บริจาคโลหิต : คณะเทคโนโลยี (๔๕,๖๐๐ ซีซี)


เห็นโครงสร้าง หรือระบบการทำงานอันเรียบง่ายระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ อย่างน่าชื่นชม เพราะเมื่อคณะเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมการบริจาคโลหิต บุคลากรกองกิจการนิสิต หรือกระทั่งจากกองประชาสัมพันธ์ก็จะเข้าไปเป็น “ทีมหนุนเสริม” ไปในตัว บ้างก็ช่วยประสานงาน ให้คำแนะนำด้านรูปแบบ บันทึกภาพ ทำสื่อเผยแพร่ ช่วยประชาสัมพันธ์ทั้งก่อนงาน และหลังงาน

วันนี้ (๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๘) เป็นอีกวันที่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากร คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รวมพลังทำความดี (บริจาคโลหิต) ตามครรลองเอกลักษณ์สถาบัน คือ “การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน” ส่วนนิสิตก็เป็นการบ่มเพาะอัตลักษณ์ “การเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมและชุมชน” อันมีปลายทางสูงสุดดังปรัชญามหาวิทยาลัยที่ว่า “ผู้มีปัญญาพึงเนอยู่เพื่อมหาชน”



กิจกรรมบริจาคโลหิต เป็นกิจกรรมเรียบง่ายแต่งดงาม เพราะในมิติของ “ความเรียบง่าย” กิจกรรมดังกล่าวนับเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องลงทุนด้วยงบก้อนโตให้เปล่าเปลือง เช่นเดียวกับมิติ “ความงดงาม” ก็เป็นกิจกรรมแห่งการแบ่งปันความรักความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ แถมยังเชื่อมโยงการทำงานกับภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งหลักๆ แล้วก็คือ “เหล่ากาชาด” หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือโรงพยาบาลฯ




โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่ากิจกรรมการบริจาคโลหิตถือเป็นความสำเร็จเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัยโดยแท้จริง เนื่องเพราะกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนานิสิตให้ทุกคณะได้จัดกิจกรรมการบริจาคโลหิตในทุกๆ เดือน โดยการทำงานร่วมระหว่างฝ่ายพัฒนานิสิตสังกัดคณะกับฝ่ายพัฒนานิสิตจากส่วนกลางอันหมายถึงกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ย้อนกลับเมื่อหลายปีก่อน ภารกิจนี้ผูกโยงไว้กับ “งานกิจการพิเศษ” ในสังกัดกองกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และถ้าจำไม่ผิดในราวๆ ปี 2553-2554 กองกิจการนิสิต จึงรับมาบริหารจัดการเอง ภายใต้การขับเคลื่อนหลักจากกลุ่มงานกิจกรรมนิสิต” ก่อนผ่องถ่ายภารกิจนี้ไปยังกลุ่มงานสวัสดิการนิสิต และวกกลับมายังกลุ่มงานกิจกรรมนิสิตอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้จึงเห็นโครงสร้าง หรือระบบการทำงานอันเรียบง่ายระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ อย่างน่าชื่นชม เพราะเมื่อคณะเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมการบริจาคโลหิต บุคลากรกองกิจการนิสิต หรือกระทั่งจากกองประชาสัมพันธ์ก็จะเข้าไปเป็น “ทีมหนุนเสริม” ไปในตัว บ้างก็ช่วยประสานงาน ให้คำแนะนำด้านรูปแบบ บันทึกภาพ ทำสื่อเผยแพร่ ช่วยประชาสัมพันธ์ทั้งก่อนงาน และหลังงาน ฯลฯ




ครั้งนี้ก็เช่นกัน— กระบวนการทำงานเช่นนั้นยังปรากฏรูปลักษณ์ที่เด่นชัด เป็นการงานที่ปราศจากลายลักษณ์ แต่ทุกอย่างก็หนุนเสริมกัน ประหนึ่ง “วัฒนธรรม” อันดีงามไปแล้วก็ไม่ผิด

และที่งอกงามขึ้นมาอย่างน่าชื่นใจก็คือกิจกรรมดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงคณะจำนวน ๒๐ คณะเท่านั้น แต่ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ขันอาสาจัดขึ้นมาเป็นระยะๆ และนั่นยังรวมถึงองค์กรนิสิตด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น สภานิสิต ซึ่งจัดขึ้นเนื่องใน “วันแม่แห่งชาติ”




กิจกรรมการบริจาคโลหิตของคณะเทคโนโลยีในครั้งนี้ ยังคงภาพลักษณ์โดดเด่นเช่นคณะอื่นๆ นั่นคือการทำงานร่วมระหว่างอาจารย์ นิสิต บุคลากรในสังกัดคณะนั้นๆ รวมถึงการเข้าไปช่วยหนุนเสริมจากส่วนกลางที่หมายถึงกองกิจการนิสิต

นอกจากนั้นยังจัดกิจกรรมหนุนเสริมขึ้นมาเล็กๆ น้อยๆ เพื่อประทับความทรงจำร่วมกัน ผ่านการแจกของที่ระลึกเสริมสร้างบรรยากาศของการทำดี ด้วยการแจกแก้วน้ำสีสันสวยใส-ออกน่ารักๆ



จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ในสังกัดคณะทำให้เราได้รับรู้ว่ากิจกรรมดังกล่าวคณะได้บรรจุไว้เป็นแผนของการพัฒนานิสิตเพื่อบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะแก่นิสิต เสมอเหมือนการบ่มเพาะเรื่องคุณธรรมจริยธรรมแก่นิสิตตามครรลองเอกลักษณ์-อัตลักษณ์นิสิตและปรัชญามหาวิทยาลัยฯ นั่นเอง

ภายใต้แผนพัฒนาดังกล่าว มีการกำหนดบุคคลรับผิดชอบ มีงบประมาณหนุนเสริมเล็กๆ น้อยๆ เน้นพอเหมาะพอเพียงสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าอย่างไม่ฟุ้งเฟ้อ

กรณีเรื่องของ “แก้วน้ำ” ก็ด้วยเช่นกัน— ผมถามว่า “ทำไมต้องเป็นแก้วน้ำ” เจ้าหน้าที่ (น้องเต้ง) ตอบอย่างน่ารักประมาณว่า “แก้วน้ำเป็นสัญลักษณ์น้ำใจที่เกิดจากการบริจาคโลหิต”

ครับ-น้ำ,น้ำใจ,น้ำเลือด ................5555555




ปัญจวัฒน ธีรภัคสิริ

และนอกจากนั้น ยังพบเจอภาพอันดีงามของนิสิตที่เป็น “เดือน” ของคณะมาร่วมทำความดีด้วยการบริจาคโลหิต พร้อมๆ กับการช่วยตรวจวัดความดัน จดสถิติต่างๆ ด้วยอีกต่างหาก ซึ่งนิสิตที่ว่านั้นก็คือ “นายปัญจวัฒน ธีรภัคสิริ” (ชั้นปีที่ ๓ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ)

ครับ, ไม่รู้จะเขียนอะไรต่อ เอาเป็นว่า “เรียบง่ายแต่งดงาม”



แน่นอนครับ กรณีว่าด้วยของที่ะลึกนั้น ผมมองต่อยอดไปยังคณะอื่นๆ ที่ยังสามารถปรับแต่งกระบวนการใหม่ ด้วยการนำชิ้นงานของนิสิตมาเป็นของที่ระลึกก็ยังได้ หรือไม่ก็ประสานฝ่ายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมรายได้แก่นิสิต เพื่อนำผลงานของนิสิตมาเป็นสัญลักษณ์แห่งใจมอบเป็นที่ระลึก

รวมถึงการออกแบบของที่ระลึกที่มีคุณลักษณะพิเศษที่ว่าด้วย "วาระแห่งการบริจาคโลหิต" โดยตรง-บางทีอาจเป็นได้ทั้งในระดับคณะ หรือระดับมหาวิทยาลัย

ความดีอาจไม่เรียกร้องการตอบแทน แต่ผมมองว่า ของที่ระลึก คือสัญลักษณ์แห่งใจที่จะจารึกความทรงจำไว้กับผู้ที่ทำความดีว่า กาลครั้งหนึ่งเขาเคยได้ทำความดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยการบริจาคโลหิต-

ครับ, กิจกรรมนิสิต ก็ประมาณนี้ บันเทิงเริงปัญญา ทำดีให้สนุก ทำดี ก็ไม่ละเลยที่จะหนุนเสริมกันผ่านมิติต่างๆ อย่างเหมาะสม



หมายเหตุ

จำนวนผู้บริจาคโลหิต ๑๑๔ คน เป็นจำนวน ๔๕,๖๐๐ ซีซี

ภาพ : งานประชาสัมพันธ์และสารสนเทศนิสิต,นิสิตจิตอาสา

หมายเลขบันทึก: 596567เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Not seeing blood cooling equipment in the pictures, I hope we can make full use of the blood collected.

เป็นงานจิตอาสาแบบหนึ่งเลยนะครับ

มีนิสิตบริจาคจำนวนมาก

ชอบใจเรื่องแก้วน้ำ

น้ำใจจริงๆด้วย

สวัสดีจ้ะน้องแผ่นดิน เป็นกิจกรรมดีมาก ๆ จ้ะ

มีภาพจากแดนใต้มาฝากจ้าา



ช่วยตอบคุณ sr ค่ะว่า การรับบริจาคเลือดนั้นที่เมืองไทยไม่ต้องใช้ cooling equipment อะไรค่ะ ถ้าจะมีก็เป็นการควบคุมให้อยู่ที่อุณหภูมิห้องนี่แหละค่ะ เพราะเลือดแบบนี้จะมีส่วนประกอบที่ใช้ได้ดีมากหากนำไปจัดการแยกภายใน 6 ชั่วโมงค่ะ ซึ่งส่วนมากการรับบริจาคนอกสถานที่ก็จะสามารถกลับพื้นที่ได้ภายในเวลานี้อยู่แล้วค่ะ คนทำงานนี่สิคะที่จะเหนื่อยมากตอนที่ได้รับเลือดปริมาณมากๆ เพราะต้องเกณฑ์คนมาช่วยกันบริหารจัดการเลือดที่ได้มาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดก่อนจะเก็บเข้าคลังจริงๆ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท