ใช้จิตสื่อสาร...สัมผัสใจ


ขอบพระคุณความดีงามและความตั้งใจในการเรียนรู้อย่างจริงใจจากนักกายภาพบำบัดชุมชน พร้อมอ.เดียร์กับอ.แอนที่ช่วยผมเป็นโค้ชให้กลุ่มการเรียนรู้ผ่านไปด้วยความสุข

เป็นครั้งแรกของผมที่พยายามดึงศักยภาพในตนเองหลังจากผ่านประสบการณ์ทางคลินิกสุขภาพจิตสังคมด้วยกระบวนสื่อสารด้วยจิตใต้สำนึก กิจกรรมบำบัด การฟื้นคืนสุขภาวะ และการให้คำปรึกษาสร้างแรงจูงใจ มามากกว่า 100 ชม. เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารเมตตาออกมาจากหัวใจของความเป็นมนุษย์ ซึ่งนับเป็นปรากฎการณ์แห่งการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ยอดเยี่ยมของนักกายภาพบำบัดชุมชน ณ คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

ผมขอถอดบทเรียนพอสังเขปจากแก่นเนื้อหาบนกระดานข้างต้น ดังต่อไปนี้:-

  • ผู้เรียนย่อมเกิดการเรียนรู้ การฝึกฝน และการทบทวนว่า "ควรให้คะแนนตัวเองเท่าไรดีจาก 10 คะแนนเต็ม หากให้คะแนนตัวเองด้วยความรู้สึกจริงใจ-ยอมรับต่อการพัฒนาทักษะชีวิตอย่างแท้จริง ถ้าทำเต็มศักยภาพแล้วให้ 5 จาก 10 คะแนน ก็ถือว่า ผ่าน และควรค่อยๆนำแต่ละกระบวนการไปทดลองหรือประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้สู่ผู้รับบริการในชุมชนต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบเก็บสะสมชั่วโมงอย่างน้อย 100 ชั่วโมงในสถานการณ์จริง ของ "การสื่อสารพลังใจ - สร้างแรงจูงใจ รับความรู้สึก รู้อารมณ์บวก เรียนชีวิตคน ทวนความดีงาม"
  • ควรฝึกฝนจากทักษะที่ 1 สู่ 2...3...4...และ 5 ตามลำดับ แล้วจะค้นพบว่า "การพัฒนาทักษะเมตตาของตัวเองจะถูกดึงออกมาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ยิ่งถ้ามีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวของตัวเราขณะสื่อสารแล้วมีผู้คอยสะท้อนความรู้สึกแก่เราก็จะพบ "พลังการเปลี่ยนแปลงที่ดีงามของตัวเอง ก่อเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจใจการสื่อสารด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์อย่างสุขใจจริง
  • ทักษะแรก คือ การสบตาอย่างลึกซึ้ง ให้ทำท่าใบ้ "คำที่ชอบสองพยางค์" ด้วยความรู้สึกภายในใจ (ภาวนาคำโดยมิได้ออกเสียง) ผ่านสีหน้า น้ำเสียง และทุกอวัยวะบนใบหน้า จนกว่าเพื่อนจะทายถูกต้อง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ รอยยิ้มและอารมณ์บวกกับความมานะในการใส่ใจความรู้สึกของเพือนๆ


  • ทักษะสอง คือ การฟังอย่างลึกซึ้ง เริ่มจากการเลียนและแยกเสียงให้ตรงกับคู่สนทนาให้ได้มากที่สุดทั้งน้ำเสียงและท่าทาง จากนั้นกำหนดให้ผู้ให้คำปรึกษาพูดไม่เกิน 20% ของเวลาร่วมกับคู่สนทนาทั้งหมด โดยมีอีก 1-2 ท่านช่วยสะท้อนความรู้สึกหลังสังเกต รับฟัง และตัดสินใจด้วยความคิดเชิงวิจารณ์ว่า "รู้สึกอย่างไรและคู่สนทนาควรพัฒนาทักษะใดๆเพิ่มเติม" ซึ่งทั้งสามท่านสลับเปลี่ยนเล่าเรื่องเป็นธรรมชาติในเรื่อเมื่อวาน วันนี้ และพรุ่งนี้ เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตทำกิจกรรมต่างๆของตนเอง โดยก่อนที่จะเล่าเรื่องของตนเอง ให้ทำการ "ทวนข้อความหรือประเด็นที่น่าสนใจซ้ำจากที่เพื่อนพูดก่อนหน้านี้เพื่อไม่ให้วงสนทนาฟุ้งกระจายจนออกนอกประเด็นหลัก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ การฟังจับประเด็นผู้อื่นได้อย่างมีสติ สมาธิ และจับใจกันและกันระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังโดยธรรมชาติ
  • ทักษะสาม คือ การป้องกันกับดักเงียบขณะสนทนา (Silent Trapping) หรือ สมองคิดต่อเรื่องราวไม่ได้ทันทีเนื่องจากไม่มีสมาธิ สมองล้า และเกิดการเบี่ยงเบนประเด็นด้วยวิธีใดๆ ... เมื่่อผู้พูดรู้สติว่า "ตัวเองกำลังเกิดกัยดักเงียบ...ให้จูลคลื่อนสมองด้วยการเปลี่ยนท่าทางการพูด เช่น จากนั่งเป็นยืนพูดแล้วชวนคู่สนทนาให้ทวนประเด็นที่พูดค้างไว้ สักครู่หนึ่ง (2-3 นาที) ก็จะสนทนาได้ต่อเนื่องเหมือนเดิม" หรือจะฝึกใช้วิธีการตั้งคำถามแบบอยากรู้อยากเห็นเชิงคิดบวกร่วมกัน (แต่ตรงนี้จะเหมาะกับคนช่างถาม) หรือจะฝึก "สามคนในร่างเดียว - คนหนึ่งให้สัญญาณการพูดประเด็นภาพกว้างหรือภาพลึก สู่คนหนึ่งให้สัญญาณความรู้สึกด้วยการแตะบ่าขวาของผู้พูด (หลับตา) ว่า "เนื้อหาที่กำลังพูดอยู่ควรเรียบเรียงประเด็นให้ชัดเจนระหว่างภาพกว้างหรือภาพลึก" หากทั้งสามคนสื่อสารประสานใจกัน ผู้ที่กำลังพูดก็จะได้รับคำชมผ่านการแตะบ่าซ้ายว่า "ใช่ พูดได้ตรงประเด็นและเข้าใจตรงกันสำเร็จแล้ว" ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ความเข้าใจกันและกันขณะทำการสนทนากันหลายประเด็นในระยะเวลาที่จำกัดและสร้างความสามารถในการจับและปรับเปลี่ยนประเด็นได้อย่างคล่องแคล่ว


  • ทักษะสี่ คือ การสร้างแรงจูงใจให้กำลังใจผู้อื่น ต่อยอดจากเรื่องเล่าเรื่องราวชีวิตทั้งสุขและทุกข์ แล้วให้คู่สนทนาหรือกลุ่มสนทนาใส่ความรู้สึกร่วมอย่างจริงใจ หาช่วงจังหวะที่จับประเด็นที่เป็นอารมณ์ผู้พูด แล้ว "เน้นคำด้วยเสียงชื่นชม สงสัย แปลกใจ ตื้นเต้น หัวเราะ เศร้าใจ ดีใจ ฯลฯ" โดยเปิดใจ ลดอัตตา แล้วเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ของเรื่องราวของเพื่อนๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ความมีเสน่ห์ในการสื่อสารด้วยอารมณ์ชัน อารมณ์ร่วมทุกข์ร่วมสุข และความรวดเร็วในการสร้างสัมพันธภาพจริงใจ


  • ทักษะห้า คือ การเรียนรู้ทักษะเมตตา (ความดีงาม) ภายในตัวเองสู่การสร้างแรงบันดาลใจ/พลังชีวิตให้กับคนรอบข้าง ผมชวนให้อ่าน ฟัง เขียน และดูหนังสือสร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนเลือกตอนสำคัญของรายการ TED TALK ซึ่งในโอกาสบ้านเมืองกำลังเกิดปัญหาการวางระเบิด ผมเชิญชวนให้ผู้เรียนทำสมาธิและภาวนาในใจให้เห็นภาพ "ความเดือดร้อนจากเหตุการณ์วางระเบิด เรากำลังเห็นผู้คนบาดเจ็บ ผู้คนวิ่งหนี และกำลังเชิญชวนคนไทยให้ทำความดีรักประเทศไทย" จากนั้นให้คิดประโยคสั้้นๆที่สื่อสารจากใจออกมาแล้วชวนปลุกใจ ให้กำลังใจ และใส่ความดีงามร่วมกับคนอื่่่นๆในการแสดงทักษะเมตตาต่อสังคมรอบข้าง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ เชิญชวนให้นำไปเรียนรู้และลงมือฝึกฝนร่วมกับกระบวนการอื่่นๆ ในหน้าที่การทำความดีช่วยเหลือผู้อื่นๆต่อๆไป ซึ่งทุกท่านจะค่อยๆ "ทันความรู้สึกที่ดีงามของตัวเองต่อยอดด้วยความคิดที่สร้างสรรค์...ทันความคิดที่เป็นลบแล้วปรับเปลี่ยนตัดสินใจให้สื่อสารได้อย่างตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม ในทุกๆสถานการณ์ชีวิต"


หมายเลขบันทึก: 593636เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2015 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2015 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณมากครับคุณยายธีและอ.ต้น

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ คุณเกศินี คุณ For Far และคุณวินัย

ใช้จิตสื่อสาร สัมผัสด้วยใจ

ใช่ค่ะ ดร.ป๊อบ วันนี้ใช้การสัมผัสด้วยใจ จนเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยอมมาเรียนด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท