การปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักคุณภาพของคน




ประเทศไทยติดกับดัก ‘คุณภาพของคน’

ประเทศไทยกำลังติดกับดักหลายอย่าง คือ

- กับดักรายได้ปานกลาง

- กับดักการแข่งขันสู่ประเทศอื่นไม่ได้

- กับดักความอ่อนแอของระบบราชการ

- กับดับระบบการผลิตและอุตสาหกรรมล้าสมัย

- กับดักการทุจริตคอร์รัปชั่น

- กับดักความไม่มีระเบียบวินัย ไม่เคารพกฎหมาย และจริยธรรมเสื่อมทราม

- กับดักความเหลื่อมล้ำ และแตกแยก

ฯลฯ

เพราะประเทศไทยกำลังติดกับดัก ‘คุณภาพของคนไทย’


การปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักคุณภาพของคน

1. เปลี่ยนคอนเซ็ปท์ (concept) ของการศึกษาจาก ‘การท่องจำความรู้เพื่อการสอบ’ เป็น ‘การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน และการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21’

2. เปลี่ยนหลักสูตร วิธีการเรียน และการสอน จากการท่องจำความรู้แล้วสอบเป็นการสอนให้มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นและการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางจิตใจ สติปัญญาและความคิด การดำเนินชีวิต การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับคนอื่น การลงมือปฏิบัติงาน การประกอบอาชีพ การแสวงหาความรู้และทักษะใหม่ การถ่ายทอดทักษะและแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น การทำงานเสียสละและจิตอาสาต่อส่วนรวม

3. เปลี่ยนวิธีการประเมินที่เน้นการประเมินความจำและการสอบแบบปรนัยในทุกระดับชั้น โดยเฉพาะการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นการประเมินความรู้และทักษะ โดยการสอบแบบอัตนัยและการประเมินโดยวิธีอื่นๆ และการให้ความสำคัญกับบันทึกผลการเรียนและกิจกรรมการเรียนรู้ (portfolio)

4. ลดเวลาเรียนในห้องเรียน แต่เพิ่มการทำกิจกรรมในโรงเรียน จัดรูปแบบและบรรยากาศในโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และการฝึกทักษะผ่านการทำกิจกรรม การปฏิบัติงาน การสร้างประสบการณ์ และการฝึกวิชาชีพ

5. เปลี่ยนรูปแบบและวิธีการประเมินครู โรงเรียน และสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญต่อการใช้เวลาในการพัฒนาผู้เรียน คุณภาพในการปฏิบัติงาน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จากการปฏิบัติจริง ไม่ใช่จากเอกสาร

6. เปลี่ยนระบบผลิตและพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับการศึกษาใหม่ในศตวรรษที่ 21

หมายเลขบันทึก: 594132เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2015 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2015 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมาก

เรามีการสอบและสอนไม่สอดคล้องกัน

ครูสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ข้อสอบเน้นความจำ

แถมครูมีภาระงานอื่นที่ไม่ใช่งานสอนมากมายครับ

ชอบใจข้อเขียนอยากเห็นการขับเคลื่อนในระดับปฏิบัติมากกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท