ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_25 : ถอดบทเรียน BP อ่านออกเขียนได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ (๑)


<p “=”“>วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ผมไปร่วมอาจารย์สายรุ้ง น้อยนาจารย์ ศึกษานิเทศก์ สพป. กาฬสินธุ์ “ถอดบทเรียน” ครูและผู้อำนวยการจากโรงเรียนประมาณ ๒๒ แห่ง ในเขตพื้นที่ สพป.กส. เขต ๑ เป็นส่วนหนึ่งของความพยามตามนโยบายอ่านออกเขียนได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ </p>

ความคาดหวังของท่านคือ ได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ดีหรือ BP (Best Practice) จากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในวันนี้ และอยากรู้วิธีบริหารจัดการและสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร กลุ่มเป้าหมายจึงเลือก ผู้อำนวยการโรงเรียน ๑ และครูแกนนำ ๑ รวมแล้วประมาณ ๔๐ คน .... ผมแนะนำท่านอาจารย์สายรุ้งว่า เราควรเน้นถึงความสำเร็จ นั่นคือเกริ่นนำด้วยสาเหตุที่กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ถูกเลือกท่านกล่าวถึงผลการสำรวจด้วยเครื่องมือของหน่วยงานแห่งหนึ่ง ที่การันตีว่า

โรงเรียนที่เลือกมาในวันนั้น "อ่านออก เขียนได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์"

เริ่มด้วยเปิดใจและสร้างเป้าหมายร่วม

ผมนำละลายพฤติกรรมโดยให้ทำกิจกรรมวาดรูปตนเอง วาดรูปใดๆ ที่สื่อได้ถึงตนเอง สื่อได้ถึงสไตล์การทำงานของตนเองที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ ได้คุณลักษณะสำคัญของครูและผู้บริหาร ดังนี้ครับ



ผอ.สังวาล บอกว่า เป็นผู้บริหารโรงเรียนต้อง "ตาโต หัวโต มือใหญ่ ปากเล็ก" คือต้องคอยสังเกต ตรวจตราดู มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง เป็นนักคิด นักพัฒนา ทำให้มาก ประสานให้มาก แต่พูดให้น้อยๆ ...



ท่านหนึ่งบอกว่า ผอ.ที่ดีต้องมีพันมือ (หลายมือ) บริหารจัดการและทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กันได้ดี ต้องมีความเข้มแข็งจริงจัง เสียงดัง มีพลังเต็มเปี่ยม เปรียบเหมือนใบหน้าหนวดเข้มขรึม นอกจากนี้ สิ่งที่ทุกคนต้องถามคือ ทำไมต้องเห็นกางเกงในสีชมพู คำตอบคือ ต้องเปิดเผยและอ่อนน้อม ประณีประนอม ... สุดยอดไปเลยครับ




รูปนี้ จากครูดี ครูเพื่อศิษย์ อย่างแท้จริงครับ ท่านบอกว่า การทำหน้าที่ครูคือการทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน และต้องสอนให้เด็กเป็นคนดีที่ไม่หวังผลตอบแทนด้วย ...

ผมตีความจากภาพนี้ว่า ครูต้องมอบของที่มีคุณค่าให้กับนักเรียน เป็นนักสร้างสื่อ นับถือคุณความดีความหลักศาสนาที่ตนนับถือ


ท่านนี้บอกว่า หน้าที่ของครูคือพานักเรียนข้ามผ่านปัญหาอุปสรรค์ (ขวากหนาม)ต่างๆ ไปสู่ความสำเร็จในชีวิต มีอาชีพที่ดีในอนาคต

ขั้นตอนการเตรียมตัวเล่าเรื่อง

หลังกระบวนนี้ ผมใช้วิธีให้ครูจับกลุ่มๆ ละ ๓ คน ให้คนที่หนึ่งเล่าเรื่อง คนที่สองฟังและซักถาม ส่วนคนที่ ๓ เป็นคนจดบันทึกประเด็นสำคัญ ๆ โดยให้เวลาคนละ ๗ นาที ก่อนจะเวียนให้ครบทุกคน แล้วให้แต่ละคนทำ timeline เพื่อขยายกระบวนการให้ละเอียดมากขึ้น

ขั้นตอนการถอดบทเรียนเขียนเป็นชิ้นงานเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยน

หลังรับประทานอาหารกลางวัน กิจกรรมคือแบ่งกลุ่มรายโรงเรียน แล้วร่วมกันถอดบทเรียนของโรงเรียน ลงบนกระดาษปลู๊ฟ เหมือนเป็นชิ้นงานแบบหนึ่ง ก่อนจะนำเสนอแบบคล้ายโปสเตอร์ข้างฝา ให้แต่คนเวียนมาแลกเปลี่ยน

บันทึกต่อไป จะเล่าอธิบายถึงรูปแบบการทำงานที่ทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นะครับ





หมายเลขบันทึก: 594138เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2015 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2016 05:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท