สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

“เศรษฐกิจพอเพียง” หลักคิด หลักปฏิบัติเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินชีวิต


นักเรียนเข้าใจเห็นคุณค่า และได้รับการฝึกฝนให้นำมาใช้บ่อยๆ จนเกิดเป็นอุปนิสัย “พอเพียง”

เศรษฐกิจพอเพียงหลักคิด หลักปฏิบัติเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอด นานกว่า 25 ปี โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา (ที่มา http://goo.gl/4SbjOh)

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา(ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพ )มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้จัดเสวนาเรื่องบนเส้นทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติภายใต้งาน “รวมพลังเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง” จัดโดยมูลนิธิยุวสถิรคุณโดยมี ผู้บริหาร ครู นักเรียน จากศูนย์การเรียนรู้ภายใต้การหนุนเสริมของมูลนิธิสยามกัมมาจล เข้าร่วมสะท้อนประสบการณ์ที่ได้นำหลักปรัชญาฯ ไปใช้จนเกิดผลกับงานและชีวิตส่วนตัวอย่างไร โดยมี ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ ผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษา ให้เกียรติทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ ในวันเดียวกันนี้ มูลนิธิสยามกัมมาจลได้ส่งมอบศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 43 แห่งให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และมูลนิธิยุวสถิรคุณอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้บริหาร ครู นักเรียน ที่ผ่านการเป็นศูนย์การเรียนรู้และสถานศึกษาพอเพียง จากทั่วประเทศเข้าร่วมงานนี้อย่างพร้อมเพรียง

คุณศศินี ลิ้มพงษ์ ผู้จัดการโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้กล่าวถึงการมีส่วนในการร่วมขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “มูลนิธิสยามกัมมมจลร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันคือมูลนิธิยุวสถิรคุณ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมานับตั้งแต่ปี 2548 โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลมีบทบาทในการต่อยอด จุดประกาย และสร้างความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสถานศึกษาพอเพียง ปี 2551 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายจะขยายผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา 40,000 แห่งทั่วประเทศ มูลนิธิสยามกัมมาจลจึงได้จัดทำโครงการ เสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ขึ้น โดยมีเป้าหมาย สนับสนุนให้สถานศึกษาพอเพียงที่มีความพร้อมได้พัฒนาตนเองเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา” โดยศูนย์การเรียนรู้มีเป้าหมายให้ผู้บริหาร และครูมีความรู้ เข้าใจหลักปรัชญาฯ อย่างถูกต้องว่า เป็น หลักคิด หลักปฏิบัติเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินชีวิต เมื่อเข้าใจแล้วก็นำไปใช้ตามบริบทของแต่ละคน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเห็นคุณค่า และได้รับการฝึกฝนให้นำมาใช้บ่อยๆ จนเกิดเป็นอุปนิสัย พอเพียง

“...สำหรับสถานศึกษาพอเพียงที่ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลได้สนับสนุนให้พัฒนาตนเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีทั้งสิ้นจำนวน 43 แห่ง หลากหลายบริบท กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โรงเรียนในเมือง ชายขอบห่างไกล สอนระดับประถม มัธยมและขยายโอกาส มีการนำหลักปรัชญาฯ มาปรับใช้แตกต่างกัน แต่ผลลัทธ์ได้ผู้เรียนเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่คิดเป็น ทำงานเป็น เป็นคนดี มีคุณภาพ และเห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจลหวังว่าศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 43 แห่งนี้ จะเป็นกำลังสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป”

การทำงานของมูลนิธิฯ สนับสนุนให้โรงเรียนนำเรื่องการจัดการความรู้ (KM) มาใช้ในการทำงานตั้งแต่การถอดบทเรียนการทำงานเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น มีการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตลาดนัดความรู้ ให้แก่ผู้บริหาร ครู เพื่อที่จะชวนคิดและกระตุ้นให้ผู้มาเรียนรู้ได้นำเสิ่งที่ได้เรียนรู้กลับไปพัฒนาตนต่อไป การจัดเวทีดังกล่าวเป็นการเสริมพลังให้คนทำงานแล้วยังเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อีก้ดวย นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ให้มาทำหน้าที่ พี่เลี้ยง ให้กับสถานศึกษาพอเพียงได้แก่ คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) และมหาวิทยาลัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค ได้แก่ ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์วิโรฒ ม.มหาสารคาม เป็นต้น เพื่อช่วยเติมเต็มด้านวิชาการและคาดหวังว่ามหาวิทยาลัยและโรงเรียนจะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายต่อไป จากการทำงาน 9 ปี ทำให้ค้นพบว่าปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหัวใจสำคัญคือ โรงเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร และเข้าใจอีกว่าเป็น เครื่องมือหลักที่โรงเรียนจะใช้ในการเพาะบ่มคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่างๆ และมีครูกับผู้บริหารก็มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจหลักปรัชญาฯ ผ่านกระบวนการเรียนการสอน

สำหรับเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน และพี่เลี้ยงในเครือข่ายมูลนิธิสยามกัมมาจลได้มาร่วมสะท้อนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา แต่ละท่านได้สะท้อนในประเด็นต่างๆ ดังนี้...

เส้นทางการใช้เศรษฐกิจพอเพียงสร้างนักเรียน “พอเพียง” ของครู และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ครูรชฏ จันพุ่ม ครูโรงเรียนห้วยยอด
  • ครูเบญจมาศ สิงห์น้อย ครูโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่206
  • ครูปริศนา ตันติเจริญ ครูโรงเรียนโยธินบูรณะ

เส้นทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารข้อสังเกต และมุมมอง

  • ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส
  • ผู้อำนวยการอวยพร หว่างตระกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนดาราวิทยาลัย
  • ผู้อำนวยการแสน แหวนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย

ประสบการณ์ของพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข
  • ดร.ดุษิต พรหมชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  • รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ผศ. ดร.กาญจนา เกียรติมณีรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ติดตามการสะท้อนของแต่ละท่านได้ที่ลิงค์นี้ค่ะ.....https://goo.gl/SuSqFV

หมายเลขบันทึก: 596564เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ได้ข่าว ดร เลขานานมาก

ตั้งแต่สมัยทำงาน สกศ ครับ

งานมูลนิธิสยามกัมมาจลพัฒนาไปมาก ขอชื่นชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท