ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๙๕. เกษตรกรรมฐานนวัตกรรม



เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๘ สภามหาวิทยาลัยมหิดล เชิญ อ. เสถียร ทองสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีอุบลราชธานี มาเล่าเรื่อง “ปฏิรูปการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ : เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน”

ผมได้ประจักษณ์ว่าคนรากหญ้าของไทยได้ค้นพบวิธีดำรงชีพที่ดี จากการทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยมีตัวอย่างผลสำเร็จจาก โครงการ ๑ ไร่ ๑ แสน ที่มีรายละเอียดในหนังสือ สรรพสิ่ง มรดกมนุษยชาติ และหนังสือ คู่มือทำนา ๑ ไร่ได้เงิน ๑ แสนบาท ด้วยเทคโนโลยีสรรพสิ่ง อะตอมมิคนาโน เสียดายที่หนังสือทั้งสองเล่มนี้ไม่ได้เอาขึ้นให้อ่านหรือดาวน์โหลดได้ในเว็บ

สิ่งที่ผมประทับใจมากคือ เครือข่ายนี้ได้สั่งสมความรู้ปฏิบัติเยี่ยมไว้มากมาย ทั้งวิธีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำเกลือ วิธีหมักเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้กล้าต้นข้าวที่แข็งแรง ที่ช่วยให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงจาก ๑๕ ก.ก. ต่อไร่ เหลือเพียง ๒ ขีดครึ่งต่อไร่ รวมทั้งมีวิธีแบ่งพื้นที่ ๑.๖๐๐ ตารางเมตรออกเป็นสี่ส่วน ในสัดส่วน 30:30:30:10 วิธีเตรียมแปลงนา วิธีเตรียมดินในนา วิธีย่อยสลายฟางข้าว ซากวัชชพืช และเมล็ดหญ้ด้วยสรรพิ่งน้ำอะตอมมิคนาโน รวมทั้งวิธีขายผลผลิตแบบ add value คือขายเป็นข้าวฮาง ได้กิโลกรัมละ ๘๐ บาท เขาบอกว่าบทความที่ผมได้รับแจกมีอยู่ในนิตยสารรักษ์เกษตร

วิธีการน่าทึ่งมากครับ และรายรับหักรายรายจ่ายแล้วเหลือเกิน ๑ แสนบาทต่อ ๑ ไร่




วิจารณ์ พานิช

๒๐ ส.ค. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 594645เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2015 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2015 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เกษตรกร พัฒนาตนเองจนสะสมประสบการณ์ดีๆ ที่เป็น best practice บันทึกเป็นเอกสารไว้เผยแพร่ ถ่ายทอดแก่ผู้สนใจ เขาทำเพื่อตนเอง อาชีพ และเผ่าพันธุ์ของตน มีคุณค่าน่าเสื่อมใสมากค่ะ

ถึงเวลาที่บรรดาข้าราชการหลายกลุ่ม จะจัดทัวร์ศึกษาดูงานเพื่อศึกษาแนวคิดจากเกษตรกร แล้วมังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท