ASEAN Youth Forum : “ Moving toward High Quality Education ASEAN Beyond 2015 ” Part III: Cultural Performance Exchange & Student Voice และพิธีปิดฯ


การประชุม-สัมมนาครั้งนี้จะจัดกิจกรรมแบบคู่ขนาน มีทั้งกิจกรรมสำหรับครู-บุคลากรทางการศึกษา และกิจกรรมสำหรับเยาวชน เพื่อพัฒนาไปพร้อมๆกัน

กิจกรรมอันเป็นสีสันที่ถือว่าเป็นไฮไลต์ของงานสัมมนาในช่วงค่ำของวันที่สามคือการแสดงทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกทั้ง 6 ประเทศ ทุกประเทศล้วนจัดกันมาแบบเต็มที่เพราะเป็นโอกาสในการเผยแพร่ศิลปและวัฒนธรรมของชาติ

การแสดงของเยาวชนจากประเทศอินโดนีเซีย



สดใส-ตื่นเต้น-เร้าใจตามสไตล์ของอินโดนีเซีย



สาวงามจากประเทศเวียตนามกับศิลปะการรำ

หนุ่มๆกับกลองจากประเทศเวียตนามๆ

นำเสนอบทบาทของน้ำใจงาม จากประเทศไทย

โชว์อลังการงานสร้างสรรค์

สาวงามกับการรำที่คล้ายคลึงกับศิลปะการรำของไทยจากประเทศกัมพูชา



สีสันสดใส - แต่ดูอ่อนหวานงดงามของเยาวชนลาว

หนุ่มน้อย-สาวสวย กับการรำที่อ่อนช้อย-สวยงามจากประเทศลาว

การแสดงหลากสไตล์ที่ยิ่งใหญ่ น่าประทับใจจากเยาวชนประเทศฟิลิปปินส์



การแสดงชุดสร้างสรรค์ ที่เรียกเสียงกรี๊ดลั่นห้องประชุมฯ

เยาวชนอาเซียนถนัดเซลฟี่(Selfie)กันโดยถ้วนหน้า

The Student Voice in ASEAN beyond 2015: Global Goals TEACHER

ผู้เข้าร่วมสัมมนารวมกลุ่มตามประเทศของตน เพื่อช่วยกันระดมความคิดเห็น อภิปรายและสรุปว่าควรจะดำเนินกิจกรรมใดบ้างเพื่อพัฒนาเยาวชนของประเทศตน หลังจากการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ โดยยึดสาระและจุดประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางอาเซียน ( ASEAN Curriculum Sourcebook) ขอสรุปใจความสำคัญดังนี้


1. ประเทศกัมพูชา
1. จัดทำโครงการอาเซียนและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
2. สร้างห้องสมุดอาเซียน
3.
สานต่อ ASEAN Curriculum Sourcebook
4. จัดทำหลักสูตรการศึกษาของชาติ
5 . สร้างเครือข่ายพัฒนาร่วมกับอาเซียน
6. จัดโครงการศึกษาดูงานในกลุ่มประเทศอาเซียนให้ครู-นักเรียน


2. ประเทศเวียตนาม
นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนด้วย Powerpoint Presentation และได้เล่าว่า
ยังไม่ได้บูรณาการเนื้อหาสู่ ASEAN Curriculum Sourcebook แต่คิดว่าจะกลับไปทำ เพราะได้เห็นประโยชน์มากมายจากงานนี้ อยากเพิ่มกิจกรรมที่น่าสนใจเช่นนี้ใส่ไว้ในหลักสูตรบ้าง และอยากจะจัดการสัมมนาแบบนี้บ้าง โดยหวังว่าผู้รับผิดชอบทางการศึกษาของเวียตนามจะทำได้ ขนาดครูไทยที่สูงวัยยังเข้าร่วมทำกันได้ดี

3. ประเทศลาว
เริ่มดำเนินการพัฒนาเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่ปี 2553 แต่ก็ยังต้องพัฒนาต่อในเรื่องต่อไปนี้

1. จะดำเนินการไปตามเป้าหมายของ ACS

2. จะไปดำเนินการในโรงเรียนเอกชน และจะเริ่มพัฒนาในระดับประถมฯก่อนเพราะเป็นพื้นฐานสำคัญ

3. ต้องการพัฒนาในเรื่องของ ICT คณิตศาสตร์ วัฒนธรรม การตระหนักของคุณค่า และความรู้อื่นๆ แต่ก็ต้องดูว่าจะทำกิจกรรมอย่างไรที่จะเหมาะสมกับเด็กๆ และ ทำอย่างไรจะให้เกิดองค์ความรู้อย่างยั่งยืน

4 .อินโดนีเซีย ตั้งใจจะพัฒนา 3 ด้านคือ
1. ด้านความตระหนักในความสำคัญ
2. ด้านสังคมและความเชื่อ
3. ด้านความเชื่อมโยงสู่ประวัติศาสตร์

ต้องการจะพัฒนาลงสู่ทุกระดับ ต้องจัดเตรียมหลักสูตรและเนื้อหาให้เหมาะสมกับเยาวชนของอินโดนีเซียโดยเฉพาะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต้องการจะฝึกการเรียนรู้ให้กับครูของประเทศอินโดนีเซียบ้าง การสัมมนาเช่นนี้ก็อาจจะไปจัดสลับกันในหลายๆประเทศ เป็นการร่วมมือกันพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไป

5. ประเทศฟิลิปปินส์
ACR ช่วยพัฒนาได้หลายวิชา อยากจะให้มีการสนับสนุนกิจกรรมดีๆแบบนี้ ต่อไป จริงๆแล้วอยากจะพัฒนาเรียนรู้ร่วมกันเหมือนโรงเรียนพี่-น้อง Sister School และเชื่อว่าจุดประสงค์ในการพัฒนาเยาวชนคงเหมือนกันทั่วโลก

และจะนำวิธีการแบบนี้ไปทำที่ประเทศของตนบ้าง
6. ประเทศไทย
1. สร้างเครือข่ายการพัฒนาร่วมกัน Global Network ทั้งอาเซียน และกลุ่มประเทศต่างๆ

2. ส่งเสริมความร่วมมือ-ร่วมใจ ทุกฝ่าย คู่พัฒนา ผู้ปกครอง ชุมชน

3. พัฒนาความสามารถทางภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน

4. การบูรณาการหลักสูตรแกนกลางอาเซียน โดยใช้กระบวนการ RCA
กิจกรรมของเยาวชน


การประชุม-สัมมนาครั้งนี้จะจัดกิจกรรมแบบคู่ขนาน มีทั้งกิจกรรมสำหรับครู-บุคลากรทางการศึกษา และกิจกรรมสำหรับเยาวชน เพื่อพัฒนาไปพร้อมๆกัน จุดประสงค์-เป้าหมายต่างกันเล็กน้อย สำหรับครู- บุคลากรทางการศึกษา ที่เน้นให้นำรูปแบบ-แนวทาง ไปพัฒนาการศึกษา เช่นบูรณาการหลักสูตร จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบทั้ง 5 ของหลักสูตรแกนกลางอาเซียนไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเยาวชน สำหรับเยาวชนเน้นการพัฒนาความเป็นผู้นำ และพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนอาเซียนเพื่อการเป็นพลอาเซียนและพลโลกที่ดี


Student Voice กิจกรรมสำหรับเยาวชน ที่จัดทำคู่ขนานกับครู-บุคลากรทางการศึกษา

คิด-เขียน เตรียมการนำเสนอ

ค้นคว้า - ตรวจสอบ - สรุปความสำคัญ



รู้จักสืบค้น- จากแหล่งข้อมูลเพื่อการอ้างอิง

ออกแบบ- ตกแต่ง - สร้างสรรค์งาน

Round table กิจกรรมเรียนรู้

หนึ่งในบอร์ดจัดนำเสนอ

ประธานในพิธีปิดกับผู้เข้าร่วมประชุม- สัมมนาชาวต่างชาติ

ประธานในพิธีปิดกับผู้เข้าร่วมประชุม-สัมมนาชาวไทย

ประธานในพิธีปิดและกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาชาวไทย



นักเรียนจากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมและผู้เขียน


ขอเชิญรับชมและรับฟัง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวฝากถึงในการสัมมนา ASEAN Youth Forum 2015


***...การจัดสัมมนาครั้งนี้บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าประเทศไทยมีความพยายามที่จะพัฒนาศักยภาพของพลอาเซียน ไปสู่จุดหมายปลายทางของความเจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคง –ยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นและจริงใจ


***... ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ...***

หมายเลขบันทึก: 594894เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2015 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2015 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท