เรือนจำอุตสาหกรรมแคนาดา


เรือนจำอุตสาหกรรม (Prison Industry) ของแคนาดา ดำเนินงานภายใต้ แนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายเรือนจำซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน และ แนวคิดในการสร้างนิสัยรักการทำงานให้แก่ผู้ต้องขัง มีผู้ต้องขังเข้าร่วมดำเนินงานตามโครงการประมาณ ๔,๐๐๐ คน ผู้ต้องขังมีรายได้จากการทำงานคนละ ๕.๒๕ ถึง ๖.๙๐ ดอลล่า ต่อวัน และ มีโอกาสได้รับประประกาศนียบัตรวิชาชีพรับรองไว้ใช้ประกอบการทำงานภายหลังพ้นโทษ.............................................


เรือนจำอุตสาหกรรมแคนาดา


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


เรือนจำอุตสาหกรรม (Prison Industry) ในแคนาดา เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ ในปี ๑๙๘๐ ภายหลังจากที่กรมราชทัณฑ์ และ รัฐบาลแคนาดา ได้จัดตั้งบรรษัท คอร์แคน (CORCAN Corporation) มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้านการผลิตสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ การตลาด และ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ของเรือนจำอุตสาหกรรมในแคนาดา เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายเรือนจำ มากกว่าการทำกำไร จากการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ และ แนวคิดในการสร้างนิสัยรักการทำงานและลดความเกียจคร้าน ให้กับผู้ต้องขัง



โปรแกรม CORCAN ดำเนินการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ การตลาด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ จำหน่ายให้กับภาครัฐ และ ตลาดเปิด โดยในปี ๑๙๙๖ CORCAN Corporation ได้มีการดำเนินงานใน ๕ สายธุรกิจหลัก ได้แก่

ธุรกิจการเกษตร มีการดำเนินงานใน ๑๐ เรือนจำ ทั่วประเทศแคนาดา โดยการผลิตสินค้าเกษตร และ ปศุสัตว์ การจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร และ เนื้อสัตว์ รวมตลอดถึง การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน เช่น การทำสวนป่า ฯลฯ

ธุรกิจก่อสร้าง มีการดำเนินงานใน ๓๐ เรือนจำ ทั่วประเทศแคนาดา โปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อขยายโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขัง มีการฝึกอบรมความรู้ ทักษะ ด้านการก่อสร้าง และ มีประกาศนียบัตรรับรอง ฯลฯ

การผลิต มีการดำเนินงานใน ๑๗ เรือนจำ ทั่วประเทศแคนาดา เช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน และ เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ และ โลหะ ฯลฯ

การบริการ มีการดำเนินงานใน ๖ เรือนจำ ทั่วประเทศแคนาดา เช่น บริการด้านการพิมพ์ บริการด้านกราฟฟิก การสร้างฐานข้อมูล และ เก็บรักษาข้อมูล ฯลฯ

สิ่งทอ มีการดำเนินงานใน ๑๔ เรือนจำ ทั่วประเทศแคนาดา เช่น การผลิตเสื้อผ้า เบาะ และ การให้บริการซักรีด ฯลฯ

โดยสรุป

ปัจจุบันโปรแกรม CORCAN ของเรือนจำอุตสาหกรรมแคนาดา มีการดำเนินงานใน ๓๒ เรือนจำ ทั่วประเทศแคนาดา เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่สำคัญ คือ แนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายเรือนจำซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน และ แนวคิดในการสร้างนิสัยรักการทำงานให้แก่ผู้ต้องขัง มีผู้ต้องขังเข้าร่วมดำเนินงานตามโครงการประมาณ ๔,๐๐๐ คน และ มีเจ้าพนักงาน ๓๑๗ คน ผู้ต้องขังมีรายได้จากการทำงานคนละ ๕.๒๕ ดอลล่า ถึง ๖.๙๐ ดอลล่า ต่อวัน สามารถจำหน่ายสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ ของโปรแกรม CORCAN ในอัตราน้อยกว่าร้อยละหนึ่งของตลาดเปิดของแคนาดาโดยรวม นอกจากนั้น ผู้ต้องขังยังมีโอกาสได้รับประกาศณียบัตรวิชาชีพรับรองไว้ใช้ประกอบการทำงานภายหลังพ้นโทษ


...............



อ้างอิง

รายงานวิจัยเรื่อง PRIVATIZATION OF CORRECTIONS BY JOHN HOWARD SOCIETY OF ALBERTA 1998;/

ข้อมูลภาพจาก http://www.silverdoctors.com/private-prison-inmates-in-nashville-forced-to-make-products-prison-employees-later-sell-at-flea-market/




หมายเลขบันทึก: 597011เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2015 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2015 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แนวคิดเรื่องคุกของแคนาดาดีมากๆครับ

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า คุกใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การนำแนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายคุกมานำเสนอ เพื่อปลุกจิตสำนึกคุก ในการปฏิบัติงานควรคำนึงถึงงบประมาณคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน ขอบคุณมากครับอาจารย์ต้น

ขอบพระคุณอย่างสูงมากครับ อาจารย์ ดร.จันทวรรณ

ขอบพระคุณอย่างสูงมากครับ อาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง

ขอบพระคุณอย่างสูงมากครับ อาจารย์คุณยายธี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท