(๒) นวัตกรรมช่วยเลิกบุหรี่ : บทเรียนจากสายวิชาชีพสุขภาพด้านช่องปาก


ต่อจากบันทึกแรกนะคะ

วันที่สองของการประชุม ทบทวนวันวาน

เพื่อน ๆ ผู้เข้าประชุมบอกเล่าความรู้สึก คนละ ๑ ความรู้สึก

  • ประทับใจ ได้มุมมอง / มีความสุข / ได้เพื่อนใหม่
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ความรู้
  • ประทับใจทีมงาน วิธีการประชุม
  • ประชุมแบบนี้บ่อย เอาประสบการณ์ นำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกครั้ง
  • รู้สึกดี นานๆ ได้มา
  • ตอนแรกรู้สึกแปลกๆ ไม่มีเพื่อนที่คุ้นเคย ต่อมาได้รีแลกซ์ สบาย
  • ภูมิใจแทนคนทำงาน
  • ดีใจ ได้ตัวอย่างดี ๆ
  • ตื่นเต้น ท้าทาย
  • มีแรงผลักดัน
  • อยากทำงานให้ต่อเนื่ง
  • อบอุ่น ประทับใจ จำพื้นที่อื่นได้
  • มีพลัง
  • ดีใจ กลับไปคนใกล้ตัวต้องเลิกเลิกบุหรี่ให้ได้

จากนั้น พี่สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยมีประเด็นชวนคิดจากเมื่อวาน

  • การทำงานร่วมแบบสหวิชาชีพ ผลที่ได้เป็น Synergy
  • เทคนิคการ approach คนสูบบุหรี่
  • การค้นหาผู้ติดบุหรี่ เชิงรุก กับเชิงรับ
  • การจำแนกข้อมูล อายุ เพศ ที่อยู่ (หมู่บ้าน)
  • เครื่องมือการคัดกรองภาวะเสี่ยง เครื่องมือวัดคาร์บอนในลมหายใจ
  • การออกแบบงานช่วยเลิกบุหรี่
    • กำหนดกลุ่มเป้าหมายการทำงาน
    • หาวิธี “เข้าถึง” กลุ่มเป้าหมาย

^_,^

อาจารย์ปิยะ ศิริพันธุ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพิ่มเติมมุมมอง

  • ตัวเราเป็นอย่างไร (ทุกคนยืนขึ้นเอามือชี้นิ้วไปที่โคมไฟ / เอามือปิดตาขวา แล้วปิดตาซ้าย ดูว่าโคมไฟเปลี่ยนตำแหน่งไปไหม) ถ้าเปลี่ยนทั้งซ้ายและขวาแปลว่าอัจฉริยะ
  • คนเรามองเป้าหมายเดียวกันแต่คิดต่างกัน การทำงานหรือการพูดคุยกับคนอื่นต่างกัน
  • ทุกที่ทำงานได้ดี ถ้ามีพี่เลี้ยงไปช่วยถอดบทเรียน มีจุดแข็งที่จะนำเสนอระดับนานาชาติได้ อุดรคิดจากการครอบคลุม อุบล
  • การสรุปขั้นตอนของไทยเอง (Theory Ratical) เมื่อเทียบกับ ๓A หรือ ๕A
  • การทำ Resolution(ฉันทามติ) WHO headquater (DG) / EB / WHA ควรปรึกษา คุณมาริสา โคมินทร์ (DG) และ อ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร
  • การเรียนรู้เรื่องการอดบุหรี่ จงภูมิใจและเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำสามารถนำเสนอ
  • การสื่อสารระหว่างส่วนกลางกับภูมิภาคมีปัญหา
  • หนังสือสื่อสารไม่ได้ดีเท่าตัวคน

^_,^

ความรู้สึก Sensation dance

  • สองคน สบาย กลุ่มใหญ่กลัวมือจะหลุดจากเพื่อน / กลุ่มใหญ่รู้สึกกังวล
  • กลุ่มใหญ่ต้องประคับประคองกันไปให้งานสำเร็จ
  • สองคน เราแคร์แค่คนเดียว กลุ่มใหญ่กังวลกับกลุ่มว่าเราเดินไปคนละทางกับเพื่อน
  • สองคนคอนโทรลง่ายกว่า วงใหญ่กว่าไปได้ยากกว่า ระวังชนกับกลุ่มอื่น
  • สองคนคล่องตัวเหมือนเดินเยอะแต่อยู่ไม่ไกล กลุ่มใหญ่เดินได้น้อย การไปถึงเป้าหมายยากกว่า / การทำงานกลุ่มใหญ่มีการดันกัน เป็นแรงกดดัน
  • สองคนพลิ้ว วงใหญ่กังวลกลัวมือหลุด กลัวชนคนอื่น
  • กลุ่มใหญ่มากขึ้นต้องระวังมากขึ้น ตอนที่ชนพยายามผลักตัวเองออกมา
  • วงใหญ่กลัวชนเพื่อนเมื่อชนเพื่อนกลัวเพื่อนเจ็บ คนกลุ่มเล็กทำงานง่ายการกระทบกระทั่งน้อย การขยายงานไปมากขึ้นเราเจอเพื่อนใหม่และเก่า ต้องระวังการกระทบกระทั่งมากขึ้น
  • การทำงานต้องปรับตัวเอง กลุ่มไม่มีหัวหน้า ไม่มีเป้าหมาย

^_,^

คุณหมอแบงค์พาพวกเราสลายกลุ่มเก่า จับกลุ่มใหม่ ๔ คน

  • ออกแบบงานสุขภาพช่องปากใหม่ ในการช่วยสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ เราอยากทำอะไรบ้างในหน่วยงานที่เราอยู่
    • รพ.สต. (๓ กลุ่ม)
    • รพช (๒ กลุ่ม)
    • สสจ. (๑ กลุ่ม)

ออกแบบงานใน รพช. (โรงพยาบาลชุมชน)

  • กำหนดนโยบายใน รพช.
  • ให้งานทันตกรรมเป็นแม่งานหลัก ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู แทรกกิจกรรมบุหรี่
  • คัดกรองและดำเนินตามกระบวนการ “อุบลโมเดล”
  • ค้นหาบุคคลต้นแบบที่เลิกบุหรี่ และเชิดชู มอบรางวัล
  • ขยายผลไปยังครอบครัว / ชุมชน
  • รณรงค์ทางทันตฯ มีงานบุหรี่แทรก ในโรงเรียน ชุมชน สถานพยาบาล
  • การรักษา พูดเรื่องบุหรี่ / ฟันเทียม เลิกบุหรี่ได้ได้ฟันก่อน / ซีลแลนท์ คุยกับเด็กเรื่องบุหรี่
  • การติดตาม ประเมินผล
    • ติดตามผู้เลิกบุหรี่ ๑,๓,๖,๑๒ เดือน
    • นิเทศติดตาม รพช.
    • จัดเวที ลปรร. ในเครือข่าย

ออกแบบงานใน สสจ. (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด)

  • จัดทำโครงการของบประมาณ ประชุมชี้แจงระดับอำเภอ และผู้มีส่วนร่วม
  • รณรงค์ ติดป้ายปลอดบุหรี่ ๑๐๐% ในสถานที่ราชการ
  • อำเภอ จัดนิทรรศการในโรงเรียนประถม มัธยม รณรงค์วันที่ ๓๑ พค. ถ่ายรูปส่งไลน์
  • ให้ประชนและโรงเรียน ประกวดคำขวัญปลอดบุหรี่ / ประกวดสื่อที่จะใช้ในรร. /ผลิตสื่อแจกทั้งจังหวัด
  • ประกวดครอบครัวปลอดบุหรี่ ตัวอย่างระดับอำเภอ รับรางวัล
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของรพช. ทำอย่างไรจึงประสบผลสำเร็จ

ออกแบบงานใน รพ.สต.

  • เป็นทันตแพทย์ทำหน้าที่ตรวจคัดกรองผู้ป่วยเรื้อรัง ถามผู้ป่วยเขาไม่อยากมาห้องฟัน อยากให้ไปทำที่บ้าน
  • ผู้นำใน รพ.สต. แต่งตั้งคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนใน รพ.สต. มอบนโยบาย ประชุมร่วมกับ ผู้นำชุมชน ร้านค้า ผู้นำศาสนา
  • ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย รพช. แก่ผู้เกี่ยวข้อง มอบหมายงานให้ทำและทำป้ายชื่นชม เช่น รร.ปลอดบุหรี่ ให้รางวัล ผู้เลิกบุหรี่ เจ้าหน้าที่
  • ติดตามงาน ส่งต่อไปรพช. ถ้ายากเกิน

^_,^

พี่ปิยะ (เริ่มสนิทละ เป็นพี่แล้ว อิ อิ)

  • นำออตตาวา ชาร์เตอร์ มาจับ (Ottawa charter)
  • มีนโยบาย ต้องมี regulation ด้วย (การติดตามประเมินผล)
  • การนำผู้นำศาสนามาช่วย
  • สิ่งแวดล้อม การจัดหมู่บ้านปลอดบุหรี่
  • นำ Positive Reinforcement มาใช้ การใช้ negative ได้ผลแค่วันเดียว
  • ทุกกลุ่มไม่ได้เอาเงินมาเป็นตัวตั้ง
  • “อุบลโมเดล” เป็นการเคารพตัวเอง หาบริบทตนเองให้เจอ ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนกันด้วยแคตตาล็อกเดียวกัน เป็นพวกใช้สมอง

พี่พวงทอง ผู้กฤตยาคามี (วิทยากรอิสระ)

  • ทุกคนมีของ แต่จะสำแดงได้แค่ไหน เรามีหน้าที่เชียร์
  • การทำงานในพื้นที่ การมีนโยบายโดยผู้บริหารบางครั้งเป็นเครื่องมือช่วย แต่ไม่ใช่หัวใจสำคัญ สิ่งสำคัญกว่า คือ การทำงานร่วมกัน รู้สึกดี ๆ ที่ได้ทำในการช่วยเลิกบุหรี่


ประเมินการประชุม ๒ – ๓ พ.ค. ๒๕๕๙

๑. อยากบอกอะไรผู้จัดบ้าง

  • จัดประชุมได้ดี จำนวนวันและเวลาที่ใช้เหมาะสม
  • ดีใจมาก อยากให้จัดอีก เพิ่มระยะเวลาเป็น ๑ อาทิตย์ / ๓ วัน / ขยายเวลา / เพิ่มวัน
  • ทำงานอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ๖ เดือนก็ได้ ทำอย่างจริงจัง เพราะถ้าเราทำให้คน ๆ หนึ่งเลิกบุหรี่ได้ หนูคิดว่าหนูมีบุญมาก ที่ทำให้ครอบครัวหนึ่งงดบุหรี่ได้ และเงินค่าบุหรี่ไปซื้ออาหารให้ลูกเมียได้ หนูภูมิใจมากค่ะ
  • มีคนเลิกบุหรี่จากการชักชวนของเรา รู้สึกมีความสุข อิ่มบุญ
  • ชื่นชมวิธีการ / รูปแบบจัดอบรม วิทยากรมีความสามารถ ทำให้การประชุมไม่น่าเบื่อ ไม่ง่วงนอน relax ไม่เครียด ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกคนมีส่วนร่วม ได้คิด ได้งาน รู้สึกประทับใจค่ะ
  • จัดกิจกรรมได้ดีเยี่ยม กระชับ ได้องค์ความรู้ครบ ขอชื่นชมทีมงาน ทีมวิทยากรทุกท่าน
  • การจัดงานแลกเปลี่ยนแบบนี้ เป็นการจัดที่ดีมากค่ะ ได้ความรู้มาก
  • รูปแบบการประชุม กิจกรรม ทำให้ได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ได้กลับมาคิดทบทวนตนเอง เกิดประโยชน์จริง ๆ
  • ผู้จัดน่ารัก ใจเย็น / วิทยากรทุกท่านกันเอง ทำให้ผู้ร่วมประชุมอบอุ่น มีความสุข
  • ทีมวิทยากรจัดการอบรมได้ positive มากค่ะ น่ารัก ชอบค่ะ
  • การประชุมนี้จัดได้อบอุ่น ไม่เครียดจนเกินไป สนุก เสริมกิจกรรมที่สอดแทรกแง่คิดอยู่ตลอดเวลา
  • กิจกรรมสนุก ไม่น่าเบื่อ ได้จุดประกายความคิด ดูรูปแบบการทำงานว่าที่อื่นทำได้นะ ทำไมเราจะทำไม่ได้ รูปแบบไม่ยาก ผลเป็นยังไง
  • การจัดประชุมรูปแบบนี้เป็นสิ่งที่ดี สามารถดึงเอาส่วนดี ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ จากระดับผู้ปฏิบัติออกมา จึงอยากให้ผู้จัดที่เป็นผู้สกัดเอาส่วนดี ๆ จากพื้นที่ ได้นำองค์ความรู้เหล่านี้เผยแพร่ต่อการปฏิบัติงานด้านบุหรี่ต่อไปครับ
  • อยากให้มีการจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ในระดับจังหวัดบ้าง เพื่อจะได้ค้นหาสิ่งดี ๆ และรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้น ๆ ตอบสนองต่องานบุหรี่

  • ได้รับแนวคิดใหม่ ๆ จากคณะทำงาน
  • สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานได้
  • ขอขอบคุณวิทยากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ในส่วนรวม การทำให้คนเห็นประโยชน์ที่ดีในการลดบุหรี่
  • ขอขอบคุณผู้จัดทุก ๆ ท่านที่ให้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีนี้ / รู้จักทีมงานมากขึ้น
  • ขอบคุณที่จัดประชุม (มาพักผ่อนในตัว)
  • ที่พักดี – สวย – สถานที่โอเค – โรงแรมสะอาด เลือกสถานที่เหมาะสม - อาหารดี – อาหารเบรกอร่อย
  • ผู้จัดมีความเป็นกันเองมาก ขอบคุณผู้จัดนะคะ ดูแลดีค่ะ แต่เมืองพัทยาคนพลุกพล่าน เลยไม่ค่อยได้ relax เท่าไหร่
  • อยากให้คนที่เรารัก คนใกล้ตัวเลิกบุหรี่
  • อยากให้หาตัวอย่างคนที่เลิกบุหรี่ได้จริงมาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง
  • อยากทราบเทคนิคในการทำงานบุหรี่ให้ประสบผลสำเร็จ
  • อยากช่วยเหลือสังคม
  • อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีก / จัดอบรมเรื่องนี้ทุกปีอย่างต่อเนื่อง / จัดกิจกรรมติดตามประเมินผลทุก ๓ เดือน เพื่อกระตุ้นการทำงาน
  • อยากให้จัดการประชุมแบบนี้อีก แต่เพิ่มการนำเสนอผลงานการทำงานบุหรี่ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ของแต่ละที่ให้ผู้เข้าประชุมได้ชม / แลกเปลี่ยน
  • อยากจัดที่ชะอำ ภูเก็ต ระยอง กระบี่ โคราช ไกลนิดหนึ่ง / เปลี่ยนพื้นที่ประชุม / กรุงเทพฯ เพราะเป็นศูนย์กลาง เดินทางไม่ไกลนะคะ / ใกล้อุบล
  • อยากมีกิจกรรมตอนเย็นร่วมกัน สร้างสัมพันธไมตรี
  • น่าจะมีช่องทางแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างจังหวัด เช่น facebook
  • อยากได้สิ่งสนับสนุน เพื่อไปแจกคนที่เราสัมภาษณ์
  • ต้องให้คนทำงาน ทำงานอย่างมีความสุขและยั่งยืน
  • เบิกค่าเดินทางได้น้อยกว่าความเป็นจริง เงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการทำงาน แต่ควรจ่ายค่าเดินทางตามจริง
  • วันทำงาน วันเดินทาง ควรเบิกให้ครบถูกต้อง ถ้าไม่ครบ จะทำให้คนทำงานมีวันทำงานที่ไม่ครบ


. สิ่งเสริมแรง/แรงจูงใจ ให้เราอยากทำงานบุหรี่ต่อไป

  • ๑. รางวัล ผลตอบแทน อาจจะดูไม่เหมาะสม แต่มันทำให้คนที่ทำงานกรือดำเนินการ มีกำลังใจที่จะทำต่อไป
  • ๒. ผลจากการทำงาน คือ ถ้าผลที่ทำงานได้ประโยชน์ และได้ผลการตอบรับที่ดี จะทำให้โรงการกิจกรรมต่าง ๆ ยังดำเนินการต่อไป
  • ๓. งบประมาณ คือ แทบจะทุกกิจกรรม ทุกอย่าง จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการทำงาน บางโรงพยาบาลต้องดำเนินการหลายขั้นจึงจะได้งบมา ทำให้กระบวนการยุ่งยากมากขึ้น
  • เงิน ไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินงาน / ของบประมาณในการจัด ทำงานบุหรี่ค่ะ / สนับสนุนงบประมาณใหเต็มที่
  • สนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง / ช่วยหาสื่อ หาวิธีการมาแนะนำ
  • ค่าตอบแทนต่าง ๆ / ให้โล่ / ขั้นพิเศษแก่ผู้ทำงานบุหรี่ อยู่ในส่วนของยาเสพติด (ทั้งกล่อง ทั้งเงิน) / รางวัลสำหรับการทำงาน
  • ความร่วมมือของผู้ร่วมงาน
  • พาคณะทำงานเที่ยวพักผ่อน
  • จังหวัดออกนิเทศติดตามงาน / เยี่ยมดูแลอย่างต่อเนื่อง
  • จัดประกวดผลงาน / นำเสนอผลงานดีเด่น / เกียรติบัตร / รางวัล
  • ตีพิมพ์ผลงานดีเด่น / นวัตกรรมปลอดบุหรี่ดีเด่นในวารสารสุขภาพ
  • ส่วนกลางช่วยในการขับเคลื่อนงานในกลุ่มทันตแพทย์ ให้สนับสนุนการทำงานทันตสาธารณสุข ทันตกรรม อดบุหรี่ เพราะยังมีอีกหลายคน คิดว่าเป็นการเพิ่มภาระงาน
  • คนใกล้ตัวสูบบุหรี่ จะนำแนวทาง กระบวนงานให้เขาเลิกสูบบุหรี่
  • งานที่ทำให้ประชาชนมารับบริการทันตกรรมเกิดประโยชน์ และตนเองก็ทำงานด้านทันตฯ อยู่แล้ว ไม่ว่าอะไรก็ตามก็จะทำงานบุหรี่ร่วมกันค่ะ
  • เห็นบุคลากรรุ่นใหม่ ไฟแรง อายุน้อยอยากเข้าทำงานบุหรี่มากขึ้น
  • เห็นเคสที่สามารถเลิกบุหรี่สำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานมีความภาคภูมิใจ ทำให้มีกำลังใจ
  • เราทำให้คน ๆ หนึ่งเลิกบุหรี่ได้ ประโยชน์ที่เกิดจะส่งผลดีต่อคนจำนวนมาก
  • การแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทำให้ได้เปิดมุมมอง เห็นตัวอย่างที่ทำสำเร็จของคนอื่น มาปรับใช้กับพื้นที่ตนเองได้ ทำให้มีแนวทาง แรงบันดาลใจและแรงฮึด ในการจะกลับไปทำโครงการเลิกบุหรี่ในพื้นที่ตนเองให้ดีขึ้น
  • แรงจูงใจ คือ ตัวอย่างการทำงานของบุคลากรจากที่ต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้แนวทางในการทำงานมากขึ้น สามารถนำไปเป็นแนวทางดำเนินงานต่อไป
  • การได้เรียนรู้การทำงานจากเพื่อน ๆ จังหวัดต่าง ๆ ทำให้มีกำลังใจในการทำงานบุหรี่ต่อไป
  • รู้สึกว่าพอมาทำงานเรื่องบุหรี่แล้ว ตัวเองรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองมากขึ้น ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้ทำบุญ
  • อยากให้ประชาชน เด็ก เยาวชนที่สูบแล้วเลิกได้ และยังไม่สูบ ให้ไม่มีความคิดที่จะสูบ
  • อยากเห็นความสุขจากทุก ๆ ครอบครัวโดยไม่พึ่งบุหรี่ และไม่สูบบุหรี่
  • อยากเห็นคนในประเทศไม่สูบบุหรี่
  • อยากทำให้สังคมไทยปลอดบุหรี่

^_,^

จุดร่วมของคนส่วนใหญ่ในประเทศน่าจะคล้ายกันนะคะ อยากเห็นสังคมไทยปลอดบุหรี่

แต่ยังมี ๑๑ ล้านคนที่ยังอดใจไม่ไหว และการหล่อหลอมให้เด็ก ๆ เยาวชนมีความคิดที่จะเอาชนะใจตนเอง ยืนยัน มั่นใจ ไม่สูบให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่

เป็นงานท้าทายที่เครือข่ายลด ละ เลิกบุหรี่ เครือข่ายป้องกันการสูบบุหรี่ต้องมีกำลังใจเข้มแข็งเช่นกัน นอกเหนือจากพลังความรู้

เพื่อยืนหยัดทำสิ่งดี เพื่อประเทศไทยที่รักของเรา

เราจะจับมือ สู้ ๆ ไปด้วยกันนะ ทาเคชิ เย้ !!!!

^_,^

(ขอบพระคุณมาก ๆ นะคะ พี่สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา note-taker ในเวทีแลกเปลี่ยน)



ความเห็น (9)

มีกิจกรรมหลากหลายและกิจกรรมดีๆทั้งนั้นเลย

ชอบใจๆๆ

ขอบคุณมากครับได้เรียนรู้ในหลายบริบทของเรื่องบุหรี

ในบทบาทผู้เหนี่ยวนำกระบวนการ ดีใจที่ผู้ร่วมกิจกรรมมีความสุข ได้เรียนรู้อย่างผ่อนคลาย ได้เพื่อนใหม่ ได้พลังใจ และได้พัฒนางานตัวเอง เพื่อสังคมไทยค่อย ๆ ลดการสูบบุหรี่ได้ต่อไป .... ชื่นใจมากค่ะ

ขอบคุณ อ.ขจิต มากค่ะ .... กำลังใจสม่ำเสมอ

ไม่ค่อยได้ขอบคุณ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน รวมให้กำลังใจด้วยดอกไม้ด้วยนะคะ

มาทักทาย ชื่นชมกิจกรรมจ้ะ


ทุกครั้งที่อ่าน ผมชอบความง่าย กระชับ คมชัดของเรื่องราวที่ผมเขียนแบบนี้ไม่ได้เลย

ประเด็นในบันทึกเหล่านี้เป็นเสมือนกระจกส่องสะท้อน เป็นเสมือนตู้วรรณกรรมเคลื่อนที่ก็ไม่ปาน

ขอบพระคุณครับ

ขอบคุณมากค่ะคุณมะเดื่อ หอมดอกชมนาดถึงบ้านไม้ชายทุ่งเลยค่ะ .... นอกหน้าต่างก็มีค่ะ เริ่มออกดอกแล้ว

เล่าเรื่องตรง ๆ จากในเวทีเลยค่ะ อ.แผ่นดิน

ส่วนการสะท้อนมุมมองเพิ่มเติมจากพี่ ๆ คณะทำงานแผนงานทันตแพทย์ควบคุมการบริโภคยาสูบ (สสส.) นั้น เหมือนการถอดความรู้จากสิ่งที่ผู้ร่วมเวทีปฏิบัติ (Tacit knowledge) ทำให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นหลักการบางอย่าง ชัดเจนขึ้น (Explicit knowledge)

ซึ่งจะมีการเรียบเรียง ร้อยเรียง เปรียบเทียบ หารูปแบบ หาความเชื่อมโยง บอกเงื่อนไข บอกข้อจำกัดบางอย่างต่อไป

เพื่อสรุปข้อค้นพบ ถอดออกมาเป็นบทเรียน เผยแพร่แก่ผู้เกี่ยวข้อง ให้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไปค่ะ

ขอบคุณ อ.แผ่นดินมาก ๆ นะคะ .... มุมมองดี ๆ เสมอ

ชื่นชมค่ะ เห็นรอยยิ้ม เห็นพลังของทีม เห็นความสำเร็จอีกขั้น น่าภูมิใจค่ะ

และต้องพัฒนาต่อเนื่องเนือง ๆ ไปค่ะพี่อุ้ม ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท