การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง


เรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง

ผู้ประเมิน : นายจีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ

หน่วยงาน: โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง

ปีการศึกษา : 2557

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง 3) ประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง ด้าน 4.1) คุณภาพนักเรียน 4.2) ความพึงพอใจของครู 4.3) ความพึงพอใจของนักเรียน และ 4.4) ความพึงพอใจของผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา

การประเมินครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยครู 19 คน นักเรียน 186 คน ผู้ปกครอง 186 คน และกรรมการสถานศึกษา 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม 7 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามด้านบริบทของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 ฉบับที่ 2 สอบถามด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 ฉบับที่ 3 สอบถามด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 ฉบับที่ 4 สอบถามด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.85 ฉบับที่ 5 สอบถามความพึงพอใจของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 ฉบับที่ 6 สอบถามความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และฉบับที่ 7 สอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89

ผลการประเมิน

ผลการประเมิน พบว่า ในภาพรวมของโครงการอยู่ในระดับมากโดยมีผลแต่ละด้าน ดังนี้

1. บริบทของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผลของแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้

1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

1.3 ความเหมาะสมของเป้าหมายของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

1.4 ความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีผลประเมินอยู่ในระดับปานกลาง และผลของแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้

2.1 ผู้บริหารเป็นผู้นำในการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2.2 ครูมีเจตคติที่ดีและมีความสามารถในการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2.3 ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2.4 นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง

2.5 สถานศึกษามีสื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

3. กระบวนการดำเนินงามตามโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากและผลของแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้

3.1 การวางระบบการบริหารงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

3.2 การดำเนินงานตามระบบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

3.3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงานและพัฒนา มีผลการประเมิน อยู่ในระดับปานกลาง

4. ผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผลของแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้

4.1 นักเรียนรู้จักตนเองได้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

4.2 นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขนิสัยที่ดี มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

4.3 นักเรียนมีทักษะในการหลีกเลี่ยงป้องกันภัยอันตราย และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

4.4 นักเรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น และสามารถจัดการกับปัญหา และอารมณ์ตนเองได้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

4.5 นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม มีผล การประเมินอยู่ในระดับมาก

4.6 นักเรียนมีเจตคติที่ดี และมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต มีผล การประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง

5. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

6. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

7. ความพึงพอใจของผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

1. ผู้บริหารควรจัดให้มีการอบรมหรือให้ความรู้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ในเรื่องของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานให้สูงขึ้นกว่าเดิม

2. ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ เช่น งบประมาณให้ครูไปเยี่ยมบ้านนักเรียน และการจัดหาเอกสาร ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เพียงพอ

3. ผู้บริหารควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป

1. ควรมีการดำเนินงานการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บและรวบรวมข้อมูลให้ครอบคลุมในทุกมุมของการดำเนินงาน

2. ควรศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3. ควรมีการศึกษาในเรื่องทัศนคติของชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4. ควรมีการดำเนินงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนา ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน

หมายเลขบันทึก: 593452เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2015 05:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2015 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท