"มุ่งมั่น" แตกต่างจาก "หมกมุ่น" ... (ชีวิตไม่ง่าย แต่รับมือได้ไม่ยาก : นัมอินซุก)


.............................................................................................................

"มุ่งมั่น" แตกต่างจาก "หมกมุ่น"

.............................................................................................................

อย่าสับสนระหว่างคำว่า "มุ่งมั่น" กับ "หมกมุ่น"
คนที่ทำลายชีวิตคนอื่นและตนเองส่วนมากคือ คนที่สับสน
จนเข้าใจไปว่าความหมกมุ่นเป็นความมุ่งมั่น

หลายคนมักสับสนระหว่างคำว่า "มุ่งมั่น" กับ "หมกมุ่น"
เนื่องจากเป็นภาวะเกี่ยวกับใจที่แน่วแน่เวลายึดมั่นอยู่กับบางสิ่งบางอย่าง
นั่นคือ "มุ่งมั่น=ตั้งใจ" "หมกมุ่น=ฝังใจ"
แต่ความมุ่งมั่นไม่อันตรายเท่ากับความหมกหมุ่นที่เกิดจากการทึกทักเอาเอง
ยกตัวอย่างความหมกมุ่น เช่น คนที่ติดเกมจนไม่สนใจมนุษยสัมพันธ์
คนที่คลั่งไคล้ผู้อื่นจนเกินพอดีเนื่องจากอาการผิดปกติทางจิต
หรือคนที่บ้างานจนไม่มีเวลาว่าง


เมื่อไรที่รู้สึกว่าตัวเองทุ่มเทอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างหนัก
และใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับสิ่งนั้น
ขอให้ลองหยุดคิดทบทวนว่าสิ่งที่จิตใจฝักใฝ่อยู่นั้น
เป็น "ความหมกมุ่น" หรือ "ความมุ่งมั่น" กันแน่


ความมุ่งมั่นจะก่อให้เกิดความสนุกสนานเวลาที่สนใจอยู่กับสิ่งนั้น
แต่ความหมกหมุ่นจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและเหนื่อยล้า

ความมุ่งมั่นจะทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่ามีชีวิตชีวา
แต่ความหมกมุ่นจะบั่นทอนสุขภาพร่างกาย

ความมุ่งมั่นคือการคำนึงถึงอนาคตไปพร้อมกับสิ่งที่เราทุ่มเทกายใจ
แต่ความหมกมุ่นนอกจากจะไม่คำนึงถึงสิ่งใดแล้ว
ยังทำให้เกิดความละโมบต้องการครอบครองสิ่งนั้น

ดังนั้น ความมุ่งมั่นจึงทำให้เรายิ่งรักตัวเองมากขึ้น
ต่างจากความหมกมุ่น ซึ่งจะทำให้เรายิ่งเกลียดตัวเอง



.............................................................................................................


พิจารณาดูว่า เรา "มุ่งมั่น" หรือ "หมกมุ่น"

บุญรักษา ทุกท่าน ;)...


.............................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ ...



นัม, อินซุก. ชีวิตไม่ง่าย แต่รับมือได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, ๒๕๕๙.


หมายเลขบันทึก: 610090เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท