​พระหินเผาเนื้อครู "พระรอดเนื้อแก้ว"


พระหินเผาเนื้อครู "พระรอดเนื้อแก้ว"

ความรู้ใหม่ ที่น่าจะคิดล่วงหน้าได้ แต่เพิ่งคิดออก หลังจากเห็นของจริง
***********************************
หลังจากเห็นพระรอดเนื้อแก้วมาหลายองค์ และตีเก๊ไปเรียบร้อย เพราะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าเนื้อแบบนี้ก็มี ซึ่งน่าจะเป็นเนื้อหินเผาที่มี ซิลิก้า หรือ ผลึกคว็อทซ์ (ที่เป็นส่วนประกอบของแก้ว) อยู่ในแร่ต้นกำเนิดมาก โดยเฉพาะ ในหินไดโอไรท์ Diorite ที่เป็นหินอัคนีสีเกือบขาว เพราะมีแร่กลุ่มนี้ในสัดส่วนที่มาก เมื่อนำมาบด ปั้น และเผาด้วยความร้อนสูง ก็จะทำให้มวลสารหลอมละลายกลายเป็นเนื้อแก้วได้แบบเดียวกับการทำแก้ว

ตัวชี้วัดว่าเป็นเนื้อแก้วเก่า ก็คือ ผิวเก่า มีความเหี่ยว ชั้นสนิมหลายชั้น หลากแบบ และรอยกร่อนเนียนๆ แบบนุ่มๆของผิว

จึงทำให้มั่นใจได้ว่า เป็นพระรอดลำพูน เนื้อแก้ว จริงๆ

นี่คืออีกหนึ่งกรณีที่มี "ของจริง" เป็นสะพานเชื่อมความรู้ จึงทำให้เราคิดออกและเรียนรู้ได้จริงๆ โดยลำดับ

ที่ยืนยันหลักการของความจำเป็นที่ต้องมีการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น ไม่ใช้วิธีก้าวกระโดด ค่อยๆคิด ค่อยๆเรียนไปทีละขั้น แล้วจะไม่หลงทางครับ

นี่คือเหตุผลสำคัญในการเริ่มจากของแท้ วัสดุแท้ๆ ที่มั่นใจว่าไม่เก๊ ไปตามลำดับ จะทำให้เรียนรู้ได้กว้างและรวดเร็ว

หมายเลขบันทึก: 604967เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2016 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2016 07:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบสวัสดีปีใหม่ไทย กับอาจารย์แสวง ครับ

ด้วยความเคารพ

เรียนถามครับ สามารถนำวัสดุตามธรรมชาติที่มี มาผ่านกระบวนการต่างๆตามขั้นตอน แล้วขึ้นรูปใหม่ถอดพิมพ์ สามารถทำเช่นนี้ได้หรือไม่ครับท่านอาจารย์ฯ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท