736. โค้ชชิ่งยุคสามก๊ก


เรียนรู้ศาสตร์ OD จากสามก๊กตอนที่ 57

ผมเองไม่ใช่โค้ชมืออาชีพ หากแต่สนใจวิธีการอะไรก็ได้ที่จะทำให้ลูกศิษย์ของผมประสบความสำเร็จมากขึ้น ที่สุดหนึ่งในวิธีที่นอกเหนือจาก Appreciative Inquiry (AI) ที่ผมจบปริญญาเอกมา และทำอยู่ทุกวัน ผมก็ต้องใช้สิ่งที่น่าจะเรียกว่า Coaching นี่แหละครับ เพราะผมต้องพาพวกเขาจากจุด A ไปจุด B ...เข้านิยามการโค้ชชิ่งเป๊ะ ...ซึ่งถ้าถามว่าผมใช้อะไร ผมก็ใช้ AI ครับ ...โค้ชแบบ AI (Appreciative Coaching) เป็นการดึงศักยภาพและโอกาสที่มีในตัวเองและสิ่งแวดล้อม (Ecosystem) ออกมา ขยายผลสร้างการเปลี่ยนแปลง ผมทำมานานครับ ปัจจุบัน 10 ปีน่าจะราวๆ เกือบ 300 cases ที่มีการติดตามผลจริง จนสุดทาง บทความนี้ผมออกตัวก่อนว่าผมเขียนในฐานะคนเป็นครู

ตอนผมทำปริญญาเอก ผมใช้ทั้ง AI ทั้ง Appreciative Coaching และ KM ผมก็เลยต้องอ่านเรื่อง Coaching ไปด้วย ไปเจอเล่มนี้ครับ (สมัยก่อนเป็นอังกฤษ มาเจอแปลเป็นไทยแล้ว ดีใจมาก อนุโมทนาคนแปลนะครับ) ของท่าน เชอร์จอห์น วิทมอร์


ท่านเป็นคนคิดโมเดลการโค้ชที่นิยมมากคือ GROW Model คือจะโค้ชใครก็ให้เขาตกลง หาจุดยืนตัวเองให้ได้ก่อนคือ เป้าหมายของเขาคืออะไรกันแน่ (Goal) แล้วปัจจุบันสิ่งที่เขาเผชิญอยู่จริงๆ มีอะไรบ้าง (Reality) จากนั้นให้เขาเลือกว่าจะก้าวเดินไปอย่างไร ก็คือหาทางเลือก ว่าจะทำอะไรได้บ้าง (Options) ที่สุด ก็ลุย (Ways forward) คือประมาณต้องหาว่า Commitment ถ้าติดอะไรก็พูดตรงนั้น แล้วเคลียร์กัน

แต่ความสวยงามของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้อยู่แค่นี้ครับ ใครทำ AI ไม่ว่าจะสายไหน OD/Coaching/Consulting/KM... ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ของท่านเซอร์ เพราะอะไรครับ เพราะท่านเป็นสาวกของอับราฮัม มาสโลว์ ผู้คิด Maslow’s Herachy of Needs ที่สำคัญท่านทำงานกับ Timothy ผู้เขียนเรื่อง the Inner Games of tenninis ...ทำไมสำคัญครับ ผมจะเล่าให้ฟัง

งานของ Maslow เป็นบรรพบุรุษของสาขาวิชา Positive Psychology หรือจิตวิทยาบวกนั่นเอง ที่ Appreciative Inquiry เองก็สังเคราะห์ทฤษฎีขึ้นมาจาก Positive Psychology ...จะว่าเอง Maslow ในตอนท้ายของขีวิตเป็นคนแรกๆ ที่เอ่ยคำว่า Positive Psychology ออกมาครับ ...เห็นความเชื่อมโยงไหมครับ

The Inner Game of Tennis ใครอยู่สาย AI ประเภทลงลึกต้องอ่านครับ เพราะพูดถึงปรากฏการณ์แปลกๆ ที่แชมป์โลกดังๆ มีการฝึกในใจ แต่เกิดเก่งขึ้น เช่นนักกอร์ฟดังคนหนึ่งไปเป็นทหารถูกเวีดนามจับได้ ถูกขังคุกอยู่ห้าปี ไม่เคยฝึกกอร์ฟในสนามเลย พอถูกปล่อยออกมากลับฝีมือดีขึ้น เพราะอะไรครับ เพราะระหว่างติดคุกเขาวาดภาพการฝึกในใจ The Inner Games of tennis เป็นอะไรที่ชาว AI ควรหามาอ่าน เพราะจะอธิบายว่าทำไมเราต้อง Dream หรือสร้างฝัน เมื่อเราค้นพบอะไรดีๆ (Discovery) ถึงค่อยเอามาออกแบบ (Design) แล้วทำจริง (Destiny)

การโค้ชแนวของท่านเท่าที่ดูจะเห็นประเด็นนี้ครับ คนในโลกปัญหาที่เป็นอยู่จะสอดคล้องกับสิ่งที่ Maslow คิด ลองดูภาพนี้ครับ เล่นกันตั้งแต่พื้นฐานเลยคือคนไม่ติดปัญหาทำมาหากิน ความปลอดภัย ความมั่นคง การยอมรับจากสังคม ความรัก แรงจูงใจ ความเชื่อมั่นในตัวเอง แต่ที่สุดแล้วคือการรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เกิดมาเพื่ออะไร (Self Actualization)

เท่าที่อนุมานดูงานของท่านก็เน้นที่ทำให้คนขยับไปสู่จุดสูงสุดของ Maslow’s Heirachy of Needs ซึ่งคือ Self Actualiation หรือการค้นพบตัวเอง ซึ่งคือการเติมเต็มชีวิต... ...เอาไปว่าถ้าใครบ่นกับคุณว่าตอนนี้หาตัวเองไม่เจอ ทั้งๆที่รวย และมีทุกอย่าง นี่ก็บอกได้เลยว่าชีวิตยังไม่เติมเต็ม ..หรือถ้าใครดิ้นรนให้ได้รับการยอมรับจากคนอื่น ที่สุดก็จะเริ่มหลงทาง เหนื่อย เกิดการเปรียบเทียบ บางคนมีตังค์มาก แต่รู้สึกเหนื่อย รู้สึกไม่รวย ..นี่ก็จัดให้เลยครับ ยังขาด Self Actualization ....

แล้วท่านทำอย่างไร เนื่องจากท่านอยู่ในวงการกีฬามาก่อน ท่านสังเกตเลยว่าโค้ชที่นำทีมเก่งๆ จะตั้งคำถามปลายเปิด ไม่ใช่คำถามปลายปิด ...เช่นช่วยกันวิเคราะห์สิว่าคู่แข่งทำได้อย่างไร..แทนที่จะบอกว่า..ทำอย่างนั้นสิ ทำไ,ไม่ทำ เรียกว่าตั้งคำถามเก่ง ไม่ใช่สั่งอย่างเดียว ... มีกัลยาณมิตรบอกว่าโค้ชอ๊อด โค้ชชื่อดังของสายวอลเล่ย์บอลล์ก็ใช้การตั้งคำถามปลายเปิด

เพราะฉะนั้นท่านจึงเน้นคำถามปลายเปิดมากๆ...

และไม่พอครับ เนื่องจาก Maslow’s Herachy of Needs เป็นอะไรที่น่าจะซับซ้อนพอควร ท่านดึงเอาวิชาเช่นภาวะผู้นำมาช่วยด้วย ประมาณว่าท่านเอาโค้ชชิ่งไปผสมผสานกับศาสตร์อื่นๆ ...

สรุปแนวคิดของเจ้าพ่อ GROW MODEL เป็นดังนี้ครับ

  1. ใช้ Maslow’s Hierarchy of Needs มาประเมินโค้ชชี่
  2. ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นสติปัญญา
  3. ผสมผสานกับศาสตร์อิ่นๆ เช่น Leadership เพื่อให้ขยับไปยัง Self-actualization ได้ดีมากยิ่งขึ้น

เอาหล่ะมาลองเทียบเคียงกับยุคสามก๊กกัน

  1. เท่าที่มองผู้นำที่มีความโดดเด่นในยุคสามก๊ก จะคำนึงถึงเรื่อง Maslow’s Herirachy of Needs เป็นพิเศษ การเลือกทำเลการตั้งอาณาจักร ต้องดูเรื่องนี้เลยว่าจำนวนครัวเรือนพอเลี้ยงคนไหม และต้องบริหารการนำดีๆ ไม่ให้กระทบกระเทือน โจโฉเองก็ระวังมากๆ เรียกว่าห้ามคนทำลายไร่นาชาวบ้าน นี่คือระวังมากๆ เล่าปี่เองก็สร้างตัว เริ่มมีชื่อเสียงด้วยการทำให้กวนอู เตียวหุยค้นพบ Self Actualisation ของตนเอง ตอนเป็นนายอำเภอก็ดูแลปากท้องของประชาชน ให้ความปลอดภัย Security ดีมากๆ
  2. ผู้นำยุคสามก๊กใช้คำถามปลายเปิด...ชัดสุดๆ ก็เล่าปี่ ...จุดเปลี่ยนตอนไปหาขงเบ้ง นี่ก็ใช้คำถามปลายเปิด..เปิดให้ขงเบ้งพูด...ไม่ขัดจังหวะ ...ชัดไหมครับ เท่านั้นเองศักยภาพของขงเบ้งก็พรั่งพรูออก..เลยไม่ใช่ได้แค่คำแนะนำที่เราเรียกว่า “ยุทธศาสตร์สามก๊ก” เท่านั้น แต่ได้ตัวขงเบ้งมาช่วยทำด้วย
  3. สามก๊กแทบทั้งเรื่องเป็นการดึงคนมาใช้สร้างศักยภาพของอาณาจักร และชัดว่าเงินไม่ใช่ทุกอย่าง โจโฉจับกวนอูได้ให้ตำแหน่งใหญ่โต ได้เงินทอง แต่กวนอูที่ Self Actualization แล้ว ...ไม่เอาครับ กลับไปหาเล่าปี่
  4. สรุปแล้วเป็นผู้นำอย่างน้อยต้องเข้าใจสองเรื่องคือเข้าใจความต้องการของมนุษย์ถ้าง่ายๆ ดูตามแนวทางของ Maslow ได้ ต่อมาคือตั้งคำถามปลายเปิดเป็น ...ที่เหลือความสำเร็จชนิดฟ้าถล่มดินทลาย

สรุปแล้วควรอ่านครับงานของท่านเซอร์สุดยอดมากครับ ที่สำคัญท่านทิ้งไว้ตอนท้ายว่างานของ Maslow ที่เป็นจิตวิทยาแนว Humanistic Psychology นี่ต่อยอดมาเป็น Positive Psychology

ลองอ่านกันดูนะครับ ผมเองประทับใจมากๆครับ

ลองดูนะครับ คำถามคือวันนี้คุณยืนอยู่จุดใดใน Maslow ...แล้วคุณจะทำอย่างไรครับ

https://brilliantnurse.com/nclex-prioritization-qu...

หมายเลขบันทึก: 607021เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2016 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2017 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท