เทา-งามสัมพันธ์ ครั้งที่ 19 : ก่อนการเดินทางสู่การเรียนรู้ (อีกครั้ง)


เป็นการบ่มเพาะผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เน้นการลงมือทำจริงร่วมกันอย่างเป็นทีม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง หลังกิจกรรมต่างๆ ได้ยุติลงแล้วนั่นแหละ จึงจะเห็นผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม

จากบันทึกที่แล้ว...เทา~งามสัมพันธ์ ครั้งที่ 19 : ก่อนการเดินทาง (ปฐมนิเทศ)

นอกจากข้อสอบปรนัยแล้ว ยังมีประเด็นคำถามอีก 2 คำถาม คือการให้นิสิตแต่ละคนเขียนสะท้อนความคิด

  • นิยามความหมายของโครงการเทา-งามสัมพันธ์
  • ความเกี่ยวโยงระหว่างโครงการเทา-งามสัมพันธ์ กับหมุดหมายการบ่มเพาะนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ว่าด้วยเรื่องปรัชญาและเอกลักษณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนอัตลักษณ์และค่านิยมของนิสิต



จริงๆ ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนมากมายนัก ผมแค่อยากประเมิน “ความรู้ความเข้าใจ” ของนิสิตที่มีต่อโครงการฯ เสมือนการกระตุ้นให้นิสิตได้ “เรียนรู้ตัวเอง” (รู้ตัวตนโครงการ) และฝึก “ทักษะการคิด”เชื่อมโยงการเรียนรู้โครงการฯ ไปสู่เป้าประสงค์ของการบ่มเพาะความเป็นนิสิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย กับสังคม หรือกระทั่งสังคมโลก

ใช่ครับ-ผมคิดเช่นนั้นจริงๆ คิดเพราะต้องการที่จะประเมินองค์ความรู้และทักษะของนิสิต เป็นการประเมินเพื่อให้นิสิตได้รู้ตัวเอง โดยอาศัยกระบวนการของการทำแบบทดสอบ (แบบสอบถาม/ข้อสอบ) ซึ่งน่าจะดีกว่าการบรรยาย-พร่ำพูด หรือบอกกับนิสิตไปตรงๆ ว่า ...

  • เทา-งามสัมพันธ์ คืออะไร
  • และเทา-งามสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับกลยุทธการพัฒนานิสิตอย่างไร




แน่นอนครับ- นี่คือการถามทักเพื่อให้นิสิตได้แสดงความคิดออกมาแบบ “ไม่มีผิด ไม่มีถูก" (เสียทั้งหมด) จากนั้นผมจึงค่อยๆ หยิบจับมาประมวลและขมวดเป็นบทสรุป พร้อมๆ กับการขยายความ หรือ เติมเต็มให้กับนิสิต

และนี่คือส่วนหนึ่งอันเป็นความคิดของนิสิตที่มีต่อประเด็นคำถามที่ผมถามทักไป

มีความหมายใดในโครงการเทา-งามสัมพันธ์ ครั้งที่ 19

  • คือ การพัฒนาชีวิต
  • คือ จิตอาสาพัฒนาชุมชน
  • คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมจิตอาสา
  • คือ กระบวนการร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์
  • คือ การเชื่อมความสัมพันธ์ของสถาบันเครือข่าย 5 สถาบัน
  • คือ การเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละสถาบัน
  • คือการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ในการจัดกิจกรรมนิสิตและการดำเนินชีวิต
  • คือ นิสิตกับการนำความรู้ไปพัฒนาชุมชน
  • คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตกับชุมชน
  • คือ การบ่มเพาะทัศนคตินิสิตในเรื่องการช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งของชุมชน
  • คือ กระบวนการบ่มเพาะจิตอาสาแก่นิสิต
  • คือ กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมจิตอาสา
  • คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมบริการสังคม






ความเกี่ยวโยงระหว่างโครงการเทา-งามสัมพันธ์ กับกลยุทธการพัฒนานิสิต มมส

  • เป็น การสร้างโอกาสให้นิสิตได้บริการสังคม / บริการวิชาการแก่สังคม
  • เป็น การบ่มเพาะนิสิตให้มีจิตอาสา และช่วยเหลือชุมชนและสังคม
  • เป็น ระบบการทำงานในเชิงการพัฒนาชุมชน
  • เป็น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตกับชุมชน
  • เป็น การส่งเสริมให้นิสิตได้มีทักษะในการคิดเรื่องการทำงานเพื่อสังคม
  • เป็น การแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

นอกจากนั้นทีมงานในกลุ่มงานกิจกรรม ยังได้สะท้อนผลของการประเมินความคาดหวังของนิสิต (BAR) ให้ได้รับรู้ร่วมกัน เช่น

  • เพื่อแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม
  • เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์/กระบวนการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
  • เพื่อสานสัมพันธ์/สร้างสัมพันธภาพระหว่างนิสิตกับบุคลากรในเครือเทา-งาม
  • เพื่อพัฒนาตนเองผ่านการทำกิจกรรม
  • เพื่อฝึกการทำงานอย่างเป็นทีม
  • เพื่อสร้างแรงจูงใจเรื่องการศึกษาต่อให้แก่นักเรียน
  • เพื่อต่อยอดโครงการเทา-งาม ครั้งที่ 20




แน่นอนครับ- ทุกคำตอบ หรือทุกข้อคิดเห็นของนิสิต ผมยืนยันว่าไม่มีผิดไม่ถูกเสียทั้งหมด ทุกอย่างคือการเรียนรู้ ทุกอย่างคือกระบวนการบ่มเพาะความเป็นนักเรียนรู้แก่นิสิต

ใช่ครับ เป็นการบ่มเพาะผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เน้นการลงมือทำจริงร่วมกันอย่างเป็นทีม

หากเป็นเช่นนั้นจริง หลังกิจกรรมต่างๆ ได้ยุติลงแล้วนั่นแหละ ถึงจะเห็นผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิยามความหมาย –ความสัมพันธ์ของกิจกรรมกับหมุดหมาย/กลยุทธการพัฒนานิสิต รวมถึงผลลัพธ์ที่ว่าด้วยการบรรลุความคาดหวังก่อนการเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งในระดับบุคคลและทีม

ซึ่งทั้งปวงนั้น คนที่จะให้คำตอบในเรื่องเหล่านี้ เป็นใครอื่นไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะยังไงๆ นิสิตเองนั่นแหละคือคนที่จะต้องให้คำตอบกับตัวเอง หรือกระทั่งการให้คำตอบต่อระบบที่สร้างและหนุนเสริมให้พวกเขาได้มีโอกาสไปเรียนรู้ผ่านเวทีดังกล่าว !

มิใช่ทำแล้วก็ตอบโจทย์การเรียนรู้ไม่ได้ หรือทำแล้วก็เหมือนไม่ทำ ตอกย้ำว่า "ทำแล้วไม่เกิดการเรียนรู้" อย่างน่าเจ็บใจ



หมายเหตุ

  • จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ณ อาคารพัฒนานิสิต
  • ภาพ : อติรุจ อัคมูล รุ่งโรจน์ แฉล้มไธสงค์ สุริยะ สอนสุระ พนัส ปรีวาสนา
หมายเลขบันทึก: 604544เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2016 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 05:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเป็นกำลังใจให้คนทำงานจ้าา


-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาร่วมเรียนรู้ครับ

-"บ่มเพาะ ความคิด"

-เป็นกำลังใจให้ครับ..

-เช้านี้ชมรายการทาง thai pbs

-ได้แนวคิดจากอาจารย์ มมส..

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท