ฝึกจิตใต้สำนึก...ย้อนปรับปรุงตัวเอง


ขอบพระคุณกรณีศึกษารายที่ 32 ที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงแต่มีความวิตกกังวลทางสุขภาพจิตและอยากรู้ว่าต้องไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและการรักษาหรือไม่ จึงขอนัดหมายรับบริการทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับดร.ป๊อป ซึ่งผมก็ได้ใช้ความรู้เบื้องต้นที่จบการฝึกจิตใต้สำนึกมาสำเร็จไปแล้ว 31 กรณีศึกษาที่ใช้เวลาตามมาตรฐานสากลคือ เป็นโค้ชช่วยเหลือให้กรณีศึกษาเข้าใจและตั้งใจปรับปรุงจิตใต้สำนึกของตนเองภายใน 30 นาทีต่อหนึ่งปัญหาโดยมีข้อแม้ว่า จะตั้งใจและลงมือฝึกนิสัยหรือพฤติกรรมใหม่ของตนเองใน 21 วัน

แต่สำหรับกรณีศึกษารายนี้น่าสนใจเพราะมีถึง 3 ปัญหา และบางปัญหาก็ตรงกับดร.ป๊อปด้วย ลองมาเรียนรู้กันนะครับผม

  • ปัญหาแรก กรณีศึกษาสงสัยว่า ตัวเองมีปมหรือทุกข์ภายในใจตั้งแต่เด็กที่เป็นลูกคนกลางที่พ่อแม่ไม่รัก ทำให้โหยหาความรัก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จกับความรัก รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า อยากทราบว่าป่วยทางจิตแบบสะสมปมต่างๆหรือไม่ และอาการป่วยนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการเลี้ยงลูกวัยรุ่นและปัญหาในที่ทำงานตามมาจนอยากลาออก...แต่ก็มีปัญหาด้านการเงินตามมาถ้าต้องออกจากงาน...ดร.ป๊อป ใช้เทคนิคการฝึกจิตใต้สำนึกที่เรียกว่า The NLP SCORE Model [Acknowledgement: http://coachingleaders.emotional-climate.com/] แล้วก็ใช้เทคนิค Reflections [Acknowledgement: http://www.execcoach.net/] สุดท้ายใช้ The New Behavior Generator [Acknowledgement: http://nlp-mentor.com/new-behavior-generator/] ก็สรุปว่า กรณีศึกษาเห็นภาพอดีตในจิตใต้สำนึกถึงความสุขขณะทำการบ้านตอนเป็นนักเรียนมัธยมที่บ้านเก่าที่มีครอบครัวอยู่อย่างปกติ เห็นภาพปัจจุบันในจิตใต้สำนึกถึงความรักและเป็นห่วงถึงหน้าลูกและเปลี่ยนเป็นความระลึกถึงเจ้านาย ก็แสดงว่า เป็นคนคิดมากเกินไป ไม่ได้ป่วยทางจิต เพราะมีจิตใต้สำนึกที่เป็นบวกและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยคุณลักษณะเด่นของกรณีศึกษาที่พูดผ่านจิตใต้สำนึกว่า เป็นคนกล้าตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพา่ะหน้าเพื่อส่วนรวม ซึ่งผมได้ย้ำว่า นี่คือคุณค่าของกรณีศึกษาแล้วให้เขียนบนกระดาษที่มีธรรมะท้ายหน้าที่กรณีศึกษาเลือกคือ "ผู้ที่เจริญแล้ว คือ ผู้ที่มีสติ" จากนั้นก็ให้กรณีศึกษาผ่อนคลายด้วยเทคนิค NLP Brain Gym แบบหนึ่งคือ Thymus Thump [Acknowledgement: http://www.movemoretoday.com/]
  • ปัญหาสอง กรณีศึกษาคาดหวังว่า ลูกต้องเชื่อฟังและเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน แต่ลูกก็ไม่สนใจเวลาแม่พูดด้วย แม้ว่าลูกจะยอมให้กอดก่อนนอนทุกคืนและพยายามให้ลูกไปพบคุณพ่อที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันบ่อยครั้ง...ดร.ป๊อป ใช้เทคนิค Reframing [Acknowledgement: http://nlp-mentor.com/] ก็พบว่า กรณีศึกษาพูดช่วงแรกว่า เคยคิดสั้นแต่กลัวไม่ตายกับกลัวพิการ เลยไม่กล้าทำ ... ไม่ได้ห่วงลูกเพราะญาติคงเลี้ยงดูได้ และต่อมาก็ยอมรับว่า รักและห่วงลูก แล้วเกิดการรู้คิดและเข้าใจว่า "จะต้องปรับปรุงตัวเอง" โดยเรียนรู้ว่า "ลูกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ขณะที่สมองทำงานที่ศูนย์อิ่ม-หิวกับศูนย์หลับ-ตื่นที่สมดุลกัน" ปรากฎว่า กรณีศึกษากอดลูกแต่คาดหวังให้ลูกเชื่อฟัง หรือบางทีก็ปล่อยให้ลูกทานเสร็จก่อนแล้วแม่ค่อยทาน หรือ บางทีหงุดหงิดจากที่ทำงานก็ตำหนิลูกด้วยอารมณ์ไม่ดี ... ดร.ป๊อปจึงแนะนำให้ทำ Thymus Thump จำนวน 5 ครั้งแล้วให้กรณีศึกษาทำสมาธิจิตว่าง/ปล่อยวาง แล้วภาวนาในใจว่า "รักลูกๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆจนจิตนิ่งแล้วค่อยกอดลูกทุกคืน" ตรงนี้เรียกเทคนิคว่า Silencing Internal Voices [Acknowledgement: http://realpeoplepress.com/blog/]
  • ปัญหาสุดท้าย กรณีศึกษาเล่าให้ฟังถึงความขัดแย้งกับเจ้านายที่ชอบตำหนิและกระตุ้นปมของความไม่มีคุณค่าของกรณีศึกษาบ่อยครั้งจนทำงานไปวันๆตามที่เจ้านายสั่ง ... ดร.ป๊อปใช้เทคนิค Collapsing Anchors [Aknowledgement: http://www.personal-development-planet.com/] ก็ทำให้กรณีศึกษาเริ่มอยากสื่อสารขอโทษและพูดความในใจให้เจ้านายก่อนปีใหม่และมั่นใจมากขึ้นที่จะให้อภัยเจ้านาย
หมายเลขบันทึก: 582839เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2014 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2014 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบพระคุณมากครับคุณแสงแห่งความดี

สวัสดีค่ะ Dr.Pop ที่นับถือ ขอปรึกษานะค่ะว่า มีคนคนหนึ่ง เขาโกหกตลอดเวลา โกหกแม้กระทั่งตัวเอง ทั้งๆที่ครอบครัวก็มีเขาคนเดียว....ประมาณนี้ค่ะ จนดิฉันสรุปคนเดียวว่าเขาเป็นโรคจิตแน่นอน แต่สงสาร เราพอมีวิธีใดที่จะบำบัดเขาได้บ้างค่ะ เคยช่วยด้วยการให้รัก ความจริงใจ ความไว้วางใจทุกอย่าง มอบหมายงานให้รับผิดชอบ แต่ไม่ดีขึ้นเลย หนักขึ้นมากกว่าเดิม...ขอรบกวน Dr.Pop กรุณาชี้แนะค่ะ ขอบคุณคะ

ขอบพระคุณมากครับคุณเพ็ญศรี ในแง่พฤติกรรมที่โกหกตัวเองและผู้อื่น ยังไม่สามารถสรุปว่าเป็นโรคจิต แต่อาจมีปมปัญหาในจิตใต้สำนึกจนทำให้เกิดภาวะบุคลิกภาพที่รบกวนตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นการบำบัดต้องตรวจประเมินจนมั่นใจว่า เขาจะเปิดใจและรับรู้ปมที่มีอยู่ในความคิดหรือไม่ ถ้าไม่เปิด ก็เป็นการยากที่จะให้ความรักความจริงใจ เพราะตัวเขาจะไม่เปิดใจการรู้คิดใดๆ อารมณ์ยังคงปิดและไม่ได้เกิดการเรียนรู้จากคำพูดของตัวเอง ถ้าเปิดก็จะทำให้จิตใต้สำนึกอาจเกิดการเรียนรู้ใหม่และอาจเพิ่มความตั้งใจในการยอมรับการกระทำที่ไม่ดีของตัวเองจนเปิดใจเปลี่ยนแปลงตัวเอง ซึ่งวิธีการบำบัดต้องลองใช้การสั่งจิตใต้สำนึกซึ่งต้องเห็นหน้า สร้างสัมพันธภาพ และทดลองกระบวนการทางสมองด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การกลอกตาไปทางปมอดีต การทดลองว่าเคสรับรู้ทางภาพ เสียง หรือสัมผัส ฯลฯ นัดหมายผมได้ทางอีเมล์นะครับ [email protected]

ขอบพระคุณมากครับคุณอรและคุณยายธี

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท