร่อง ต้องพยายามเปลี่ยนด้วยจิตใจให้ได้ ต้องมีการสื่อสารปรับทัศนคติและสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ

1. Mindset ของคน ระบบจิตใจมีปัญหามากที่สุด

2. คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าเรามี Choice เสมอ

การให้ความรู้คนไทยจะสบาย

เหตุผลการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

- มีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

โดยธรรมชาติมนุษย์ชอบความสบายอยู่แล้ว แต่การปรับตัวจะลำบาก คนจะมี Mindset เรื่องความสนุก ดังนั้นการสร้าง Perception สมัยใหม่จะเป็นการสร้างความกระตุ้นความพอใจอยู่เสมอ เราต้อง Transform ความคิดคน

- มองไม่เห็นว่าจะได้รับประโยชน์อะไรภายหลังการเปลี่ยนแปลง

- ขัดกับบุคลิกหรือความชอบส่วนตัว

คนไทยเปลี่ยนแปลงยากเนื่องจากมีความเคยชิน ปกติคนไทยชอบไปเป็นกลุ่ม การไปคนเดียวจะลำบาก ถ้ารวมตัวเปลี่ยนจะไป ดังนั้นการ Transform ที่ดีต้องหาคณะที่พร้อมมาก พร้อมปานกลาง และพร้อมน้อย เช่น หาการปรับเปลี่ยนเป็น 2 คณะนำร่องเพื่อให้คณะอื่นทำตาม

- กลัวความล้มเหลวในหน้าที่การงาน

- ระยะเวลาไม่เหมาะสม

- ขัดแย้งกับแนวทางปฏิบัติของกลุ่ม หาข้อล้มเหลวคนอื่นเพื่อเป็นแบบนั้น อารมณ์นำความมีเหตุมีผล

สาเหตุพื้นฐานของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

1. ไม่รู้

2. ขาดความสามารถ

3. ไม่เต็มใจ

4. ไม่เชื่อถือ

วิธีการเปลี่ยนคือเราต้องสรรหาคนที่น่าเชื่อถือมาทำงานด้านนี้ ซึ่งถ้าอยู่จะยอมรับมากขึ้นน

ตัวอย่างการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับ

- พันธกิจและเป้าหมายยังคงเดิม

- รูปแบบการบริหารจัดการเปลี่ยนไป

- มีอิสระมากขึ้น ดูแลตัวเองมากขึ้น

- ที่สำคัญคือมี “อิสรภาพทางการเงิน” (ไม่ถึงขั้น “ต้องหาเลี้ยงตัวเองในทุกเรื่อง” แต่สามารถ “บริหารเงินได้โดยอิสระ” กล่าวคือ “รัฐยังคงสนับสนุนแต่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป และมหาวิทยาลัยต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น”

- Leadership and People Management

- Communication

- Collaboration

- Business Management

- Finance

- Project Management

ทักษะการบริหารการเงิน

- งบประมาณ

- กระแสเงินสด

- การบริหารเงินทุนและค่าใช้จ่าย

- การวิเคราะห์โครงการ

- การวิเคราะห์งบการเงิน

จากกลยุทธ์สู่งบประมาณและการติดตามประเมินผล

1. แผนกลยุทธ์ การแบ่งกลุ่มแบ่งเป็น

1. กลุ่มไม่ต้องพึ่งพิงเลย

2. กลุ่มที่ต้องพึ่งพิงบ้าง

3. กลุ่มที่ต้องพึ่งพิงมาก ต้องหารายได้มาเสริม

2. แผนการดำเนินงาน

3. แผนการเงิน / งบประมาณ

4. การดำเนินงานตามแผน

สองแหล่งรายได้หลัก

1. เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐ/หน่วยงานต้นสังกัด

2. รายได้หลักจากกิจกรรมของมหาวิทยาลัย

- ค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียม วิจัย บริการวิชาการ ให้คำปรึกษา

- รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

- ดอกเบี้ย และผลตอบแทนจากการลงทุน

- เงินบริจาค และการระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ

- วิสาหกิจ ศูนย์หนังสือ สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ธุรกิจจากผลงานวิจัย

ประมาณการรายจ่าย

- ก่อสร้าง /ซื้อ /เช่าทรัพย์สิน อาคาร ครุภัณฑ์

- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

- ค่าใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์

- จัดสรรเพื่อการลงทุน

- จัดสรรเข้าบัญชีเงินสะสม

- การใช้จ่าย : คุ้มค่า รู้ต้นทุนต่อหน่วย มุ่งเป้าเป็นไปตามระเบียบ

จากพันธกิจแรกสิ่งที่ต้องทำดีแล้วแต่สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือการหารายได้ เราต้องนำเงินที่หาได้เองมาใช้ได้

กลุ่มที่การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

1. Pathfinder – ริเริ่ม นำทางการเปลี่ยนแปลงแก่ผู้อื่น เป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์กร

2. Pilots – เป็นกลุ่มที่มีความรู้ ความสามารถและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการคนชี้แนะและให้แนวทางในการเปลี่ยนแปลง

3. Intellectual – สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง แต่ยังไม่ลงมือทำจนกว่าจะมีความเชื่อ หรือเกิดความต้องการในการปรับเปลี่ยนอย่างจริงจัง

4. Late Bloomer – เริ่มจากต่อต้านการเปลี่ยนแปลงก่อนแล้วจึงหันมาให้การยอมรับและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง

5. Traditionalists – ไม่ยอมรับและต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

แนวทางในการลดการต่อต้านที่เหมาะสม

- สื่อสารข้อเท็จจริงและให้ข้อมูล

- ให้ความรู้และทักษะที่จำเป็น

- ให้ความช่วยเหลือ และความหวัง

- ให้มีส่วนร่วมด้วย

- ให้เกิดการทดลองด้วยตนเอง

- แสดงให้เห็นเป็นแบบอย่าง

- ให้ประโยชน์และผลตอบแทน

- เจรจาต่อรอง

หลักในการประเมิน Change Readiness มี 2 ปัจจัยคือ

- พนักงานมีความมุ่งมั่น ยอมรับ และ

- มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด

กิจกรรม ระบุเป้าหมายยุทธศาสตร์การบริหารคณะสู่การเปลี่ยนแปลง

1. วัตถุประสงค์ – เพื่อทบทวนสาระสำคัญของเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของคณะท่าน

2. วิธีการ – สรุปสาระสำคัญหรือ Key Words เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายสำหรับของท่านเน้นเฉพาะ

1. การบริหารการศึกษา

2. การบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรทุกประเภท

3. การพัฒนางานวิจัย

4. การพัฒนาแหล่งทรัพยากรและแสวงหางบประมาณสนับสนุนการบริหาร

เขียนเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย และอัตราการพึ่งพิง

(พึ่งตนเองมากขึ้น พึ่งรัฐน้อยลง อัตราเป็นเท่าไหร่ และพึ่งอะไร)

1. รัฐบาลกับช่วยตัวเอง

2. บุคลากรวิชาการกับสนับสนุนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ของ As is กับ To be และอีก 3 ปีจะมีตัวเลขอะไร

กิจกรรม : เขียนยุทธศาสตร์การบริหารคณะ

Student Development

Teacher Development

Research Development

กลุ่ม 2

1. เรื่องรายได้จากการพึ่งพิงภาครัฐ : การช่วยตนเอง สัดส่วนคือ

- ปัจจุบันน่าจะเป็น 70 :30

- 3 ปี น่าจะเป็น 60 :40 และ

- 5 ปี น่าจะเป็น 50:50

วิธีการ

1. จะนำประโยชน์จากการวิจัยไปใช้มากขึ้น

2. จัดหลักสูตรระยะสั้น

3. สร้าง Complex ให้นักศึกษาใช้จ่ายเงินใน ม.อ.

ข้อเสนอแนะ งานวิจัยใช้ได้ เรามีข้าราชการประจำไม่กี่คน ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย และคนใน ม.อ.ก็ประหยัดด้วย

กลุ่ม 3 คณะวิทยาการสื่อสาร

1. เรื่องรายได้จากการพึ่งพิงภาครัฐ : การช่วยตนเอง

รายได้มาจากงบประมาณแผ่นดินและค่าธรรมเนียมนักศึกษา

ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาแท้จริงคิดเป็น 90,000 บาทต่อหัว ค่าธรรมเนียม 40% คิดเป็น 18,000 บาท เข้าคณะ 8,000 บาท ดังนั้นทำให้การพึ่งพิงเกือบ 100 % จากงบประมาณแผ่นดิน คิดเป็นรายจ่ายทั้งหมด ดังนั้นรายได้ที่คณะได้มาทุกวันคือจากงบประมาณแผ่นดินและค่าเทอมนักศึกษา

งานทางด้านบริการวิชาการ – ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นข้าราชการจึงต้องอิงกับเงินงบประมาณ

งานทางด้านงานวิจัย

งานทางด้านให้เช่าสถานที่

รวมทั้ง 3 รายได้ไม่ถึง 5%

สิ่งที่ควรทำคือ 1. ประเมิน Facility ที่มีอยู่ เมื่อประเมินได้แล้วจะขยายได้หรือไม่

2. หลักสูตรความเป็นวิชาชีพต้องตอบโจทย์ได้เลย

3. การออกแบบการสร้างสรรค์สื่อ เมื่อเข้ามาสู่โหมดการสอนจะสอนอย่างเดียว ดึงให้เป็นนักวิชาชีพ เป็นนักออกแบบได้ สร้างให้เป็น Media house ให้ได้ หัวข้อในการวิจัยต้องเข้าสู่นโยบายของประเทศให้ได้

ประเด็นเรื่องของความไม่สงบ ความสนใจต่อเรื่องนี้ต่างชาติสนใจมากกว่าคนไทย

งบประมาณได้มาจากหลายรัฐบาล มีงานส่งเสริมสันติภาพอยู่มากจริง คณะต้องจับมือภาคประชาสังคมเพื่อให้ได้ภาควิชาการตรงนี้

คณะใหม่ ระบบการบริหารเป็นแบบภายใน เป็นแบบรวมศูนย์ ใช้เลขานุการฯ เป็นส่วนกระบวนการ

ข้อเสนอแนะ :

1. กระแสโลกมีเป็นพวกความคิดเชิงบวก

2. การล้างแค้นเป็นหมู่

ถ้าเกาะวิจัยตรงนี้ได้จะดีมาก ควรมีคนทำ Job การวิจัย ความจริงแล้วเรื่องปริญญาตรี

ม.อ.ขาดทุน แต่ไปได้กำไรตรงโครงการปริญญาโทหรือโครงการระยะสั้น

กลุ่ม 5 คณะเภสัชศาสตร์

เราต้องพึ่งพิงกี่เปอร์เซ็นต์ แยกเป็นรายละเอียด เช่นงบก่อสร้าง งานวิจัย งานบุคลากร และที่ผ่านมาได้พึ่งพิงจากภาครัฐ 75 : ตัวเอง 25 โดยคาดว่าในอนาคตการพึ่งพิงจะเป็น 50:50

วิธีการ 1.ปรับหลักสูตรที่ตอบสนองตลาด เช่นเพิ่มหลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีหลักสูตรผู้สูงอายุ ลดต้นทุนโดยการสร้าง Network มีการเซ็น MOU

2. การบริหารบุคลากรทุกประเภท โดยภาพรวมคิดว่าควรเป็น 1:1 จากเดิม 1:3

วิธีการ 1. เพิ่มสมรรถนะการทำงาน มี Motivation เพิ่มขึ้น

2. มีการตั้งทีมทำงานวิจัยเพื่อให้ได้ลิขสิทธิ์ Value งานวิจัยจะเน้นการตอบโจทย์ภาคประชาชน เกิดขึ้นแล้วนำไปใช้ได้จริง เน้นเรื่องการจดสิทธิบัตร

กลุ่ม 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี และศิลปะศาสตร์

ในอนาคตคาดให้มีสัดส่วนพึ่งรัฐ 40 :เงินรายได้ 60 เงินลงทะเบียน

วิธีการ 1. สัดส่วนอาจารย์ : นักศึกษาจะเป็น 2:1 ให้ครีเอทงานก่อนเปลี่ยนรายได้

2. การบริการวิชาการเน้นสัดส่วนการประกอบการ มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และประมง มีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญแต่ละศาสตร์ และการเพาะเลี้ยงต่าง ๆ มีการอบรมระยะสั้นต่าง ๆ มีการดึงดูดลูกค้า เปิดหลักสูตรหารายได้

3.ศูนย์เครื่องมือการมีกระบวนการวิเคราะห์น้ำ มีการศึกษา ทำบรรจุพันธ์ ตัวอย่าง เรื่องกะกอและเมื่อมีองค์ความรู้น่าจะต่อยอดทำการตลาดเพื่อส่งไก่กอแระเป็นต้น

4. มี Target มุสลิม และตะวันออกกลา

5. มีคนภายนอก มาเช็คอินหอดูนกเรามาก

6. มีจุด Selfie

ข้อเสนอแนะ : การเปลี่ยนแปลงคนมาสู่มหาวิทยาลัยในกำกับต้องเพิ่มทักษะการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ มีการบริหารมหาวิทยาลัยเชิงวิชาการและธุรกิจได้ด้วย

- เป้าหมาย

- วัตถุประสงค์

- กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร

กิจกรรม : ยุทธศาสตร์การบริหารคณะระบุแนวทางการหารายได้และการลดค่าใช้จ่าย

ตัวอย่าง ยุทธศาสตร์การบริหารคณะ

1.วิสัยทัศน์ (ปรับเป็นพันธกิจ)

2. เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 4 เรื่องที่ทำคือ

- Student Development

- Teacher Development /Personal University Development

- Research Development

- Income and Financial Development

3. วัตถุประสงค์

4. กลยุทธ์

- เชิงรุก

- เชิงรับ

- กำจัดจุดอ่อน

- สร้างภูมิคุ้มกัน

KPI คืออะไร

- พึ่งพิง : หารายได้เอง

- Research Development เป้าหมายคืออะไร

- Teacher Development ตัวไหน

- Student Development KPI ของนิสิตคือมีงานทำเป็นต้น

หมายเหตุ : เมื่อกลับไปแล้ว

ข้อเสนอแนะ : ต้องระบุให้ได้ว่าหลักสูตรใดจะขยาย หลักสูตรใดจะลด

คณะที่เลี้ยงตัวได้จะกรอบหนึ่ง ก้ำกึ่งจะกรอบหนึ่ง ต้องพึ่งพิงจะกรอบหนึ่ง

- บางคณะศักยภาพมาก บางคณะศักยภาพน้อย

ระบบการเติบโตในสายอาชีพ

Career Management คือการบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ ประกอบด้วย

1. Career Path คือ เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ แสดงให้เห็นถึงแนวทางการเลื่อนตำแหน่งที่เป็นไปได้ในองค์กร

2. Career Development คือ การวางแผนและการพัฒนาบุคคลให้ก้าวหน้าไปตามเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างเต็มศักยภาพ และสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

เกณฑ์การพิจารณาการเวียนงานหรือเลื่อนตำแหน่ง

ดูจาก 1.การพัฒนาความรู้และศักยภาพ 2. เกณฑ์การพิจารณาการเวียนงานหรือเลื่อนตำแหน่ง

Teacher Development

- ต้องดูวัตถุประสงค์ในการมา

- มี Center ในการดูแล

- ทุกอย่างเปลี่ยนระเบียบได้ มีกติกา มีผลในการปฏิบัติภายในกี่ปี

- ยกตัวอย่างการทำงานที่แบงค์ได้มีการจัดทำเป็นกลุ่ม

- ปัญหาเกิดขึ้นได้ทั้ง Student Teacher และ Support Staff ต้องหาวิธีจัดการให้ได้

- อาจารย์ต้องมีพี่เลี้ยง ถ้าเหนื่อยให้พักแล้วกลับมา แต่อย่าพักมากเกินไป



Key Contents

- Introduction and Overview

- Change Management Skills (การบริหารการเปลี่ยนแปลง)

- ตัวอย่างการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับ

- ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ People Management

- People Career (การเติบโตในสายอาชีพ)

- Next Step

คำถาม หลังจากทำสี่เสาแล้วจะทำอะไรต่อให้ลองไปคิดดู

คำตอบจากผู้เข้าร่วม 1. อาจแบ่งเป็นคณะ ๆ และทำตามเสา ต้องเขียน Outcome และ Output ให้ชัดเจน เราจะแบ่งคณะอย่างไรหรือไม่

2. อยากทำตาราง 9 ช่อง เพราะเพิ่งไปสัมมนาคณะ แล้วอยากไปมองที่ฝ่ายบริหารว่าจัดวางคนดีหรือยังแล้วจะทำอะไรต่อไป

3. ตาราง 9 ช่องอาจเอาไปให้สายสนับสนุนเพื่อค้นหา Position ของตนเองว่าอยู่ตรงไหนขององค์กรเพื่อปรับไปในทิศทางเดียวกัน (แต่ถ้าให้เขา Rate ตัวเองเขาจะมองเป็นเลข 1 เขาจะไม่มองเป็นเลข 9 ซึ่งความจริงแล้วต้องมีการมองหลายมุมเป็นการมองแบบ 360 องศา


วันที่ 31 สิงหาคม 2559

การบรรยาย เรื่องความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งเทคโนโลยีดิจิตัลกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

โดย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

ชีวิตยุคไอทีกับประเทศไทย

- สังคมในวันนี้เปลี่ยนหมดเลย ในวันนี้มีแนวทางคือ Deep Learning คือให้ Machine เรียนเอง ชีวิตในวันนี้ต้องมา Set ว่า Thailand 4.0 เมื่อเปลี่ยนนโยบายจะไม่มีอะไรยืนยาว

- ในยุควันนี้เด็กที่เกิดมาเป็น Native IT ไม่ต้องสอน เป็นยุคที่เล่นอินเตอร์เน็ตโดยกำเนิด เนื่องจากการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม

- เราอยู่กับเขาในส่วนที่ Development เราต้องไปกับเขาในหลาย ๆ อย่าง ถ้าจะถามว่าเด็กสมัยนี้ไปห้องสมุดทำไม

- เราไม่สามารถห้ามเด็กในวันนี้ได้เพียงแต่จะทำอย่างไรให้เขามีความรับผิดชอบ

- การมองภาพอนาคตร่วมกัน เด็กที่อยู่ในมือเราเขาจะเติบโต ในชีวิตที่เขาทำงานอีก 10 ปีข้างหน้าโลกจะเป็นอย่างไร

- การเรียนการสอนเปลี่ยน ต้องทำเรื่องยาก ๆ ให้ง่าย อย่าทำเรื่องง่ายให้ยาก เช่นการสอนสถิติ ข้อมูลเปลี่ยนจากแบบเดิมไปหมดแล้วคือเป็นการคิดวิธีทำ Knowledge Technology กับ Data ที่เยอะมาก

- การก่อสร้างคอนโดฯ ในปัจจุบัน ยิ่งสร้างสูงมากเท่าไหร่ ความละเอียดต้องมีมากขึ้น

ดังนั้นในวันนี้เทคโนโลยีมาช่วยหมด ดังนั้นทักษะในอนาคตจะเป็นอย่างไร เช่น Social Intelligence , Sense Making ตัวเราเองจะไปเกี่ยวข้องกับอะไรอีกมาก ดังนั้นในวันนี้ถ้าเราอยากรู้อะไรต่าง ๆ ในวันนี้ไม่ได้มีความหมาย อยากรู้อะไรให้ถามในอินเตอร์เน็ต หรือมือถือได้เลย ดังนั้นไม่ว่าภาษาอะไรก็สามารถรู้ได้หมดแล้ว

สิ่งที่เราเรียกว่า Knowledge หรือความรู้อยู่บนอากาศแล้วหยิบมาที่มือ ดังนั้นการเรียนการสอนถ้าเรียนตามแบบเดิมตามตำรา เด็กจะสนใจเรียนหรือไม่ เพราะในชีวิตเด็กอยู่กับมือถือ เด็กจะเกิดความสงสัยว่าสามารถหาความรู้ได้บนมือถือ เลยไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม

Cognitive เก่งและเร็วมาก สิ่งที่อยากบอกว่า Skill ในอนาคตที่ Sensitive มากกว่าเดิม คือต้องมีคุณธรรม จริยธรรม คิดวิเคราะห์ได้ ให้มองแบบ Specific ไปอีก เพราะเราจะเติบโตได้ในโลกอนาคต

เราอยู่ในโลกดิจิตอล เทคโนโลยี ถ้านึกถึงทางการแพทย์ เมื่อของใหม่ดีกว่าของเก่าจะอยู่ไม่ได้ เช่นโรงพยาบาลซึ้อ Robot เพื่อใช้ในการผ่าตัดกว่าล้านบาท คือวันนี้เราเริ่มมีดิจิตอลต่าง ๆ เข้ามาสู่ยุค Digital Transform และก้าวสู่ Thailand 4.0 ประเทศไทยมีศักยภาพสูงทางเกษตรและหลากหลาย ประเทศไทยต้อง Smart คนไทยปัจจุบันมีสุขภาพดีขึ้น และสิ่งที่สำคัญคือ Digital จะเกิดการ Transform และ Internet of Things ยุทธศาสตร์ 20 ปี ต้องลุยมากขึ้น

Google เป็น Deep Learning เป็นบริษัทของ Media เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ จะเก่งไปเรื่อย ๆ

Machine Learning เอาชนะคนได้ โลกสมัยใหม่ทำได้อย่างไรคือทำเกมส์หนึ่งที่สามารถเล่นกันทั้งโลกได้ มีการทำ Augment ตัวอย่างเช่น ตัว Pokemon สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง ได้เอา World Map ใส่ในโปรแกรม

ดังนั้น ยุค 4.0 คือการผสมระหว่าง Cyber กับ Digital System อีกหน่อยการประชุมอาจไม่ต้องมาแต่ให้เอา Data ไปประชุมหลายที่ได้ จึงเป็นความสามารถของคนยุคใหม่ที่มีลักษณะเป็น Pararalism วันนี้จึงเริ่มเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราต้องมองในแง่บวกแล้วมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นดีอย่างไร อย่าง Pokemon ให้ถึง Evaluation คือการพัฒนาการ ต.ย.ปลากาก ๆ สามารถพัฒนาเป็นมังกรได้

เรากำลังมองโลกที่เรียกว่า Avatar คืออะไร โลกสมมุติสามารถเป็นโลกจริงได้ คนเรามีโลกสองโลกคือ โลกไซเบอร์ และโลกในชีวิตจริง อุตสาหกรรมแปลงรูปมา 4 ครั้ง ที่ทำให้ Machine เก่งขึ้น หุ่นยนต์เริ่มมีชีวิตจิตใจขึ้น Machine จะเริ่มคิดได้เองว่าตัวไหนจะทำอะไรให้ตรงใครเป็นลักษณะ Automate อุตสาหกรรมเริ่มมีการเปลี่ยนรูปการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงมากขึ้น คือการมองทั้ง System แล้วมี Cyber ไปผสมเป็นอุตสาหกรรม

ทำไมชีวิตต้องพร้อมเพย์

เพราะการใช้เหรียญเริ่มยุ่งยากมากขึ้น ไม่อยากใช้เงินเป็นพันธบัตรจริง ต้นทุนเหรียญแพงกว่าค่าเหรียญที่แท้จริง ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดแบงค์จึงต้องทำพร้อมเพย์ เนื่องจากทุกวันนี้เงินไปกองนอกระบบมากกว่าในระบบ เช่น สตาร์บัคส์คาร์ด มีเงินไปซ่อนอยู่ ดังนั้นชีวิตเรานั้นจึงพร้อมจ่ายอยู่แล้ว ถ้าเราไม่ทำ ปัจจุบันนี้เป็นเงินบิดคอย ประเทศใดเป็นเจ้าของบิดคอย (bitcoin) เลยมีความจำเป็นต้องสร้างกลไกของเทคโนโลยีที่เรียกว่า Bit chain ถ้ารัฐไม่จัดการ ชีวิตต้องอยู่กับ Transaction เล็ก ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้จึงต้องหาเทคนิคใหม่ นวัตกรรมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงาน สิ่งที่เกิดใหม่ยังไม่ออก ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็น Disruptive อย่างไร

ปัจจุบันการเขียนหนังสือเป็น Disruptive เนื่องจากทุกอย่างอยู่บน Cloud และอยู่บนมือถือ มหาวิทยาลัยปิดกำลังจะเปิด หมายถึงต้องเป็น Open Education หมายถึงใครก็ตามสามารถมาเรียนที่มหาวิทยาลัยได้ และที่สำคัญคือการศึกษา Open Access ใครเรียนได้ตามความต้องการ และต้องเรียนตลอดชีวิตเพราะมีสิ่งที่ต้องเรียนตลอดชีวิต

ถ้าบอกว่าจะเปลี่ยนคำต่อไปเป็นภาษาไทยก้สามารถพิมพ์ได้จากการพูดใส่ในคอมพิวเตอร์ได้เลย ดังนั้นเราเริ่มเปลี่ยนรูปแบบนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ไป Replace หมายถึงเทคโนโลยีสามารถใช้พิมพ์ได้บนกระดาษแผ่นเดียวกัน เรารู้ว่าองค์กรจะ Smart ขึ้นเรื่อย ๆ การ Smart ขึ้นได้เพราะเทคโนโลยีต่าง ๆ ดีวันดีคืน ตัวอย่างคนไทยเกิดโรงเรียนได้ 100 โรง และจะมีประชากรไทยที่ Peak สุด 75 ล้านคน แล้วหลังจากนั้นจำนวนคนจะลดลงเรื่อย ๆ สาเหตุจากอัตราการเกิดที่น้อยลง และจะเข้าสู่การติดลบ

Thailand Population จะมีการ Predict จำนวนคนเกิด คนตายให้ทั้งหมด และจะเทียบกับประเทศอื่น ๆ ดังนั้นถ้าอยากรู้ตัวเลขใดให้ดูว่าตัวเลขแต่ละแห่งเป็นอย่างไร

การเกิดของเด็กน้อยลงไปเรื่อย ๆ เกิดผลกระทบอะไรต่อ ม.อ. Supply ยัง Over Demand ที่นั่งมีแต่ไม่มีคนมานั่ง เพราะฉะนั้น โรงเรียนชั้นนำไม่เดือดร้อน แต่โรงเรียนปลายแถวจะเดือดร้อน ม.อ.ต้องเปลี่ยนเรื่องคุณภาพและให้มาสู่หัวให้ได้ เพื่อตอบสนองต่อการบริหารงานในอนาคต เรียนแล้วจะไปทำอะไรในขณะนี้ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว ขึ้นอยู่กับนวัตกรรมสมัยใหม่ เช่นสามารถคุยกับตู้เย็นได้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ SMART ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นวันนี้จึงเรียนรู้เอง เป็นลักษณะ Deep Learning Approach และให้นำเอา Concept เหล่านี้มาใช้ใน Research เรา เราต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์และประสบการณ์เดิมให้ได้ โลกเรากำลังเปลี่ยนอย่างรุนแรงที่ช่วยให้ Machine เก็บ Data เป็นตัว Sensor เราต้องใช้เครื่องมือไปทำเรื่อง Data เราจะตอบสนองการใช้ข้อมูลให้เกิด Knowledge Discovery จึงทำให้ยุควันนี้สู่ยุคใหม่คือ Data Over MIS เป็นลักษณะ Non Format Data ตัวอย่างคณิตศาสตร์ง่ายมากขึ้น การพิสูจน์เสียงคนที่ 1 , 2 แตกต่างกันกี่เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นในวันนี้ Tool จะบอกเรื่อง Analysis คือถ้ามองเรื่องยากให้ง่ายจะเป็นลักษณะการมองแบบ Functional Modeling หมดเลย (การมองแบบ Functional จะทำให้เข้าใจง่ายกว่า ดังนั้นการทำอะไรต่าง ๆ จะเป็น Modeling และ Tool ต่าง ๆ จะมาช่วยเรา เพราะเรามีความท่วมท้น

สรุปคือความท้าทายที่จะก้าวสู่โลกยุคดิจิตอล มหาวิทยาลัยต้องเกี่ยวกับ

1. IOT

2. Cloud

3. Big Data Analysis

แม้ว่าเราอยู่สายสังคมศาสตร์เราไม่ต้องรู้ลึกแต่นำมาใช้ให้ได้ทั้งหมด

ข้อมูลต้องมีที่สามารถเก็บได้ตลอดชีวิต สังเกตได้ว่าเรายุ่งเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ IOT มาง่ายมากขึ้น เช่นกินยา ยาจะมี Sensor เตือนที่ฝาขวดว่าเปิดหรือยัง แล้วส่ง Email มาเตือนเรา

Cyber Physical Model คืออะไร

กิจกรรม : หยิบโทรศัพท์มือถือมาแล้วเปิด Browser Key ว่า Kahoot.it แล้ว Password : 508780 แล้วใส่ชื่ออาจารย์ลงไป ก็จะไปแสดงในจอรวมของผู้ใส่ชื่อทั้งหมด เป็นการคุยอยู่บนโลกดิจิตอล

มีคำถาม และเลือกคำตอบที่เร็วที่สุด

ข้อคิดคือ การทำงานของ Cyber และ Physical เป็นการทำงานสองอย่างรวมกัน ส่วน IT เป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เรามีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการแบบนี้เรียกว่าให้ทุกคนมีส่วนร่วม

ดังนั้น Smart คือการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมกันมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทำให้พื้นฐานการทำงานดีขึ้นเรียกว่า Literacy ระบบ พร้อมเพย์คนจะต่อต้านไว้ก่อน เหมือนแต่ก่อนคนต่อต้านกระจกเงา

บัญชีพร้อมเพย์คือเดบิต ถ้าใส่เงินน้อยก็เสี่ยงน้อย ดังนั้นในวันนี้ถ้าโทรศัพท์มือถือผูกบัตรประชาชน แบงค์ก็ผูกกับบัตรประชาชน สรุปคือทุกอย่างเชื่อมกันหมด รู้ข้อมูลเชื่อมกันหมด เราต้องเรียนรู้วิธีปกป้องตัวเราเองว่าอะไรคือความเสี่ยง

บัตร ATM เป็นเพียงสองสเต็ป การมี Portfolio ของหุ้น การซื้อขายจะซื้อขายอย่างไร และทำอย่างไรไม่ต้องเสี่ยง มีการเปิด Book Bank เราต้องมีความรู้และเรียกว่าเป็น Literacy คือต้องมีความรู้ มีทักษะในการใช้ด้านนี้

ทุกวันนี้เราเริ่มไม่ซื้อหนังสือพิมพ์แล้ว ดูทีวีน้อยลง เราเริ่มมีอะไรที่อยู่กับเรามากขึ้นเรื่อย ๆ เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับดิจิตอลเพราะเราต้องเข้าใจที่จะต้องอ่านออกเขียนได้ มี Literacy ซึ่งเด็กรุ่นใหม่จะมีลักษณะพิเศษหมดที่เราต้องฝึกให้เป็นเหมือน Digital Native คือเด็กอ่านเป็น Fragment เป็นส่วน ๆ แล้ว Visual (จินตภาพ) ดังนั้นเราจะทำ Read Digital ได้อย่างไร ผู้บริหารต้องทำเอง เพราะเป็นการ Read and Write Digital ด้วยตนเอง ยิ่งทำยิ่งคล่อง อยากให้อาจารย์ดูว่าทุกอย่าง Responsive บนมือถือทั้งหมด ถ้าอะไรใช้บนมือถือไม่ได้แสดงว่าอนาคตไม่น่าจะมี ดังนั้นสิ่งที่ทำทุกอย่างต้องสามารถจบที่มือถือได้ถึงเรียกว่า Responsive

เราเรียนรู้จากต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น Web Intel ทำไว้สำหรับมือถือด้วย หรือ Web Harvard ก็ Responsive ทั้งหมด หมายถึง Web สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานกับมือถือ ดังนั้นสิ่งที่ต้องฝึกต้องฝึกใช้มือถือคล่อง ๆ และฝึกให้ใช้นิดเดียว ดังนั้นทุกอย่างต้องใช้ Frame อย่าใช้ Table ให้เป็นคอลัมภ์เดียวและสามารถบีมลงมาบนมือถือโดยไม่ Effect อะไรเลย ดังนั้นเราจะเห็นว่า Web เมื่อบีบมาที่มือถือจะใช้ได้อย่างดี

สรุปคือ เราจะต้องสร้างให้เกิด Responsive ที่จบด้วยมือถือได้ ไม่ว่าจะลงทะเบียน จ่ายเงิน เข้าค่ายต่าง ๆ จะจบที่มือถือ เพราะมือถืออยู่กับตัวตลอดเวลา เพราะปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วไม่ได้ใช้ Notebook เหมือนเมื่อก่อน

มหาวิทยาลัยต้องอยู่ในลักษณะ Open ต้องเป็นการศึกษาเพื่อมวลชน ในวันนี้รูปแบบการศึกษาเปลี่ยนไปสู่การเปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมได้ ต่างกับเมื่อก่อนนี้เป็นระบบปิด คือ ห้องสมุดเวลาซื้อ Database ทุกวันนี้ Open มี Open Assess เต็มไปหมด มีวารสารที่มีการจัดการที่ดี มี Journal Index ที่ดี แต่เป็นการ Open คืออยู่ใน State ที่ Open

รูปแบบการทำงานที่ Open นั้น Scholar จะเป็นตัวจัด คือทั้งโลกจะมองเห็น เช่นอยากให้ ม.อ.เป็นที่รู้จักมาก ๆ ดังนั้นเราต้องทำให้ ม.อ. Visibility คือคนมองเห็นได้ง่าย ๆ ผ่านมือถือ สรุปคือสร้างสิ่งแวดล้อมของ ม.อ.ให้รู้ว่าเป็นอย่างไร สร้างให้ทุกอย่าง Visible ทั้งหมด แล้วถ้าทุกคนมาช่วยกันจะทำให้คนอื่นมองเห็นได้ง่าย

อย่าง ม.อ.ทำอะไรแค่ไหน คนอื่นจะมองเห็น Google จะจัดการให้เสร็จเรียบร้อยเป็นลักษณะ Automate ดังนั้นในวันนี้วิธีการสื่อสารออนไลน์ต่าง ๆ จึงมีอะไรที่น่าสนใจ

Thailand 4.0 มองว่าจะทำให้ประเทศไทย Smart จะทำอย่างไร เช่นปลูกข้าว ทำนาทำอย่างไรให้ Smart และทำให้ สภาพัฒน์ฯ เป็นตัวลุยให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ นำยุทธศาสตร์นี้ไปผูกในยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นทุกคนในวันนี้ต้องเรียนรู้ Functional Coding เราจะเรียน Math อย่างไรให้ง่าย เราต้องปฏิรูป เราจะมองความคิดแบบ 10 – 20 ปีที่ผ่านมา เราจะทำน้อยอย่างไรให้ได้มาก สิ่งสำคัญคือเครื่องมือ เราต้องรู้จักกับการใช้เครื่องมือ

1. การมอง ICT อย่ามองแบบเก่า นักศึกษาต้อง Code แบบ Functional คือมีมุมมองเหมือนพลอตกราฟหลายแนว เมื่อมีดาต้าแล้วจะเปลี่ยนรูปแบบอย่างไร ต้องเป็นสามประสานและสร้างให้ ม.อ.เป็นเอกลักษณ์ เป็น Basic สร้างให้ทุกคนอ่านออกเขียนได้หมด

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องฝึกตัวเองไปพร้อมเด็กคือ การ Read , Write และ Presentation ดังนั้นการทำ Step ของ ม.อ. เช่นถ้าต้องการให้ ม.อ.เป็น 5 ดาว จะต้องทำอย่างไร Present ต้องเนี๊ยบ ทุกอย่างต้องเนี๊ยบ เครื่องมือทาง IT จะช่วยอาจารย์

วิธีการนำเสนอเป็นลักษณะ Info graphic มาก พฤติกรรมการอ่านต้องเปลี่ยนไป ให้ลองอ่านการ์ตูนมังงะ ที่สามารถอ่านได้บนมือถือ เราต้องตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ พฤติกรรมการสื่อสาร สื่อสังคมต่าง ๆ นำมาใช้ในการทำทางด้าน Digital Marketing พฤติกรรมหลายอย่างเปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนจะอยู่ไม่ได้ การซื้อการขายออนไลน์ และเด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบเป็นลูกจ้างใคร อยากเป็น Freelance ซื้อขายออนไลน์เอง เป็นลักษณะคนรุ่นใหม่ เป็นลักษณะการใช้สื่อเปลี่ยนไป

สรุปคือ อยากให้อาจารย์เข้าใจ Model การเชื่อมโยงสังคมกับเศรษฐศาสตร์ สังคมคือการเชื่อมโยงของคนที่มาสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ และทุกวันนี้มีเศรษฐกิจที่มาเชื่อมกับสังคมมากหมดเลย เริ่มมีการปรับตัวบางอย่าง เช่น อาจารย์อุ๊ สามารถสอนทั้งประเทศได้

มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ มีการรวมตัวกันตั้งมหาวิทยาลัย X มีการเปิดสอนแล้วมี Free online course แล้วถ้าอยากได้กระดาษประกาศนียบัตรก็เก็บเงินเป็นต้น

ทุกอย่างในวันนี้มีการกดดันให้เราต้องปรับเปลี่ยน เราจะออนไลน์ได้อย่างไร ยึด Community ได้อย่างไร เปลี่ยน Business Model ได้อย่างไร หาวิธีการใหม่ เช่น แกรมมี่นำเพลงทุกเพลงขึ้น Youtube ส่วนการหารายได้เปลี่ยนเป็นขายคอนเสิร์ต ขายดารา

อย่างสถาบันการศึกษาต้องคิด Model ใหม่ ๆ เพราะการศึกษาไม่มีวันตาย ม.อ.มี Capacity ที่สอนคนทั้งประเทศได้ แต่เราไป Limit การศึกษาที่รับแค่การจำกัดจำนวนคน ปัจจุบันถ้าคิดในระบบ Supply Over Demand แต่ถ้าคิดนอกระบบ เราจะเห็น Demand มาก เช่น คนสูงอายุ คนเป็นโรคต่าง ๆ เราจะสอนอย่างไร หมายถึงว่า ภารกิจกำลัง Change เราต้องปรับตัว ใครปรับตัวได้ก่อนคนนั้นจะอยู่รอด ถ้าปรับตัวไม่ทันจะเหมือนกับ โกดัก หรือโนเกีย ดังนั้นจึงอยากให้ดูว่า Model เราเริ่มเปลี่ยนไปมาก ทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิตอล เราเปลี่ยนกระทรวง ICT เป็นกระทรวงฯ ดิจิตอล เมืองไทยใช้กระทรวงดิจิตอลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหมายถึงเราอยู่ในระบบ Dynamic ที่ Change เร็ว และเราอยู่ได้ด้วยความรู้

สรุปคือวันนี้อยู่ในลักษณะ Digital และ Digital เป็นเครื่องมือให้เกิด Change คือทำน้อยได้มาก อยู่ในยุคที่เป็นเศรษฐกิจใหม่ หรือเศรษฐกิจ Digital ในปัจจุบันใช้ Transaction Based ทั้งหมด เลย สัดส่วนดิจิตอลต่อกระดาษโตเร็ว เราต้องทำน้อยและได้มาก และให้ ม.อ. Change ไปสู่ Digital เราจะสร้างให้ ม.อ.มี Zero Moment of Truth อย่างไร (ทุกสิ่งทุกอย่างไม่จำเป็นต้องรู้ แต่สร้างให้เกิดความรู้สึกว่าอยากมามาก) ทำอย่างไรให้มี First Moment of Truth , Second Moment of Truth และให้เขา Engage กับเราให้ Digital เป็นตัวยึดเหนี่ยว

หมายเลขบันทึก: 613031เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2016 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2016 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ยุพดี ชัยสุขสันต์

ส่งงาน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานของทุกรายวิชา ช่วงที่ 6 : 29-31 August 2016

29 August 2016

Networking Developments and Management Forum

- ภาคีเครือข่ายมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ที่สำคัญของ ม.อ. โดยต้องหาความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งจะทำให้ลดทรัพยากรคน งบประมาณ และเวลาในการดำเนินโครงการ

- การสร้างแนวร่วมต้องมีการบริหารเครือข่ายที่ดี ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ใช้มธุรสวาจา มีพื้นฐานการยอมรับความเสมอภาค ให้เกียรติคนที่ร่วมงานด้วยกันจึงจะประสบความสำเร็จ

- การสร้างกลุ่มหรือทีมในการทำงาน ต้องเริ่มต้นจากการสร้างศรัทธา สร้างเรื่องที่จะทำ มีการปฏิบัติโดยประสานงานกับหน่วยงาน/คนที่สนใจให้มาช่วยสิ่งที่กลุ่มจะดำเนินการ ต้องมีความอดทนและความตั้งใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายก็จะได้รับผลตอบแทนสำหรับทุกคนในกลุ่ม (mutual benefit)

ผู้นำกับการสร้างทุนทางคุณธรรม-จริยธรรมในองค์กรและสังคม

- คุณสมบัติของผู้นำในการสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่

1. การกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานของความถูกต้องและเหมาะสม

2. มีความซื่อสัตย์สุจริต

3. มีความยุติธรรม

4. เป็นผู้มีพรหมวิหารธรรมในขอบข่ายที่เหมาะสม

5. มีทักษะในการสื่อสาร และมีความเชื่อถือในการพูด

6. เป็นผู้มีภาษากายที่งดงาม ซึ่งจะต้องมีวินัย ตรงเวลา มีมารยาท มีความรัก/เมตตา มีความสุภาพอ่อนน้อมต่อกันและกัน มีความกตัญญูกตเวที และไม่ละโมบหรือติดวัตถุ

7. เป็นผู้มีหลักในการดำเนินชีวิตให้อยู่รอดอย่างมีความสุข ซึ่งควรมีความรู้ 4 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษา อังกฤษ ภาษากาย และภาษาคอมพิวเตอร์

- ปัญญาที่ยิ่งใหญ่ คือ ปัญญาแห่งการรู้จักตนเอง รู้เท่าทันธรรมชาติ และเข้าถึงพระผู้สร้างในระดับปุถุชน

- มาตรฐานการวัดปัญญา คือใช้ความทุกข์เป็นตัววัด

- การที่จะทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน โดยต้องมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งต้องเน้นเรื่องของวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และมีระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคง นอกจากนี้ยังต้องมีการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอบรมจนเกิดการตกผลึกแห่งปัญญา การสอนที่ดีต้องมีการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

30 August 2016

Group Assignment & Presentation Lesson learned– Share and Care : บทเรียนจากหนังสือ(เล่มที่ 4)

The Rise and Fall of Nations – Ten Rules of Change in the Post – Crisis World by Ruchir Sharma

- การบริหารจัดการคน ต้องปรับโครงสร้างบุคลากร มีการสร้าง/พัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้าน Science และ Social Science ให้ไปด้วยกัน

- ม.อ.ต้องนำทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างรายได้เข้ามา ต้องมีการลงทุนอย่างมีการวางแผนที่ดี ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อหา Income และให้มี Entrepreneurial Spirit สร้างผู้เชี่ยวชาญด้าน entrepreneur โดยใช้เครื่องมือคือหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการบริหารจัดการและการพัฒนาคน

การพัฒนาเชาวน์ความอึด (Adversity Quotient: AQ) และเชาวน์ด้านอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ)

- EQ ประกอบด้วย การตระหนักรู้ตนเอง การจัดระเบียบอารมณ์ การจูงใจตนเอง การร่วมรับรู้ความรู้สึก และทักษะทางสังคม

- AQ ประกอบด้วย ความสามารถในการควบคุมวิกฤต มีสติ มองวิกฤตมาจากปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน ไม่โทษตนเอง แต่พร้อมเข้าร่วมรับผิดชอบแก้ไข ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ มีความอดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหาได้

- การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาม.อ. ควรครอบคลุมทั้ง 6Q คือ IQ (Intelligence Quotient), EQ (Emotional Quotient), MQ (Moral Quotient), AQ (Adversity Quotient), HQ (Health Quotient) และ SQ (Spiritual Quotient) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน EQ, MQ และ AQ เพื่อให้บัณฑิตที่ออกไปทำงานมีความพร้อมด้านอารมณ์และสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีคุณธรรมจริยธรรม ไม่โกง มีสติ สามารถแก้ปัญหาและพลิกวิกฤตเป็นโอกาสของตนเองให้ประสบความสำเร็จในด้านการงานและการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

- ผู้บริหารและบุคลากรก็สามารถสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วย EQ, MQ และ AQ เช่นกัน

31 August 2016

PROBLEM - BASED LEARNING WORKSHOP: CEO–R –Non HR –Stakeholders and Value Creations

Case Studies and Intensive Management Workshop: PSU and Human Resource Strategies

- ม.อ. ในสถานการณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับต้องปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การบริหารจัดการองค์กร/บริหารบุคลากร โดยต้องสร้าง perception ใหม่ ปรับ mindset ของคนในองค์กร พัฒนาหลักสูตรและพัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพ/มีงานทำทุกคน ปรับการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรทุกประเภท พัฒนางานวิจัยทั้งเพื่อให้เกิดองค์ความรู้พื้นฐาน และงานวิจัยที่มีการต่อยอดโดยร่วมมือกับภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมสำหรับการหารายได้ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งทรัพยากร ลดรายจ่าย และแสวงหางบประมาณเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการจากหลายแหล่งทั้งจากหลักสูตรระยะสั้น/พิเศษ ผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา/ลิขสิทธิ์/อสังหาริมทรัพย์ และจากการระดมทุนจากศิษย์เก่าและหน่วยงานต่าง ๆ

- ม.อ. ต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณภาพทางการศึกษา/งานวิจัย ผลิตบัณฑิตให้เป็นพลงเมืองของโลกได้ คือมีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความสามารถในการคิดและการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา มีความสามารถในการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก

การบรรยาย – ความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งเทคโนโลยีดิจิทัลกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

- ยุค IT กับนโยบาย Thailand 4.0 ในปัจจุบันเด็กที่เกิดมาเป็น Native IT สามารถเล่นอินเทอร์เนตได้โดยไม่ต้องสอนเนื่องจากเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม โลกไร้พรมแดน การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว เชื่อมโยงข่าวสารได้ทั่วถึง และมีการสร้างนวัตกรรมขึ้นมากมาย สถานการณ์ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นระบบการศึกษาก็ต้องปรับเปลี่ยนตามนโยบายของรัฐบาลเป็น “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

- ทักษะการทำงานในอนาคตในยุค digital technology ได้แก่ Social intelligence, Adaptive thinking, Sense making, Cross culture competency, Computational thinking, Media and Information literacy, Transdisciplinary, Design mindset, Cognitive management และ Virtual collaboration

- สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญคือเทคโนโลยี 3 รูปแบบ - IoT (Internet of things), Cloud และ Big data ซึ่งจะต้องบูรณาการทั้งสามส่วนเพื่อเป็นฐานการพัฒนาการศึกษาไทยให้ก้าวหน้าและยั่งยืน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังต้องเปิดกว้างให้การศึกษาเพื่อมวลชน คนที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องอยู้ในระบบชั้นเรียน เพื่อตอบสนองสังคมสูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนยุคใหม่ นั่นคือ ม.อ.ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนอง Thailand 4.0

Networking

ทำไมต้องมีเครือข่าย

1.มีงานมาก ต้องการขยายงาน

2.ประหยัดงบประมาณคน

ปัจจัยที่ทำให้เครือข่ายประสบผลสำเร็จ

1.การสร้างเครือข่ายให้หาจุดร่วม/ปัญหาร่วม ก่อนเริ่มจากกลุ่มคนที่เข้าใจก่อน

2.การบริหารจัดการเครือข่ายการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

3.ความสัทธาของสมาชิก

4.การทำงานต่อเนื่อง

5.สร้าง connection หรือ link เพื่อขยายเครือข่าย

ผู้นำกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

คุณธรรมและจริยธรรม

คุณธรรม คือ ความถูกต้องดีงาม จริยธรรม คือ การปฏิบัติในความถูกต้องและดีงามอย่างเหมาะสม

ภาวะที่พึงประสงค์ของการเป็นผู้นำที่ดี

1. การกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานความถูกต้องและเหมาะสม

2. ความซื่อสัตย์สุจริต

3. ความยุติธรรม

4. ความเป็นผู้มีพรหมวิหารธรรมในขอบข่ายที่เหมาะสม

5. การมีทักษะในการสื่อสาร

6. การเป็นผู้ที่มีภาษากายที่งดงาม

หนังสือ The Rise and Fall of Nations – Ten Rules of Change in the Post – Crisis World by Ruchir Sharma

1. People Matter : แรงงานลด

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแปรผันตรงต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์วัย เพศคุณภาพแรงงาน มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

การทดแทน

1.ใช้แรงงานผู้สูงอายุ

2.ขยายเวลาเกษียณอายุงาน

2. The Circle of life

แต่ละประเทศจะมีวงจรทางเศรษฐกิจ มีรุ่งเรือง และ เกิดปัญหา

3. Good Billionaires, Bad Billionaires:เศรษฐีดีและเศรษฐีเลว

ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจGood Billionairesพัฒนาธุรกิจจากการทำกิจการที่ดี ไม่ผูกขาด ธุรกิจสะอาดส่วน , Bad Billionairesทำธุรกิจที่เอาเปรียบผู้อื่นหรือผูกขาดธุรกิจสีเทาแต่ในความเป็นจริงประเทศต้องมีทั้ง เศรษฐีดีและเศรษฐีเลว

4. Perils of the State : ภัยที่เป็นอันตรายต่อประเทศ

-การแทรกแซงทางเศรษฐกิจนโยบาลประชานิยม

5. The Geographic Sweet Spot

ภูมิศาสตร์หือที่ตั้งของประเทศ หรือ การร่วมกลุ่มของประเทศ จะมีผลต่อเศรฐกิจ

6.Factories First

การลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐาน เป็นสิ่งสำคัญ

7. The Price of Onions

เงินเฟ้อเป็นสิ่งบ่งบอกทางเศรษฐกิจว่าดีหรือไม่ต่ำจะดีสูงเศรษฐกิจะไม่ดี

เกิดจากdemand มากกว่า supplyต้นทุนผลิดสูง

ทำให้- ของแพง การลงทุนน้อยส่งออกได้น้อยค่าครองชีพสูง

แนวทางแก้ – ลดการปล่อยสินเชื่อเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก

8.Cheap is Good

ถูกหรือแพงดูจาก-ค่าของเงินเงินถูกเงินไหลออกจากประเทศ

วิกฤติการเงินหรือไม่ ดูจาก บัญชีเงินของประเทศ

เกิดวิกฤตนักลงทุนหนีแต่เมือสัญญานฟื้น นักลงทุนภายในจะกลับมาลงทุน

การลดค่าของเงินมีได้ทำเศรษฐกิจแข็งแกร่งเพราะจะส่งผลต่อการชำระเงินกู้ ปัญหาเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบ

9. The Kiss of Debt

หนี้มีมากไม่ดีแต่ไม่มีเลยประเทศก็ไม่พัฒนา ก่อหนี้ไม่ควรเกิน 40 % ของ GDP

10.The Hype Watch

การประโคมข่าวของสื่ออย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจที่ผ่านมาข่าวที่สื่อลงมักจะไม่เป็นจริง

การพัฒนาเชาวน์ความอึด (Adversity Quotient : AQ) และเชาวน์ด้านอารมณ์ (Emotional Quotient :EQ

6 Q ในการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย

1. IQ (Intelligence Quotient)

2. EQ (Emotional Quotient)

3. MQ (Moral Quotient)

4. AQ (Adversity Quotient) – ความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เปลี่ยนโอกาสเป็นความสำเร็จ

5. HQ (Health Quotient)

6. SQ (Spiritual Quotient) – คือเชาว์ทางด้านจิตวิญญาณ พวกนี้โดยทั่วไปจะอายุยืนมากกว่าคนทั่วไป 10-20 % หรือมีสุขภาพมากกว่าคนทั่วไป 10-20%

ความหมายและองค์ประกอบของ EQ

หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น บริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่นได้ มีความเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนสื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

ความหมายของ AQ

AQ หมายถึงความสามารถในการควบคุมวิกฤต มีสติ และมองวิกฤตมาจากปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน แต่ยินดีเข้าร่วมรับผิดชอบ ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหาได้

ความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งเทคโนโลยีดิจิตัลกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ยุคดิจิทัลมหาวิทยาลัยจะต้องเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี Internet of Thing (IOT ) , Cloud Technology และ Big Data Analysisซึ่งส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน

การบริหาร จะต้องมีการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยทันต่อการใช้งานนำเทคโนโลยีช่วยในการบริหาร สร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลรองรับการเรียนการสอนสร้างโครงข่ายที่ทันสมัยร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศผู้บริหารจะต้อง Smart ตามทัน Technology

หลักสูตรด้านเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเนื้อหาต้องทันสมัยมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกร่วมกลุ่มการพัฒนาหลักสูตร

การจัดการเรียนการสอน จะต้องเปลี่ยนไปมีเนื้อหามากหมายที่อยู่รอบตัวผู้เรียนเพียงแค่ผู้เรียนเข้าไปค้นหาก็จะเจอผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทสอนน้อยแต่เรียนมากการเรียนการสอนต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลายเทคนิกวิธีการสอนจะต้องเปลี่ยนไปปรับให้เข้ากับยุคของผู้เรียน

มหาวิทยาลัยต้องจัดการเรียนการสอนให้เข้ายุค Thailand 4.0 ทำน้อยได้มากใช้เทคโนโลยีช่วยสามารถที่จะการเรียนการสอนให้ผู้เรียน ๆพร้อมกันหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ คนได้โดยผ่านทาง Digital

สรุปสิ่งที่ได้จากการดูงาน วันที่ 9-11 ส.ค. 2559 และการปรับใช้กับการทำงาน คือ ประทับใจกับแนวคิดการบริหารของบริษัทกิฟฟารีนที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรมของบุคลากร การดูแลเสมือนคนในครอบครัว เพราะนี่คือการซื้อใจและได้ใจจากทุกคนอย่างเต็มที่ หากทุกคนมีความสุข การทำงานก็ย่อมสำเร็จ ในส่วนของ SCG นั้น การให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคลากรรวมไปถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ความท้าทายของการทำงานใน ม.อ.คือจะทำอย่างไรให้การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพและเห็นคุณค่าของทุกคน ไม่ว่าจะสายวิชาการ สายสนับสนุน และผู้บริหาร เพราะสภาวะปัจจุบันคือมีแต่แรงกดดัน บั่นทอนกำลังใจ การสื่อสารและการรับฟังเสียงของบุคลากรมีน้อยมาก สำหรับสถาบันปัญญาภิวัฒน์ สิ่งที่ทำให้ตระหนักและตระหนกคือเมื่อถึงจุดที่บริษัทเอกชนมีสถาบันการศึกษาที่พร้อมจะผลิตคนของตัวเอง มีหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนและตลาด ก็ทำให้ชวนคิดว่าแล้วตัวเราเองจะปรับเปลี่ยนทิศทางการบริหารจัดการหลักสูตรของเราอย่างไร มันคงถึงจุดที่ต้องบูรณาการข้ามศาสตร์ ข้ามสาขาวิชากันอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมที่สุด

สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมครั้งที่ 6 (วันที่ 29-31 ส.ค.2559) และนำมาปรับใช้กับการทำงานคือ ณ ปัจจุบันเราไม่สามารถจัดการทุกอย่างได้เพียงลำพัง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ทำอย่างไรให้ความรู้เชิงวิชาการผสมผสานกับประสบการณ์ ภูมิปัญญาผ่านเครือข่าย และนำไปสู่การใช้ทรัพยากรมนุษย์และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนดังกล่าวทุกคนทุกฝ่ายต้องมีเป้าหมายและหลักยึดเดียวกัน รวมไปถึงการมีคุณธรรม การให้เกียรติกัน บ่อยครั้งที่ได้ยินเสียงสะท้อนจากชุมชนว่ามหาวิทยาลัยไม่สามารถเป็นที่พึ่งได้ สิ่งที่จะนำมาปรับใช้กับการทำงานที่คณะคือการกำหนดโครงการ/กิจกรรมที่คณะและชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นอกจากนี้ คงไม่จำเป็นต้อง "ทำใหญ่" และเริ่มต้นจาก"สิ่งเล็กๆ แต่นำไปสู่เป้าใหญ่ และยั่งยืน"

ในส่วนของการปรับตัวตามนโยบายประเทศไทย 4.0 รวมถึงการเข้าสู่ยุค Internet of things นั้น เป็นความท้าทายที่จะดำเนินพันธกิจด้านต่างๆของคณะและมหาวิทยาลัยอย่างไรให้สอดคล้องและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงนี้

มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

29 สิงหาคม 2559

Networking Developments and Management Forum

การบริหารจัดการต้องอาศัยความรู้ ศิลปะและประสบการณ์

การมีเครือข่ายมาก ช่วยลดงบประมาณ ไม่ต้องจ้างเพิ่ม ต้องบริหารงาน คน และ งบประมาณ โดยมีการยกตัวอย่างการแพทย์ฉุกเฉินที่ทางอบจ.สงขลาจัดการโดยอาศัยเครือข่ายแนวร่วม มีกิจกรรมร่วมกัน ช่วยกระชับความสัมพันธ์ในเครือข่าย ความสัมพันธ์แนวราบ ไม่เน้นเชิงโครงสร้าง แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง การอ่อนน้อมถ่อมตน ในการสร้างเครือข่าย

ผู้นำกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม โดย พล.อ.ต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ

คุณธรรมคือความถูกต้องดีงาม

จริวธรรมคือ การปฎิบัติในความถูกต้องและดีงามอย่างเหมาะสม

ภาวะที่พึงประสงค์ของการเป็นผู้นำที่ดี

  • กล้าตัดสินใจบนพื้นฐานความถูกต้อง
  • ความซื่อสัตย์สุจริต
  • ความยุติธรรม
  • ความเป็นผู้มีพรหมวิหารธรรมในขอบข่ายที่เหมาะสม
  • การมีทักษะในการสื่อสาร
  • การมีภาษากายที่งดงาม
  • การมีหลักการในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

ผู้ที่จะอยู่รอดได้อย่างมีความสุข ควรมีความรู้ถึง 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาคอมพิวเตอร์ และภาษากาย

ภาษากายที่งดงามคือ

  • วินัย ตรงเวลา มีมารยาท
  • ความรักความเมตตา
  • ความสุภาพอ่อนน้อมต่อกันและกัน
  • ความกตัญญูกตเวที
  • ความไม่ละโมบ ติดวัตถุ
  • สังคมใช้ปัญญา สังคมตัวเลข
  • โลกไร้พรหมแดน เชื่อมโยงข่าวสารทั่วถึงกัน สื่อสาร สะดวก รวดเร็ว
  • เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ใช้เทคโนโลยี
  • มีความสะดวกสบาย
  • Visible สืบค้นข้อมูลได้ทั่วโลก
  • ความเท่าเทียม สังคมเมือง ชนบท

สูตรสำเร็จของการทำงานให้ได้ผลและคนมีความสุขคือ การดำเนินชีวิตให้ถึงพร้อมด้วย สติ ปัญญา ศรัทธา กุศลธรรม สายกลาง

30 สิงหาคม 2559

การพัฒนาเชาวน์ความอึด และเชาวน์ด้านอารมณ์ โดย ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์

EQ หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ของคนเองและผู้อื่น บริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่นได้ มีความเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนสื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

AQ เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เปลี่ยนโอกาสให้เป็นความสำเร็จ

AQ เป็นความสามารถในการควบคุมวิกฤติ มีสิ และมองวิกฤติมาจากปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน แต่ยินดีเข้าร่วมรับผิดชอบ ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อดทนค่อความยืดเยื้อของปัญหาได้ มองปัญหาเป็นเรื่องชั่วคราว เป็นสากล

Intensive workshop & group study

โครงการที่จะทำต้องตอบโจทย์ ทฤษฎี 3 V change and challenge แนวติดบางส่วนจากห้องเรียน เช่น เป็น ม.ในกำกับ world class University Pillars of the south PSU new Era Thailand 4.0

องค์ประกอบของการออกแบบโครงการ

  • จัดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ (Future)
  • กรอบแนวคิด (หลักการและเหตุผล) problem or solution
  • วิธีการ where are we? Where do we want to go? How to do it?
  • ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี กลยุทธ์ (strategies)
  • กำหนดระยะเวลา ระยะสั้น กลาง ยาว
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

31 สิงหาคม 2559

CEO-HR non HR-Stakeholders and value creation โดย ดร.ทายาท ศรีปลั่ง

สร้างคนให้มีความรู้ ทักษะและมีเหตุผล

มหาวิทยาลัยต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณภาพทางการศึกษา สิ่งที่ควรทำคือ ทุกคณะต้องหาจุดแข็งในการสร้าง สร้างความแตกต่างที่เหมาะสมกับเรา

ความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งเทคโนโลยีดิจิตัลกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดย รศ ยืน ภู่วรวรณ

ชีวิตยุคไอทีกับประเทศไทยยุค 4.0

กิจกรรม 29-31 สิงหาคม 2559

  • การทำงานให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องมีแนวร่วม ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายในการทำงานคือ การคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน อ่อนน้มถ่อมน ให้เกียรติ สร้างศรัทธาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การถือผลประโยชน์ร่วมกัน
  • คุณธรรมจริยธรรมของผู้นำ จะส่งผลถึงวินัยของผู้ตาม
    ผู้นำมีความสามารถจะทำให้ได้ผลงานที่ดี แต่ผู้นำที่มีทั้งความสามารถและคุณธรรมจริยธรรม จะได้ผลงานขององค์กรและความสุขของสังคมโดยรวม
  • ความอึดของบุคคลจะเกิดขึ้นและอยู่ยั่งยืนได้โดยการที่บุคคลนั้นฝึกสมองตนเองอย่างสม่ำเสมอว่า “ไม่มีอะไรทำไม่ได้ ไม่มีอะไรยากเกินการเรียนรู้ และ ไม่มีปัญหาใดยากเกินการแก้ไข”
  • เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างมากมายและรวดเร็ว อีกทั้งเทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษ ดังนั้น ประเด็นสำคัญคือการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์เทคโนโลยี และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เหมาะสมกับงบประมาณ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
สุริยงค์ ลิ้มสังกาศ

29 สิงหาคม 2559

การอภิปรายหัวข้อ Networking Developments and Management Forum

- 2 สิ่งที่จะนำไปสู่การบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จคือ ความรู้ (ศาสตร์)และประสบกาณ์ (ศิลป์)

- การสร้างเครื่อข่ายเป็นการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย โดย สามารถประหยัดกำลังคน และงบประมาณได้เป็นอย่างมาก

- กาคิดถึงท้องถิ่น คือ การคิดถึง networking

- การสร้างเครื่อข่ายเป็นความสัมพันธ์แบบแนวราบ ไม่ใช่แนวดิ่ง จึง้ป็นการทำงานในลักษณะช่วยกันคิดช่วยกันทำ ไม่ใช่การสั่งการ

การบรรยายเรื่อง ผู้นำกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

- คุณธรรมหมายถึง ความถูกต้องดีงาม จริยธรรมหมายถึง การปฏิบัติในความถูกต้องและความดีงามอย่างมีเหตุผล

- ผู้ที่จะอยู่รอดในสังคมปัจจุบัน จะมีโปรแกรมฉลาด กล่าวคือ ต้องรู้ให้จริง ทำให้จริง และมีสำนึกแก่สังคม ไม่เห็นแก่ตัว

- ไม่จำเป็นต้องเสียสละ แต่อย่าเห็นแก่ตัว ผูกความสุขไว้กับโอกาสที่จะได้ทำในสิ่งที่เราเชื่อว่าถุกต้องและดี

วันที่ 30 สิงหาคม 2559

Group Assignment & Presentation Lesson Learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 4

The Rise and Fall of Nations – Ten Rules of Change in the Post – Crisis World by Ruchir Sharma

- หากจะลงทุนกับ Infrastructure จะต้องมี network เพื่อส่งเสริมการใช้บริการ

- ผู้นำแบบฝูงห่านป่า – บินแบบไม่ต้านลม ช่วยกันทำ สร้างความเท่าเทียมกัน และฝ่าฟันช่วงเวลาที่ยากลำบากไปด้วยกัน

- ไม่จำเป็นต้องลดราคา แต่ให้เพิ่มคุณค่า ไม่มี expensive มีแต่ reasonable

การบรรยายเรื่อง การพัฒนาเชาวน์ความอึด (Adversity Quotient : AQ) และเชาวน์ด้านอารมณ์ (Emotional Quotient :EQ)

- หลักการให้เขียนบนแผ่นทอง แต่วิธีการให้เขียนบนผืนทราย – มีความยืดหยุ่น

- Adversity Quotient (AQ) คือ ความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส และเปลี่ยนโอกาสให้เป็นความสำเร็จได้

- ขึ้นชื่อว่า “ความสามารถ” หมายความว่า คุณสมบัติดังกล่าวนั้นสามารถมาฝึกฝนจนมีได้

- ชีวิตเราดำเนินด้วยความรู้สึกเป็นตัวตั้งต้น แต่จะต้องควบคุมไว้ด้วยความคิด

- อยากสุขให้คิดบวก อยากทุกข์ให้คิดลบ อยากพ้นทุกข์ให้คิดเป็นระบบ

- หากอยากมีความสุข ให้เอาชีวิตไปผูกกับเป้าหมาย ไม่ใช่คนและสิ่งแวดล้อม

- ไม่มีวิกฤติใดที่ควบคุมไม่ได้ หากเรามีสติ

วันที่ 31 สิงหาคม 2559

Problem – Based Learning Workshop : CEO-HR-Non HR-Stakeholders and Value Creation

- สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำ 1) การบริการจัดการศิษย์เก่า 2) การให้คำแนะนำทางด้านอาชีพ และ3) การติดต่อการกับชุมชน เพื่อให้ทราบถึงความเป็นไปของเหตุการณ์ปัจจุบัน

- นอกจากมหาวิทยาลัยจะต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณภาพทางการศึกษา แล้ว จะต้องสามารถสร้างบัณฑิตให้เป็น Global Citizen ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ - มีความเป็นเลิศทางวิชาการ (Smart) - ความสามารถในการสื่อสารสองภาษา (Communication) - ความสามารถทางการคิด (Thinker) - ความสามารถในการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ (Innovator)- ความรับผิดชอบต่อสังคมโลก (Global Citizenship)

การบรรยาย เรื่องความท้าทาย ณ ขอบแดนใหม่แห่งเทคโนโลยีดิจิตัลกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

- การเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบันได้รับความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีบางสิ่งที่จะต้องได้รับการฝึกจากสถาบันการศึกษา เช่น ความสามารถในการเข้าสังคม หรือการคิดวิเคราะห์

- เด็กในยุคปัจจุบัน Digital Native กล่าวคือ มีลักษณะการอ่านแยกส่วน (Fragment) และอาศัยภาพ (Visual) ผู้สอนจึงควรทำความเข้าใจและฝึกทักษะดังกล่าว เพื่อให้สามารถออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน

- ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย สามารถกลายเป็นแหล่งศึกษาเพื่อมวลชนได้ โดยไม่จำเป็นต้องตอบสนองในระดับท้องถิ่นเพียงเท่านั้น

วีระพงค์ อาภารัตนคุณ

สรุปประเด็นวันที่ 29 - 31 สิงหาคม 2559

1. การบริหารจัดการองค์กรให้เดินหน้าไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ (ศาสตรฺ์) และเทคนิควิธีการ(ศิลป์) ทั่งสั่งสมมาจากประสบการณ์

2. เครือข่ายนับเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่องค์กร จำเป็นต้องสร้าง การอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไร้ความร่วมมือ นับเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

3. ผู้นำที่ดีที่มีคุณธรรมเป็นความถูกต้องดีงาม จริยธรรม และมีภาวะที่พึงประสงค์ได้แก่ กล้าตัดสินใจบนพื้นฐานความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความเป็นผู้มีพรหมวิหารธรรมในขอบข่ายที่เหมาะสม การมีทักษะในการสื่อสาร การมีภาษากายที่งดงาม การมีหลักการในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ผู้นำพาองค์กรและผู้ร่วมงานไปสู่ความสำเร็จร่วมกันได้อย่างมีความสุข

4. สังคมในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ยุค IT มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีการบริหารการปเลี่ยนแปลงเพื่อรองรับ รวมทั้ง ยุคที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุค THAILAND 4.0

5. คุณลักษณะคนในศตวรรษที่ 21

  • 1. ใฝ่รู้ (Disciplined Mind)
  • 2. สังเคราะห์เป็น
  • 3. สร้างสรรค์
  • 4. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • 5. มีคุณธรรม

สรุปคือสร้างคนให้มีความรู้ ทักษะ และมีเหตุผล

6. สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรดำเนินการ คือ

  • 1. Alumni Management
  • 2. Career Counseling มีการคำนวณคุณภาพของนักศึกษา พบว่าถ้ามีความพอใจมากจะมีการสนับสนุนมหาวิทยาลัยนั้นมากขึ้น เราต้องผลิตนิสิตให้สามารถทำงานได้เลย
  • 3. Community ชุมชน กลุ่ม เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นในโลกนี้

สรุป มหาวิทยาลัยจึงต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณภาพทางการศึกษา มีศักยภาพสร้างให้เป็น Global Citizen ซึ่งประกอบด้วย

  • - มีความเป็นเลิศทางวิชาการ (Smart)
  • - ความสามารถในการสื่อสารสองภาษา (Communication)
  • - ความสามารถทางการคิด (Thinker)
  • - ความสามารถในการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ (Innovator)
  • - ความรับผิดชอบต่อสังคมโลก (Global Citizenship)

สิ่งที่ควรทำคือ ทุกคณะต้องหาจุดแข็งในการสร้าง สร้างความแตกต่างที่เหมาะสมกับเรา

วันที่ 30 สิงหาคม 2559

นำเสนอวิจารณ์หนังสือ ได้ข้อคิด คือ

-bad million มากจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่ดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

-รัฐบาลไม่ควรใช้เงินในการนำไปใช้ประชานิยม

-เศรษฐกิจของประเทศมีวงจร หลังการเกิดวิกฤตมักเกิดการ reform ในทางที่ดี

- ควรมีการใช้จ่ายที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ และต้องมีการหารายได้

การเรียนรู้ 6 Q ได้แก่ IQ (Intelligence Quotient) EQ (Emotional Quotient) MQ (Moral Quotient) AQ (Adversity Quotient) HQ (Health Quotient) SQ (Spiritual Quotient)

วันที่ 31 สิงหาคม 2559

การเขียนพันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ของคณะเน้นตามพันธกิจ ได้แก่ student development, teacher development, research development, fund management

การใช้ cyber+real ปัจจุบันต้องการทักษะต่างๆมากกว่า content


บุุษบา บุญเสริมสุขเจริญ

สรุปสาระสำคัญการอบรมช่วงที่ 6 วันที่ 29-31 ส.ค.59

การบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ระบบเครือข่ายมีความสำคัญและมีส่วนช่วยในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ช่วยลดกำลังคนและงบประมาณการดำเนินงาน อย่างได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักการบริหารจัดการ ดังนั้นการบริหารงาน คน งบประมาณต้องไปด้วยกัน ยิ่งมีเครือข่ายมาก จะช่วยประหยัดงบประมาณไปได้มาก รวมทั้งทำให้งานหรือปริมาณงานขยายตัวไปได้อย่างกว้างขวาง

การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น โดยมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ

1. การอยู่บนพื้นฐานในสิ่งที่เรามี จะทำให้เราไม่สามารถไปไหนได้

2. ทำอย่างไรให้เกิดการมีอิทธิพลได้ ต้องมีองค์ประกอบที่ดีด้วย ต้องสามารถคิดอะไรที่เป็นตัวช่วยในการจัดการสิ่งแวดล้อม

3.เปลี่ยนวิธีคิด เรียนรู้ที่จะคิดก่อนก้าวสู่เครือข่ายเชื่อมโยง

โมเดลจากการสร้างเครือข่ายที่จะเริ่มต้นและเกิดการเชื่อมโยงต้องเกิดจากการคิดก่อน ตัวละครที่สำคัญในพื้นที่ หนีไม่พ้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างในมหาวิทยาลัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. การสร้างความแตกต่าง นำเอาสิ่งที่มีความเป็นตัวตนขึ้นมาก่อน ให้ดูว่าตัวเองมีทุนอะไรเป็นพื้นฐาน เมื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้น การอยู่ด้วยกันจะนำวัฒนธรรม วิถีชุมชนออกนอกภายนอกได้อย่างไร สามารถทำเรื่องท่องเที่ยวได้ ต้องเรื่องชุมชนทำให้เห็นว่าใครทำอะไร ที่ไหนอย่างไร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท