"กฏแห่งกรรม" ... (อัจฉริยะ ๑๐๐ หน้า พระธรรมคำสอน : ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา)



กฎแห่งกรรม


ธรรมหมวดหนึ่งซึ่งนับว่าสำคัญมากที่มนุษย์จะต้องรู้และเข้าใจเพื่อให้สามารถเข้าใจชีวิต

และธรรมหมวดอื่น ๆ ได้อย่างถูกตรง อีกทั้งยังทำให้ใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ประมาท
ก็คือ เรื่องของกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด


กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วย เจตนา คือ จงใจทำ
การกระทำใดที่ทำไปโดยไม่เจตนา ไม่นับว่าเป็นกรรม

เช่น เดินเหยียบหมดตายโดยไม่รู้ หรือ ทำของตกแตกโดยไม่รู้ เป็นต้น


บุคคลเมื่อทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของสิ่งที่กระทำ เพียงแต่ผลจะมาถึงช้าหรือเร็ว
ในชาตินี้หรือชาติหน้า ไม่มีกรรมใดที่ไม่มีผล และไม่สามารถทำกรรมหรือรับผลของกรรมแทนได้
มีแต่ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของกรรมที่ตนเองก่อไว้


กรรมแบ่งออกเป็น ๒, ๓ และ ๑๒ ประเภท ดังนี้


๑. แบ่งตามคุณภาพ

กรรมมี ๒ ประเภท คือ กรรมชั่ว และ กรรมดี


กรรมชั่ว = อกุศลกรรม

เกิดได้ ๑๐ ทาง เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่

กายกรรม

๑) ปาณาติบาต ทำร้าย ทำลายชีวิต
๒) อทินนาทาน ลักขโมย ละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม

๔) มุสาวาท พูดเท็จ
๕) ปิสุณวาจา พูดส่อเสียด
๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม

๘) อภิชฌา โลกอยากได้ของผู้อื่น
๙) พยาบาท คิดร้ายต่อผู้อื่น
๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากธรรม


กรรมดี = กุศลกรรม

เกิดได้ ๑๐ ทาง เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่

กายกรรม

๑) เว้นจากการทำร้าย ทำลายชีวิต
๒) เว้นจากการลักขโมย ละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม

๔) เว้นจากการพูดเท็จ
๕) เว้นจากการพูดส่อเสียด
๖) เว้นจากการพูดคำหยาบ
๗) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม

๘) ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
๙) ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น
๑๐) เห็นถูกตามธรรม


อกุศลมูล vs กุศลมูล

ต้นตอของกรรมชั่วและกรรมดี มาจาก


อกุกศลมูล ๓

๑) โลภะ ความอยากได้
๒) โทสะ ความคิดประทุษร้าย
๓) โมหะ ความหลง ความโง่เขลา


กุศลมูล ๓

๑) อโลภะ จาคะ (ความคิดเผื่อแผ่)
๒) อโทสะ เมตตา
๓) อโมหะ ปัญญา



๒. แบ่งตามช่องทางที่กระทำ

กรรมมี ๓ ประเภท คือ


๑) กายกรรม คือ การกระทำทางกาย
๒) วจีกรรม คือ การกระทำทางวาจา
๓) มโนกรรม คือ การกระทำทางใจ



๓. แบ่งตามการให้ผล

กรรมมี ๑๒ ประเภท คือ


หมวดที่ ๑

แบ่งตามเวลาที่ให้ผล

๑) ทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน
๒) อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติถัดไป
๓) อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
๔) อโหสิกรรม กรรรมที่เลิกให้ผล


หมวดที่ ๒

แบ่งตามหน้าที่

๕) ชนกกรรม กรรมที่ให้เกิด
) อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน หรือ ซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
) อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น ให้ผลกรรมเดิม เบา หรือ สั้นลง
) อุปฆาตกกรรม กรรรมตัดรอน กรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ผลของกรรมเดิมขาดช่วงหรือหยุดไป


หมวดที่ ๓

แบ่งตามลำดับในการให้ผล

๙) ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
๑๐) พหุลกรรม กรรมทำบ่อย ให้ผลรองลงมา
๑๑) อาสันนกรรม กรรมใกล้ตาย ให้ผลต่อมา
๑๒) กตัตตากรรม กรรรมทำด้วยเจตนาอ่อน ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล



......................................................................................................................................

กรรมที่ทำไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้ แม้จะทำกรรมดีมากแค่ไหนก็ลบล้างกรรมชั่วที่ก่อไว้ไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้กรรมชั่วที่มีอยู่เดิมให้ผลช้าลง หรือผ่อนหนักเป็นเบาได้ เปรียบได้กับการเติมน้ำใสลงไปในเหยือกที่บรรจุน้ำผสมสี แม้จะไม่สามารถทำให้น้ำกลับไปใสได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การเติมน้ำใสก็ช่วยให้สีเจือจางลงเรื่อย ๆ และหากเติมน้ำใสจนล้นเหยือกไปเรื่อย ๆ ถึงจุดนี้น้ำส่วนที่เป็นน้ำสีก็อาจจะไหลล้นหมดไปจนไม่เหลืออยู่เลย ดังเช่นกรรมที่กลายเป็นอโหสิกรรม เลิกให้ผลเพราะเจ้าตัวบรรลุธรรมนิพพานไปเสียก่อน

......................................................................................................................................



การเรียนรู้เรื่อง "กฏแห่งกรรม"
จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างไม่ประมาท

ชีวิตนี้สั้นนัก เร่งทำความดีงามกันเถิด
อย่าเสียเวลากับอะไรก็ไม่รู้ที่เป็นกิเลส ตัณหาอยู่เลย

จงเชื่อมั่นในการให้ผลของกรรม

กฎแห่งกรรม ยุติธรรมเสมอ

บุญรักษา ทุกท่าน ;)...



......................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือ ...

ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา. อัจฉริยะ ๑๐๐ หน้า พระธรรมคำสอน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ฯ, ๒๕๕๗.


หมายเลขบันทึก: 594134เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2015 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2015 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กฎแห่งกรรม

น่าสนใจมาก

สาธุๆกับเรื่องดีๆครับ

ขอบคุณมากครับ ท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

"บุญทำ..กรรมแต่ง"..โบราณ..ว่าไว้..สั้นๆ..แต่ความหมาย..คงยืดยาว..นะเจ้าคะ..

มีดอกไม้คนทำมาให้..ดู..เจ้าค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท