โครงการแก้ปัญหาความยากจน


บังเอิญวันนี้ได้อ่านประวัติพระคุณเจ้าพระนักพัฒนารูปหนึ่ง

ที่ท่านได้อุทิศทั้งชีวิตเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยผู้เขียนท่านได้นำเสนอมุมมองไว้น่าสนใจมาก






หวนให้ผมระลึกถึงการได้มีส่วนร่วมในการสร้างรูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนเมื่อหลายปีก่อน

พบว่า การแก้ปัญหาความยากจนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย หนอ

เพราะรายได้ของชาวบ้านส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเกษตรกรนั้นคงที่แทบทุกปี

แต่รายจ่ายนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ

ข้าราชการหรือผู้มีเงินเดือนนั้นจะพออยู่ได้ เพราะเงินเดือนก็ปรับขึ้นตามค่าเงินที่เปลี่ยนไป

แต่สำหรับชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร ที่ไม่มีเงินเดือนนั้น ยิ่งจะเกิดช่องว่างมากขึ้นเรื่อย ๆ


ในโครงการนั้น ผมได้ข้อคิดอย่างหนึ่ง คือ

ทำให้ผมหันมามองตนเองว่า โอ้! เรามีเงินเดือน มีรายได้มากกว่า ชาวบ้านตั้งหลายเท่า

เอ๊ะ! ทำไมเราจึงยังไม่รู้สึกพอ ยังอยากจะได้มากขึ้น ๆ

หวนให้นึกย้อนไปตอนเข้ามาทำงานใหม่ ๆ เงินเดือนน้อย ๆ

ตอนนั้น เราก็ยังพออยํู่ได้ และยังสงสัยว่า ข้าราชการผู้ใหญ่เงินเดือนมาก ๆ ท่านเอาเงินไปไว้ที่ไหน หนอ


เมื่อเทียบเคียงตามมิติเวลาแล้ว

พบว่า มันไม่สำคัญว่า ได้มาก หรือ ได้น้อย

สิ่งที่สำคัญ คือ พอใจ หรือไม่ ?

ใจที่พอ พอที่ใจ ต่างหาก สำคัญกว่า หนอ





ระหว่างที่ครุ่นคิด ออกแบบแนวทางแก้ปัญหาความยากจนในปีต่อ ๆ มา

ทำให้ผมสังเกตุเห็นคนต้นแบบ นั่นคือ พ่อตา ของผมเอง หนอ


ถ้าเอาเศรษฐกิจเป็นตัวนำในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติแล้ว

เราก็ยิ่งจะเป็นทุกข์ และยากจนมากยิ่งขึ้น แม้มีเงินมาก






หมายเลขบันทึก: 596316เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2015 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2015 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Poverty is not the same as Sufficiency.

Poverty is when we 'cannot' (due to reasons outside our influence) sustain our families sufficiently.

But sufficiency is when we tell ourselves --we have (more than) enough.

ใจที่พอ พอที่ใจ สำคัญมาก ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท