ศาสนาในเรือนจำ (Religion in Prison)


ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานทางงานวิจัยใดๆ รองรับว่า กิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำ จะสามารถช่วยแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ (rehabilitation) หรือ ช่วยลด การกระทำความผิดซ้ำ (recidivism) แต่การดำเนินกิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำก็ยังคงดำเนินการต่อไป.............

ในปัจจุบันเรือนจำประเทศต่างๆ ในการนำแนวคิด ทฤษฎี ทางศาสนามาใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย เป็นต้นสำหรับศาสนาในเรือนจำ ที่นำเสนอในบทความนี้ เป็นการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำของสหรัฐอเมริกาที่มีการดำเนินงานมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของพลเมืองชาวสหรัฐอเมริกา ข้อมูลจากบทความ เรื่อง ศาสนาในเรือนจำ (Religion in Prison) Journal : Angolite Dated : (January/February 1981) Pages : 31-56 Editor(s):W Rideau; B Sinclair Date Published:1981 พบว่า ภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ของคริสตจักรคุก และ ศาสนา หรือ นิกาย อื่นๆ เมื่อปี ๑๙๘๑ เป็นภาพรวมของการดำเนินงานของสมาคมองค์กรพันธกิจเรือนจำแห่งชาติ ที่เริ่มต้นดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่เรือนจำ และ อาสาสมัครจากหลายนิกาย ประมาณ 6,000 คน ดำเนินงานใน 200 เรือนจำ และ นักโทษที่เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 45,000 คน จะเห็นได้ว่าโปรแกรมอาสาสมัครสามารถช่วยตอบสนองความต้องการทางศาสนาของนักโทษ ถึงปัจจุบันมีการดำเนินงานศาสนาในเรือนจำทั้ง ๕๐ มลรัฐของสหรัฐอเมริกา


ด้านแนวคิดในการดำเนินงานศาสนาในเรือนจำ ข้อมูลจากบทความเรื่อง คุณค่าของศาสนาในเรือนจำในมุมมองของนักโทษ (The Value of Religion in Prison An Inmate Perspective) TODD R. CLEAR John Jay College of Criminal Justice PATRICIA L. HARDYMAN Institute of Crime, Justice, and Corrections BRUCE STOUT New Jersey Governor's Office KAROL LUCKEN University of Central Florida HARRY R. DAMMER Niagara University พบว่า เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวความคิด ความเชื่อที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เชื่อว่าการดำเนินงานศาสนาในเรือนจำจะสามารถช่วยลด การกระทำความผิดซ้ำ (recidivism)


โดยสรุป การดำเนินกิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำ (Religion in Prison) ของสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ ปี ๑๙๘๑ – ปัจจุบัน เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของเรือนจำผ่านอาสาสมัคร (volunteers) และ แนวคิดที่เชื่อว่าการดำเนินงานศาสนาในเรือนจำจะสามารถช่วยลด การกระทำความผิดซ้ำ (recidivism) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ (rehabilitation) ถึงปัจจุบันมีการดำเนินงานศาสนาในเรือนจำทั้ง ๕๐ มลรัฐของสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานทางงานวิจัยใดๆ รองรับว่า กิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำ ดังกล่าว จะสามารถช่วยแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ หรือ ช่วยลดการกระทำความผิดซ้ำได้อย่างแท้จริง แต่การดำเนินกิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำของสหรัฐอเมริกาก็ยังคงดำเนินการต่อไป เพราะเป็นการทำตามความเชื่อตามๆ กันมาอย่างนั้น

....................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๙


อ้างอิง


ข้อมูลเนื้อหาจาก http://ccj.sagepub.com/content/16/1/53.short เว็บไซต์https://www.ncjrs.gov/app/abstractdb/AbstractDBDetails.aspx?id=75962 ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://www.pewforum.org/2012/03/22/prison-chaplains-exec/ เว็บไซต์ http://www.doc.delaware.gov/religiousServices.shtml และ เว็บไซต์ http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/law-and-ord...



หมายเลขบันทึก: 612577เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2016 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นักโทษไทย เมื่อพ้นโทษ ส่วนหนึ่ง

กลับมาทำผิดซ้ำ ๆ อีก เป็นผลมาจาก

อะไรจ๊ะ ตัวนักโทษเอง หรือระบบการพัฒนา

นักโทษ หรืออะไรจ๊ะ

ขอบคุณอาจารย์สุธี ทองประกอบ (ยายธี) มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจ ผมด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากครับอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ต้น มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจ ผมด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากครับอาจารย์

นักโทษไทย เมื่อพ้นโทษ ส่วนหนึ่ง กลับมาทำผิดซ้ำ ๆ อีก เป็นผลมาจากทั้งตัวนักโทษเอง และ ระบบ น่ะครับ ขอบคุณอาจารย์ madaow ma da pongtong (คุณมะเดื่อ) มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม ให้และ ให้กำลังใจ ผมด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท