ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การใช้มือประกอบการพูด


การใช้มือประกอบการพูด

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

การใช้มือประกอบการพูดมีความจำเป็นและมีความสำคัญมาก เพราะการใช้มือประกอบการพูดจะทำให้การพูดนั้นมีความน่าเชื่อถือ การใช้มือประกอบการพูดในลักษณะต่างๆจะสร้างการจูงใจผู้ฟังได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นศิลปะและศาสตร์ที่สามารถเรียนรู้กันได้

การใช้มือบอกถึงความหมายต่างๆ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น

- เมื่อเราพูดคำว่า “ ไม่ ” แล้วไม่ใช่มือประกอบการพูด กับ เราพูดคำว่า “ ไม่” โดยโปกมืออยู่ในระดับหน้าอก ผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ฟังจะเข้าใจว่า การโปกมืออยู่ที่ระดับหน้าอก จะแสดงให้เห็นว่า เป็นการปฏิเสธที่มีความหนักแน่นกว่า การพูดออกมาเฉยๆ โดยไม่ใช่มือประกอบ

- เมื่อเราพูดคำว่า “ทางโน้น” โดยไม่มีการฝายมือ ผู้ฟังอาจงง ว่า เป็นทางไหน แต่ถ้าเราพูดว่า “ ทางโน้น” แล้วฝายมือไปยังทิศที่เราต้องการให้ผู้ฟังรู้ ผู้ฟังก็จะทราบได้ว่าคนพูดต้องการให้ผู้ฟังทราบว่าทิศทางใด

- เมื่อเราต้องการบอกระดับความสูง เราก็สามารถใช้มือของเราวางเท่าระดับความสูงนั้นๆ เช่น ลูกชายผมตอนนี้สูงเท่านี้ ใช้มือคว่ำแล้วแตะที่ระดับเอว ผู้ฟังก็จะรู้ว่าสูงเท่าเอว หรือ ใช้มือคว่ำแล้วแตะอยู่ที่หน้าอก ผู้ฟังก็จะรู้ว่าสูงเท่าหน้าอก เป็นต้น

การใช้มือเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังทำตาม

  • ในการเป็นวิทยากรบรรยายในงานอบรมแต่ละครั้ง ผมมักจะถามว่า ใครเข้าใจแล้ว ยกมือขึ้น ทุกคนก็เฉยๆ ไม่ยอมให้ความร่วมมือหรืออาจเป็นเพราะผู้ฟังไม่กล้ายุ่งอะไรกับวิทยากร แต่เมื่อผมใช้มือประกอบ เช่น ผมบอกว่า ใครเข้าใจแล้วยกมือขึ้น แล้วผมก็ยกมือของผมขึ้นในขณะพูด ปรากฏว่า มีผู้ฟังบางคนเริ่มยกมือไปกับผม
  • มีอยู่หลายครั้งทีเดียว ที่ผมเป็นพิธีกรหรือเป็นวิทยากรในงานต่างๆ แล้วผมจำชื่อของคู่บ่าวสาวไม่ได้หรือชื่องานที่เข้าอบรมไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็มีชื่อคู่บ่าวสาวหรือชื่อข้อความการจัดอบรมอยู่ที่หน้าเวที ถ้าเกิดผมจำไม่ได้แล้ว หันหลังไปอ่าน คนฟังหรือเจ้าภาพย่อมไม่ประทับใจผมแน่

หรือ บางครั้งเมื่อผมต้องการให้คนฟังยกมือขึ้น ผมก็จะพูดด้วยเสียงที่ดังแล้วยกมือของผมขึ้นก่อน ผู้ฟังหลายคนก็จะเริ่มมีส่วนร่วมในการยกมือไปพร้อมกับผม

การใช้มือประกอบการพูดเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

แต่ผมใช้วิธีนี้ ท่านผู้อ่านอาจนำไปใช้ดูก็ได้ครับ คือ เมื่อผมจำชื่อคู่บ่าวสาวไม่ได้ ผมก็จะใช้วิธีการฝายมือไปยัง ชื่อคู่บ่าวสาว ด้านหน้าเวที เพื่อให้ทุกคนที่เข้าร่วมงานดู แต่จริงๆแล้ว ผมลืมครับ ผมดูเอง เพราะผมจำไม่ได้ แต่การใช้วิธีการฝายมือได้ผลครับ ทุกคนต่างดูไปที่ชื่อคู่บ่าวสาวพร้อมๆ กัน กับผม เสมือนหนึ่งว่าผมไม่ได้ดูชื่อคู่บ่าวสาวคนเดียว การอบรมก็เช่นกัน ถ้าผมจำชื่อโครงการหรือจำชื่อหลักสูตรการอบรมไม่ได้ ผมก็จะฝายมือให้คนฟังดูพร้อมๆกันกับผม แล้วผมก็อ่านมัน

ฉะนั้น ถ้าผู้พูดคนใด สามารถนำมือมาใช้ในการประกอบการพูด ก็จะทำให้การพูดของท่านเป็นที่น่าสนใจ และจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้พูดก็ไม่ควรใช้มือประกอบการพูดมากเสียจนเกินไป หรือใช้มืออย่างไม่มีความหมาย จนทำให้ผู้พูดสูญเสียบุคลิกภาพได้ในสายตาของผู้ฟัง



หมายเลขบันทึก: 594464เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2015 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2015 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท