R2R เริ่มจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากและไกลเกินตัวจริงหรือ"...


มีผู้คนมากมายสะท้อนให้ข้าพเจ้าฟังว่า "R2R ยากมาก" ..."ไม่มีความรู้สถิติ"..."งานล้นมือให้ไปเรียนเพิ่มเรื่องวิจัย เรื่องสถิติคงจะไม่ไหว..." ...ฯลฯ

R2R เริ่มจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากและไกลเกินตัวจริงหรือ"...

รู้สึกว่า r2r เป็นเรื่องที่น่าหลาดหวั่นสำหรับ บุคลากรที่อยากพัฒนางานให้เป็นวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ

ทำให้หลายคนอยากเดินต่อ หลายคนอาจจะรู้สึกไปไม่ถึง

เวที่ประกวด ให้โอกาสโชว์ผลงานเฉพาะผู้ได้รางวัล

ทำให้ผู้เกือบได้รางวัลไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเวทีได้

ถ้าเราเปิดโอกาสให้ น่าจะเป็นการ empower ให้คนที่อยากไปถึงจุดนั้นมีโอกาสเช่นกันค่ะ

แต่ได้ยินจากท่าน อ สมบูรณ์ ได้เสนอแนวคิดนี้

ก็หวังว่า คงเปิดโอกาสให้คนอื่นๆเข้าไปร่วมนำเสนอผลงานด้วยนะคะ

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/594336

...

6 กันยายน พ.ศ.2556

ถ้อยความข้างต้นเป็นความเห็นของพี่แก้ว-คุณอุบล จ๋วงพานิช ทำให้ข้าพเจ้าถามต่อตนเองว่า "R2R เริ่มจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากและไกลเกินตัวจริงเหรอ"...

มีผู้คนมากมายสะท้อนให้ข้าพเจ้าฟังว่า "R2R ยากมาก" ..."ไม่มีความรู้สถิติ"..."งานล้นมือให้ไปเรียนเพิ่มเรื่องวิจัย เรื่องสถิติคงจะไม่ไหว..." ...ฯลฯ

"กระบวนการพัฒนาแต่มีการเก็บข้อมูล มีการ review..."

"แล้วคำถามที่เกิดขึ้นก่อนลงมือพัฒนานั้นคืออะไร"...ข้าพเจ้าย้อนถามและหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์คำว่า "คำถามการวิจัย"

บางครั้งคำถามชัด

มีกระบวนการออกแบบกิจกรรมบางอย่าง (Intervention) ...พัฒนาปรับปรุง...พัฒนาปรับปรุงอยู่หลายรอบ ท้ายสุดเก็บมูลวัดผล และใช้สถิติร้อยละวิเคราะห์...

เมื่อฟังเรื่องราวที่เขาเหล่า...เราเห็นปรากฏการณ์ PAOR ในงานชิ้นนั้น และเชียร์ให้ถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร...

ในลักษณะเช่นนี้เรายอบรับได้ไหมที่จะเรียกงานชิ้นนี้ว่า R2R

หลายท่านบอกว่าได้ถ้าเข้า 4 หลักเกณฑ์

1.คำถามมาจากงานประจำ

2.ผู้วิจัยคือผู้ที่ทำงานประจำนั้น

3.กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มารับบริการ

4.มีการนำกลับไปใช้จริงในงานประจำ

แต่ก็มีอีกหลายท่านไม่เห็นด้วย โดยมีความเห็นว่า ต้องมีการนำเสนอเค้าโครง...และผ่านกรรมการจริยธรรมทางการวิจัย...

ทีนี้หันกลับมาดูความเป็นจริงของคนทำงาน เพียงแค่ทำหน้างานของตนเองให้แล้วเสร็จก็เหนื่อยเสียจนไม่อยากทำอะไรแล้ว นอกจากคนที่มีฉันทะมากๆ จะลุกขึ้นมาขับเคี่ยวตนเองให้เรียนรู้การทำวิจัยแบบเต็มรูปแบบ...

แล้วผู้คนอีกมากมายล่ะ...ที่กำลังตกอยู่ในวัฏสังสารของการทำงานประจำ ทำอย่างไร...จึงจะหลุดพ้นออกมา เดิมทีข้าพเจ้ามองว่า R2R คือเครื่องมือปลดปล่อยพันธนาการอันร้อยรัดเขาได้ แต่ภาพการเคลื่อนไปทุกหย่อมหญ้าของ R2R เริ่มกลับสู่โหมดของการบีบรัดที่เข้มข้นด้วยคำว่างานชิ้นนี้ Significant หรือไม่... มากจนลืมปรากฏการณ์ความงดงามของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอันเป็น"ปัญญา"

แวดวง R2R

เรายอมรับ Research Methods ในแนวทึ่ไม่ใช้สถิติวิเคราะห์ได้ไหม เช่น action research , phenomenology , case study , case report ในแนวๆ ประมาณนี้...

ในความเห็นส่วนตัวบนวงล้อที่หมุนไปพร้อมกับงานพัฒนาคุณภาพมิติที่แจ่มชัดในรูปแบบงานวิจัยที่สอดคล้องกัน คือ action research เพราะมีวงล้อที่หมุนวนเป็นลูป (loop) คล้าย PDCA เราไปช่วยเหลาคำถามให้คมขึ้นชัดขึ้น และออกแบบเครื่องมือวัดผล...

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดูพื้นฐานของปัญหาและคำถามการวิจัยก็ยังคงความสำคัญของการออกแบบอยู่แต่ บนพื้นฐานอาชีพงานประจำที่วิจัยไม่ใช่งานหลักของเขาเราจะนำพาอย่างไรที่จะนำไปสู่การเกิดแรงบันดาลใจและการใช้ R2R มาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการงาน

คำสำคัญ (Tags): #r2r#km#ha
หมายเลขบันทึก: 594472เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2015 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2015 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท