บทบาทของธนาคารกลางในการให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจในช่วงวิกฤติ


บทบาทของธนาคารกลางในการให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจในช่วงวิกฤติ

“การดำรงสภาพคล่องในระบบการเงินให้เพียงพอต่ออุปสงค์ของธนาคารพาณิชย์และภาคธุรกิจนับเป็นหัวใจในการทำงานของธนาคารกลางอย่างแท้จริง” คำกล่าวนี้คงเป็นคำกล่าวที่ประจักษ์ที่สุดในการสร้างมุมมองที่สำคัญหรือหน้าที่หลักๆของธนาคารกลางว่ามีความสำคัญต่อธนาคารพาณิชย์และธุรกิจอย่างไรใช่ไหมคะ เราลองมาทำความเข้าใจกันต่ออีกซักหน่อยกับคำกล่าวนี้กันเถอะค่ะ

เป็นที่ทราบกันดีใช่ไหมคะท่านผู้อ่านว่าเมื่อประมาณปี 2554 ประเทศไทยของเราได้ประสบกับภัยทางธรรมชาติอย่างหนักนั่นก็คือ “น้ำท่วม” ซึ่งจากภัยทางธรรมชาติในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อระบบของประเทศไทยเราเป็นอย่างมากและมีการคาดหวังว่า มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของ ธปท.จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ความเป็นจริงแล้วท่านทราบไหมคะว่า มาตรการนี้ทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่ทั่วถึงและเกิดการแย่งชิงทรัพยากรได้ รวมถึงไม่สามารถช่วยเหลือภาคธุรกิจให้แข็งแกร่งในระยะยาวอย่างที่คาดหวังค่ะ นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบต่อกลไกการดำเนินการของสถาบันการเงินและนโยบายการเงินของธนาคารกลางอีกด้วยค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามนะคะจากประสบการณ์ของธนาคารกลางอื่นในการบรรเทาภัยพิบัติพบว่า การดำรงสภาพคล่องในระบบการเงินให้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์และภาคธุรกิจนั้น นับว่าเป็นหัวใจในการดำเนินของธนาคารกลางอย่างแท้จริงค่ะ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมมากกว่าการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจโดยตรง

ธนาคารกลางเองมีช่องทางที่เหมาะสมในการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจในช่วงวิกฤติโดยผ่านการดำเนินนโยบายการเงินผ่านการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบผ่อนคลายระยะหนึ่งควบคู่นโยบายตลาดการเงินในการอัดฉีดสภาพคล่องให้เพียงพอในตลาดการเงินยังไงล่ะคะ ทั้งนี้ อาจพิจารณาขยายฐานหลักประกันที่สามารถนำมาค้ำประกันกับธนาคารกลางได้ด้วยค่ะ

นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของนโยบายควรดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับปัญหาสภาพคล่องของภาคธุรกิจและมาตรการเสริมจากภาครัฐในการให้ Incentive (รายได้ที่สร้างแรงจูงใจ) แก่ธนาคารพาณิชย์ให้สานต่อความช่วยเหลือได้อย่างถูกทิศทาง

อ้างอิงจาก : https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleA...

หมายเลขบันทึก: 601823เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท