​การประเมินความแท้ของพระเนื้อโลหะ และอายุของผิวโลหะจากลักษณะการเกิดของสนิม


หลังจากใช้เวลาในการจัดกลุ่ม แท้-เก๊ ของพระเนื้อโลหะ ตามหลักวิทยาศาสตร์และพัฒนาการของการเกิดสนิมได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

โดยเน้นใช้หลักการเกิดของสนิมในระยะ และรูปแบบต่างๆ เป็นหลักในการพิจารณาระยะ อายุ และระดับการเกิดของสนิมแบบต่างๆ โดยมีการเริ่มเกิดของ

1.สนิม “ผิว” บางๆ เคลือบอยู่ภายนอก ตามลักษณะ สีสนิมของโลหะแต่ละชนิด ที่เป็นองค์ประกอบในเนื้อ และที่ผิว ที่ต้องมีลักษณะของสีโลหะ และสีสนิมผิวที่สอดคล้องกัน เช่น สนิมทองแดงสีฟ้า/สีหยก สนิมสังกะสีสีขาวเหมือนแป้ง สนิมเงินสีดำ สนิมทองสีน้ำตาลแดง (ของเก๊จะใช้สีสังเคราะห์เดี่ยวๆ ที่ดูคล้ายๆสนิม ทา หรือหมักให้เกิดสนิมที่ผิว แต่ก็จะฟ้องด้วยสีสนิมไม่หลากหลาย ไม่เนียน ไม่เก่า)

2.สนิม “ผด” หรือ การเกิด “ผลึก” เป็นเม็ดกลมๆ ที่ผิวด้านนอกตามสีของโลหะ มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ กลมๆ อยู่ที่ผิว แบบละเอียดยิบผสมปนเปกันในจุดเดียวกัน (ของเก๊จะเป็นเม็ดหยาบๆ และโลหะชนิดเดียว เป็นแถบๆ) เป็นแถวบ้างกระจัดกระจายบ้าง ที่อาจจะเป็นการเกิด การรวมตัวกันของโลหะชนิดเดียวกันที่มีมากพอ เป็นผลึก ก็ได้ ที่ทำให้สามารถอ่านชนิดและสัดส่วนของเนื้อโลหะของผิวแต่ละจุดได้โดยตรง และเนื่องจากสนิมผด จะอยู่ ใต้สนิมผิว จึงจะเห็นได้ชัดตรงส่วนนูน และขอบของผิวกร่อน ที่สนิมผิวหายไป แต่ยังไม่รุนแรงถึงการสูญหายของชั้นสนิมผด จึงอาจจะทำให้เห็นสนิมผดได้โดยง่าย พอดีๆ

3.สนิม “พุพอง” ของผิวและเนื้อโลหะ ตามระดับชนิดและส่วนผสมของโลหะ โดยเกิดจากระดับที่มีความลึกของการเกิดสนิม ที่เมื่อมองจากภายนอก จะทำให้รู้สึกว่าเป็นลักษณะของความ “เหี่ยว” และ “ฉ่ำๆ” จากการมองจากภายนอก แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นการ “พุพอง” หรือ “ผด” ลึกจากเนื้อภายในของโลหะเก่า (ของเก๊จะทำให้เกิดเม็ดๆที่ผิว แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า และชนิดเดียว ไม่หลากหลายตามเนื้อและชนิดโลหะที่ควรมี)

4.สนิม “พัฒนา” หลากสีในเนื้อ ตามชนิดของโลหะ โดยเฉพาะสนิมทองคำที่นิยมใส่ในเนื้อพระรุ่นใหม่ๆ และพระเนื้อสำริดรุ่นเก่าๆ ก็เป็นตัวชี้วัดที่ดี ในการพิจารณาอายุและพัฒนาการของผิวโลหะได้ดี (ของเก๊ใช้สีผสมทาด้านนอก เลอะๆ ไม่สอดคล้องกับการกระจายตัวของโลหะในเนื้อ)

5.สนิม “แปลงรูป” คือสนิมที่ผิว ตามชนิดของโลหะ และส่วนผสม มีการพัฒนาเป็นสนิมที่มีการเกิดสารประกอบชนิดใหม่ ตามหลักการของการเกิดแร่ และ หิน ในขั้นต่อๆไป ที่สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของสี อย่างมีรูปแบบที่ชัดเจน ทั้งจากสนิมเชิงเดี่ยว และสนิมผสม ที่สามารถประเมินอายุได้ดีพอสมควร (ของเก๊ใช้สีทาทับบนผิว ที่ไม่สอดคล้องกับชนิดโลหะที่ต้องหลากหลายในเนื้อ)

6.สนิม “เชิงซ้อน” จากการทำปฏิกิริยาของสนิมชนิดต่างๆที่อยู่บนผิวนานๆ เช่น ทอง เงิน ตะกั่ว ทองแดง สังกะสี เหล็ก ฯลฯ เป็นต้น (ของเก๊ใช้สีทาทับภายนอก หรือพยายามสร้างสถานการณ์ปิดบังผิวด้านในไว้ไม่ให้เห็นได้ชัด คูคลุมเครือ ฟันธงไม่ได้)

7.สนิม “หลากอายุ” หลากสมัย หลากระดับ หลากแบบ (สนิมสามมิติ แบบ 3x3) ที่เป็นการพัฒนาการของพระเนื้อโลหะ ระดับพระกรุ ที่มีอายุหลายร้อย หรือระดับพันปี ที่จะมีการงอกของสนิมใหม่ๆ หรือ รุ่นใหม่ๆ ทับซ้อนบนสนิมเก่า หรือ รุ่นเก่าๆ ว่ากันเป็นรุ่นๆไปเลย แบบต่างยุค ต่างสมัย ห่างกันเป็น ร้อยๆปี กันไปเลย ที่ถ้าจับหลักของการเกิดสนิมแล้ว จะถือว่า ดูง่ายที่สุด เพราะนับกันทีละ 100 ปี แทนการนับทีละ 5 ปี 10 ปี แบบพระใหม่ๆ จึงเหมาะแก่การเริ่มเรียนของ “มือใหม่” หัดส่อง เพราะเป็นการเริ่มจากง่ายไปหายาก

โดยสรุปหลักการที่สำคัญ ชัดๆ คือ พระเนื้อโลหะต่างๆ จะต้องมี

ก.ลักษณะการเกิด และ สี ตรงกับชนิดของโลหะ และ/หรือ ชนิดการผสมของโลหะต่างๆ ที่ทำให้มีความแตกต่างของแต่ละองค์ ในรูปหล่อ หรือเหรียญหล่อโบราณ ที่แตกต่างจากการทำแบบสม่ำเสมอ ในปัจจุบัน ทั้งในองค์เดียวกัน และต่างองค์ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถพิจารณา “ยุคของการสร้าง” หรือ “อายุ” ได้

ข.เมื่อเทียบกับพิมพ์ทรง พุทธศิลป์ ด้วยแล้ว ก็จะสามารถพิจารณาความสอดคล้องกันตามยุค ตามอายุ และพิจารณาเก๊-แท้ได้โดยง่าย โดยถือหลักการที่ว่า โลหะอายุน้อย จะสนิมน้อยชั้น บางๆ ตื้นๆถ้าอายุมาก สนิมจะหลากชั้น ซับซ้อน หนา และลึก ผิดอายุ ก็น่าจะเก๊ครับ

ค.ในการเรียนรู้ จึงจะต้องทำความเข้าใจลักษณะการสร้าง วิธีการสร้าง สีสนิมของโลหะเดี่ยวๆ และโลหะผสม การเกิดสนิม และพัฒนาการของสนิมแบบต่างๆ แล้วพยายามปรับสายตา และความเข้าใจระดับพัฒนาการ รูปแบบของสนิมจนสามารถมอง "สเกลของสนิม" (แบบต่างๆ) กับอายุของโลหะให้ได้ ที่อาจจะแบ่งได้ ตั้งแต่ 10-100-1000 ปี

ง.โดยต้องถือหลักว่า อะไรที่พัฒนาเร็ว ก็จะเปลี่ยนแปลงเร็ว และหรือหายไปเร็ว

จ.ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ (1) ส่วนประกอบของโลหะดั้งเดิม (2) อายุพัฒนาการ (3) สภาพการใช้ การล้างที่ผ่านมา ทั้งจำนวนครั้งและวิธีการล้าง และเก็บรักษา ที่ทำให้พระแต่ละองค์ มีวิวัฒนาการ และลักษณะที่เห็นแตกต่างกัน ที่ยังมีลักษณะของสนิมที่ควรแก่การพิจารณาประกอบด้วย

ลักษณะของเกิดของสนิมที่เกิดขึ้นในโลหะเดี่ยว และโลหะผสม ดังกล่าวแล้ว ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้

ก.สนิมที่เกิด และยังฝังตัวอยู่ในเนื้อ เป็นเพียงการเปลี่ยนสี เพิ่มปริมาตร หรือมีลักษณะเป็นก้อนๆ เส้นๆ บวมๆ อยู่ในเนื้อ ที่เรียกง่ายๆ ว่า "ความเหี่ยว" ฉ่ำๆ อยู่ในเนื้อ มีสีและลักษณะ แตกต่างไปตามส่วนผสมตั้งต้น (Combined-metal-complex oxide) ในเนื้อโลหะนั้นๆ ที่เป็นสนิมโลหะเชิงซ้อนมาแต่เดิม เช่น พระ ลป ศุข ส่วนใหญ่ และ ลพ ทวด หลังเตารีด

ข.สนิมที่เกิดจากโลหะชนิดเดียว แต่พัฒนามาโดยลำดับ ไล่โทนสี จากในออกนอก ในจุดเดิม จนกระทั่งมีการพัฒนาของสนิมเดี่ยวเชิงซ้อน (Single-metal oxide complex) เป็นสีต่างๆได้อีก หลายลำดับ ที่เรียกว่า "เนื้อไล่โทนสี" เช่น สนิมทองคำ หลากสี ทั้งในและนอกเนื้อ บนจุดเดียวกัน ของพระที่มีเนื้อทองคำเป็นส่วนผสม

ค.สนิมที่เกิดทับถมกันด้านนอก เป็นชั้นๆ ของการเคลื่อนที่ของสนิมแต่ละประเภท ทำให้เกิดชั้นสีสนิมด้านนอกจากโลหะ ต่างชนิด มีสีแตกต่างกันแบบไม่เกี่ยวข้องกัน เรียกว่า "ชั้นสีสนิม" (Single-metal-oxides' layers) เช่น สนิม เขียว ขาว ดำ แดง ในเนื้อ ลพ เงิน

ง.สนิมที่เกิดแล้วหลุดร่วงไป เหลือแต่รอยกร่อน และคราบสนิมในหลุมเล็กๆน้อยๆ เรียกว่า "สนิมขุม" (Oxide pit surface) เกิดลักษณะเป็นผิวเหี่ยว หลุมๆ ขรุขระ ไม่สะท้อนแสง และมีคราบสนิมประปรายในหลุมเล็กๆ เหล่านั้น

จ.สนิมเชิงซ้อน (Metal oxide complex) ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของสนิมชนิดต่างๆ ในภายหลัง (Metal oxide derivatives) เกิดสนิมหลากสี เชิงซ้อน เป็นเอกลักษณ์ของส่วนผสมของแต่ละวัด แต่ละกรุ แต่ละรุ่น เช่น สนิมแดง สนิมลูกหว้า สนิมชินเขียว ที่จะมีลักษณะภายนอก เป็น อัตลักษณ์ของตัวเอง ที่เมื่อเห็นบ่อยๆ ก็จะจำได้เอง

นี่คือลักษณะที่ปรากฏของสนิมแบบต่างๆ ที่สามารถแบ่งได้ตามประเภทโลหะ พัฒนาการ และอายุ ที่สามารถกำหนด

1.เป็นหลักการ 123 ที่ทั้งดูความเก่าให้เป็น ในความเก่ามีความใหม่(สนิม) และความเหี่ยว-ฉ่ำ-นวล

2.หลักการดูสนิมหลากอายุแบบ 3x3 คือ หลากชนิด หลากสี และ หลากอายุ

3.หลักการดูชั้นสนิมแบบ 4+4 คือ 4 สีในเนื้อ และ 4 สีนอกเนื้อ


ที่ต้องลองพิจารณา ตามรูป หรือจะให้แน่นอนก็ต้องส่องของจริงตามหลักการ ศีล 3 ธรรม3 แบบดูง่ายๆ หาง่ายๆ ต้นทุนต่ำกว่าพระเก๊ เลย ครับ

หมายเลขบันทึก: 593457เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2015 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2015 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็ตามที่อาจารย์ว่าไว้น่ะแหละครับ จะให้แน่นอนก็ต้องส่องของจริงตามหลักการ ขอเสริมอีกนิด 100 ตำรา ก็สู้ตาเห็นไม่ได้ ครับผม เซียนตำรา โดนของเก๊ อัดเข้าให้ เจ๊งไปเยอะแล้ว

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์แสวง รวยสูงเนิน เป็นอย่างสูงที่ทำข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย ให้แก่คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และศึกษาต่อยอดออกไปครับขอแสดงความนับถือสิรภัค บูรณ์ไชย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท