บาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา ตอนที่ 1 เรื่องการบ้านลูก (ทัศนะของข้าพเจ้า)


บาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา ตอนที่ 1 เรื่องการบ้านลูก (ทัศนะของข้าพเจ้า)

การบ้านลูก ท่านมักตรวจการบ้านลูกเป็นประจำ เมื่อเห็นว่าลูกทำผิดก็สั่งให้ลูกทำใหม่ใช้หรือไม่ครับ ? ผู้ปกครองบางคนลงทุนสอนการบ้านลูก ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการจ้างคนมาสอนการบ้านอีกด้วย ซึ่งเป็นการทำลายระบบการสอนอย่างรุนแรง การบ้านไม่มีคะแนนน่ะครับ ไม่มีผลต่อคะแนนสอบ.....จริงหรือไม่ครับ

จริงแล้วการตรวจการบ้านลูกท่านมีหน้าที่แค่ตรวจว่าลูกของท่านทำการบ้านครบหรือยังเท่านั้น ไม่ควรตรวจและให้ลูกแก้การบ้านที่ทำผิดครับ

เพราะอะไร...?? ทำลายระบบการสอนอย่างร้ายแรง การบ้านมีวัตถุประสงค์ให้ลูกได้ทบทวนสิ่งที่เรียน แค่นั้นหรือ ?? การบ้านลูกไม่ได้มีวัตถุประสงค์แค่นั้นหรอกครับ การบ้านเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนของครูด้วยน่ะครับ กล่าวคือ การบ้านเป็นเปรียบเสมือนกระจกส่งหน้า ที่เรียกกันว่า Feedback เพื่อประเมินการสอนของครู ครูจึงมีหน้าที่ตรวจการบ้าน เพื่อให้ทราบว่า ตนสอนไปนั้น นักเรียน เรียนรู้เรื่องหรือไม่ ผิดข้อไหนมาก มีข้อบกพร่องในการสอนหัวข้อไหน รวมถึงพิจารณาว่า นักเรียนคนไหนเรียนอ่อน ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษอีกด้วย คนไหนอ่อนควรเสริมนอกเวลา เมื่อวิเคราะห์แล้วนำข้อมูลที่ได้นั้นมาพัฒนาการสอนของตน เอาใจใส่นักเรียน และพัฒนาการสอนต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดน่ะครับ ฉนั้น.....การที่คุณตรวจการบ้านลูก สอนการบ้านลูก ให้ลูกแก้ที่ผิด จึงเป็นการทำลายระบบการสอน ทำให้ครูการประเมินตัวเองผิดพลาด เห็นว่านักเรียนทำการบ้านถูกหมด แสดงว่าตนเองสอนทุกหัวข้อรู้เรื่อง ตนสอนเก่ง สอนดี สือการที่ใช้ดี วิธีสอนดี ผลก็คือ หยุดการพัฒนาทั้งตัวเอง การสอน และสือการสอน ส่งผลถึงระบบการสอนโดยรวมอีกด้วยครับ …. น่ะครับ รู้เช่นนี้แล้วคุณยังอยากสอนการบ้านลูก ตรวจการบ้านลูก แล้วให้ลูกแก้ที่ทำผิดอีกหรือไม่ครับ....... และนี้คือ บาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา.......

คำสำคัญ (Tags): #การบ้านลูก
หมายเลขบันทึก: 608005เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2016 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2016 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยนะคะ ดิฉันจะไม่ตรวจงานการบ้านลูกค่ะ ผิดคือผิด ครูจะได้รู้ว่าลูกผิดอย่างไรและได้แก้ไขต่อไป แต่ปัจจุบันนี้กลับเห็นพ่อแม่ทำการบ้านแทนลูก เพราะกลัวลูกได้คะแนนไม่ดี พ่อแม่มีปมค่ะอย่างนี้!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท