พลอยหุง การหุงพลอยหรือ การเผาพลอย .... เป็นกรรมวิธีการเพิ่มมูลค่าให้อัญมณีด้วยการใช้ความร้อน วิธีการนี้นิยมใช้กับพลอยตระกูลคอรันดัมได้แก่ ทับทิม ไพลิน บุษราคัม และพลอยเนื้ออ่อนชนิดต่างๆ การหุงพลอยจะช่วยทำให้ได้พลอยที่มีสีตรงกับคุณสมบัติของพลอยที่ดี ซึ่งอาจมีสีเข้มขึ้นหรือจางลงจากสีเดิมหรืออาจช่วยกระจายสีให้ดูกลมกลืนสม่ำเสมอทั่วทั้งเม็ดพลอยอีกทั้งยังทำให้พลอยใสสะอาดขึ้น
ดังนั้นการหุงพลอย.... จึงเป็นกรรมวิธีที่ทำให้พลอยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับในตลาด อัญมณีทั่วโลกโดยไม่ถือว่าเป็นการทำเทียมหรือขายของปลอมให้แก่ผู้ซื้อ เพราะเป็นการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วในเนื้อพลอยธรรมชาติให้มีคุณค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นการหุงพลอย ... จึงเป็นกรรมวิธีที่ทำให้พลอยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับในตลาด อัญมณีทั่วโลก ... โดยไม่ถือว่าเป็นการทำเทียมหรือ ขายของปลอมให้แก่ผู้ซื้อ เพราะเป็นการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วในเนื้อพลอยธรรมชาติ...ให้มีคุณค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ทับทิม ก่อนเผา / ก่อนหุง
ทับทิม หลังเผา / หลังหุง
อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการหุงพลอย
1. เตาเผาพลอย ปัจจุบันที่นิยมใช้มีหลากหลายชนิดตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพงได้แก่ เตาไฟฟ้า เตาแก๊ส เตาน้ำมันเป็นต้น แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือเตาไฟฟ้า เนื่องจากผู้ใช้สามารถควบคุมระดับความร้อนให้สม่ำเสมอตามเวลาที่ต้องการได้
2.เบ้าทนไฟ "เบ้า" มีรูปร่างคล้ายถ้วย มีฝาปิดได้สนิท ในปัจจุบันมีจำหน่ายแบบสำเร็จรูป สามารถซื้อเบ้าสำเร็จรูปมาใช้ได้ทันที
กรรมวิธีในการหุง (เผา)พลอย
1. นำพลอยที่ต้องการเผาใส่ลงในเบ้า จากนั้นปิดฝาเบ้าให้สนิทแล้วใช้น้ำยาเคลือบ ทาเคลือบทับบริเวณฝาปิดเพื่อป้องกันความร้อนรั่วออกมา
2. ใส่เบ้าพลอยลงในเตาเผา
3. ให้ความร้อน พลอยแต่ละชนิดจะใช้ความร้อนแตกต่างกัน ซึ่งการใช้ความร้อนจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับ ขนาด ชนิด สีที่ต้องการและแหล่งที่มาของพลอยเหล่านั้น เช่น ต้องการให้พลอยมีสีเข้มหรืออ่อนลง ระดับความร้อนที่ใช้กันอยู่มีตั้งแต่ระดับไม่ถึง 1000 องศาเซลเซียสไปจนถึง 1900 องศาเซลเซียส หรืออาจเกิน 2000 องศาเซลเซียส ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และเทคนิคของผู้เผา เพราะหากระดับความร้อนสูงเกินไปอาจทำให้พลอยที่เผาแตกหักหรือละลายได้
4.ระยะเวลาในการเผา ในการเผาพลอยบางชนิดอาจใช้ระยะเวลาเพียง 6 ถึง 10 ชั่วโมง แต่บางชนิดอาจใช้เวลาเผา 4 ถึง 5 วัน ภายในเตาเผาพลอยจะต้องได้รับความร้อนอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะการเผา ดังนั้นจึงต้องหาทางป้องกันไฟฟ้าดับระหว่างการเผาไว้ด้วย หรือป้องกันระดับความร้อนให้คงที่ในกรณีที่ใช้เตาเผาแบบอื่นที่ไม่ใช่เตาไฟฟ้า
5. ปล่อยให้เตาเผาและเบ้าเย็นสนิท หลังจากที่เตาเผาและเบ้าเย็นสนิทแล้วจึงจะสามารถเปิดเบ้าออกได้ เพราะอุณหภูมิที่ต่างกันมากระหว่างภายในเตาเผากับอากาศภายนอก อาจมีผลกระทบกับพลอยเหล่านั้นได้
6.พลอยที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนนั้น สีและคุณสมบัติ ความสวยงามจะคงอยู่ตลอดไป คุณสามารถนำไปเจียระไนเพื่อทำเครื่องประดับได้ทันที
การประเมินคุณค่าและราคาของอัญมณี
การประเมินคุณค่าและราคาของอัญมณีขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ คือ
- สี
- ความใสสะอาด
- การเจียระไน และ
- น้ำหนักกะรัต
ลักษณะพลอยดิบ ไม่ได้เผา (Unheated) จะเห็นสายแร่และฟองอากาศ ชัดเจน นะคะ
การเผาพลอย .. นั้นสามารถเพิ่มคุณค่าตามหลักที่ใช้ประเมินราคาที่สำคัญได้ 2 ประการคือ สีและความใสสะอาด
- สี การเผาพลอยจะช่วยทำให้ได้พลอยที่สีเข้มขึ้นหรืออ่อนลงจากสีเดิม การใช้ความร้อนในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ธาตุต่างๆ ในเนื้อพลอยจะมีการจัดเรียงตัวใหม่ จึงทำให้เนื้อพลอยเปลี่ยนสีไปอย่างถาวร
- ความใสสะอาด การหุงพลอย จะช่วยให้เนื้อพลอยมีความใสสะอาดเพิ่มขึ้น โดยปกติการหุงพลอย .. ไม่จำเป็นต้องใส่สารเคมีใดๆ ลงไป .. เนื่องจากความร้อนจะเป็นตัวทำให้ธาตุที่อยู่ในเนื้อพลอยเรียงตัวใหม่อย่างเป็นระเบียบ พลอยที่ได้จึงใสสะอาดขึ้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการหุงพลอยที่สำคัญ ได้แก่
1. สภาวะบรรยากาศของการเผา
2. อุณหภูมิสูงสุดในการเผา
3. ระยะเวลาที่ใช้อุณหภูมิสูงสุด
4. อัตราการให้ความร้อนในแต่ละช่วงอุณหภูมิ
5. อัตราการเย็นตัวในแต่ละช่วงอุณหภูมิและการคงระดับความร้อน ณ อุณหภูมิใดๆ
6. ธรรมชาติของวัตถุหรือสารเคมีที่สัมผัสกับเม็ดพลอย
7. ความดันบรรยากาศ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://general.sgs.ac.th/readnews.php?id=70 และ https://www.google.co.th และ http://www.maesodgemsmarket.com/store/webboard/vie...
พลอยหุง ... ก็ไม่ใช่พลอยปลอมหรือไม่มีราคานะค่ะ (ราคาแพงมาก) แต่มีราคากว่าพลอยธรรมชาติอีกด้วย "พลอยหุง" ก็คือการ "เผาพลอย" หรือ "หุงพลอย" ด้วย ความร้อน (Heat treatment) ทำให้เม็ดพลอยธรรมชาติ... มีสีตรงกับคุณสมบัติของพลอยที่ดี .... ซึ่งอาจทำให้สีเข้มขึ้น หรือ จางลง หรือ ช่วยกระจายสีให้สม่ำเสมอทั้งเม็ด .... หรือ ทำให้เนื้อพลอยใสสะอาดไม่ขุ่นมัว... เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพลอยธรรมชาติที่อาจไม่สวยนัก ... ให้กลายเป็นพลอยสวยขึ้น
ดังนั้น "พลอยหุง" ไม่ใช่ของเทียมหรือ ของไม่มีราคา เพียงแต่ก็ยังเทียบกับ "ทับทิม" ไม่ได้เท่านั้น ... หลายต่อหลายคนเชื่อว่าการ "หุงพลอย" เกิดขึ้นโดยบังเอิญในเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่ตลาดพลอยจันทบุรี ... พอเห็นพลอยที่ถูกไฟไหม้ ... กลับมีสีสวยกว่าเดิม ... ก็เลยนำมาใช้ในการทำ "พลอยหุง" กันตั้งแต่นั้นมาค่ะ
สรุปได้ว่า ... พลอยหุงหรือหุงพลอย หรือการเผาพลอย (Heat treatment) ... เป็นการพัฒนางานพลอยส่งผลทำให้พลอยสีสวยขึ้น และมีความใสขึ้น ... ส่งผลทำให้ได้เพิ่มมูลคุณค่าให้กับพลอยธรรมชาตินะคะ ... เกิดการเรียนรู้ขึ้นจาก ... ไฟไหม้ ร้านพลอย ... ทำให้ คนทำพลอยเรียนรู้ ... เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ... แต่เป็นความรู้ที่สร้างมูลค่าให้กับวงการค้า-ขายพลอย นะคะ ...เนื่องจาก สีสวยขึ้น เนื้อใส่ขึ้น ... จากการเรียงตัว ของเนื้อพลอยเรียงตัวใหม่อย่างเป็นระเบียบ...การเป็นพลอยหุง จึงเป็นการเรียนรู้และเป็นการพัฒนา นะคะ .... แตถ้าจะให้สบายใจก็สามารถทำได้โดยการนำไปให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติหรือสถาบันที่น่าเขื่อถือให้ ออกใบรับรอง ว่าเป็นพลอยแบบไหนนะคะ .... เรียกกันว่า "Gem Identification Report" คือ ใบรับรองการตรวจสอบอัญมณีชิ้นนั้นๆ แยกระบุ
วันนี้เรามาเรียนเอาความรู้ นะคะ .... อย่าไปสนใจเรื่องราคา ความสวยเลยนะคะ .... เศรษฐกิจพอเพียงนะคะ .... "รู้ไว้ใช่ว่า ...ใส่บ่าแบกหาม"
ขอบคุณค่ะ
3 มิย.2559
I remember hearing about heat treatment on jewels, gold. silver, ... but only to remove stubburn deposits (grease and grime) off the surfaces (of jewelry). This is new knowledge to me. Any idea how hot the heat treatment is? 500C? 1000C?
สวัสดีค่ะDr.Ple สวยงามมากนะคะ...แต่ส่วนตัวชอบแบบธรรมชาติดูขลังดีอ่ะค่ะ
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่แบ่งปันจ้ะ
คิดถึงนะ
ขอบคุณท่าน sr มากๆ ค่ะ ..... พลอยแต่ละชนิดจะใช้ความร้อนแตกต่างกัน ซึ่งการใช้ความร้อนจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับ ขนาด ชนิด สีที่ต้องการและแหล่งที่มาของพลอยเหล่านั้น เช่น ต้องการให้พลอยมีสีเข้มหรืออ่อนลง ระดับความร้อนที่ใช้กันอยู่มีตั้งแต่ระดับไม่ถึง 1000 องศาเซลเซียสไปจนถึง 1900 องศาเซลเซียส หรืออาจเกิน 2000 องศาเซลเซียส ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และเทคนิคของผู้เผา.....ความร้อนที่เผาพลอย นะคะ ... ปัจจุบันมีเครืองเผา สามารถกำหนออุณหภูมิได้นะคะ
ขอบคุณ ดร.Pojana Yeamnaiyana Ed.D. มากๆ ค่ะ .... พลอยไม่เผา หรือ Unheat สวยกว่ามากค่ะ หาได้ยากและยิ่งสีสวยๆ ราคาแพงมากๆ ค่ะ .... ราคา 6-7 หมื่นบาท ต่อเม็ด 6-7 กระรัด นะคะ
ขอลตุณ คุณครูมะเดื่อ ใมากๆ ค่ะ
สวัสดีครับ
ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันกันครับ
ขอบคุณ กำลังใจ นะคะ