คนเลี้ยงผึ้ง...ผึ้งเลี้ยงคน 7 (การเริ่มต้นเลี้ยงผึ้งโพรงไทย)


การล่อผึ้ง... เป็นการหาพันธ์ผึ้งโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยวิธิการนำกล่องหรือรังเลี้ยงไปวางตามธรรมชาติในสถานที่ร่มรื่น มีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์ เพื่อล่อผึ้งที่อพยพ หนีรัง หรือแยกรัง หรือผึ้งที่แสวงหาที่อยู่ใหม่ จะได้เข้ามาอาศัยในรังที่ล่อเอาไว้ ก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้ายรังผึ้งโพรงนี้ไปยังสถานที่ต้องการเลี้ยงผึ้ง หรือตัดรวงผึ้งบังคับเข้าคอนต่อไป ..

การล่อผึ้งและการบังคับผึ้งเข้าคอน เป็นสิ่งสำคัญของการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

การล่อผึ้ง...

เป็นการหาพันธ์ผึ้งโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยวิธิการนำกล่องหรือรังเลี้ยงไปวางตามธรรมชาติในสถานที่ร่มรื่น มีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์ เพื่อล่อผึ้งที่อพยพ หนีรัง หรือแยกรัง หรือผึ้งที่แสวงหาที่อยู่ใหม่ จะได้เข้ามาอาศัยในรังที่ล่อเอาไว้ ก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้ายรังผึ้งโพรงนี้ไปยังสถานที่ต้องการเลี้ยงผึ้ง หรือตัดรวงผึ้งบังคับเข้าคอนต่อไป ...

ก่อนที่จะนำไปล่อให้นำไขผึ้งบริสุทธิ์มาหลอมละลายทาด้านในของฝารังผึ้งล่อ เพื่อดับกลิ่นยางไม้ และเป็นการกระตุ้นให้เกิดกลิ่นเสน่ห์ในการเรียกผึ้งเข้ารังล่อ เสารังล่อต้องใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันเอาไว้ เพื่อป้องกันมดหรือแมลงเข้าไปในรัง....

การบังคับผึ้งเข้าคอน

การนำผึ้งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่นโพรงไม้ ซอกหิน ชายคาบ้าน หรือผึ้งที่ได้จากการล่อ ควรปฎิบัติดังนี้ 1.การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อม ผู้ปฎิบัติต้องแต่งกายในชุดกันผึ้งที่รัดกุม

2.ลักษณะของผึ้งที่เข้าคอนได้รังต้องสมบูรณ์ คือ มีน้ำผึ้ง เกสร ไข่ หนอน และดักแด้ในรัง มีประชากรผึ้งที่หนาแน่น มีลักษณะรวงอายุไม่ต่ำกว่า 25 วันรวงผึ้งประมาณ 5- 8 รวง

3.ใช้เครื่องพ่นควันใส่รังผึ้งเบาๆ โดยยืนด้านข้างรัง ไม่ยืนหน้ารัง แล้วเปิดฝารังผึ้งออก

4.ทำการตัดรวงทีละรวง ด้วยบางๆ

5.นำรวงที่ตัดมาได้นำเข้าคอน โดยทารวงผึ้งกับคอนที่ขึงลวดแล้ว 1 รวงต่อ 1 คอน แล้วใช้มีดกรีดที่รวงผึ้ง ประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาของรวงผึ้งตามแนวลวด และกดเส้นลวดลงไปที่กึ่งกลางของรวงผึ้งที่กรีดร่องไว้แล้ว

6 .นำรวงผึ้งที่เข้าคอนเรียบร้อยแล้ว ไปวางในกล่องเลี้ยงผึ้งที่เตรียมไว้

7 .ไม่ว่าจะเป็นรังล่อ หรือโพรงไม้ หรือหลังคาบ้าน ต้องหานางพญาให้เจอ เมื่อเจอแล้วจับนางพญาใส่กลักหรือกล่องที่เตรียมไว้ นำไปแขวนไว้ในรังเลี้ยงตรงตรงกลางระหว่างคอน ผึ้งงานจะลงไปในกล่องหรือรังเลี้ยงเอง

8 .นำกล่องหรือรังเลี้ยงไปวางไว้ในที่ ที่ต้องการเลี้ยง ประมาณ 4 -5 วันจึงปล่อยนางพญาออกจากกลักหรือกล่อง.....

อุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรง

1 . รังล่อผึ้งโพรง ผู้เลี้ยงต้องใช้รังล่อคู่กับรังเลี้ยง เพื่อป้องกันผึ้งแยกรัง หรือหนีรัง ขนาดของรังล่อไม่จำกัดแล้วแต่ผู้เลี้ยงจะกำหนด

2 .ไขผึ้ง สำหรับใช้ทารังล่อ เพื่อล่อให้ผึ้งเข้ารัง

3 เครื่องพ่นควัน เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักเลี้ยงผึ้งทุกคนจะต้องมี และนำไปใช้ทุกครั้ง เวลาทำงานอยู่กับผึ้ง โดยใช้เชื้อเพลิงจากกาบมะพร้าว หรือใบไม้ ใบหญ้าก็ได้

4 .รังผึ้งเลี้ยง ตามมารตรฐานของกรมส่งเสริมวิชาการเกษตร

ความหนาของแผ่นไม้ 1.40 ซม

.ความสูง 25 .00 ซม

ความยาวภายนอก 53 .40 ซม

ความยาวภายใน 50.70 ซม.

ความกว้างภายนอก 27.70 ซม.

5.คอนผึ้งเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องยึดรวงผึ้ง

ความหนาของไม้คอน 1.60 ซม.

ความกว้างของไม้คอน 2.00ซม.

ความยาวค้านบนคอน 48.00 ซม.

ความยาวด้านล่าง คอน42.00 ซม

.ความสูง 22.50 ซม. โปรดติดตามตอนต่อไป ในการเก็บไขผึ้ง.....

หมายเลขบันทึก: 598347เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2015 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2015 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ฮา ฮา ... เข้าใจพูดค่ะ ... คนเลี้ยงผึ้งและผึ้งเลี้ยงคน นะคะ ต่างพึงพาอาศัยกันและกัน นะคะ

ตามมาให้กำลังใจ นะคะ

การบังคับผึ้งเข้าคอนนี้มีวิธีเยอะมากๆ ผมว่ามันเป็นศิลปะครับ

ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันนะจ๊ะ

คิดถึงลุงวอจ้าาา

เรียนคุณหมอเปิ้ล ที่พัทลุง มีการเลี้ยงผึ้งกันมาก

ตอนนี้ผมลงเก็บข้อมูลคนเลี้ยงผึ้ง ผึ้งเลี้ยงคนที่พัทลุงอยู่

เรียนอาจารย์ ต้น กำลังติดต่อ คุณ ปราโมทย์ เพื่อเก็บภาพมาลงประกอบ

เรียนน้องมะเดื่อ ได้ศึกษาเรื่องผึ้ง

เห็นคุณค่าของผึ้ง และการจัดภูมทัศน์ ของสวนเพื่อให้ผึ้งได้มาอาศัย

ไม่เผาขยะ ไม่ใช้สารเคมี

มิฉะนนั้นผึ้งจะหนีรัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท