​บทวิพากษ์ ข้อเสนอ เพื่อการทำความเข้าใจ "ชื่อกลุ่มพิมพ์" ของพระรอดลำพูน


บทวิพากษ์ ข้อเสนอ เพื่อการทำความเข้าใจ "ชื่อกลุ่มพิมพ์" ของพระรอดลำพูน

*********************************

ในเอกสารตำราพระรอดมหาวันส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน เกิดมาจากการใช้ขนาด และ/หรือ ลำดับการสร้าง และ/หรือ การติดชัดของเส้นสายรายละเอียดขององค์พระ ในการกำหนดชื่อเรียกกลุ่มแม่พิมพ์ต่างๆ ของพระรอดลำพูน

ซึ่งได้กำหนดเป็น 5 กลุ่มพิมพ์ ด้วยกัน คือ กลุ่มพิมพ์ใหญ่ กลุ่มพิมพ์กลาง กลุ่มพิมพ์เล็ก กลุ่มพิมพ์ต้อ และ กลุ่มพิมพ์ตื้น

ที่แน่นอนว่า ชื่อกลุ่มพิมพ์ดังกล่าวทั้ง 5 นั้นแทบจะไม่เกี่ยวข้องกับขนาดขององค์พระเลย แต่การกำหนดชื่อนั้น ได้พยายามสะท้อนมาจากขนาดขององค์พระ และการมีพุทธศิลป์ที่ติดชัดเป็นหลัก

และ สองกลุ่มสุดท้ายคือ รูปร่างขององค์พระที่แตกต่างออกไป ซึ่งมีผลทำให้ขนาดและชื่อเรียก กลุ่มพิมพ์ ไม่สอดคล้องกัน

อันเนื่องมาจาก การกดสร้างแม่พิมพ์ระยะหลังๆ หรือท้ายๆ มิได้ทำให้แม่พิมพ์มีขนาดเล็กลงเพียงอย่างเดียว แต่เป็นไปได้ทุกทิศทาง คือ ทั้งใหญ่ขึ้น เล็กลง สูงขึ้น และกว้างขึ้น รวมทั้งมีการหายไปหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดได้มากมาย ที่น่าจะทำให้เกิดความสับสนกับคนที่พยายามจะเรียนรู้และทำความเข้าใจชื่อเรียกต่างๆ ดังกล่าว

ดังนั้น ถ้าจะใช้ขนาดเป็นตัวแบ่ง ก็ไม่ควรกำหนดการติดชัด หรือในทางกลับกัน ถ้าจะกำหนดการติดชัด ก็ไม่ควรกำหนดขนาด และรูปร่าง

ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร อาจจะใช้สองมิติควบกัน เช่น พิมพ์ใหญ่ติดชัด พิมพ์ใหญ่ติดไม่ชัด เป็นต้น และอาจเพิ่มคำอธิบายเอกลักษณ์ที่สังเกตได้ชัดเป็นพิเศษกำกับไปด้วยก็ได้

และอาจจะใช้ได้ ทั้งในกลุ่มพิมพ์อื่นๆด้วยก็ได้

ซึ่งน่าจะทำให้การสื่อสารชัดเจน มีเหตุผล แยกแยะ และเข้าใจกันง่ายขึ้นกว่าเดิม

หมายเลขบันทึก: 604758เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2016 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2016 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท