เทา~งามสัมพันธ์ ครั้งที่ 19 : ก่อนการเดินทางสู่การเรียนรู้ (ปฐมนิเทศ)


แทนที่ผมจะมาบรรยาย หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับนิสิต หรือระหว่างนิสิตกับนิสิต ตรงกันข้าม ผมตัดสินใจใช้รูปแบบของการ "สร้างแบบทดสอบ" (ข้อสอบ) ขึ้นมาแทน โดยให้นิสิต เจ้าหน้าที่ หรือกระทั่งผู้บริหารได้ลองทำดู


วันนี้ มีโอกาสเป็นวิทยากรเตรียมความพร้อมนิสิตที่จะเข้าร่วมโครงการเทา~งานสัมพันธ์ครั้งที่ 19
การเตรียมความพร้อมที่ว่านี้ เรียกโดยทั่วไปก็คือ "ปฐมนิเทศ" นั่นแหละครับ

ผมปิดเวทีถามทักกว้างๆ เช่น ชวนนิยามความหมายของคำว่า จิตอาสา จิตสาธารณะ ถามทักจุดมุ่งหมายของการไปเรียนรู้ ถามทักถึงประสบการณ์ขอแต่ละคนว่าใครเป็นน้องใหม่ที่กำลังจะเข้าร่วม และใครผ่านเวทีนี้มาบ้างแล้ว รวมถึงการพยายามสะท้อนให้เห็นว่าโครงการดังกล่าวนี้ คือกระบวนการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความเป็นอาสาสมัคร / จิตสาธารณะ หรือจิตอาสา นั่นเอง



ปรับเปลี่ยนวิธีการ : จากกระบวนการ สู่การทำแบบทดสอบ

ครั้งนี้ แทนที่ผมจะมาบรรยาย หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับนิสิต หรือระหว่างนิสิตกับนิสิต ตรงกันข้าม ผมตัดสินใจใช้รูปแบบของการ "สร้างแบบทดสอบ" (ข้อสอบ) ขึ้นมาแทน โดยให้นิสิต เจ้าหน้าที่ หรือกระทั่งผู้บริหารได้ลองทำดู

สำหรับเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในข้อสอบ ก็หลอมรวมจากสิ่งที่นิสิต หรือเจ้าหน้าที่จะต้องใช้เป็น "องค์ความรู้" หรือ "เครื่องมือ" ในการเรียนรู้แทบทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น

  • ความหมายและสถานะของโครงการฯ ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมนอกหลักสูตร (extracurricular) และกิจกรรมในหลักสูตร (curricular)
  • พันธสัญญาหลักของโครงการฯ ที่สัมพันธ์กับการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ว่าด้วยกิจกรรมการบริการสังคม และการพัฒนาองค์กร บุคลากร
  • กรอบแนวคิด/เครื่องมือของการเรียนรู้ เช่น 21 st Century Skills, Participation, Community based learning, Service learning, Learning by Doing, Storytelling, PDCA, BAR & AAR, Project based learning
  • สำนวน/คำพังเพย/สุภาษิตของการเรียนรู้ เช่น Action speaks louder than words, Where there’s a will, there’s a way, There is a black sheep in every flock, When in Rome, do as Romans do.




เฉลยแบบทดสอบแบบมีส่วนร่วม : บันเทิงเริงปัญญา


เสร็จจากการทำแบบทดสอบ ก็ถึงกระบวนการ "เฉลย"

ผมให้นิสิตเลือกเองว่า จะตรวจเอง หรือสลับให้เพื่อตรวจ ซึ่งนิสิตยืนยันว่าจะ "ตรวจเอง" - โดยผมก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ได้สะท้อนว่า การตรวจข้อสอบด้วยตนเองเช่นนี้ คือการชั่งวัด "ความซื่อสัตย์" ในตัวเอง ห้ามมิให้แก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น

ส่วนเจ้าหน้าที่นั้น ผมหยิกแซวให้แลกกับนิสิต หรือสลับกันตรวจกับนิสิต เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน เช่นเดียวกับกระบวนการเฉลย ผมก็จะอ่านทีละข้อ ชวนให้อภิปราย ชวนให้ยกมือ "ใครตอบข้อนี้บ้าง...." (ประมาณนี้) แต่ทั้งปวงเน้นความเฮฮา หยิกหยอกให้สนุกสนาน ซึ่งก็มีใจที่กระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามครรลอง "บันเทิงเริงปัญญา"

  • ผลปรากฏว่า กึ่งหนึ่งผ่าน อีกกึ่งหนึ่งไม่ผ่าน คะแนนสูงสุด คือ 11 จาก 14 ข้อ และที่สูงสุดก็มาแบบเหนือความคาดหมาย เรียกได้ว่าม้านอกสายตา และมหัศจรรย์อย่างที่สุด (555) นั่นก็คือ เจ้าหน้าที่ที่มีชื่อว่า "นัวเนีย" (ณัฐภูมินทร์ ภูครองผา) เพราะมาแบบเงียบๆ เนียนๆ หักปากกาเซียนพังไปหลายด้ามเลยทีเดียว


ณัฐภูมินทร์ ภูครองผา




ฝึกนิยามความหมาย : เชื่อมโยงเข้าสู่หมุดหมายการเรียนรู้ของ มมส

ในแบบทดสอบครั้งนี้ ไม่ได้มีเฉพาะปรนัยเท่านั้น ผมยังมีคำถามให้นิสิต เจ้าหน้าที่และผู้บริหารเขียนเพิ่มเติมอีก 2 ข้อ คือ "นิยามความหมายของโครงการเทา-งามสัมพันธ์" โดยให้นิยามเป็นวาทกรรม/วลีสั้นๆ ในแบบความคิดรวบยอด

เช่นเดียวกับอีกข้อให้เขียนบรรยาย หรืออธิบายว่า โครงการเทา-งามสัมพันธ์ เกี่ยวโยงกับความเป็นมหาวิทยาลัยที่ว่าด้วยเรื่องปรัชญา /เอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์นิสิต/ค่านิยมนิสิต อย่างไรบ้าง






ครับ-นี่คือเรื่องราวเล็กๆ ของการเตรียมความพร้อมแก่นิสิตก่อนออกสู่การเรียนรู้จริงร่วมกับสถาบันอื่นๆ อีก 4 สถาบัน ซึ่งผมเปลี่ยนกระบวนการจากการบรรยาย และกิจกรรมกลุ่มมาสู่การเรียนรู้ร่วมกันผ่านแบบทดสอบ รวมถึงกระตุกกระตุ้นให้นิสิตทบทวนตัวเองให้ได้มากที่สุด (รู้ตัวตนโครงการ) พร้อมๆ กับการสร้างบรรยากาศในแบบบันเทิงเริงปัญญาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะพึงกระทำได้

ซึ่งถ้าไม่เข้าข้างตัวเองนัก ก็ถือว่า ง่ายงาม สนุก ได้ครบรสในแบบบันเทิงเริงปัญญาอย่างไม่ผิดเพี้ยน





หมายเหตุ :
1.ภาพ : อติรุจ อัคมูล
2.เก็บตกวิทยากร วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หมายเลขบันทึก: 604406เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2016 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2016 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สั้นมาก ผิดวิสัย ๕ ๕ ๕ ๕

พูดในสิ่งที่ทำ ย้ำในสิ่งที่มี

ใช่ครับพี่หมอ ธิ

ผมเจตนาขึ้นเรื่องนี้ไว้ ก่อนขึ้นเวทีบรรรยาย และเจตนาจะให้นิสิตเข้ามาสรุปการเรียนรู้ร่วมกันภายในวันสองวันนี้

ขอบพระคุณนะครับที่สังเกตการณ์/จับอาการสไตล์ผม 555



พงศธร แซ่คู

... พูดในสิ่งที่ทำ ย้ำในสิ่งที่มี
วาทกรรมนี้คุ้นๆ นะครับ 55
สรุปวาทกรรมนี้ หมายถึงอะไร ครับ

เป็นการจัดกิจกรรมที่ครบกระบวนการเลยครับ

ได้ทั้งสาระความรู้ ความสนุก และปัญญาที่เพิ่มขึ้น

เป็นการจัดกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ทุกๆฝ่ายของผู้มีส่วนร่วม

ขอบคุณมากครับ

เข้าร่วมกิจกรรมแล้วสนุกมากครับ เพราะได้ทั้งความสนุกสนาน(เสียงเฮฮา/แซวเรื่องข้อสอบ)และวิชาการ(การเตรียมความพร้อม/ดูตัวเองของนิสิตที่จะเดินทางไปร่วมงานครั้งที่๑๗)ไปพร้อมกัน

เป็นกิจกรรมที่ดีมากเลยครับ ถือว่าป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิต และ พี่พนักงานกองกิจการนิสิต ได้รับความสุขและความสนุกสนานรวมไปถึงการได้รับควาทรู้ในเรื่อง ของกิจจิตอาสา และถือเป็นการเตรียมคงามพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ เทา-งามสัมพันธ์ ครั้งที่ 19

นางสาวปราริญา. ปะโปตินัง

รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการปฐมนิเทศที่ดีแบบนี้ค่ะ เพราะเป็นการปฐมนิเทศครั้งแรกที่ได้มีการให้ทำแบบทดสอบก่อนการเข้าร่วมโครงการ ก็เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและแปลกใจพอสมควรค่ะ แต่รู้หรือไม่ว่า ระหว่างที่ฉันได้ทำแบบทดสอบและเมื่อเฉลยแบบทดสอบนั้น ได้ทั้งความรู้ความสนุก การเตรียมตัว แล้ยังทำให้ฉันได้รู้ตัวตนของตัวเอง และตัวตนของของโครงการมากยิ่งขึ้นในความที่ว่า"เทา-งาม สัมพันธ์ "เพราะแม้ว่าฉันจะเคยเข้าร่วมโครงการเทา-งาม สัมพันธ์ มาแล้วหนึ่งครั้ง

นายธรรมวิทย์ สุขโข ชั้นปีที่1 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง เอกการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากการจัดกระบวนการสู่การปฐมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยพี่ๆผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการได้มีการให้เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางเข้าร่วมโครงการเทา-งามสัมพันธ์ ครั้งที่ 19 โดยเริ่มจากการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ การได้แลกเปลี่ยนความคิดการวางแผนการทำงานก่อนลงมือจริงสู่การปฐมนิเทศที่ปรับเปลี่ยนการจัดเตรียมความพร้อมเป็นการทำแบบทดสอบความรู้ซึ่งถือว่าเป็นการทดสอบความรู้ความสามารถของตัวผู้จะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเน้นสนุกสนานแต่เต็มไปด้วยความรู้และกระบวนการของงาน

นายธรรมวิทย์ สุขโข ชั้นปีที่ 1 ฝ่ายกีฬาและนันทนาการ มห

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท