แผนที่นำทาง (Roadmap) ตอนที่ 1: แผนที่นำทางคืออะไร


Roadmap เป็นวิธีการเชิงกลยุทธ์ในการเชื่อมกลยุทธ์ทางธุรกิจเข้ากับองค์ประกอบส่วนต่างๆขององค์กรให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ

แผนที่นำทาง หรือโร้ดแมป (Roadmap) เป็นวิธีการเชิงกลยุทธ์ในการเชื่อมกลยุทธ์ทางธุรกิจเข้ากับองค์ประกอบส่วนต่างๆขององค์กรให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ โดยจะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยสำคัญในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (ปัจจัยภายนอก) และสมรรถนะขององค์กรที่มีอยู่ แผนที่นำทางมีการนำมาใช้ได้หลายระดับชั้น (ระดับประเทศ ระดับอุตสาหกรรม ระดับสินค้าบริการ) หลายวัตถุประสงค์ หลายบริบท อาทิเช่น หากเป็นการมุ่งเน้นถึงเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของทุกองค์กร ก็จะเรียกแผนที่นำทางนั้นว่า แผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology Roadmap) ซึ่งจะเน้นไปที่องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีและทรัพยากรที่สนับสนุนต่อการวิจัยและพัฒนา (ปัจจัยภายใน) เป็นหลัก

กระบวนการจัดทำแผนที่นำทาง หรือที่เรียกว่า Roadmapping จะได้ผลลัพธ์ออกมาในรูปของแผนภาพที่เรียกว่า แผนที่นำทาง ดังแสดงได้ดังรูปอย่างง่ายทั่วไป (Gerenic format) ดังนี้

ลักษณะของแผนที่นำทางจะประกอบด้วยปัจจัยประกอบที่ถูกจัดกลุ่มตามปัจจัยใน (ด้านล่าง) ออกสู่ปัจจัยภายนอก (ด้านบน) โดยถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในการทำแผนพัฒนาทั้งในระดับหน่วยงาน องค์กร และอุตสาหกรรมโดยมีวัตถุประสงค์/ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่

  1. การเชื่อมโยงกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business strategy) และกลยุทธ์ด้านอื่นเข้าด้วยกัน ส่งผลให้การพัฒนาองค์กรสามารถดำเนินควบคู่กันไปในทิศทางเดียวกันในทุกส่วน
  2. การทำแผนที่นำทางการช่วยให้องค์กรพิจารณาถึงจุดแข็งและให้ความสำคัญในการวางแผนที่จะพัฒนาเสริมสร้างความสามารถให้เหนือกว่าคู่แข่งได้
  3. การมุ่งเน้นถึงลำดับความสำคัญและความต่อเนื่องขององค์ประกอบหรือแผน ทำให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. แผนที่นำทางช่วยผู้บริหารให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรได้ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน การกำหนดทิศทาง และการตัดสินใจ
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรให้เข้าใจได้ตรงกัน
  6. กระบวนการทำแผนที่นำทางสามารถระบุถึงศักยภาพในการนทรัพยากรที่มีอยู่เดิมกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี
  7. การส่งเสริมการมีส่วนร่วม (participation) และความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) ของพนักงานในโครงการต่างๆ

อ้างอิง : thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 605065เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2016 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2016 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท