FUTURECITIES


สุขภาวะ เมืองเดินได้ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ การอยู่ในย่านที่มีการใช้ที่ดินแบบ ผสมผสาน ทำให้มีอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายสูงขึ้น การจัดสาธารณูปการให้อยู่ในระยะเดินเท้าสร้างความเชื่อมต่อของถนนและมีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่นช่วยเพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเดิน

ได้รับ e-mail จาก TMA (Thailand Management Association) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2558 เชิญให้เข้าร่วมกิจกรรม ของ CNN "CNN International Correspondent,Andrew Stevens for an engaging night of discussion with a panel of speakers including Mr.Arkhom Termpittayapaisith,Minister of Transport and Dr.Piyasvasti Amranand,Chairman of the Board of Director of PTT Public Company Limited,on the importance of infrastructure,advanced technology& Media and what it means for Thailand and for building a better tomorrow ในวันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 18.00-21.30 น ที่ชั้น 14 Astor Ballroom,The St Regis Bangkok ถนนราชดำริ

ผมให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้มาก จึงรีบส่งแบบตอบรับไปทันทีในวันที่ 23 กันยายน เวลา 22.55 น และได้รับการตอบรับว่าได้ลงทะเบียนให้แล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน เวลา 15.56 น ในวันงานผมออกจากบ้านเวลา 16.00 น เผื่อเวลาไว้ 2 ชั่วโมงก่อนเริ่มงาน เพราะกลัวรถติด แต่ผิดคาด ตลอดการเดินทางไม่เจอรถติดมาถึงโรงแรมเวลา 17.00 น เหลือเวลาถึง 1 ชั่วโมง จึงเดินออกไปนอกโรงแรมเพื่อชมบรรยากาศรอบๆโรงแรม (ผมไม่ได้ไปบริเวณนั้นนานมากแล้ว) พบโรงแรม 5 ดาว เกิดขึ้นใหม่และโรงแรมเก่าแต่เปลี่ยนชื่อหลายโรงแรมด้วยกัน แวะเข้าไปชมสินค้าในศูนย์การค้าเพนนินซูล่า แทบไม่มีลูกค้า พบเจ้าของร้าน "Museum" บนชั้น 3 ร้านนี้จัดของเหมือกับอยู่ในบ้าน เป็นของตบแต่ง และภาพวาด ได้คุยกันนานพอสมควร จึงทราบว่า ศูนย์การค้านี้เป็นที่ดินของทรัพย์สิน กำลังจะหมดสัญญา เจ้าของโครงการพยายามจะขอต่อสัญญาอีก 30 ปี แต่ไม่ทราบว่าจะตกลงกันได้ไหม ใกล้เวลา 18.00 น จึงเดินกลับไปที่โรงแรมและต่อคิวลงทะเบียน ปรากฎว่า ไม่พบรายชื่อของผม อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ได้ขอนามบัตรผมไปและเขียนชื่อผมติดป้ายผู้เข้าร่วมงานให้ (รู้สึกไม่ค่อยพอใจกับการเตรียมการเรื่องการลงทะเบียนหน้างานเท่าไหร่ ไม่ใช่ผมคนเดียวที่ไม่มีชื่อ มีหลายคนด้วยกัน ทำให้เสัยเวลาในการลงทะเบียนพอสมควร

ตามกำหนดการช่วงเวลา 18.00-19.00 น เป็นช่วง Drinks / Networking พบคนรู้จักไม่กี่คน อย่างไรก็ตามได้พบคนที่ไม่เคยรู้จัก และได้มีการแลกเปลี่ยนนามบัตรและสนทนากัน ประมาณ 5-6 ท่าน เวลา 19.00 น ตรง พิธีกรได้มาเชิญให้เข้าห้องประชุมได้ ที่นั่งจัดเป็นโต๊ะกลมมีเก้าอี้นั่งตัวใหญ่นั่งสบายโต๊ะละประมาณ 8-10 ที่นั่ง ผมเลือกโต๊ะหน้าด้านขวาของเวที และตรงกับจอ เพื่อความสะดวกในการถ่ายรูป Mr.Andrew Stevens จาก CNN เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมี speakers เป็นคนไทยทั้ง 3 ท่าน 2 ท่านแรกตามรายชื่อที่แจ้งในเอกสารเชิญ ส่วนอีกท่านผมจำไม่ได้ว่าเป็นท่านใดและมาจากไหน ก่อนเริ่มการเสวนามีการนำสนอในเรื่องของการสร้างอุโมงค์ เนื้อหาของการเสวนาไม่แตกต่างจากที่รู้ๆกันอยู่แล้ว ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจหรือตื่นเต้น เลิกการเสวนาประมาณ 21.00 น มีผู้ถามข้อสงสัย 2-3 ท่าน ที่น่าสนใจคือเรื่องแผนการคมนาคมทางน้ำ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่เด่นชัด

เหมือนกับผมไม่ได้อะไรเพิ่มเติมจากการเสวนาครั้งนี้ หัวเรื่องดีมาก "FUTURE CITIES" จัดโดย CNN International Correspondent in association with HITACHI เข้าใจว่า TMA เป็นผู้เชิญและดูแลเรื่องการลงทะเบียน เอกสารแจกที่ใส่ถุงเป็นของ HITACHI การเสวนาบน Panel ไม่มีอะไรโดดเด่น อาจเพิ่มเติมความรู้ใหม่จากการฆ่าเวลาในการไปชมร้านขายของในศูนย์การค้า เพนนินซูล่า ได้ข้อมูลจากเจ้าของร้านค้า "MUSEUM" คุณวรรณจิตร กฤษณะมระ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน สิ่งที่แปลกใจที่สุดคือ คุณวรรณจิตร ดูเหมือนกับสาววัยรุ่น จากรูปร่างและการแต่งงาน โดยเฉพาะทรงผม ผมเข้าใจว่าคงมีอายุระหว่าง 40-50 ปี ทั้งๆที่อายุจริงของคุณวรรณจิตร คือ 76 ปี

ถ้าผมไม่ใช่คนที่บ้าเอกสารผมคงได้เท่านั้นจริงๆ ผมได้หยิบเอกสารที่โต๊ะลงทะเบียน หลังจากกลับจากเข้าห้องน้ำ (นำมาวางที่หลังจากผมลงทะเบียนแล้ว ) เป็นเอกสารที่เป็นหัวใจของงานในวันนี้ เป็นเอกสารที่ผมไม่เคยเจอและพบเห็นที่ไหนมาก่อน เป็นแผ่นพับเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ 2 ฉบับ และเป็นเอกสาร A 4 1 คู่ เป็น Newsletter ขนาด A 4 อีก 1 คู่ เอกสาร 4 ชุดนี้มีค่าเป็นอย่างยิ่ง จึงขอนำมาเผยแพ่ดังนี้

1.เอกสาร THE URBAN CHANGE AGENT ( UddC) ฟื้นฟูเมืองเรื่องของเรา

จุดเริ่มต้นเพื่อคุณภาพที่ยั่งยืน
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2555 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเป็น “แกนกลาง” (Platform) เชื่อมต่อและบูรณาการความรู้แขนงต่างๆ ผ่านการมองแบบองค์รวม และประสานงานระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการฟื้นฟูเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ที่สามารถเป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบการฟื้นฟูเมืองประเภทต่างๆ (Urban Renewal Prototype) สำหรับการพัฒนาพื้นที่สำคัญอื่นๆ ต่อไปได้ อีกทั้งยังเป็นคลังสมองที่รวบรวมความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินการโครงการฟื้นฟูเมือง เพื่อการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเมืองของประเทศไทย และร่วมผลิตบุคลากรเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการออกแบบและพัฒนาเมืองในอนาคตต่อไป

มือขวาคือสัญลักษณ์
UddC ใช้สัญลักษณ์องค์กรเป็นรูป "มือขวา" (RIGHT HAND) ซึ่งสื่อถึงนัยสำคัญของการลงมือนำโครงการฟื้นฟูเมืองสู่การปฏิบัติจริง และการอาสาเป็นแกนกลางในการเชื่อมต่อภาคียุทธศาสตร์ โดยมือขวานี้ประกอบด้วยนิ้วทั้งห้า ที่สื่อความหมายถึงหลักการของการทำงานของเราทั้ง 5 ประการได้แก่

หากนำอักษรตัวแรกของหลักการทั้ง 5 นี้มารวมกัน จะได้คำว่า RIGHT ที่สามารถสื่อความหมายได้ทั้ง มือขวาซึ่งเป็นสัญลักษณ์องค์กร และความถูกต้อง เหมาะสม เป็นธรรม อีกด้วย

(สามารถเข้าไปหารายละเอียดได้ใน www.uddc.net

2.UddC : NEWSLETTER ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558

3.แผนพับ "กรุงเทพฯ 250 (จัดทำโดย สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง)

กรุงเทพฯ 250 เป็นโครงการฟื้นฟูเมืองที่ดำเนินการผ่านกระบวนการคาดการณ์อนาคต และการวางแผนแบบร่วมมือหารือของคนหลากหลายกลุ่มเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและเติมเต็มกับฝังเมืองรวมกรุงเทพมหาหนคร สู่เมืองน่าอยู่ หลากหลาย และเต็มไปด้วยโอกาสสำหรับทุกคน

หมุดหมายของการวางแผน คือ ปี 2575 อันเป็นวาระเฉลิมฉลอง 250 ปี กรุงเทพมหานคร และ 100 ปี ประชาธิปไตยของประเทศไทย

วัตถุประสงค์โครงการ คือ การจัดทำผังเมืองใน 2 ระดับ คือ ผังยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเขตเมืองชั้นใน 17 เขต และผังแม่บทฟื้นฟูพื้นที่นำร่องย่านกะดีจีน-คลองสาน (โปรดดูรายละเอียดได้ที่ www.bangkok250.org)

4.แผ่นพับ "เมืองเดินได้-เมืองเดินดี" "GOODWALK" ก้าวแรกสู่การเปลียนเมือง

เมืองเดินได้ - เมืองเดินดี การพัฒนาที่มากกว่าการปรับปรุงทางเท้า

สุขภาวะ เมืองเดินได้ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ การอยู่ในย่านที่มีการใช้ที่ดินแบบ ผสมผสาน ทำให้มีอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายสูงขึ้น การจัดสาธารณูปการให้อยู่ในระยะเดินเท้าสร้างความเชื่อมต่อของถนนและมีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่นช่วยเพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเดิน

เศรษฐกิจ การพัฒนาถนนเพื่อการเดินเท้าและการใช้จักรยานช่วยเพิ่มมูลค่าของอสังหริมทรัพย์และค่าเช่าให้สูงขึ้นรวมถึงดึงดูดธุรกิจใหม่ๆ

สังคม การปรับปรุงศักยภาพการเดินเท้าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชน หรือย่านน่าอยู่มากขึ้น ในย่านที่มีการจราจรต่ำ ผู้คนมีความห่วงใยในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ทำให้เกิด ความเป็นย่าน สูงขึ้น แรงงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีแนวโน้นที่จะเลือกที่ทำงานในย่านที่มีสภาพแวดล้อมเป็นมิตรต่อการเดินเท้า

3 ก้าว สู่การเปลี่ยน กรุงเทพฯ เป็นเมืองเดินดี

โปรดติดตามรายละเอียดได้ที่ www.GoodWalk.org

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

21 ตุลาคม 2558



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท