พิจารณารูปกายะ กรรมวาจายะ สัจจะวาจายะ ในการทำงานทางโลกธรรมให้รู้ สุข ตื่น เบิกบาน


การเพ่งพินิจที่เดียว สมาธิยาว ใจจดจ่อ กายนิ่งสุขุม สมองความคิดกระตือรือล้น Alerting and monitoring การเปิดรับสิ่งต่างๆด้วยจิตบวก ด้วยความเคารพและตระหนักในคุณค่าสิ่งที่กำลังทำ หรือ ญาณสมาบัติ

พิจารณารูปกายะ(รูปแห่งกายตนเอง)

กรรมวาจายะ(คำมั่นสัญญา หรือองค์ความรู้ที่เกิดจากรู้แจ้งในตนเอง หรือ ปฏิเวธ) และ

สัจจะวาจายะ(ความเที่ยง ความตรง ปราศจากความลังเลสงสัยในตนเอง) ในการทำงานทางโลกธรรมให้รู้ สุข ตื่น เบิกบาน

(Scanning Method) อุปจารสมาธิจิต

...............หรือการพิจารณาจิตให้รู้โลกุตระสมาธิจิต วิธีฝึกตั้งมั่น ก็มีดั่งนี้ ยกจิตตั้งมั่นในผัสสะตา มองเห็นชัด สิ่งเห็นมีความใส(เสมือนมองแก้วเจียรใน) ผ่องแผ้ว ไม่มัวหมอง สาดแสงส่องให้เห็นเด่นชัด นั่นคือ พิจารณาความยาวคลื่นแสงที่กระทบวัตถุแล้วสะท้อน วัตถุบริเวณที่แสงกระทบ สะท้อนสาดแสงมาถึงนัยตาเรา เห็นและอ่านออก ภาพชัดในที เห็นให้ได้ดั่งนี้ เรียก (Scanning Method) อุปจารสมาธิจิต ,ระวังการ จินตนาการด้วยความเชื่อของตัว แต่ให้จินตนาการบนพื้นฐานของความรู้ที่รู้มาอย่างถ่องแท้ ให้จินนาการสร้างภาพด้วยความเข้าใจ การบูรณาการจากการฟังได้ยินแล้วคิดให้เป็นภาพ เห็นได้ดังนี้เรียก (Monitoring System) รูปวัจนสมาธิจิต นั่นเป็นมโนนึกคิดปรุงแต่ง ....

(Monitoring System) รูปวัจนสมาธิจิต

...............มโนนึกคิดปรุงแต่ง...หากใช้ในทางโลก ก็เห็นจะดีตรงที่ ได้เรียนรู้ความเชื่อมโยงของสิ่งๆต่างๆ (พระพุทธเจ้าจะไม่เชื่อมโยงการปฏิบัติงานทางโลกเพราะไม่เที่ยง และไม่ใช่ภาวะหนทางสู่นิพพาน แต่ทางโลก แค่รับรู้แต่ทำได้ แต่ต้องคิดบวกและคิดด้วยเมตตาเป็นนิจ) ทางโลกเราจดจำสิ่งเห็น สิ่งที่ได้ยิน จดบันทึกเป็นเป็นแผนภูมิต้นไม้ เป็นความต่อเนื่องกันในระบบ ความเชื่อมสัมพันธ์กันในวงจร จนจิตเข้าสู่เนกขัมมะสมาธิ คือสภาพจิตที่เห็นทวนกระแสกิเลส ตลอดเวลา อีกสิ่งหนึ่งนอกจากการเห็นการได้ยินแล้วพิจารณาก็คือ ระลึกเสมอว่า บริบทรอบข้างมีผลทำให้ สิ่งที่จดจ่ออยู่แปรปรวนได้ การที่เราพิจารณาบริบทรอบข้างว่า สิ่งที่เราเห็นเราได้ยินมานั้น บริบทแวดล้อมอะไรที่จะสามารถใช้ได้ บริบทแวดล้อมใดที่จะใช้ไม่ได้ คือ (Alerting System) สมยาวาจามะ รับรู้กาละเทศะ รับรู้ฤดูเปลี่ยน รับรับรู้สังคมเปลี่ยน รับรู้เวทนาเปลี่ยน และรีบตื่นตัวเร่งปรับกายและใจให้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลง ...

(Alerting System) สมยาวาจามะ

..............ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ให้ตามรู้บริบทนั้นไป เมื่อถึงเวลาค่อยวางลงพิจารณาความเปลี่ยนแปลงผลกระทบแวดล้อม หรือตัวแปรนอกเหนือจิตเรา ทางโลกคือหลักการบริหารความเปลี่ยนแปลง อาจถึงต้องมีแผนแก้ไขทำทันทีรอไม่ได้ มีแผนฉุกเฉิน แผนเผชิญเหตุเตรียมพร้อมสรรพกำลังทางโลก ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การตัดสินใจที่ถูก ตรง เที่ยงธรรม และมีเหตุผลยั่งยืน แก้ปัญหาที่เหตุแก้ปัญหาระยะยาวได้จบปัญหาได้ ตรงข้ามกับพระพุทธเจ้า ให้พิจารณาบริบทที่มากระทบตัวเรา คือมองจากด้านนอกเข้ามาหาตัวเรา ว่าสิ่งเร้า ใดๆที่ยังทำให้จิตใจไม่นิ่ง กายร้อนรนนั่งอยู่เฉยไม่ได้นาน ลมหายใจแรงเพราะโมหะ หลงคิดถึงสิ่งที่อยากได้จนลืมพิจาณาสิ่งที่สำคัญกว่า ถ้าโลภะ โทสะ โมหะ เกิดในจิตและนิวรณ์กังวลอยู่ เพราะใจ กาย สติ ไปสัมผัสรับรู้สิ่งเร้ามาไม่นาน ทำให้เกิดทุกข์ซ้ำในหัว เรียกทุกข์เวทนา ....

(Stress , Pressure , Fatigue, Ant. Relax )ทุกข์เวทนา....

..............ทุกข์เวทนาทำให้กำลังสมองกำลังใจลดลง ความสามารถของสมองที่จะสดใส ผ่องแผ้ว โล่งสมองไม่เกิด ทำให้ปัญญาไม่เกิด จิตอ่อนกำลัง จิตมัวหมอง จะทำอะไรที่ต้องใช้ปัญญาระดับวิมุติจะเกิดไม่ได้ ประสิทธิภาพการนำองค์ความรู้มาใช้ก็ไม่เต็มที่ ทางธรรมเรียกว่า ไม่เกิดญาณสมาบัติ เพราะจิตหมอง ความจดจ่อกับสิ่งใดๆสิ่งนั้นได้ไม่เต็มที่ เรียกว่าไม่มีสมาธิ หากเกิดผัสสะใดๆมากระทบจิตใจ หรือภาวะไม่ปกติ ภาวะอันตราย ทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดได้ง่าย เพราะโอกาสที่เราจะตัดสินใจได้ถูกเมื่อเกิดภาวะไม่ปกติ หรือผัสสะทางอารมณ์มา กระทบมากดดันจนเครียด(Stress)อย่างรุนแรงนั้น ผู้ที่ไม่ฝึกสติ ให้เข้มแข็ง ย่อมขาดสติและมีโอกาสทำผิดได้มากนั่นเอง จึงสำคัญหากได้รับผลกระทบแบบนี้ ต้องเยียวยาจิตก่อนที่จะทำงานที่สำคัญและอ่อนไหว หรืองานอันตรายมีผลกระทบที่รุนแรงและทั่วถึง แบบนี้ห้ามทำงานสาธารณะ เพราะความเสียหายนั้นเกิดกับหลายชีวิต ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ถ้าเราซื่อสัตย์ต่อตนเอง และเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และมีหิริโอตัปปะสูง เสียสละเยียวยา(Lighten up)ใช้เวลาพิจารณาอุเบกขา จิตว่างเบาก่อนที่จะนำความเสี่ยงอันตรายของตน ไปให้ผู้อื่นร่วมชะตากรรมของตนด้วย

..........ทุกข์เวทนา ที่เกิดจาก Fatigue ความล้าเหนื่อย ความกดดัน ความโกรธ ความกังวล ทำให้ กำลังของสมองที่พินิจ พิจารณากับสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือระบบหนึ่งระบบใด หรือกระบวนการหนึ่งใด จะไม่มีประสิทธิภาพให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุด เพราะกำลังสติน้อย ไม่ก่อให้เกิด ....."การเพ่งพินิจที่เดียว สมาธิยาว ใจจดจ่อ กายนิ่งสุขุม สมองความคิดกระตือรือล้น Alerting and monitoring การเปิดรับสิ่งต่างๆด้วยจิตบวก ด้วยความเคารพและตระหนักในคุณค่าสิ่งที่กำลังทำ หรือ ญาณสมาบัติ" ......ซึ่งจะแก้ไขรักษาได้ด้วย การเยียวยา(Lighten up , Relax) ทั้งทางเหตุทางโลกและเยียวยาจิตใจด้วยการละนิวรณ์ความกังวล ได้ดังนี้คือ


เหตุผลบำบัดสมองซีกซ้าย

1. เยียวยาจิตใจ เรียกสติ เรียกขวัญ สร้างกำลังใจ ด้วยธรรมบำบัด เหตุกระทบในอดีตที่ฝังลึกสู่จิตใต้สำนึก ใช้เหตุผลทางตรรกะทางธรรมชาติ บำบัดสมองซีกซ้ายด้วยความรู้แจ้งแทงตลอด ด้วยธรรมคือมรรค 8 รู้เหตุตรงเข้าดับเหตุ แก้ไขระยะยาวที่สาเหตุ ป้องกันวิตกจริต หรือเวทนาในสัญญาเก่าๆ ด้วยวิธีกระบวนการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หรือศึกษาประเมินกำหนดกระบวนการต่างๆ เช่น การบริหารความเสี่ยงเพื่อให้มั่นใจว่าโอกาสที่จะผิดพลาดอีกนั้น ถูกควบคุมด้วยระบบ มาตรการ และพฤติกรรมและวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยด้วยผู้คนที่ต่างตระหนักทำหน้าที่รับผิดชอบ ด้วยการวิจัยและพัฒนาออกแบบกระบวนการที่มีการกำหนดวิธีขั้นตอนปฏิบัติที่ดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง

จินตนาการบำบัดสมองซีกขวา

2. ใช้ดนตรีบำบัด โดยการฟังดนตรีเพื่อพิจารณาอารมณ์ ที่เกิดจากการได้ยินเสียง บำบัดสมองซีกขวา การได้ยินเสียงจากเครื่องดนตรีที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่นวงออเครสตร้า ทำให้ผ่อนคลายเพราะความยาวของคลื่นเสียง เดินทางเข้ากระทบใบหูกระทบสะท้อนแทรกสอดเสริมความดัง ไปเข้าสู่รูหูซึ่งความยาวของคลื่นเสียงในความถี่ต่างๆ จะมีความยาวคลื่นที่เสียงๆหนึ่งๆนั้นจะยาวเท่าๆกับเส้นประสาทเส้นหนึ่งเส้นใด เมื่อกระทบด้วยความยาวคลื่นเสียงที่ตรงกับความยาวเส้นประสาทในสมองนั้น ก็จะเกิดการสั่นของเส้นประสาท ไปกระตุ้นสมองให้เกิดการรับรู้เสียง การเปลี่ยนเสียงในบทเพลง ก็จะไปกระตุ้นเส้นสมองหลายเส้นได้ทุกขนาดความยาว พิสูจน์ได้ด้วยการกดแตร สมองจะรู้สึกว่าจะสั่นหรือปวดจี๊ดๆตรงสมองที่ปลายประสาทนั้นสั่นเข้าพอดี กดซ้ำอีกก็จี๊ดที่เดิม อย่างเสียงแตรเขาก็ทดลองจนได้มาเป็นเสียงมาตรฐาน ที่มีความถี่ในการกระตุ้นให้สมองเราเ๗้บจี๊ดจนทนไม่ได้ ให้รู้สึกว่าต้องรีบทำอะไรๆเพราะเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย แบบนี้จึงใช้เสียงความถี่ที่กำหนดเป็นมาตรฐาน ในการทำให้เกิดเสียงไซเรนเตือนต่างๆ ที่เราได้ยินรถตำรวจ รถดับเพลิง ก็ถูกวิจัยมาแล้วจนเป็นค่าความถี่เสียงไซเรนมาตรฐาน นั่นเอง

ธรรมชาติและวัฎจักรบำบัดสมองทั้งสองด้าน

3. ธรรมชาติบำบัดผัสสะตาด้วยธรรมชาติวัฎจักรสิ่งมีชีวิต พิจารณาอรูปญาณ การระลึกรู้ชัดเจนได้ว่า ทุกสรรพสิ่งมีรูปสรรพสิ่งแล้วเปลี่ยนแปรสภาพไปตามกาลเวลา หรือจะบริหารการบำบัดเยียวยา สมองสองข้างพร้อมกันให้ ออกธุดงค์นั่งสมาธิ ทัศนศึกษา แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ทางโบราณคดี ทางพุทธศาสตร์ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สวดมนต์ทำนองเสนาะ(ต้องรู้ความหมายบทสวด) ร้องเพลงปลุกใจ(สัญญาปฏิธาน)แต่งกลอนทำนองเสนาะสอนใจ แสดงลำตัดด้นสดสอนใจ แสดงเพลงแร้บด้นสดสอนใจ แต่งเพลงสอนใจ แต่งละครสอนใจ สอนใจในที่นี้คือต้องมีเหตุผล และเป็นสิ่งที่เป็นความรู้ ยังประโยชน์ให้กับผู้ได้ยินได้อ่านได้ตระหนักรู้ ได้แง่คิด ได้หลักธรรมสอนใจ แบบนี้เป็นต้น อีกอย่างที่เราสามารถทำได้ง่ายๆก็คือ ปลูกต้นไม้ หรือทำสวน แล้วพิจารณาการเกิดดับศึกษาการเลี้ยงดูพืชพรรณต่างๆ แต่ต้องไม่ยึดติดความสวยงามจนเกิดกิเลสราคะคือหลง ให้รับรู้ว่าชอบๆ แต่สามารถปล่อยวางได้ในทุกขณะ วางได้ทันทีเพราะรู้รูปขันธ์ 5 เท่านั้นเอง เป็นต้น

อารมณ์ต่างๆที่ทำลายสมาธิ

............ให้ภาวนาหรือฝึกด้วย พิจารณาอารมณืที่ไม่เป็นสมาธิ เพราะได้รับผัสสะมาไม่นาน ยังนิวรณ์ อยู่ ต้องพิจารณา 4 อย่าง ให้เข้าใจถ่องแท้ หรือเข้าถึง(สมาบัติ) ได้แก่

1.อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์

2.วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์

3.อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์

4.เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับ ทราบอะไรเลยเป็นสำคัญ

........พิจารณาได้ดั่งนี้ จะทำงานอะไรย่อมทำด้วยเหตุผล ทำถูกต้อง ไม่ทำด้วยอารมณ์ที่ไม่นิ่ง ที่ห่วงที่กังวลอยู่ พูดง่ายๆคือ ไม่มีสมาธิที่จะทำอะไรอย่างจดจ่อแน่วแน่ แก้ปัญหาเรื่องสมาธิสั้น ยกระดับ EQ เหตุเกิดอารมณ์มาผัสสะเพราะใจมันจะเขวไปนึกถึงสิ่งที่ยังห่วงยังกังวล หรือจิตใต้สำนึกมันส่งสัญญาน ความจำได้ในอดีตชั่ววูบเข้ามาได้บางขณะนั่นเอง

.....................................................

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔

ภปจ. สมยาวาจามะ , ตื่นตัว เบิกเนตรล้างหน้าล้างตาตอนเช้าตื่นนอนมา นวดตา ก่อนที่จะปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอื่น (ภปจ.ภารกิจปฏิบัติประจำ)

.................................................................................................................................

ที่มา วิธีปฏิบัติในอรูปณาน : http://www.larnbuddhism.com/grammathan/arupashan.h...

วิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะ รวม ๔ อย่างด้วยกัน

อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่ อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญสำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริง ตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือ ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่างเป็นสำคัญ

อานิสงส์อรูปฌาน

ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌานที่ได้ แล้วยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้ อรูปฌานนี้แล้วเมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็น พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือ มีคุณสมบัติพิเศษเหนือจากที่ทรงอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และคุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ

ปฏิสัมภิทา ๔

  1. อัตถปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ ท่านอธิบายมาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัด ไม่เสียความ
  2. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้ พิสดารเข้าใจชัด
  3. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่าง อัศจรรย์
  4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่าง อัศจรรย์

ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้ ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญาแล้วท่านมาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌานคือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึงจตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่าน ที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้วจึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้

ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับ ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอาโลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันทีในสมัยที่เป็นฌานโลกีย์ ส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรงปฏิสัมภิทาไม่ได้ ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะปรากฏ บังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

........................................................

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/604663

หมายเลขบันทึก: 604754เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2016 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2016 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท