๖๙๔. การกำหนดตำแหน่ง


การกำหนดตำแหน่ง

นับแต่ภาครัฐกระจายอำนาจมาสู่มหาวิทยาลัย...

โดยมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นนิติบุคคล...มีปัญหามากมาย

เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารจัดการ...มีมากมายหลายสาเหตุ

ในฐานะที่ทำงานด้านบุคคล...ฉันทราบดี แต่พยายามหาทาง

หรือหนทางในการแก้ไข...โดยเฉพาะงานด้านบุคคลซึ่งมีเรื่อง

เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ก.พ.อ. เข้ามา

เกี่ยวข้องให้ฉันได้ต้องปฏิบัติตาม...ฉันได้พยายามศึกษาหา

ความรู้เพิ่มเติมในการจัดการด้านการบริหารงานบุคคลให้มีระบบ

มากยิ่งขึ้น...สุดท้าย ฉันก็สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

ของตัวฉันเองได้ปฏิบัติมาในอดีตจากที่เคยทำงานด้านบุคคล

มาเกือบ ๒๗ ปี...แม้จะเป็นงานที่ทำที่ประถมศึกษา...แต่หากทำ

ในส่วนราชการสามารถนำมาบูรณาการกันได้กับในมหาวิทยาลัย

ฉันทราบว่า...การที่จะประเมินค่างานได้นั้น จะต้องมาจากการกำหนด

กรอบโครงสร้างอัตรากำลังก่อน...ซึ่งกรอบโครงสร้างอัตรากำลัง

ต้องมาจากกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงตลอดจนประกาศจาก

สภามหาวิทยาลัย...นำมาทำกรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัย...

ในกรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัย...มีการวิเคราะห์อัตรากำลัง...

จะระบุตำแหน่งและอัตราของบุคลากรซึ่งรวมทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ

ว่าภายในมหาวิทยาลัยนั้นจะมีได้จำนวนกี่อัตรา...และแจกแจง

ออกเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย...จนเป็นภาพรวมของ

มหาวิทยาลัย...สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำควบคู่กับกรอบอัตรากำลัง นั่นคือ

การกำหนดตำแหน่งของแต่ละตำแหน่ง หากเป็นสายวิชาการจะไม่ค่อย

มีปัญหามากนัก...เพราะการกำหนดตำแหน่งเป็นไปตามมาตรฐาน

กำหนดตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามประกาศ ก.พ.อ. กำหนดมาแล้วจะมี

ตำแหน่งอาจารย์,ผู้ช่วยศาสตราจารย์,รองศาสตราจารย์,ศาสตราจารย์

ซึ่งประเภทนี้จะระบุด้วยคาบหรือชั่วโมงการสอนเป็นภาระงาน...

สำหรับสายสนับสนุนวิชาการจะค่อนยากนิดหนึ่ง เพราะจะต้องนำ

มาตรฐานกำหนดตำแหน่งจากประกาศ ก.พ.อ. มาวิเคราะห์ในแต่ละ

รายตำแหน่งซึ่งแต่ละตำแหน่งก็มีชื่อตำแหน่งมากมายเป็นร้อย ๆ ตำแหน่ง

แล้วแต่ภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ...จะต้องมี Job ของแต่ละตำแหน่ง

ให้ชัดเจน...และต้องมีการบรรยายลักษณะงานภายในตำแหน่งนั้น ๆ

มีการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง

ที่มหาวิทยาลัยต้องการ เพื่อจัดทำเป็นภาระงานที่ชัดเจน เพราะจะเกี่ยว

เนื่องกับการจัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานและการจัดทำตัวชี้วัด

ที่มหาวิทยาลัยสามารถวัดได้อย่างชัดเจน...การกำหนดตำแหน่ง

ต้องสามารถระบุจำนวนความจำเป็นว่า...ต้องการตำแหน่งระดับปฏิบัติการ,

ชำนาญการ,ชำนาญการพิเศษ,เชี่ยวชาญ,เชี่ยวชาญพิเศษ กี่ตำแหน่ง

เมื่อกำหนดได้แล้ว จึงนำมากำหนดการประเมินค่างานเพื่อให้มหาวิทยาลัย

ซึ่งจะเป็นหัวหน้าหน่วยงานตามคณะ สำนัก กอง ร่วมกันกำหนดและ

ประเมินค่างานซึ่งไม่ใช่การประเมินตัวบุคคล...โดยให้คำนึงถึงภาระงาน

เป็นหลัก ประเมินค่างานเพื่อให้กับมหาวิทยาลัย มิใช่เป็นการประเมินค่างาน

ให้กับบุคคลที่ทำงาน...เมื่อประเมินค่างานเสร็จก็จะมีการประเมินตัวบุคคล

เข้าสู่ตำแหน่งนั้น ๆ หากมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานการกำหนด

ตำแหน่งเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น...

...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๑๗ กันยายน ๒๕๕๘



หมายเลขบันทึก: 594971เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2015 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2015 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น ขอบคุณนะคะ

อ่านแล้วเข้าใจ ขอบคุณมากค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท