Fah Ladda
นางสาว ลัดดาวัลย์ จันตะคุต

วันที่ 8 "ต่างที่...ต่างการเรียนรู้....ต่างประสบการณ์" (26 พฤษภาคม 2559)


"ต่างที่...ต่างการเรียนรู้....ต่างประสบการณ์"

ทุกวันพฤหัสบดี..กับพิธีนมัสการพระเจ้าประจำสัปดาห์ เด็กร้องเพลงเพราะมาก มาฝึกสอนที่นี่ไม่ได้ยินเสียงสวดมนต์ และถ้าไม่ใช่วันพฤหัสบดี เข้าแถวหน้าห้องเรียน เป็นการเข้าแถวที่เร็วมาก พอเคารพธงชาติเสร็จ นักเรียนก็แยกย้ายเข้าห้อง “ครูประจำชั้น” สำหรับโรงเรียนเอกชนมีความสำคัญมาก จะคอยดูแลนักเรียนทุกเรื่อง แจ้งผู้ปกครองทุกอย่างผ่านไลน์กลุ่ม ถ่ายรูปการบ้านให้ผู้ปกครองทราบ คอยสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แจ้งผู้ปกครองเป็นรายบุคคล มองดูอาจเป็นภาระที่ดูเหนื่อยสำหรับครู แต่สำหรับหนูเป็นภาระที่มีคุณค่ามากสำหรับเด็ก ทุกอย่างดูเป็นระบบมาก ผู้ปกครองรับรู้พฤติกรรมของลูกตนเอง ปรึกษาครูเพื่อช่วยกันแก้ไข..ไม่คิดว่าจะได้เห็นภาพแบบนี้ บางครั้งตอนพักกลางวันเห็นครูปรึกษากันในห้องพักครูเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กที่เป็นหัวโจก มีกรณีหนึ่งที่ได้ยินบ่อยมากเวลาครูคุยกัน คือ นักเรียนคนหนึ่งอยู่ชั้น ป. 5 มีพฤติกรรมชอบขโมยของเพื่อนไปซ่อน เช่น รองเท้า ปากกา ไม่ใช่แค่ของเพื่อนในห้อง ยังรวมไปถึงของในโรงเรียน ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ โดยการขโมยกุญแจแม่บ้าน แอบเอาตะเกียงแอลกอฮอล์ไปซ่อน ครูส่วนมากบอกว่า เด็กไม่ได้ขโมยเพื่อเอาไปขาย แต่ขโมยเพื่อเรียกร้องความสนใจ และครูฝ่ายปกครองนัดพบผู้ปกครองมาคุย แต่เลวร้ายกว่านั้นคือ ผู้ปกครองอยู่ฝ่ายลูกของตนเอง เข้าข้างลูก มาที่นี่ สู่สัปดาห์ที่ 2 ข่าวของเด็กคนนี้ดังมาก ไม่ใช่แค่ฝ่ายปกครองที่หนักใจ หนักกว่านั้นคือครูประจำชั้น ซึ่งเป็นครูหมวดวิทยาศาสตร์ พึ่งมาสอนปีนี้เป็นปีแรก ครูดูเป็นคนที่ใจดีมาก แต่ก็แอบเห็นครูบ่นและมีใบหน้าที่กังวลกับเรื่องของเด็กชายคนนี้มาก เพราะจะต้องรายงานผู้ปกครอง แต่ผู้ปกครองก็ยังไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับว่าลูกของตนเองทำอย่างนั้นจริง “เป็นกำลังใจให้ครูหญิงนะคะ”

เมื่อวานสอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 เด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเลย ครูพี่เลี้ยงหนูถามก็ไม่ตอบ ให้เปิดหนังสือก็ไม่เปิด พอให้อ่าน..ก็เหม่อลอย นักเรียนในห้องมีประมาณ 30 คน มีคนสนใจเรียนเพียง 2 – 3 คน ซึ่งตัวหนูเองยืนสังเกตจากทั้งหน้าห้องและหลังห้อง เดินสะกิดตลอด เป็นอะไรที่ดูเฟลมากสำหรับครูผู้สอน และครูพี่เลี้ยงของหนูไม่ได้ว่าสอนไม่สนุก หรือไม่เข้าใจนะ แต่นักเรียนเหม่อลอยมาก ครูใช้หลายวิธีมาก ไม่ว่าจะเป็นสร้างความเข้าใจ กระตุ้นต่าง ๆ ให้ยืนกระโดดตบ ให้หัวเราะ ให้ร้องไห้ สารพัดวิธี แต่ก็ไม่ดีขึ้นเลย ครูก็ทิ้งท้ายว่า “พรุ่งนี้จะลองให้ครูคนอื่นมาสอน ถ้าครูคนอื่นบอกว่าตั้งใจ นักเรียนให้ความร่วมมือ ครูก็จะเปลี่ยนห้องให้กับนักเรียน” ตัวเรายืนฟัง รู้สึกไม่ดีเลยกับสถานการณ์แบบนี้ และนี่คือห้องที่หนูมาฝึกสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ “ครูพี่เลี้ยงหนูยังบอกว่าแบบนี้ไม่ไหว...แล้วหนูจะไหวมั๊ย ???”

พอมาวันนี้ ครูเข้าสายให้หนูขึ้นไปแทนก่อน ตรวจการบ้านเด็ก เด็กก็ให้ความร่วมมือดีนะ หรือนี่เป็นคาบแรก แต่ครูพี่เลี้ยงของหนูก็แลกให้ครูคนอื่นมาสอนแทน หนูก็เข้าด้วย เข้าไปสังเกตพฤติกรรม ดูการกระทำต่าง ๆ ในใจคิด “ก็ไม่ต่างกันเลย” เริ่มกังวลใจกับพฤติกรรมแบบนี้ และหลังจากคาบ 1 จนกลับบ้านก็ไม่ได้เจอครูพี่เลี้ยง ไม่ได้พูดคุยกันเลย เพราะหนุไปสอนคณิตศาสตร์ต่อในคาบ 2 เด็กให้ความร่วมมือดีมาก “เยียวยาจิตใจ”

การสอนเรียงลำดับจำนวน...วิธีนี้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกคน

อุปกรณ์การเรียน..ของนักเรียนแต่ละคน ครบเครื่องมาก

จัดบอร์ดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 607250เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2016 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2016 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อุกปร์การสอนมีจำนวนมากนะครับ

พยายามสังเกตพฤติกรรมนักเรียนบ่อยๆ

จะได้ช่วยแก้ไขได้ครับ

สถายการณ์รุนแรงมากครับ.. ๒-๓ คน ในหลาบสิบคน... สู้ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท