​ใช้ความผิดพลาดเป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้


การเรียนวิชา STEM แบบท่องจำเป็นเรื่องหมดสมัย ต้องเรียนโดยวิธีคิดแบบ นักวิทยาศาสตร์ และวิธีส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสไตร่ตรองสะท้อนคิดจากข้อผิดพลาดของตนเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ฝึกให้นักศึกษาได้เรียนจากปฏิบัติการจริงทางวิทยาศาสตร์

ใช้ความผิดพลาดเป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้

วารสาร Science ฉบับวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ หัวข้อ Editor’s Choice มีเรื่อง Mistakes as a pathway to learningโดยอ้างถึงรายงานผลการวิจัย Brown BR, Mason A, Singh A. Improving performance in quantum mechanics with explicit incentives to correct mistakes. Phys Rev Phys Educ Res 12, 010121 (2016) ซึ่งดาวน์โหลดได้ ที่นี่

งานวิจัยนี้ทดลองในวิชา Quantum Physics โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นครึ่ง-ครึ่ง ครึ่งหนึ่งหลังจาก ทราบผลการสอบกลางภาคแล้ว อาจารย์ให้แรงจูงใจให้กลับไปทบทวนสะท้อนคิดเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดใน การตอบข้อสอบของตน โดยหากทำข้อสอบใหม่ให้ได้ผลถูกต้อง จะได้คะแนนเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่งของส่วนที่ถูกหักไป อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้ทำอะไร ผลการสอบปลายเทอมของนักศึกษาครึ่งแรกดีกว่าผลการสอบของนักศึกษาครึ่งหลัง อย่างชัดเจน การทดลองนี้ทำอยู่กว่า ๔ ปี ให้ผลตรงกันทุกกลุ่มนักศึกษา

หลังทราบผลสอบกลางปี นักศึกษาทั้งสองกลุ่มจะได้รับการเฉลยข้อสอบ แต่นักศึกษากลุ่มแรกจะ ได้รับคำเฉลยหลังจากตนเองทำข้อสอบแก้ไขใหม่ส่งอาจารย์แล้ว

เขาบอกว่า การเรียนวิชา STEM แบบท่องจำเป็นเรื่องหมดสมัย ต้องเรียนโดยวิธีคิดแบบ นักวิทยาศาสตร์ และวิธีส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสไตร่ตรองสะท้อนคิดจากข้อผิดพลาดของตนเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ฝึกให้นักศึกษาได้เรียนจากปฏิบัติการจริงทางวิทยาศาสตร์

หากอ่านบทความฉบับเต็ม จะมีรายละเอียดทบทวนผลงานวิจัยที่น่าสนใจมาก

ผิดเป็นคร

วิจารณ์ พานิช

๔ มิถุนายน ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 607780เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2016 05:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2016 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์

เมื่อปีการศึกษาที่แล้ว หนูเคยใช้หลักคิดนี้กับหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทยค่ะ ในช่วงปลายปีการศึกษาคุณครูจะให้เด็กๆ เอาเรื่องที่มักเขียนผิดมาเรียนถูก และใช้ชื่อแผนการเรียนรู้ว่า "ผิดเป็นครู" แล้วก็ให้นักเรียนเขียนงานใหม่ จากคำที่เขามักใช้ผิดนั้น แล้วผลัดกันออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนว่าครูของเขานั้นคือคำว่าอะไร พร้อมทั้งนำเสนอบทประพันธ์ที่เกี่ยวกับคำนั้นๆ ให้กับเพื่อนๆ ได้ร่วมเรียนรู้ด้วย

ผลลัพธ์คือ เด็กๆ สนุกกับกิจกรรมนี้มาก ทุกคนสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ออกมา เนื่องจากเป็นช่วงท้ายปีการศึกษา ทักษะการเขียนจึงบ่มเพาะกันมาจนได้ที่แล้ว เพื่อนๆ ยิ่งฟังจึงยิ่งเพลิน และไม่ได้รู้สึกว่ากำลังเรียนรู้เรื่องของคำผิดกันอยู่ นักเรียนบางคนทำมาถึง ๓ ชิ้นก็มีค่ะ แต่ครูผู้สอนยังไม่เคยทำงานวิจัยให้เป็นเรื่องเป็นราวสักที

บันทึกนี้ทำให้หนูนึกสนุกกับการเริ่มคิดหาวิธีวิจัยติดตามผลดูบ้างแล้วค่ะ

ด้วยความเคารพ

ครูใหม่

ชอบจังเลยค่ะครูใหม่ "ผิดเป็นครู" เอาตัวอย่างของลูกชายการคัดคำผิดมาประกอบให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท