การพิจารณาสติในการทำงานการเรียนการศึกษาทางโลก


การพิจารณาวิธีคิดตนเองทางตะวันตก ก็มีทฤษฎีอยู่ แต่สังเกตุว่าพระพุทธเจ้า ได้พิจารณาได้ละเอียดย่อยลงไปอีก เพราะมีตัวแปรหนึ่ง คืออารมณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของจิตในสภาวะต่างๆ เป็นตัวแปรที่ทางตะวันตก ไม่ได้นำมาคิดคำนวณในสูตรด้วย เพราะเป็นตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ ทางตะวันตกเขาให้ตัดตัวแปรพวกนี้ทิ้งแต่ในทางธรรมไม่ตัดทิ้งเพราะ เจตนาแสดงให้ผู้ที่หลงในอารมณ์ได้พิจารณากำหนดรู้ และออกจากห้วงวัฎสงสารต่อได้ หรือการเผื่อแผ่ธรรมะหรือความจริงแท้ให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง

การพิจารณาสติในการทำงานการเรียนการศึกษาทางโลก

การพิจารณาสติในการทำงานการเรียนการศึกษาทางโลกหรือการกำหนดอาปาณานุสติทางโลก ทางอวิชชา จริงๆแล้วอวิชชาฟังดูไม่น่าเรียนรู้ แต่จริงๆมนุษย์วัยทำงานต้องเรียนรู้ ข้อเสียของอวิชชาคือความไม่เที่ยง หมายความว่าเราศึกษาได้ เพียงแต่เราต้องขวนขวายหมั่นเพียรศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้เพิ่มเติมให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง นั่นคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าเรียกความรู้พวกนี้ว่าอวิชชา เพราะมันจะล้าสมัย ไม่เป็นจริง ณ เวลาผ่านไประยะหนึ่ง หรือทันสมัยขณะเรียนแต่จะล้าสมัยใช้ไม่ได้ไม่มีประโยชน์เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะเกิดทฤษฎีใหม่ๆ กระบวนการกลไกใหม่ๆมาทดแทน มาเสริม เพิ่มเติม ซึ่งตรงข้ามกับ หลักวิชาที่พระพุทธเจ้าสอน คือศาสตร์ของปรมัติ คือการพิจารณาสติ ให้เกิดปัญญาญาณ

พิจารณาอารมณ์ รูปกาย ความเสื่อม หรือกลไกการดำรงชีวิตมนุษย์ วัฏจักรการเจริญเติบโตของมนุษย์ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเสื่อมแห่งสังขาร ความโลภ โกรธ หลง นี้คือคือหลักความจริง ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไป

การพัฒนาการทางชาติตะวันตก

จะพิจารณาจากองค์ความรู้ภายนอกเข้ามาเพื่อสนองความต้องการตนหรือองค์กร เพราะมีวิธีคิดเป็นเหตุเป็นผลเป็นที่ตั้งจะพิจารณาศึกษาวิทยาศาสตร์ ศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สามารถทดลองทางกลไกวิทยาศาสตร์ หรือให้ความสำคัญกับ สิ่งที่มีผลกระทบต่อการทดลองที่วัดได้ ตรวจสอบด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้สรุปการพิสูจน์ในการทดลองให้เป็นสูตรๆคำนวณต่างๆเปลี่ยนตัวแปรอย่างไรก็เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มตรงกันได้แบบนี้ถึงจะเป็นที่ยอมรับมากกว่า

การกำหนดอารมณ์จากภายในกลไกตนเอง

การพิจารณาวิธีคิดตนเองทางตะวันตก ก็มีทฤษฎีอยู่ แต่สังเกตุว่าพระพุทธเจ้า ได้พิจารณาได้ละเอียดย่อยลงไปอีก เพราะมีตัวแปรหนึ่ง คืออารมณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของจิตในสภาวะต่างๆ เป็นตัวแปรที่ทางตะวันตก ไม่ได้นำมาคิดคำนวณในสูตรด้วย เพราะเป็นตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ ทางตะวันตกเขาให้ตัดตัวแปรพวกนี้ทิ้งแต่ในทางธรรมไม่ตัดทิ้งเพราะ เจตนาแสดงให้ผู้ที่หลงในอารมณ์ได้พิจารณากำหนดรู้ และออกจากห้วงวัฎสงสารต่อได้ หรือการเผื่อแผ่ธรรมะหรือความจริงแท้ให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง

Human Factor - ผัสสะ อายตนะ พฤติกรรมมนุษย์ล้วนเกิดจากผัสสะในอดีตกำหนดพฤติกรรม หรือวิธีคิดเมื่อกระทบสิ่งเร้าในปัจจุบัน


คนขลาด เกิดอกุศลจิตคือความกลัว กลัวว่าจะเหนื่อย กลัวผิดหวัง กลัวเสียใจ กลัวเจ็บ เพราะสมัยอดีตถูกเร้ามาให้ไม่เข้าใจเหตุผล เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง จึงเกิดกระแสต่อต้านด้วยอารมณ์คืนกลับ(Anty เหตุผล ต่อต้านกฏเกณฑ์ที่สร้างอย่างมีเหตุผลของคนส่วนใหญ่ Anty Authority) เพราะจิตใต้สำนึกตอนเด็กถูกกดดันให้จดจำไปแล้ว ว่ากลัว เพราะสมัยเด็กเราสอนเด็กด้วยการขู่ให้กลัว แทนที่จะเน้นการมีเหตุผล คือสมองซีกซ้ายเป็นหลัก

5 Hazard Attitude - ความหลงอุปจารสมาธิจิต และ Behavior โพชฌงศ์ (สติ ,ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม , วิริยะ ความเพียร ,ปีติ ความอิ่มใจ , ปัสสัทธิ ความสงบ ,สมาธิ จิตตั้งมั่น , อุเบกขา ความวางเฉย


Scanning Method - อุปจารสมาธิจิต ,

Monitoring System รูปวัจนสมาธิจิต ,

Alerting System สมยาวาจามะ ,

Fatigue ญาณสมาบัติ

พึงแก้ด้วย พิจารณาอารมณืที่ไม่เป็นสมาธิ เพราะได้รับผัสสะมาไม่นาน ยังนิวรณ์ อยู่ ต้องพิจารณา 4 อย่าง ให้เข้าใจถ่องแท้ หรือเข้าถึง(สมาบัติ) ได้แก่ อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์ วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับ ทราบอะไรเลยเป็นสำคัญ พิจาณาได้ดั่งนี้ จะทำงานอะไรย่อมทำด้วยเหตุผล ทำถูกต้อง ไม่ทำด้วยอารมณ์ที่ไม่นิ่ง ที่ห่วงที่กังวลอยู่ พูดง่ายๆคือ ไม่มีสมาธิที่จะทำอะไรอย่างจดจ่อแน่วแน่ หรือสมาธิสั้น เพราะใจมันจะเขวไปนึกถึงสิ่งที่ยังห่วงยังกังวลนั่นเอง

แต่ทฤษฎีทางตะวันออกพิจารณาจากตัวเราหรือสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช วัฏจักรธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมสิ่งต่างๆที่มีผลกระทบหลักต่อ แห่งกาย รูป วัฏจักร วัฏสงสาร ชีวะวิทยา เป็นที่ตั้ง เป็นที่ตั้ง นั่นเอง จึงไม่แปลกใจ ที่เหตุใด พัฒนาการทางแพทย์ศาสตร์ ทางพุทธศาสตร์ ทางองค์ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านองค์ความรู้จากทฤษฎีของพ่อหลวง ของไทยจึงได้รางวัลระดับโลกมาตลอด เพราะการพิจารณาเรียนรู้ทางธรรมชาติด้วยการพิจารณาด้วยความละเอียดของวัฎจักรสิ่งมีชีวิตนั่นเอง ที่ทำให้ก่อให้เกิดทฎษฎีที่ยั่งยืน คือสามารถ วิเคราะห์ วิธีการเปลี่ยนตัวแปรให้เข้ากับ สูตรสำเร็จ ในด้านต่างๆได้

พูดง่ายก็คือ หากตัดตัวแปรทิ้งเราอาจจะมี ข้าวพันธ์ ก อย่างเดียวกิน แต่หากเปลี่ยนตัวแปรไปให้เหมาะกับสูตร ไปจนได้ตัวแปรที่เหมาะกับ สภาพความแตกต่าง วันนี้เราถึงได้รู้ว่า ข้าวแบบใด เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแบบใดดินแบบใด ซึ่งการพัฒนาทางธรรมชาติล้วนยั่งยืน คือสภาพแวดล้อมมันเปลี่ยนแปลงน้อย ทฤษฎีมันจึงยั่งยืนยาวนานมากกว่าทางอื่น อีกทั้งเลือกการพัฒนาที่มีผลต่อความจำเป็นคือปัจจัย 4 ด้วย ทุกชีวิตจึงต้องพึ่งทฤษฎีนี้เพื่อความอยู่รอด เทคนิคคือทางตะวันตกเขา Fixed ตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้เช่น อุณหภูมิ ความชื้น เพื่อให้การพิสูจน์ด้านอื่นสำเร็จในห้องทดลอง แต่พ่อหลวงใช้พื้นที่จริงในการทดลอง คือเปลี่ยนตัวแปรที่ฝรั่งเขาไม่เปลี่ยน ทำให้เกิดทฤษฎีแตกแขนงไปอีกกับพื้นที่ๆเหมาะสม ทำให้ใช้ได้ในทุกพื้นที่ เป็นประโยชน์กับทุกกลุ่มเป้าหมายทุกสภาพความเป็นอยู่ในทุกสังคมทุกหมู่บ้าน

การทำงานเรากำหนดระลึกสติ ได้แก่

สัมปชัญญะ หมายถึงความรู้ตัว

เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ เป็นธรรมที่เอื้อกับสติ ที่อยู่ 4 ลักษณะ

สาตกสัมปชัญญะ - Plan+Probabilities คือสัมปชัญญะที่กำหนด พิจารณาก่อนที่จะทำ

จะพูด สิ่งใดๆ ที่เหมาะสมกับเวลา สถานที่ ว่าพึงทำ พึงพูด เช่นไร (อนาคต)

โคจรสัมปชัญญะ - Do +Check คือสัมปชัญญะที่กำหนดรู้ในปัจจุบัน

ในการกระทำใดๆ ว่าทำสิ่งใดอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหวเช่นไร (ปัจจุบัน) ในมหาสติปัฏฐาน กายานุปัสสนา นั้น หมายถึงโคจรสัมปชัญญะนี้

สัมปายสัมปชัญญะ SMS - Fatigue weary คือสัมปชัญญะที่อาการจิตที่ไม่มีทุกขเวทนามาก

จนขันธ์ทำงานได้ปกติดี เช่นคนมีทุกข์มากย่อมขาดสติได้ ผู้ที่ทุกข์น้อยก็อาจคุมสติได้ดีกว่า

สัมโมหสัมปชัญญะ - Action + Responsibilities + Re liabilities - คือสัมปชัญญะที่กำหนด รู้สิ่งที่ผ่านมาเคยทำ คำสอนในอดีตที่พึงใช้ รู้ว่าเราเป็นใครมีหน้าที่อะไร สิ่งที่เคยพูดให้สัญญาเอาไว้เช่นรู้ตัวว่าเราเป็นพระพึงรักษาวินัย รู้ตัวว่าละครที่ดูเป็นเพียงการแสดง เราเป็นเพียงคนดูหนังอยู่ คนเราต้องแก่เป็นธรรมดา เท่านั้น (อดีต) เสมอต้นเสมอปลาย เพราะสัญญาจะเกิดเมื่อสติระลึกสิ่งนั้นมาตลอด เป็นระยะเวลานาน ภาวะปกติและไม่ปกติโอกาสทำได้ถูกต้องสูง นักบินจะไม่เปลี่ยนTypeเครื่องบ่อย เพราะเวลาไม่ปกติจะทำอย่างที่เคยทำเพราะสติติดกับสัญญา หรือความเคยชินนั่นเอง

.............................................
สัมปชัญญะเมื่อใช้กับการเจริญสติ
..................................................

1. สาตถสัมปชัญญะ

การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นประโยชน์หรือไม่ ? เห็นไตรลักษณ์ได้หรือไม่ ? - System Thinking - ข้อมูลที่รู้ว่าขาดความน่าเชื่อถือ Validities+ ไม่รู้อย่างถ่องแท้ปฏิเวธ -เกิดวิจิกิจฉา จนเกิด Macho ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่นและเกิด Resignation ทำผิดไม่คิดว่าสาเหตุบางอย่างหรือสาเหตุหลักเกิดจากเรา ตามมา

2. โคจรสัมปชัญญะ

การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้ปรากฏในปัจจุบัน เกิดขึ้นเอง หรือได้นึกคิดปรุงแต่งสร้างขึ้น เห็นปัจจุบันหรือไม่ ? Check- Assessment - Mgt. of Change + ไม่ใช้เหตุผลวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ตรรกะ ธรรมชาติ พิจารณา มิใช่อารมณ์พิจารณาสติ

3. สัปปายะสัมปชัญญะ

การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นที่สบายแก่จิตแก่จริตหรือไม่ ? เป็นการพยายามควบคุมการกำหนดสติ จดจ่อเกินไปเคร่งเครียด หรือปล่อยรู้สบายตามธรรมชาติ - SMS - Strees - Error เมื่อเกิดภาวะไม่ปกติโอกาสทำผิดสูง

4. อสัมโมหะสัมปชัญญะ

การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นสมมติบัญญัติ หรือเป็นปรมัตถ์ เห็นรูปนามหรือไม่ ? - System Thinking - ข้อมูลที่รู้ว่าขาดความน่าเชื่อถือ Validties /ที่มาถูกต้อง , ข้อมูลถูกต้อง , ข้อมูลเป็นปัจจุบัน + ไม่รู้อย่างถ่องแท้ปฏิเวธ + Invulnerability ประมาท +Macho ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่น + Resignation ทำผิดไม่คิดว่าสาเหตุบางอย่างหรือสาเหตุหลักเกิดจากเรา คิดว่าสิ่งอื่นเป็นสาเหตุหลักและรอง จุดบอดตนเอง + ไม่ใช้เหตุผลวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ตรรกะ ธรรมชาติ พิจารณา มิใช่อารมณ์พิจารณาสติ

หมายเลขบันทึก: 604663เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2016 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2016 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท