​การพัฒนาครูประจำการ


วิธีการพัฒนาครูประจำการต้องเน้น Learning ในห้องเรียนเป็นหลัก Training ที่จัดนอกโรงเรียน ควรใช้ให้น้อยที่สุด ผมให้สัดส่วน Learning : Training เท่ากับ 90 : 10

การพัฒนาครูประจำการ

ผมได้บันทึกเรื่องการประชุมเสวนา เรื่อง การปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน ที่จัดโดย สนช. เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ที่นี่ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ ได้มีโอกาสพบ ผศ. ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ แกนนำคนสำคัญของการประชุม จึงถามผลจากการประชุม

ได้รับทราบว่า รูปธรรมที่เกิดจากการประชุมคือ จะมีการก่อตั้ง “ศูนย์ฝึกอบรมครูประจำการ” มีการตั้งงบประมาณและมีการเคลื่อนไหวในคณะศึกษาศาสตร์ครุศาสตร์ต่างๆ ผมจึงเรียนท่านว่า ผมเป็นห่วงว่า จะหลงทาง

เพราะ “ศูนย์ฝึกอบรมครูประจำการ” ชื่อมันเน้น training ในขณะที่ผมเชื่อว่าจะก่อผลดีต่อการพัฒนา ครูประจำการต้องเน้น learning และต้องเน้น learning ในห้องเรียนของศิษย์นั้นเอง ไม่ใช่เน้นจับครูไปที่ คณะศึกษาศาสตร์ครุศาสตร์ไปรับการฝึกอบรม เพราะวิธีนี้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลน้อย ก่อผลเสียมากกว่าผลดี

ผมมีความเห็นว่า ควรใช้ชื่อ “ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของครูประจำการ” มากกว่า โดยส่งเสริม (โค้ช) ให้ครูเรียนรู้จากการสังเกตผลลัพธ์การเรียนรู้ในห้องเรียน และให้ครูในโรงเรียนรวมตัวกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า PLC – Professional Learning Community

การพัฒนาครูประจำการควรเน้นเข้าไปให้งบประมาณสนับสนุนที่โรงเรียน ไม่ใช่ให้ไปที่คณะ ศึกษาศาสตร์ครุศาสตร์ เพราะจะเท่ากับไปสนับสนุนกิจกรรมฝึกอบรม ซึ่งผมทำนายไว้ว่า กิจกรรมฝึกอบรม จะไม่มีผลพัฒนาครู และไม่ยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียน เหมือนอย่างโครงการ SP2 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่เกิดผลดีต่อนักเรียนเลย

การพัฒนาครูประจำการรูปแบบหนึ่งทำโดยวิธีการที่พัฒนาขึ้นในโครงการ “พัฒนาครูโดยการ หนุนนำต่อเนื่อง” (Teacher Coaching) ที่ดำเนินการโดย สกว. จากเงินสนับสนุนโดย สพฐ. โดยมี ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่เป็นผู้อำนวยการโครงการ ที่ผมบันทึกไว้ ที่นี่ เป็นระยะๆ เป็นวิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี

ย้ำว่า วิธีการพัฒนาครูประจำการต้องเน้น Learning ในห้องเรียนเป็นหลัก Training ที่จัดนอกโรงเรียน ควรใช้ให้น้อยที่สุด ผมให้สัดส่วน Learning : Training เท่ากับ 90 : 10

วิธีการพัฒนาครู ณ จุดทำงานตามที่ผมเสนอ มีอยู่แล้ว ในโรงเรียนที่เข้า โครงการ Teacher Coaching (ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่เป็นผู้อำนวยการโครงการ) และ โครงการ โรงเรียนสุขภาวะ (รศ. ดร. ประวิต เอราวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการโครงการ), เครือข่าย PLC ที่นำโดย ดร. ฤทธิไกร ไชยงาม แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังตัวอย่าง บันทึกนี้ , และเครือข่าย PLC ครูสอนคณิตศาสตร์ ๒๒ โรงเรียน ที่นำโดย ผศ. ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ สามารถขยายผลจากโรงเรียนเหล่านั้นได้ และมหาวิทยาลัยที่มีทักษะในการทำหน้าที่ โค้ช ก็มีอยู่

วิจารณ์ พานิช

๑๐ มิ.ย. ๕๘

หมายเลขบันทึก: 591038เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 04:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2015 04:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

I had a look at this :

http://www.tepeonline.org/ : TEPE Online
Teachers and Educational Personnels Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Major(s)
การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยยึดถือภารกิจและพื้นที่การปฏิบัติงานเป็นฐาน
[Teachers and Educational Personnels Enrichment Based on Mission and Functional Areas]

and I am not impressed with their English.

[Perhaps they should consider using "Teachers and Educational Personnels Enhancement Based on Mission and Functional Areas" (dropping "as Majors") and consider using "Improvement" instead of enhancement (which is commonly used for "things" - not for persons). "Enrichment" would sound better than "enhancement" but it has an unfortunate association with "wealth or financial improvement". ;-) ]

เรียน ท่านอาจารย์

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ตามที่ท่านเสนอ เพราะหากตั้งสถาบันหน่วยฝึกต่างๆ ก้อจะกลับไปสู่วงจรอุบาทก์เหมือนเดิม มือใครยาว(มหาวิทยาลัยใด มีใต้โต๊ะเยอะ) ก้อ จะได้โควต้าเยอะตามเดิม และเป็นการดึงครูออกจากห้องเรียน น่าจะวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน ตามที่มีอจ.หลายคนทำได้อย่างชัดเจนแล้วค่ะ

ใช่ค่ะ training ละลายงบมาแล้วมากมาย ยิ่งการtraining ให้ทันกับการใช้งบประมาณแล้วด้วยยิ่งน่าอนาจใจค่ะ..อาจารย์

เรียน อาจารย์ที่เคารพรัก

ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมนะคะ ยิ่งเห็นรายชื่อวิทยากรแต่ละคน แล้วตามไปดูประวัติการทำงาน(ประวัติส่วนบุคคล)แล้ว จะสะท้อนผลลัพท์ที่ชัดเจนมากก สอนวิชาพัฒนาหลักสูตร แต่(บางคน)ไม่เคยปรับปรุงหลักสูตร สอนวิชาวิจัย(บางคน) มีแต่ผลงานวิจัยส่วนใหญ๋ขึ้นหิ้งทั้งนั้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท