๓๗๙. "นายไม่อ่านหนังสือ..นายจะรู้อะไร"


.เมื่อนักเรียนจบชั้นประถมฯแล้ว..อ่านหนังสือไม่คล่อง..เขาจะเรียนรู้ได้ยากในชั้นมัธยม..เมื่อไม่รักการอ่านในชั้นประถม..เรียนมัธยมก็จะไปไม่รอด ต้องออกกลางคัน หรือถ้าไปรอด..อนาคตเด็ก อนาคตชาติ..ก็จะไม่เหลืออะไร..

“นายไม่อ่านหนังสือ..นายจะรู้อะไร” เป็นคำพูดที่รู้จักกันดีในวงวรรณกรรม และชาวมหาวิทยาลัยศิลปากร..ที่ท่าน..ศ.ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวไว้..เป็นข้อเตือนใจ..ให้เห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือ...

ในฐานะที่เป็นครูประถมฯ ซึ่งใกล้ชิดกิจกรรม..ทำการอ่านมามากกว่า ๒๐ ปี มองเรื่องนี้ว่า..ไม่ง่ายเสียแล้ว ถ้าไม่เร่งปลูกฝังและถ้า ครู..ไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง..เด็กไทยจะไปในทิศทางใด จะมีโอกาสได้สร้างสรรค์ความภูมิใจอะไรบ้าง..ให้กับผืนแผ่นดินนี้.......

เพราะมีสื่อ..และ เครื่องมือ..มากมาย..ที่กำลังนำพาเด็กและเยาวชน..อ่านหนังสือน้อยลง สื่อสารกันมากขึ้น แต่ขาดสมาธิ ที่จะคิดวิเคราะห์..ขาดโอกาส..ที่จะคิดใคร่ครวญ ให้ละเอียด รอบคอบ ยิ่งไม่อ่านหนังสือ..ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ย่อมจะไม่เกิดขึ้น

ผมจึงไม่อาจให้เตรียมความพร้อมที่ชั้น ป.๑ ..ให้เริ่มต้นอ่านทันทีที่ชั้นอนุบาล ๒ แล้วจากนั้น..ฝึกให้อ่านออก..อ่านคล่องกันในชั้น ป.๑ – ป.๓....

แล้วส่งเสริมให้รักการอ่าน..ฝึกให้อ่านคิดวิเคราะห์..ในชั้น.ป.๔ – ๖..โดยใช้แบบเรียนและหนังสือส่งเสริมการอ่าน ตลอดจนหนังสืออ่านเพิ่มเติม..อีกมากมาย

การอ่าน..จึงเป็นสาระสำคัญ..ทั้งของครูและนักเรียน..เป็นหน้าที่ของครู ที่ต้องทำงานหนักในเรื่องนี้..อย่างยาวนาน..เพราะ..ที่บ้านของนักเรียน..ยังเข้าไม่ถึงการอ่าน..เท่าที่ควร..ภาระจึงตกอยู่ที่ครู..ทั้งหมด

ประสบการณ์และแนวคิด..บอกผมว่า..เมื่อนักเรียนจบชั้นประถมฯแล้ว..อ่านหนังสือไม่คล่อง..เขาจะเรียนรู้ได้ยากในชั้นมัธยม..เมื่อไม่รักการอ่านในชั้นประถม..เรียนมัธยมก็จะไปไม่รอด ต้องออกกลางคัน หรือถ้าไปรอด..อนาคตเด็ก อนาคตชาติ..ก็จะไม่เหลืออะไร..

การอ่าน..ในโรงเรียน..จึงต้องบริหารจัดการให้หลากหลาย..ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้ในช่วงเวลา ๖ ปี ที่เขาอยู่ในชั้นประถมศึกษา..

ภาพกระเช้าหนังสือลอยมา..ภาพศาลาท่าน้ำ..สร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน..มาจนถึง..ห้องสมุด..จุดประกายการอ่าน..ได้ทั้งครูและนักเรียน...นี่คือ..ภาพที่ผมมองเห็นแล้ว..

จากห้องเรียนธรรมชาติ..จนถึงหน้าห้องพักครู..ที่ผมต่อสู้เพื่อการอ่าน..จนจะกลายเป็นตำนาน..ที่ไม่เคยคิดว่าประสบความสำเร็จ..การต่อสู้กับความไม่รู้..ไม่ยากเท่า..ปัจจัย..แวดล้อม..นอกโรงเรียน..ที่นับวันจะไม่เอื้อให้เด็กไทยรักการอ่านได้เลย..แต่ก็บอกตัวเองว่า..ทำต่อไปเถอะ..อย่าท้อ..ให้นึกถึงคำพูดของ...หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล.... ที่ว่า..

“อันอำนาจใดใดในโลกนี้ ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มี”

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 601827เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากเล่าเรื่องสั้น ๆ ของวันนี้ให้อ่านสักนิดหน่อย

ศิษย์ ป.๔ คนหนึ่ง ที่ ทั้งพ่อและแม่อ่านหนังสือไทย

ไท่ยไม่ออก เพราะเป้นชาวพม่าที่เข้ามาอยู่เมืองไทย

เด็กคนนี้ย้ายมาอยู่โรงเรียนของคุณมะเดื่อในชั้น ป.๔

ปีนี้เอง ผลการอ่านของเขา คือ แทบจะอ่านไม่ออก

เรื่องเขียนไม่ต้องพูดถึง เป็น 0 แต่ มาถึง ณ วันนี้

อ่านได้อย่างน่าพอใจมาก ๆ วันนี้เขามาอ่านหนังสือ

ให้คุณมะเดื่อฟัง.....เป้นปลื้มจริง ๆ

เด็กคนนี้เป็น ๑ ใน ๖ ของนักเรียนที่อยู่ใน

กิจกรรม " ดาวรุ่งวันพรุ่งนี้" ที่ให้เป้นพี่เลี้ยง

ของนักเรียนที่อ่านไม่ออกเลย ในกิจกรรม

" เพื่อนช่วยกัน ฉันอ่านได้ " จ้ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ;)...

ขอบคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ เป็นกุศลอันใหญ่หลวงกับประเทศของเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท