"ภาษาคาปาก"


ปัญหาภาษาคาปาก : Thai people's habit

ทุกวันนี้ คนไทยพูดภาษากลางมากขึ้น ภาษาท้องถิ่นจะค่อยๆ ถูกลืมไป ทำให้อิทธิพลของสำเนียงไทยภาคกลางถูกพูดกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุนี้ ทำให้ภาษาภาคต่างๆ ถูกแปรไปเป็นสำเนียงกลายพันธุ์เช่น "อีสานกลาง" คือ สำเนียงอีสานแต่คำพูดเป็นภาษากลาง เหมือนภาษาโคราช ที่ได้รับอิทธพลจากภาคกลางและอีสานเป็นภาษาโคราช


"ภาษาทองแดง" นี่ก็มาจากภาษาใต้ ที่ใช้สำเนียงกลาง จึงกลายเป็นทองแดง "ภาษาเหนือคำกลาง" คนเหนือปกติพูดคำเมือง เมื่อคนยุคใหม่ได้รับอิทธิพลของภาษากลางจึงกลายเป็นสำเนียงเหนือภาคกลาง

ในขณะภาษาภาคกลางเองก็ได้รับอิทธพลจากภาษาอังกฤษ ทำให้คนไทยภาคกลางมีสำเนียงการพูดแบบคนต่างชาติ ที่ใช้เสียงแบบฝรั่งเช่น การออกเสียง สอเสือ จอจาน ชอช้าง ทอทหาร ธอธง ยกตัวอย่างคนที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งจะออกเสียง ๓ ท "ททท" ไม่ชัด ออกเสียง จ ไม่เป็นไทย "ใจจริงแจ่มแจ้ง" ทำให้ภาษารากเหง้าของการออกเสียงเพี้ยนไปด้วย


นอกจากนี้ ภาษาที่คนไทยติดปาก พูดจนติดนิสัยในทุกวันนี้คือ การใช้คำที่ขัดแย้งกับความจริง ใช้คำที่ขัดกับประโยคหลังไม่ถูก หรือใช้คำที่ฟุ่มเฟือยเกินไป ซึ่งมีคำดังนี้--

๑) คำว่า "แต่" -- คนไทยภาคกลางพูดเยอะมาก จนไม่รู้ว่า ประโยคใดที่เป็นจริงหรือประโยคใดเป็นประโยคหลัก ประโยครอง หรือประโยคใดเป็นประโยคขัดแย้งกัน เช่น คนไทยมักพูดว่า "ชีวิตก็มีความสุขนะ แต่ว่าก็เรื่อยๆ" คำว่า "แต่" ต้องใช้กับประโยคที่แย้งประโยคก่อนเสมอ

เหมือนประโยคในภาษาอังกฤษ He is poor but is not bad. "เขาเป็นคนจน แต่เขาไม่ได้จนคุณธรรมนะ" เมื่อคนไทยขาดความเข้าใจในคำนี้ จึงพูดมั่วๆ และแยกไม่ได้ว่า ประโยคแรกกับประโยคหลังนั้นแย้งกันอย่างไร จึงพูดจนติดปากทุกวันว่า แต่ๆๆๆ ทุกประโยค โดยเฉพาะคนเมือง คนในสื่อมวลชน ดารา นักร้อง ฯ แล้วตัวท่านใช้คำนี้บ่อยแค่ไหน?


๒) คำว่า "ก็" เป็นคำฮิตชนิดที่ฟุ่มเฟือย ที่ไม่จำเป็นต้องพูดก็ได้ โดยเฉพาะเมื่อจะพูดในคำขึ้นต้นประโยค คำนี้เป็นคำที่เด็กๆ หรือวัยรุ่นพูดกันจนติดปาก ติดนิสัย จนไม่รู้ว่าพูดออกไป ลักษณะนี้ เหมือนต้องการจะแสดงออกมาให้เป็นแบบน่ารัก เหมือนเด็กๆ พูด เมื่อใช้บ่อย เราจึงใช้มันไม่รอบคอบหรือไม่สุขุมในการใช้คำไทยที่ถูกต้อง

ที่จริงมันไม่จำเป็นต้องใช้ก่อนบทสนทนา ทีนี้เราได้ยิน ได้ฟังบ่อยๆ เข้าก็เลยคุ้นชิน และใช้จนติดปากไป สมัยเขียนวิทยานิพนธ์อ.ท่านให้ตัดคำนี้ออกไปเลย เพราะมันลุ่มล่าม หากเราหันมามองหรือสังเกตพฤติกรรมของตนเอง ย่อมจะเห็นความไม่รู้ตัวที่ใช้อยู่ก็ได้ ท่านใช้มันบ่อยแค่ไหน?


๓) คำว่า "แบบว่า" คำนี้ก็ไร้ความหมายหรือไม่จำเป็นต้องพูด ไม่จำต้องใช้ก็มีคงความหมายได้ เมื่อคนไทยภาคกลาง (กรุงเทพฯ) พูดบ่อยๆ จึงกลายเป็นติดนิสัย ทำให้เกิดกระแสคำพูดกันทั่วไป แบบว่าๆๆ จนต้องเสียเวลาในการใช้คำพูดที่มากเกินไป ทำให้เห็นว่า คนไทยใช้คำไม่รัดกุมและรอบคอบในการใช้คำ จึงกลายเป็นทาสของภาษาติดปากไป ขอให้ครูภาษาไทยสังเกตปรากฏการณ์คำพูดของคนไทยสมัยนี้ จะพบได้ว่าไม่ละเอียดในเรื่องการใช้คำ สังเกตดูสิว่าท่านพูดนี้บ่อยแค่ไหน?


๔) คำว่า "จริงๆแล้ว" เป็นคำที่คนไทยภาคกลางพูดบ่อยมาก สะท้อนให้เห็นว่า ไม่รู้ประโยคใดหรือสถานการณ์ใด เหตุการณ์ใดมีมาก่อนหน้าที่จะกล่าวคำนี้ คนไทยภาคกลางกลับพูดคำนี้ขึ้นมาลอยๆ หรือทะลุกลางปล้องขึ้นมา ก่อนจะเริ่มประโยคในการสนทนา จึงพูดกันพร่ำเพรื่อ ฟุ่มเฟือย จนน่ารำคาญ และสะท้อนอีกด้วยว่า คนไทยไม่เข้าใจประโยคในภาษาไทยดีพอ จึงพูดกันไปจนแพร่หลาย

คำนี้ ควรจะพูดในทำนองว่า เมื่อเรื่องใด เหตุการณ์ใด มีผู้คนกล่าวกันมาก่อน วิจารณ์กันมาก่อน วิพากษณ์มาก่อน จนไม่สามารถหาข้อยุติหรือข้อตกลงได้ คนใด คนหนึ่งที่รู้เรื่องนี้มาก่อน จึงสามารถกล่าวคำนี้ได้ว่า "จริงๆแล้ว เรื่องนี้ น่าจะรอการพิสูจน์หรือการประชุมกันก่อน จึงจะหาข้อยุติได้" (เป็นข้อเสนอ) หรืออาจกล่าวในอีกแง่มุมหนึ่ง หรือมีหลักฐานมากล่าวอ้างยืนยันอีกครั้ง เป็นต้น ดังนั้น ท่านใช้คำนี้บ่อยแค่ไหน?


๕) คำว่า "ค่อนข้าง" เป็นคำที่คนไทยพูดบ่อยมากเช่นกัน จนไม่รู้ว่า อันไหน คำไหน มาก น้อย ปานกลาง คำนี้เป็นคำกิริยาวิเศษณ์ ที่ขยายคำคุณศัพท์ เช่น มาก น้อย เมื่อมีปริมาณที่สามารถแยกแยะออกได้ว่าปริมาณแค่ไหน คนไทยสามารถพูดได้โดยใช้คำวิเศษณ์มาชี้แจง เช่น เมืองไทยมีเกษตรกรมาก สามารถพูดได้ถึงปริมาณว่า มาก มากปานกลาง ค่อนข้างมาก และมากที่สุด - น้อย น้อยปานกลาง ค่อนข้างน้อย และน้อยมาก

แต่ (แย้ง) ทำไมคนไทยภาคกลางจึงพูดคำว่า ค่อนข้างไปเสียทุกปริมาณเลย เหมือนกับว่า เป็นภาษานิยมคนเมืองหรือเป็นภาษาเสพติดที่เคยชิน ฟังแล้วดูเหมือนเป็นภาษานิยมคนเมือง เมื่อผู้สื่อข่าวรายงานในสนาม มีการใช้คำนี้ในคำรายงานด้วย ซึ่งอาจแย้งกับภาพที่ผู้ดู ผู้ชมข่าว อาจแย้งได้ว่า มันไม่ใช่ค่อนข้างมาก ค่อนข้างดี และค่อนข้างเสียหาย ตามที่ผู้สื่อข่าวใช้คำ ดังนั้น คำนี้ ต้องใช้หลังคำคุณศัพท์เท่านั้น เห็นผู้สื่อข่าวใช้คำนี้ไปขยายคำกิริยาวิเศษณ์ก็มี ขอให้ท่านสังเกตการใช้คำนี้ก็ได้


๖) คำว่า "ถูกไหม/มั๊ย" คำนี้คนไทยภาคกลางใช้บ่อยด้วย ซึ่งเป็นคำที่ไม่ควรใช้บ่อย เนื่องจากว่า มันเป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เหมือนเป็นคำกล่าวขึ้นมาลอยๆ เมื่อพูดบ่อยๆ บางเรื่องผู้ฟังก็อาจไม่ห็นด้วยว่าถูก ถ้าตอบว่า ไม่เห็นด้วย ก็จะกลายเป็นการยัดแย้งในบทสนทนา ถ้าหากตอบว่า ถูกครับ ก็อาจไม่ได้ความจริงจากคนอื่นเสมอไป และผู้พูดก็ควรประเมินผู้ฟังด้วยว่า การใช้คำนี้บ่อยๆ จะสร้างความอึดอัดหรือไม่ มิใช่พูดว่า ถูกไหมๆๆ เรื่อยไป

เข้าใจว่า อาจมาจากคำติดปากของฝรั่งดั้งโด่งก็ได้ ที่มักพูดบ่อยๆว่า Is that right? ที่จริง ภาษาที่ฝรั่งติดนิสัยแบบคนไทยนี้ ก็มีเช่นกัน คำนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยภาคกลางหรือคนในเมืองที่มีการศึกษาหรือผู้จบนอกที่ติดเชื้อมาจากฝรั่ง แอปเปิ้ล นั่นเอง สำรวจดูว่า ท่านใช้คำนี้บ่อยไหม?


๗) คำว่า "ใช่/ช่ายย- ไม่/ม่ายย" เป็นคำตอบรับ ที่เราตอบหรือเห็นด้วยกับทัศนะหรือพฤติกรรม คำพูดกับคนอื่น หรือไม่เห็นด้วย หรือขัดแย้ง คนไทยภาคกลางมักจะพูดทะลุกลางคำสนทนา หรือพูดแทรกในขณะฟังคนอื่นพูด สะท้อนให้เห็นอย่างแรงว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง การพูดว่า ใช่ ไม่ แบบลากเสียงนั้น เหมือนเป็นการแสดงออกอย่างเต็มที่ เหมือนคำอื่นๆ ที่พูดบ่อยๆ คือ ...มากๆๆๆๆๆๆ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่า เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย

นิสัยที่คนไทยใช้คำเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า ภาษา พฤติกรรม นิสัย ความจริง ไม่สอดคล้องกับเจตนา ไม่ตรงกันกับภาษาที่พูดออกไป หากแต่ใช้คำหรือพูดจนติดนิสัย จนอาจแสดงออกเกินเจตนาที่อยู่ข้างใน จึงไม่อาจยืนยันได้ว่า เป็นจริงตามเจตนาของจิตใจคนนั้นหรือไม่ เพราะเราใช้คำจนเคยชิน จนไม่รู้ตัวที่พูดออกไป สอง เราอาจไม่ได้กรองเนื้อหาในคำหรือประโยคนั้นละเอียดก่อนที่จะใช้คำนี้


๘) คำว่า "ถ้าเผื่อว่า/ถ้าเกิดว่า" เป็นคำที่คนไทยพูดบ่อยเช่นกัน ในทำนองว่า บางเรื่อง บางสิ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการคาดการณ์ที่น่าจะออกมาสองผลคือ เป็นจริง ไม่จริง ก็ได้ ทีนี้ผู้พูด (เยาวชนไทย) มักจะกล่าวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามความรู้สึกมากกว่าที่จะยืนยันเอาจากสถิติมาหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ มาพูด

ได้ยินอีกด้วยในกรณีว่า เมื่อมีผู้มาถามความเห็นว่า เพราะอะไร (ในกรณีใดๆ) เขา (เยาวชนไทย) มักจะตอบว่า เพราะถ้าเผื่อว่า... มันเป็นโครงสร้างของประโยคจาก ๑. ประโยคถามหาเหตุผล (why?) ๒. ประโยคเงื่อนไข (If) เป็นการนำเอาโครงสร้างทั้งสองมารวมกัน ทำให้สับสนเช่นกันว่า เพราะอะไร มีเหตุผลอะไร น่าจะบอกก่อน จากนั้น ก็ตอบประโยคเงื่อนไขความน่าจะเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ตามมา จะเรียกว่า ตอบไม่ตรงคำถาม หรือตอบเกินคำถามหรือไม่ ลองสังเกตดูตามสื่อ


๙) คำว่า "ที่สำคัญ" เราจะได้ยินคำนี้บ่อยๆ ในสื่อมวลชนจาก ดารา นักร้อง เยาวชน พิธีกร ที่มักพูดคำนี้ ซึ่งเขาเข้าใจคำนี้แค่ไหน คำว่า ที่สำคัญ หมายถึง เป็นเรื่องที่ดูแปลก อีกประการหนึ่งที่ไม่แพ้ความสำคัญของคุณสมบัติอื่นๆ ของสิ่งนั้นๆ เช่นกัน ที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของสิ่งนั้นจริงๆ เช่น โทรศัพท์ไอโฟนรุ่นนี้สามารถถ่ายรูปได้ อัดเสียงได้ เก็บข้อมูลได้สมบูรณ์ ที่สำคัญ มันสามารถล๊อคหมายเลขได้หากอยู่ในมือคนอื่น เป็นต้น

สำหรับคนในสื่อมัก จะกล่าวถึงสิ่งนั้นๆว่า ที่สำคัญ โดยไม่เห็นความสำคัญตามที่บอกกล่าวเลย แสดงให้เห็นว่า ไม่รู้จักการใช้ภาษาให้ตรงกับคุณสมบัติของวัตถุนั้นจริงๆ เพราะคำพูดกับภาพของพิธีกรนอกสนาม จะมีหลักฐานให้ผู้ชมเห็นเป็นประจักษ์ไปพร้อมๆกัน จะต่างตรงที่การใช้คำหรือภาษา ที่บรรยายของพิธีกรเท่านั้น หากใช้ภาษาไม่ตรงประเด็น ก็สะท้อนให้เห็นว่าพิธีกร ไม่ละเอียดเรื่องภาษาที่ใช้บรรยายเพื่อการจูงใจผู้ชมในสิ่งนั้นๆ


๑๐) คำว่า "จริงเหรอ" เป็นปรากฏการณ์ของสังคมไทยที่สะท้อนถึงความไม่จริงใจต่อกัน หรือเล่นภาษาในทำนองตลกโปกฮา จนกลายเป็นข้อสงสัย เมื่อคราเราต้องการความจริง จึงต้องถามกลับไปว่า จริงเหรอ/จริงหรือ ซึ่งทำให้เสียเวลา ในการกล่าวย้อนอีกครั้ง ในสังคมไทยดูเหมือนกำลังเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความตลก สนุกสนาน เฮฮา ไม่ว่าในชีวิตจริง ในสื่อ บันเทิง ละคร ภาพยนต์ ที่เอาภาษามาล้อเล่น ล้อเลียน จนกลายเป็นเรื่องพฤติกรรมที่ซ้ำซาก จนไม่รู้จักว่ากาละเทศหรือบุคคล

เรื่องนี้เกิดมีปัญหามาแล้วมากมาย ในสังคมไทยที่เข้าใจผิดกันเพราะภาษาที่สื่อกันว่า ล้อเล่นหรือไม่ตั้งใจ มันอาจนำไปสู่การสะท้อนความจริงที่มนุษย์มีการเล่นภาษาเหมือนเกมอย่างวิทกิตสไตน์กล่าวไว้หรือไม่ แม้ว่าสังคมไทยมีวัฒนธรรม มีมารยาทในการใช้คำต่างๆ ที่เหมาะสมกับบุคคลก็ตาม (ศีลข้อ ๔- คำหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ เหลวไหล) คนไทยส่วนมากก็ยังอ่อนหัดในความสวยงามหรือความเข้มขนของภาษาอยู่ดี


ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ก็ใช้กันว่าทำนองว่า อย่าซีเรียส ขำๆ ล้อเล่น สนุกๆ เมื่อเราใช้มากเข้า มันก็เข้าทำนองว่า "เด็กเลี้ยงแกะ" เวลาเอาเข้าจริง เราอาจเกิดข้อสงสัยว่า จริงหรือไม่ ที่เห็นชัดคือ รูปภาพ คำพูด ที่ปรากฏในสื่อมากมาย เราไม่อาจยืนยันได้ว่า เป็นภาพจริงหรือคำพูดจริง ที่กระจายอยู่ทั่วไปในสื่อโชเชียล ดังนั้น จึงอุทานออกมาเสมอว่า จริงเหรอ ??


นอกจากภาษาที่ติดปากเหล่านี้ สังคมไทยยังมีปัญหาเรื่องภาษาเขียน ที่ผิดเพี้ยนไปมาก อันเนื่องมาจากอิทธิพลของสื่อมิเดียหรือความไม่รอบคอบของคนไทย หรือการไม่เข้าใจในภาษา หรือเข้าใจแต่จงใจให้แตกต่างจากรูปแบบเก่าๆ จนเด็กติดจนเลียนแบบคนโตทั้งหมดที่กล่าวนั้นอย่างไม่รู้หลักการ ต่อไปในอนาคตเด็กๆ คนไทยจะเขียนภาษาไทยเพี้ยนมากขึ้น และไม่อาจแต่งเรียงความ เขียนบทความให้ถูกหลักภาษาได้เลย แล้วอะไรละที่เราควรจะเรียกว่า " ความเป็นไทย" (Being Thainess) ของเรา


---------------๗/๙/๕๘---------------------

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาคาปาก
หมายเลขบันทึก: 594503เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2015 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2015 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาษาเป็นวัฒนธรรม..สามารถเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกับธรรมชาติ...กับตัวตนเจ้าของเสียงนั้นๆ เป็นต้นว่านกแก้วนกขุนทอง สามารถเลียนเสียงภาษาที่มนุษย์ใช้ได้..คนก็เปลี่ยนไปตามพันธุ์และสิ่งแวดล้อม..ตามเวลา.สำเนียงบ่งภาษา กิริยาส่อสกุล..คือไทยใหม่..ภาษาใหม่ๆ..เราไมาสามารถใช้ภาษาพ่อขุนรามได้ อีกต่อไป..แล้ว..ล่ะค่ะ..

หุหุ ..... ผมโดนเต็มๆเลย อิอิ 5555

ผมชอบใช้ ภาษาถิ่น ทองแดง

จนได้ฉายา "เฒ่าทองแดง แหลงใต้ พายโน๊ตบุ๊ก"

คนไทยใหม่ มีอาการต่อไปนี้

- จนคำ รู้จัก และใช้คำภาษาไทยน้อยลง เป็นความถดถอยทางภาษา เพราะอ่านน้อย แต่คล้อยตามเยอะ (ใครว่าไงก็เฮตามกัน)

- เขียนไม่เป็น พอต้องเขียนโครงการ เขียนรายงานการประชุม เกิดอาการลน เขียนแล้วก็อ่านไม่รู้เรื่อง

- ไม่อ่าน ที่เป็นเนื้อเป็นหนัง คือ หนังสือ (เอาที่เกี่ยวกับงานก็พอ ไม่ต้องไปอ่านเพื่อพัฒนาสมอง เพิ่มปัญญา) อ่านแต่เฟส ไลน ฯลฯ วันๆ ก้มหน้าอย่างเดียว (นั่งประชุมก็ไม่มองหน้าประธาน อิ..อิ..)

มันจะเหลืออะไร

.....5555....

เป็นคติส่วนตัวล้วน ใครจะเถียงก็ไม่ว่ากัน

Thanks for the "gaps" in Thai language between generations.

I try to keep up but failing badly ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท