จิตใต้สำนึกกลับไปสู่ความสุขอีกครั้งด้วยพลังกิจกรรมบำบัด


อีกกรณีศึกษาหนึ่ง ต้องขอบพระคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง อาจารย์พี่เลี้ยงของผม และผู้มารับบริการที่ผมต้องยกให้ท่านเป็นอาจารย์คนสำคัญ ที่ทำให้ผมได้มีโอกาส เห็นงานกิจกรรมบำบัดที่ทรงพลังบนพื้นฐานแห่งศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่มายากล นั้นไม่ใช่ความรู้สึกที่ผมสัมผัส รับรู้ และรู้คิดเพียงคนเดียว หากแต่ว่าเป็นความเห็นที่ตรงกันทั้งผู้มารับบริการ และผู้ให้บริการ ที่เมื่อจากกันมีแต่รอยยิ้ม และความสุขที่กำลังจะค้นพบหลังจากนี้อีก 21 วัน

การสามารถเข้าไปเรียนรู้จิตใต้สำนึกพร้อมๆกับผู้รับบริการ โดยสอดแทรกสื่อทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งกรณีศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้ การบำบัดด้วยตัวเราเอง (Therapeutic use of self) และกระบวนการสอน และเรียนรู้โดยผู้รับบริการเป็นจุดศูนย์กลาง (Teaching & learning process) ร่วมกับวิธีการจัดพฤติกรรมของสมอง และจิตใต้สำนึก (Neuro Linguistic Programming) ที่รู้จักกันในตัวย่อว่า NLP โดยผ่านกระบวนการใช้ภาษาพูดที่ละเมียดละไม และภาษากายที่แสดงออกถึงการเป็นมิตร ซึ่งเป็นทักษะการสื่อสารที่แสดงออกถึงความเมตตาจากจิตที่บริสุทธ์โดยปราศจากความต้องการ แต่กลับเป็นผู้ให้อย่างแท้จริงโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตจากการตีความสิ่งที่มากระทบด้วยจิตที่เริ่มตื่นรู้

กิจกรรมในวันนี้เริ่มจาก นักกิจกรรมบำบัดให้ผู้รับบริการได้เริ่มทบทวนความรู้สึกของตนเองใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยใช้แท่งสีเป็นตัวแทนสัญลักษณ์เพื่อเชื่อมโยงไปสู่ความรู้สึก พร้อมบอกเล่าความรู้สึกนั้นผ่านนักกิจกรรมบำบัด โดยนักกิจกรรมบำบัดรับรู้ผ่านกระบวนทักษะเมตตา โดยมีการ สบตาอย่างลึกซึ้ง มีการฟังอย่างลึกซึ้ง การป้องกันกับดักเงียบขณะสนทนา การสร้างแรงจูงใจให้กำลังใจ รวมไปถึงความดีงามที่มาจากใจ

การเริ่มเข้าสู่กระบวนการใช้เทคนิคการฝึกจิตใต้สำนึก (NLP) ซึ่งมีหลายวิธีที่ โดยในวันนี้ได้นำวิธีการกลอกตาไปในทิศทางต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Eye and Body Movements in NLP หลังจากที่ผู้รับบริการได้ปฏิบัติ ทำให้พบว่าภาพใบหน้าของตัวเองที่เห็นอยู่เป็นประจำ กลับเลื่อนลาง ไม่ค่อยชัดเจน เมื่อเทียบกลับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว รวมไปถึงบุคคลใกล้ชิด โดยนักกิจกรรมบำบัดมีบทบาททำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) โดยชื่อมโยงผ่านกระบวนการสื่อสารภาษา ผ่านการทำงานของสมองด้านการรับรู้

กิจกรรมถัดมาผู้รับบริการได้เดินรอบโต๊ะโดยหลับตา ภายใต้บรรยากาศในห้องที่สลัวโดยปิดไฟ ก่อนเดินผู้รับบริการมีโอกาสได้ใช้เวลสำรวจสิ่งแวดล้อมประมาณ 15-30 วินาที เมื่อพร้อมนักกิจกรรมบำบัดถามถึงร้อยละความสำเร็จ ผู้รับบริการบอก 150 % หลังจากเดินเสร็จมายังจุดเริ่มต้น นักกิจกรรมบำบัดได้ถามถึงร้อยละความสำเร็จ ผู้รับบริการบอกเหลือเพียง 50% เมื่อเสร็จจากกิจกรรม ผู้รับบริการได้เล่าถึงความรู้สึกขณะเดิน ความกลัวเป็นความรู้สึกที่เข้ามาเป็นความรู้สึกแรก และตัวผู้รับบริการพยายามที่จะจัดการความรู้สึกนั้นถึงกับต้องแอบลืมตา

ขณะพูดคุยสนทนาแสดงความรู้สึก พร้อมกระตุ้นให้ผู้รับบริการเรียนรู้ถึงจิตใต้สำนึกของตนเองที่ นักกิจกรรมบำบัดให้ผู้รับบริการเขียนสิ่งที่รู้สึกอยากทำลงในกระดาษ จำนวนข้อที่เขียนลงกระดาษมีมากกว่า 15 ข้อ นักกิจกรรมบำบัดเสนอให้ผู้รับบริการเลือกมาเพียง 5 ข้อที่รู้สึกอยากทำจริงๆ เมื่อเริ่มทบทวนความรู้สึกอย่างละเอียดอีกครั้งมีเพียง 1 ข้อเท่านั้นที่ผู้รับบริการอยากทำจริงๆ คือ กลับไปหัวเราะ มีความสุข ในกิจกรรมยามว่าง

ก่อนจากกันนักกิจกรรมบัดเสนอท้าทายให้ผู้รับบริการหลับตาเดินรอบโต๊ะอีก 1 รอบ ผู้รับบริการรีบตอบทันทีว่าสบายมาก ทำได้ พร้อมได้บอกร้อยละความสำเร็จคือ 100% ทั้งๆที่ยังไม่ได้มีการสำรวจก่อนเริ่มหลับตาเดิน เมื่อเสร็จจากกิจกรรมดังกล่าว ผู้รับบริการได้บอกร้อยละความสำเร็จหลือเพียง 70% พร้อมได้เล่าถึงความรู้สึกขณะเดิน ไม่พบความรู้สึกกลัว แต่กลับกลายเป็นความรู้สึกสนุก ที่เข้ามาแทนที่ การทบทวนความรู้สึกครั้งสุดท้ายก่อนจากกันประมาณ 5 นาที ผู้รับบริการแสดงแววตาที่สดใจ มีความหวัง ถึงแนวทางการรับรู้ถึงความรู้สึกมีความสุข และบอกกับนักกิจกรรมบำบัดถึงแนวทางที่จะเรียนรู้ถึงการรู้สึกถึงความสุข ผ่านการรับรู้แทนที่จะเป็นการรู้คิด

ประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้ถึง การรับรู้ความรู้สึกตนเองในเชิงอารมณ์ (Self-perception) มากขึ้น ความสามารถที่ลดลงในการสังเกตความรู้สึกตนเอง (Low self-perception) ย่อมส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนภายในจิตใจของตนเอง (Mind Instability) นอกจากนี้ทำให้วิเคราะห์ขยายผลต่อไปในส่วนนิยามของตนเอง (self) มีการเชื่อมโยงกันกับความรู้สึก (sensory) และในส่วนการรับรู้ (Perception) มีการเชื่อมโยงกันกับอารมณ์ (Emotional)

หากลองทบทวนกิจกรรมการหลับตาเดินรอบโต๊ะทั้ง 2 ครั้ง จะพบข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ในรอบแรกก่อนเริ่มเดินผู้รับบริการแทบไม่ใช้การรับรู้ (Perception) ถ้าหากให้เทียบเป็นร้อยละ ก็คือ 0 แต่กลับใช้ความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ถึง 150 % เมื่อเดินเสร็จกลับมายังจุดเริ่มต้น ความรู้ความเข้าใจกลับไม่เหลือ กลายมาเป็นการรับรู้ (Perception) คือ 50% ต่างกันกับการเดินหลับตารอบโต๊ะในครั้งที่ 2 ก่อนเริ่มเดิน ผู้รับบริการได้ใช้การรับรู้ (Perception) ถึง 100% ส่วนความรู้ความเข้าใจ (Cognition) แทบไม่ใช้ เมื่อเดินเสร็จกลับมายังจุดเริ่มต้นการรับรู้ (Perception) ได้เหลือร้อยละ 70% ส่วน 30 % ที่หายไปกลับถูกแทนที่ด้วยความรู้สึก (Sensational)

"นี่จึงเป็นเหตุว่าทำไม การเรียนรู้พลังกิจกรรมบำบัด ยังหาจุดสิ้นสุดไม่ได้"

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 594005เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2015 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2015 00:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณครับอาจารย์ต้น อาจารย์แอน สำหรับกำลังใจดีๆที่มอบให้กันครับ

อ่านแล้วได้ภาพที่ชัดเจนและดึงพลังชีวิตได้เป็นรูปธรรม...ยินดีต้อนรับน้องวินัยสู่การเป็นบล๊อกเกอร์คนใหม่และขอให้ประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้ตลอดไป ขอบพระคุณมากครับ

ขอบพระคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง มากครับ สำหรับคำแนะนำ และกำลังใจดีๆ ที่มอบให้ครับ

ขอบคุณมากมากเลยครับ น้อง Paparporn Harueanmit สำหรับกำลังใจดีๆที่มอบให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท