การควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏฺิบัติการ (Quality Control in Laboratory)


การควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏฺิบัติการ (Quality Control in Laboratory) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างของห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผลการวิเคราะห์ และการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพผลการวิเคราะห์ และการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ตลอดจนการให้บริการที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแผนควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย

การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี (Method Validation) เป็นกระบวนการยืนยันความถูกต้องและความเหมาะสมของวิธีการวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เพื่อให้ทราบถึงเงื่อนไข ข้อจำกัดของวิธีนั้นๆ การทวนสอบวิธี (Method Verification) เป็นการทวนสอบเพื่อประกันว่าวิธีการวิเคราะห์มาตรฐานหรือวิธีการวิเคราะห์อ้างอิงที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างในห้องปฏฺิบัติการมีความถูกต้องแม่นยำ เป็นไปตามคุณสมบัติของวิธีนั้นๆ

การควบคุมคุณภาพสม่ำเสมอ (Routine Quality Control) / ทดสอบในระหว่างการวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าการวิเคราะห์มีความถูกต้องแม่นยำ มีความน่าเชื่อถือ โดยทั่วไปการควบคุมคุณภาพวิเคราะห์ประกอบด้วย 5 วิธี คือ

1. แบลงค์ของน้ำยาเคมี (Reagent Blank) เป็นการประเมินการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากน้ำยาเคมี และตรวจสอบความบริสุทธิ์ของน้ำยาเคมีที่ใช้

2. แบลงค์ของวิธีวิเคราะห์ (Method Blank) เป็นการตรวจสอบการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการเตรียมตัวอย่าง

3. การวิเคราะห์สารมาตรฐานสำหรับการตรวจสอบกราฟ (Calibration Check Standard) เป็นการยืนยันความถูกต้องกราฟมาตรฐาน โดยการเตรียมสารมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้น และวัดสารมาตรฐานหลังจากทำกราฟมาตรฐานแล้ว ทำการตรวจสอบสารมาตรฐานทุก 10% ของการวิเคราะห์ตัวอย่าง หรือการวิเคราะห์สารมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง (Certified Reference Materials ; CRM)

4. การวิเคราะห์ซ้ำ (Duplicates) เป็นการประเมินความแม่นยำของการวิเคราะห์ โดยทำซ้ำในทุกๆ 10%

5. การวิเคราะห์การคืนกลับของสารที่ทราบปริมาณ ( Recovery of known addition) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีองค์ประกอบที่ซับซ้อน (Matrix effect) และต้องทำอย่างน้อยทุก 10%

นอกจากการควบคุมคุณภาพด้วย 5 วิธีดังกล่าวแล้ว เพื่อการควบคุมกระบวนการวิเคราะห์ให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่มีเสถียรภาพในขอบเขตที่ยอมรับได้ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ คือการทำแผนภูมิควบคุม (Control Chart) ซึ่งแผนภูมิควบคุม เป็นเครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการควบคุมความผันแปรของกระบวนการในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทุกๆ กระบวนการวิเคราะห์อยู่ในความควบคุม และสามารถดำเนินการซ้ำๆ กันได้โดยให้ผลอยู่ในช่วงที่ต้องการ นั่นหมายถึง กระบวนการยังมีความสามารถหรือยังใช้ได้ถูกต้องอยู่นั่นเอง และสืบเนื่องจากการจัดทำระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO/IEC17025 ห้องปฏิบัติการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำแผนภูมิควบคุม ในกระบวนการต่างๆ เพื่อเฝ้าระวัง และตรวจสอบระบบการควบคุมคุณภาพดังกล่าวของห้องปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพอยู่สม่ำเสมอ

หมายเลขบันทึก: 597014เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2015 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2015 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท