องค์กรนวัตกรรมแบบสุกๆ ตอนที่ 2


เรามาลองดูกันว่าองค์กรนวัตกรรมแบบสุกๆ จะมีลักษณะประมาณไหน (ต่อจากตอนที่แล้ว)

  • มีการนำข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ในอดีตมาใช้ในการวางแผนใหม่ได้เป็นอย่างดี ทำให้ลดข้อผิดพลาดได้มาก และสร้างโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆแก่องค์กร
  • มีกระบวนการจัดหาองค์ความรู้หรือข้อมูลให้แก่พนักงานเพื่อใช้ในการพัฒนางานใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา มีการคัดกรองความรู้ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  • มีการกระจาย ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่พนักงานได้อย่างทั่วถึง รวมถึงการอนุญาตให้พนักงานเข้าถึงความรู้ที่จัดเก็บไว้อย่างเต็มที่และเป็นระบบ
  • องค์กรมีกระบวนการคัดเลือกพนักงานโดยพิจารณาบทบาทความรับผิดชอบร่วมกับความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และใช้เทคนิคการคัดเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีกระบวนการหมุนเวียนพนักงานในองค์กรเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ โดยมีการเตรียมความพร้อมแก่พนักงานเป็นอย่างดี
  • กิจกรรมด้านนวัตกรรมถูกนำมาพิจารณาในการประเมินผลงานของพนักงานร่วมกับการประเมินจากผลสำเร็จของงาน โดยมีการบริหารจัดการระบบที่ดีและสอดคล้องกับบริบทขององค์กร เสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
  • มีการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมแก่พนักงาน โดยได้รับการวางแผนมาเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปก่อให้เกิดประโยชน์และจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • องค์กรมีการให้รางวัลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการในการคัดเลือกแนวคิดด้านนวัตกรรมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งรางวัลที่กำหนดขึ้น สามารถสร้างแรงกระตุ้นได้เป็นอย่างดี
  • หัวหน้างานมองความสำเร็จของโครงการ โดยสามารถยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ โดยสามารถนำข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนรู้ และกระตุ้นให้พนักงานแก้ไขข้อผิดพลาดในโอกาสต่อๆไปได้
  • หัวหน้างานมีการทำงานในลักษณะการให้คำปรึกษา สืบค้นและอธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • หัวหน้างานมีความสนใจในการทดลองแนวคิดใหม่ๆ อนุญาตให้พนักงานได้สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ในเวลางานได้ รับความคิดเห็นหรือมีเวทีการระดมความคิด มีความพยายามกระตุ้นให้พนักงานคิดนอกกรอบที่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทำงาน
  • พนักงานสามารถอภิปรายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้อย่างเป็นอิสระ หัวหน้างานยอมรับทุกความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และมีโอกาสทำให้เกิดนวัตกรรมใหม

อ้างอิง : thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 604748เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2016 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2016 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท