กฎหมายบังคับโทษ ตอน กฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ


กฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำของไทย... เป็นนวัตกรรมใหม่ทางกฎหมายเรือนจำ... ในขณะที่เรือนจำต่างประเทศได้ให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ มาเป็นเวลานาน ที่รู้จักกันในรูปแบบของ ระบบเรือนจำแรงงาน (Prison Labor System) ที่ดำเนินงานผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น โปรแกรมการทำงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Work Program) การอนุญาตให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำเป็นการชั่วคราว (Work Release) และ Day Parole สำหรับกรณีพักการลงโทษเพื่อทำงาน หรือ ศึกษา ในเวลากลางวัน และ จำคุกเวลากลางคืน...........................


กฎหมายบังคับโทษ ตอน กฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์



กฎหมายบังคับโทษ ตอน กฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำของเรือนจำไทยที่สำคัญในปัจจุบัน มี ๒ ฉบับ คือ ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดจ่ายออกทำงานนอกเรือนจำประเภทความสามารถหรือทักษะพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ และ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอในบทความนี้ คือ ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดจ่ายออกทำงานนอกเรือนจำประเภทความสามารถหรือทักษะพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ โดยจะเป็นการกล่าวถึง แนวคิด วัตถุประสงค์ ลักษณะงาน และ คุณสมบัติของนักโทษ โดยสังเขป ดังนี้



แนวคิดที่สำคัญ เช่น แนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังในชุมชน แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานเรือนจำ แนวคิดในการช่วยให้นักโทษมีรายได้ไว้ใช้สอยระหว่างต้องโทษ มีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว และ เก็บเงินไว้เป็นทุนประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ มี วัตถุประสงค์ เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษและ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับสังคมภายนอกได้ สำหรับลักษณะงานที่ต้องใช้ความสามารถหรือทักษะพิเศษของนักโทษเด็ดขาด โดยให้อำนาจผู้บัญชาการเรือนจำในการพิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดที่มีคุณสมบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ ดังกล่าวใน ข้อ ๕ ดังนี้

(๑) อายุ ๑๘ ปี ขึ้นไป

(๒) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางขึ้นไป มีความประพฤติดี มีความอุตสาหะในการทำงานจนเกิดผลดี

(๓) ไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษทางวินัย หรือ ถูกลงโทษทางวินัยในรอบ ๖ เดือนก่อนออกทำงานนอกเรือนจำ

(๔) ไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีทางอาญาซึ่งได้กระทำความผิดระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ

(๕) ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อจ่ายออกไปแล้วอาจหลบหนี หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ

(๖) ก. กำหนดโทษไม่เกิน ๑ ปี ได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของกำหนดโทษ

ข. กำหนดโทษเกินกว่า ๑ ปี ได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๒ ของกำหนดโทษ ตามหมายแจ้งโทษครั้งหลังสุด และ เหลือโทษจำต่อไปไม่เกิน ๑๐ ปี

ข้อ ๖ กรณีตามข้อ ๕ นักโทษเด็ดขาดที่เป็นหญิง หรือจะต้องจำคุกอีกต่อไปกว่า ๑๐ ปี ให้เรือนจำเสนอไปที่กรมราชทัณฑ์เพื่อให้อธิบดีพิจารณาอนุมัติก่อนที่จะจ่ายออกไปทำงานนอกเรือนจำ

ข้อ ๗ นักโทษเด็ดขาดที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ออกไปทำงานนอกเรือนจำ คือ นักโทษเด็ดขาดที่กระทำความผิดในคดีเดียวกัน (คู่คดี) และ นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษในลักษณะความผิดต่างๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ก่อการร้าย เพศ ชีวิตและร่างกาย ฉ้อโกง.... และ ความผิดอื่นๆ ที่อธิบดีกำหนด

ข้อ ๘ ให้เรือนจำตั้งคณะกรรม จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน ทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกให้ออกไปทำงานนอกเรือนจำ....

ข้อ ๙ นักโทษเด็ดขาดที่ออกไปทำงานนอกเรือนจำประเภทความสามารถหรือทักษะพิเศษจะต้องนำกลับเข้าเรือนจำ ภายในเวลา ๑๗.๐๐ น. ของวันเดียวกัน เว้นแต่อธิบดีสั่งการเป็นอย่างอื่น....

ข้อ ๑๐ นักโทษเด็ดขาดที่ออกไปทำงานนอกเรือนจำประเภทความสามารถหรือทักษะพิเศษ ถ้าปรากกว่าภายหลังว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ให้งดจ่ายทันที....




โดยสรุป


ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ดังกล่าว เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ ที่เน้น การให้นักโทษทำงานรับจ้างในบริษัท หรือ โรงงานอุตสาหกรรม หรือ นายจ้างภาคเอกชน แต่น่าเสียดายที่กฎหมาย ดังกล่าว มิได้ให้บทนิยามความหมายของคำว่า นักโทษประเภทความสามารถหรือทักษะพิเศษ ว่าหมายความรวมถึงอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม ยังนับได้ว่า เป็นนวัตกรรมใหม่ทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำของไทย ในขณะที่เรือนจำต่างประเทศได้ดำเนินงานให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ มาเป็นเวลานานที่รู้จักกันในรูปแบบของ ระบบเรือนจำแรงงาน (Prison Labor System) ที่ดำเนินงานผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น โปรแกรมการทำงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Work Program) ารอนุญาตให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำเป็นการชั่วคราว (Work Release) และ Day Parole สำหรับกรณีพักการลงโทษ เพื่อให้นักโทษได้มีโอกาสทำงาน หรือ ศึกษา เวลากลางวัน และ จำคุกเวลากลางคืน เป็นต้น


.........................



อ้างอิง


  • ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดจ่ายออกทำงานนอกเรือนจำประเภทความสามารถหรือทักษะพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘





ความเห็น (3)

หมายความว่ามีกม.ที่เปิดทางให้นักโทษไทยออกไปทำงานข้างนอกได้ แต่ยังไม่มีการปฏิบัติใช่มั๊ยคะ

น่าเสียดายค่ะ ดิฉันคิดว่า การทำงานทำให้คนมีคุณค่า มีความภูมิใจ

เป็นกฎหมายใหม่ ออกเมื่อ มีนาคม ๒๕๕๘ ความจริงแนวคิดเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำของไทยมีมานานแล้ว เช่น ที่ทัณฑนิคมธารโต พ.ศ. ๒๔๗๘ มีการให้นักโทษออกไปทำงาน ป่าไม้ โรงเลื่อยจักร กิจการเหมืองแร่ การขนส่ง การกสิกรรม และ การย่อยหิน และ ที่ทัณฑนิคมคลองไผ่ พ.ศ. ๒๕๒๐ มีการให้นักโทษออกทำงานรับจ้างของชาวบ้านใกล้เคียงทัณฑนิคม ทั้งที่ ไม่พบข้อมูลกฎหมายรองรับ................ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์ nui

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท