nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

ไม่มีความขัดแย้งใดที่หาจุดปรองดองไมไ่ด้ เพียงแต่ยังหาไม่เจอเท่านั้น


ผมเลือกเอาข้อความเด่นใน cover story ของ new 108 มาเป็นชื่อของบันทึกที่เขียนอยู่นี้...

ข่าวนิวร้อยแปด ปีที่ 2 ฉบับที่ 280 วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2558 ได้นำเสนอบทความสัมภาษณ์พิเศษเพื่อฟังมุมมองด้านการเมืองของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งผมอ่านแล้วมีประเด็นที่ทำให้ผมได้เข้าใจมุมมองทางการเมืองเพิ่มมากขี้นและอยากแบ่งปันสิ่งที่อ่านในมุมมองที่ผมเห็นคล้อยตามและประทับใจคับ

ศ.พิเศษจรัญ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการที่รัฐบาลนำมาตรา 44 มาใช้ว่า "ในภาวะปกติ เราไม่ควรจะมีกฎหมายแบบนี้ให้กับใคร เพราะอันตรายมาก เหมือนระเบิดกัมมันตภาพรังสี ถ้าใช้ดี ก็เป็นคุณประโยชน์ ถ้าใช้ผิด ลุแก่อำนาจ จะพาประเทศชาติล่มสลาย แต่ปัญหาคือ ในช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศชาติต้องการความสงบ เราจำเป็นต้องใช้ เพราะถ้าไม่มีอำนาจใหญ่แบบนี้ เราจะไม่สามารถสกัดกั้นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงได้ หลายประเทศมีกฎหมายแบบเดียวกันนี้ เพียงแต่รูปแบบแตกต่างกันไป - ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้พิสูจน์แล้วว่าใช้กฎหมายนี้ในทางสร้างสรรค์ ผมชื่นชมรัฐบาลว่าใช้มาตรา 44 ได้อย่างน่าเคารพ โดยเฉพาะการดำเนินการถอดยศที่ผ่านมา โดยไม่ต้องนำความขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นความเสียสละของนายกฯ ที่พวกเราต้องเข้าใจ นี่คือหัวใจของประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่าดึงท่านลงมาเป็นคุ่กรณีพิพาท"

ในเรื่องการคืนเงิน ล้านเจ็ด ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่าน ศ.พิเศษจรัญ มองว่าเมื่อทำงานแล้วก็ควรได้รับค่าตอบแทนตามงานที่ได้ทำไป เงินที่ได้รับไม่ได้มาจากการทุจริตแต่อย่างใด แต่ถ้าใครจะเอาเงินที่รับมาไปบริจารก็ย่อมทำได้

กับประเด็นการสรรหาบุคลากร 21 ท่านมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ท่าน ศ.พิเศษจรัญ มองว่าไม่ได้เป็นเรื่องยาก ท่านกล่าวว่า กรุงศรีอยุธยาไม่เคยสิ้นคนดี บ้านเรามีคนเก่งเยอะแยะมากมาย แต่ถ้าต้องการคนที่จะยอมเสียสละมา ต้องใช้แผนเล่าปี คือ ต้องไปกราบเรียนเชิญ ท่านย้ำว่า เป็นสิ่งที่เล่าปี่ทำ คือ ต้องไปเีรยนเชิญดดยตรง จะให้ลูกน้องโทรศัพท์ไปไม่ได้ เหมือนที่ท่านจอมพลสฤษดิ์ ได้ไปเรียนเชิญ ดร.ป๋วย และ ดร.เสริม มาช่วยงาน โดยยกบันทึกหลักการของจอมพลสฤษดิ์ ที่เล่ากันต่อ ๆ มาว่า ท่านจอมพลสฤษดิ์ใช้วิธีการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาว่า ในเรื่องหลักการและความคิดเห็นทางการเมือง อาจะเห็นต่างกัน แต่อยากให้มาช่วยกันทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง

ส่วนเรื่องคุณสมบัติของบุคลากร 21 ท่านนั้น ท่าน ศ.พิเศษจรัญ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องเอานักกฎหมายที่ยอดเยี่ยม แต่อยากให้เห็นคนที่อยากมีส่วนร่วม อยากเสียสละ อย่าเอาคนที่สุดโต่งเข้าไป อันตรายที่สุดของสังคมโดยรวม คือ การที่ปล่อยให้คนที่มีแนวคิดสุดโต่งนำคณะ สำหรับคนที่มีความคิดสุดโต่ง ต้องไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ใช้ความรุนแรงได้เต็มที่ เนื่องจากการทำงานในส่วนนี้ของประเทศต้องใช้ดุลยภาพ ส่วนฝ่ายการเมืองไม่ขัดข้องว่าจะมีหรือไม่ แต่เห็นว่าต้องฟังสิ่งที่นักการเมืองพูด หาทางเอาความห่วงใยบ้านเมืองของฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณา แต่ไม่จำเป็นต้องทำตาม

การเริ่มต้นร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ท่าน ศ.พิเศษจรัญ กล่าวว่า ต้องมองว่านี่เป็นวาระแห่งชาติ ต้องพาชาติเดินหน้าต่อไปให้ได้ เราต้องเลือกหยิบสุดดี ๆ จากร่างเดิมมาใช้ ตัวอย่างเช่น พลเมืองเป็นใหญ่ หญิงชายและทุกคนสอยู่ในสถานะที่ดีขึ้น ผู้ด้อยโอกาสไดรับโอกาส ฯลฯ แต่อย่าลืมเรื่องความมั่นคงของประเทศชาติ ถึงเวลาประเทศเรามีวิกฤติประชาธิปไตยของฝรั่งประเทศไหนก็ช่วยไม่ได้ ถือเป็นภาระที่ทั้ง 21 ท่าจะเข้ามาออกแบบให้ดุลยภาพลงตัว เราต้องการคนที่รอบรู้ นิ่งและเข้าใจประเทศไทยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ส่องกล้องหาจุดดุลยภาพของความขัดแย้งแล้วออกแบบร่างให้ลงตัว ส่วนเรื่องของ ค.ป.ป. ไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อนี้ ไม่ต้องมีองค์ประกอบอย่างนี้ เพราะบทเรียนได้บอกอะไรบางอย่างกับเราแล้ว พันธกิจ อำนาจ หน้าที่ สำคัญกว่าชื่อ เราต้องออกแบบให้คนที่ต้องการประชาธิปไตยเต็มรูปแบบเข้าใจว่าประเทศไทยมีองค์ประกอบที่แต่งต่าง ถือเป็นโจทย์ยากสำหรับ 21 ท่าน เพราะไม่เคยมีใครคิดออกแบบมาก่อน

ท่าน ศ.พิเศษจรัญ เชื่อมั่นในเรื่องของดุลยภาพ การหาจุดที่ลงตัวเพื่อความปรองดอง และเชื่อมันในความดีงามของคน โดยกล่าวว่า ไม่มีความขัดแย้งใดที่หาจุดปรองดองไม่ได้ เพียงแต่ยังหาไม่เจอเท่านั้น หลายประเทศมีความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติมานานยังปรองดองกันได้ นี่เราคนไทยด้วยกันทั้งนั้น อย่าลืมว่าพรรคการเมืองก็หวงแผนแผ่นดินไทยเหมือนกัน ถ้ามีโอกาสได้คุยกันและกำหนดจุดดุลยภาพได้ โดยเชื่อว่า ไม่มีองค์กรใดที่รู้ว่าสิ่งที่จะทำเป็นอันตรายต่อประเทศชาติแล้วยังจะทำ และท่านเชื่อมั่นว่า ประเทศเราไม่เคยจนตรอกและจะเดินหน้าไปได้ ถึงเวลาจริง ๆ ก็มั่นใจว่าประโยชน์ของประเทศชาติจะใหญ่กว่าความคิดเห็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ศ.พิเศษจรัญ อยากเป็นรัฐบาลดำเนินการปราบทุจริตคอรัปชั่นให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เปรียบเหมือนการรักษามะเร็งร้ายระยะอันตรายของประเทศ แล้วค่อยฟื้นฟูใหญ่ และมองว่า สิ่งที่จะทำให้ปัญหาของประเทศคลี่คลายได้ คือ ต้องมีอุดมการณ์ของชาติ ท่านผ่านมา เรามีแต่อุดมการณ์ของพรรคและองค์กร เราไม่เคยเน้นสิ่งที่เรามีร่วมกันอยู่แล้วในจิตวัญญาณของคนไทย ต้องชี้ให้เห็นว่า เราทรุดโทรมมามากแล้ว โชคดีที่เราอุดมสมบูรณ์ เราจึงรอดมาได้ ถ้าทุกฝ่ายไม่ถอย เราจะไปต่อไม่ได้ และถ้าใช้อำนาจผลักดัน มันอาจจะสยบฝ่ายตรงข้ามได้แต่มันไม่จบ แล้วจะรอเวลาปะทุ

"ไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญรอบใหม่ดีอย่างไร มีองค์กรพิเศษอย่งไร ไม่มีทางขัดขวางความขัดแย้งได้ ถ้าไม่มีอุดมการณ์ของชาติ ประเทศชาติต้องคงอยู่ก่อน แล้วเราถึงจะคงอยู่ได้" นี่คือคำท่านท่าน ศ.พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล ทิ้งท้ายไว้

และนี่คงเป็นสิ่งดีในมุมมองการเมืองที่ผมได้อ่านและนำมาแบ่งปัน เพื่อตอกย้ำความมั่นใจว่า ประเทศไทยไม่มีวันล่มจมหากทุกคน ทุกฝ่ายช่วยกัน มีอุดมการณ์ของชาติร่วมกันครับ

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านบทความฉบับเต็มจาก new108 ติดตามอ่านได้จากลิงค์นี้ครับ http://www.flipsnack.com/new108daily/e-book-new108...

หมายเลขบันทึก: 594644เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2015 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2015 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท