บาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา ตอนที่ 2 เรื่องเรียนพิเศษฯ


บาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา ตอนที่ 2 เรื่องเรียนพิเศษฯ (ทัศนะของข้าพเจ้า) เรียนพิเศษฯ ผู้ปกครองมักให้ลูกเรียนพิเศษ นอกเวลา ทำไมหรือครับ ??? สำหรับผมแล้ว ไม่เคยเห็นด้วย ควรจะเป็นเรื่องของ ลูกเราเรียนไม่รู้เรื่องมากๆ เรียนไม่ทันเพื่อนๆ หรือลูกของเรามีความบกพร่องในการเรียนรู้ ถึงจะน่าให้เรียน แต่ที่ผมเห็นมักเห็นคนที่เรียนเก่งอยู่แล้วมาเรียน ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว ก็คงอยากออกนอกบ้าน ได้เข้าห้างฯ ได้กินอาหารแพงๆ มั่ง.....จริงหรือไม่ครับ การให้ลูกเรียนพิเศษนั้น ทำลายระบบการศึกษาของประเทศ เลยน่ะครับ ท่านจะร่วมทำลายด้วยหรือไม่ครับ ….???? เพราะอะไร ? ระบบการศึกษาทั้งประเทศถึงถูกทำลาย....

ประการที่ 1 เกิดกับตัวนักเรียนเอง คุณรักลูกแต่ก็ทำลายลูก ด้วยความรักน่ะครับ เมื่อลูกได้เรียนพิเศษ จะก่อให้เกิด จิตพิสัยที่ผิดๆ ขึ้น ทำลายลูกคุณในอนาคต ตอนเรียน มหาวิทยาลัยน่ะครับ ท่านเคยไม่ยินอาจารย์มักบ่นว่า “เดียวนี้นักเรียนไม่ค่อยสนใจการเรียน เอาแต่คุย เอาแต่หลับ เอาแต่อ่านการ์ตูนในเวลาเรียน ขาดความเอาใจใส่ในห้องเรียนอีกแล้ว” เพราะผู้ปกครองน่ะครับ หวังดีต่อลูกตัวเอง แต่ไม่คิดว่าความหวังดีส่งผลให้ ลูก(ผู้เรียน) จะมีความสนใจในห้องเรียนน้อยลง เพราะเห็นว่า ยังไงก็ต้องไปเรียนพิเศษ เรียนในห้องเรียนยังไงก็ไม่เข้าใจ ไปเข้าใจจากการเรียนพิเศษอยู่แล้ว ฉะนั้น ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตั้งใจเรียนในห้องอีกต่อไป อยู่เพียงให้ครบ ชั่วโมงเท่านั้น และทำอะไรไม่เป็นชิ้น เอาแต่มองหาคนช่วย เพราะตอนเรียนไม่ได้พยายามด้วยตัวเองจนถึงที่สุด สร้างนิสัยให้หาคนช่วย หาทางลัด ขาดความอดทน ในที่สุด การเรียนพิเศษปลูกผังความคิดนี้โดยอัตโนมัติครับ โดยที่นักเรียนไม่รู้ตัว ผู้ปกครองก็ไม่ทราบ

ประการที่ 2 เกิดกับครูผู้สอน เมื่อครูผู้สอนพบว่า ผลการเรียนของนักเรียนดี (ไม่ทราบว่าตนสอนไม่รู้เรื่องนักเรียนเก่งจากภายนอก จากการเรียนที่อื่น) ส่งผลให้ครู่เข้าใจผิด ว่าตนเองสอนดี นักเรียนเรียนรู้เรื่อง ผลการเรียนดี ไม่จำเป็นต้องพัฒนาการสอน ก็ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนาสือการสอน ไม่ต้องพัฒนาตัวเอง สอนซ่ำๆ ไม่หาความรู้ใหม่ๆ ย่ำอยู่กับที่ ไม่มีเทคโนโลยีมาช่วยในการสอนให้นักเรียนเรียนรู้ง่ายขึ้น และเข้าใจรวดเร็วขึ้น

ประการที่ 3 เกิดขึ้นกับสถานศึกษา สถานศึกษาพบว่านักเรียนมีการเรียนในภาพรวมดี มีการโชว์ว่ามีนักเรียนได้เข้ามหาวิทยาลัยฯ เยาะ นักเรียนเก่ง โรงเรียนสอนดี (ที่ไหนได้นักเรียนที่สอบได้ร่วนไปเรียนกวดวิชาทั่งนั้น ไม่ได้ได้จากการเรียนในห้องด้วยซ่ำ) สถานศึกษาก็คิดว่า สถานศึกษานี้ได้พัฒนาถึงที่สุดแล้ว ดีที่สุดแล้ว จากผลการดำเนินงาน ผู้บริหารลดความสนใจที่จะพัฒนาระบบการศึกษาภายในโรงเรียน

ด้านสถานที่ ลดการส่งเสริม สถานที่เรียน บรรยากาศในห้องเรียน บรรยากาศในชั้นเรียน และบรรยากาศภายในโรงเรียน รวมถึง การจัดสถานศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การส่งเสริมห้องสมุด (หาหนังสือใหม่ๆ การเติมเต็มความรู้ในนอกห้องเรียน) สถานที่เอื่อให้เกิดการอ่านหนังสือ บรรยากาศดี ที่นักเรียนอยากอยู่ในโรงเรียนมากกว่าจะไปนั่งตามท้องถนน เอาแต่สร้างห้องเรียนเพื่อจะได้รับนักเรียนเยาะ สนามกีฬาหายหมด สถาสันทนาการไม่มี

ด้านครู ลดการสนับครู การพัฒนาครูทั้งทางตรง และทางอ้อม ทางตรงกล่าวคือพัฒนาตัวเอง การจัดการฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษา การให้ความรู้ประสพการณ์ใหม่ๆ แก่ครู การดูงานต่างๆ การให้ศึกษาต่อ ทางอ้อมกล่าวคือ ระบบสนับสนุนการศึกษา พัฒนาตัวเอง เช่น ห้องสมุด สำหรับครู ใครเคยเห็นห้องสมุดโรงเรียน มีหนังสือที่ครูต้องให้หรือไม่ครับ มีแต่หนังสือให้กับนักเรียน แต่หนังสือสำหรับครูที่จะได้อ่าน เพื่อพัฒนาตัวเองมีหรือไม่ครับ แหล่งค้นคว้าไม่มีในโรงเรียน ขาดการส่งเสริมงานวิจัยในห้องเรียน

ด้านหลักสูตร เนื่องจากนักเรียนเก่ง เรียนมีคะแนนสอบมาก ก็คิดไปว่า เนื้อหาของหลักสูตร ง่ายเกินไปบ้าง ไม่ทันสมัยบ้าง โลกเปลี่ยน ต้องให้มากขึ้นบ้าง ผู้พัฒนาหลักสูตรก็ พยายามเพิ่มเนื้อหาเข้าไป ใส่เนื้อหาที่ยากขึ้น ในเมื่อนักเรียนเรียนไหว (โดยไม่ทราบเลยว่านักเรียนต้องไปหาที่เรียนพิเศษ เพราะเรียนไม่ไหว อีกนัยหนึ่ง ถ้าผู้ปกครองยังให้ลูกตัวเองไปเรียนพิเศษแล้วล่ะก็ จะไม่มีอะไรตอบกลับไปสู่ระบบการศึกษาเลยว่า เนื้อหา หรือหลักสูตรยากเกินไป รวมไปถึงครูผู้สอน ที่สอนให้นักเรียนเข้าใจไม่ได้) เรียนเยาะแยะ แต่เมือมาใช้ชีวิตจริงกับไม่รู้ว่านำมาใช้อย่างไร แถมที่เรียมมาไม่ได้ใช้กว่า 80 เปอร์เซ็น

ประการที่ 4 เกิดขึ้นกับสังคม ผู้เรียน ต้องเสียเวลาไปกับการเรียนพิเศษ ไม่โตตามวัย เวลาที่ควรจะได้ใช้ชีวิตแบบเด็กๆ ก็หดหายไป การเข้าสู่สังคม การใช้ชีวิตของสังคมก็ เปลี่ยนไป ขาดการใช้ชีวิตที่ควรจะเป็น (วัคซีนชีวิต) ชีวิตในวัยเด็กหายไป ส่งผลอนาคตของตัวเอง......

รู้อย่างนี้แล้ว ท่านยังร่วมทำ บาปบริสุทธิ์ อีกหรือไม่ครับ........

คำสำคัญ (Tags): #เรียนพิเศษฯ
หมายเลขบันทึก: 608007เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2016 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2016 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมค่ะ เสริมอีกนิดว่านักเรียนที่เรียนพิเศษนั้นในบางโรงเรียนพบว่าจะไม่ตั้งใจเรียนในห้องเรียนเนื่องจากเรืยนเนื้อหาเหล่านี้มาก่อนแล้วจากที่เรียนพิเศษ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท