Active Learning ให้นกเห็นฟ้า ให้ปลาเห็นน้ำ


วันก่อนภาควิชา ประกาศรับสมัครอาจารย์อาสาเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ให้กับนิสิต ป.โท ตาบอด บังเอิญว่า ผมเห็นประกาศช้าไปหน่อย ได้มีอาจารย์ท่านอื่นรับเป็นที่ปรึกษาให้เรียบร้อยแล้ว

จึงไม่ได้แจ้งความจำนงค์ไป




เช้าวันนี้มีสอนรายวิชา มนุษย์กับการเรียนรู้ (จิตตปัญญาศึกษา)

นึกขึ้นได้ว่า ควนนำกิจกรรม "นกเห็นฟ้า ปลาเห็นน้ำ หรือไม่ ?" มาใช้จัดกิจกรรมในห้องเรียนหนอ


โดยกำหนดให้นิสิต

1. ทำสมาธิ แล้วพิจารณาฝึกโยนิโส พิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ โดยการสมมติว่า ตนเองเป็นคนตาบอด ประมาณ 5-10 นาที

2. ขั้นต่อมา ให้นิสิตจับคู่กัน สมมติให้คนหนึ่งเป็นคนตาบอด อีกคนหนึ่งเป็นคนดูแลช่วยเหลือ

โดยให้นิสิตที่เป็นคนดูแล ฝึกดูแลเดินนำพานิสิตที่สมมติว่าเป็นคนตาบอด ลงบันไดไปที่ชั้นล่าง

พอถึงชั้นล่างแล้ว ก็ให้สลับบทบาทกัน คนดูแลเปลี่ยนเป็นคนตาบอด แล้วคนตาบอดเปลี่ยนเป็นคนดูแล

แล้วนำพาเพื่อนเดินขึ้นบันไดกลับเข้าสู่ห้องเรียน

3. ให้เขียนเรียงความ (Lesson Study) ว่า ตัวเราเองได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทั้งหน้าห้องและออนไลน์




https://www.facebook.com/drsurachet.noirid/videos/…






สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้


1. กิจกรรมนี้เป็น Active Learning เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

เป็นกิจกรรมฐานกาย ที่เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาฐานใจได้ดีมาก

2. จากขั้นที่ 1 ที่ให้นั่งสมาธิสมมติว่า เป็นคนตาบอด ผู้เรียนจำนวนหนึ่งอาจเข้าถึง

พอได้ให้ทำกิจกรรมเป็นคนดูแลจูงคนตาบอดลงบันได ผู้เรียนอีกจำนวนหนึ่งจะเข้าถึงใจเพิ่มขึ้นอีก

และเมื่อตนเองได้เล่นบทบาทสมมติเป็นคนตาบอดเอง คราวนี้องค์ความรู้ทั้ง 3 ชั้น 3 ระดับ

จะเชื่อมโยงเข้าเป็นหนึ่งเดียว สามารถเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น หนอ

3.




หมายเลขบันทึก: 594407เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2015 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2015 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท