​โมเดลการผลิตครูวิทยาศาสตร์



วารสาร Journal of College Science Teaching ลงบทความวิจัยเรื่อง A Geometric Model to Teach Nature of Science, Science Practices, and Metacognition ซึ่งเมื่ออ่านแล้วผม เกิดความคิดว่า เป็นแนวทางยกเครื่องวิธีการผลิตครูวิทยาศาสตร์ของไทย

กล่าวอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราควรลอกแบบอเมริกันนะครับ เราควรเอาไอเดียของเขา มาคิดไอเดียของเราเอง

โมเดลที่เขาใช้เรียกว่า Science Practice Modelคือเรียนศาสตร์ว่าด้วยการเป็นครูวิทยาศาสตร์ ด้วยการฝึกปฏิบัติวิทยาศาสตร์ คือเป็นโมเดลของ Learning by Doing โดยที่ลักษณะสำคัญของโมเดลนี้มี ๓ ประการ

  • เรียนรู้ความไม่เป็นเส้นตรงของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (ผมตีความว่า เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน - complex process)
  • เรียนจากปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่จากการตั้งคำถามเกี่ยวกับศัพท์วิทยาศาสตร์ แล้วให้ค้นหาคำตอบ
  • เน้นทำความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ (metacognition) เป็นเครื่องมือสำคัญของการสอน และการเรียน

เขาอ้างถึง Next Generation Science Standards ว่าเป็นโมเดลที่เขานำมาใช้คิด Science Practice Model นี้ นอกจากนั้นเขายังอ้างถึง Harwood Activity Model for Scientific Inquiry ที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องอ่าน

โปรดอ่านบทความฉบับเต็มนะครับ จะเห็นว่า โมเดลที่เขาคิดใหม่นี้ เป็นการปฏิวัติวิธีการผลิตครู วิทยาศาสตร์ทีเดียว โดยที่ผมเข้าใจว่า การผลิตครูวิทยาศาสตร์ไทยในปัจจุบันยังใช้กระบวนทัศน์เดิมอยู่

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ก.ค. ๕๙

ห้องรับรองการบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ


หมายเลขบันทึก: 613024เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2016 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2016 08:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท