เรือนจำกึ่งเอกชน


ประเทศฝรั่งเศสได้มีการจัดตั้งเรือนจำกึ่งเอกชน (semi-private prisons) จำนวน 50 เรือนจำ จากทั้งหมด 197 เรือนจำ ดำเนินการในรูปแบบของการบริหารจัดการร่วม (Joint management) ทั้ง 50 แห่ง โดยการดำเนินงานนอกเหนือจากงานด้านการควบคุม และ รักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่แล้ว จะมีการถ่ายโอนงาน (Privatization) บางส่วนให้เอกชนดำเนินการดูแลทุกอย่าง หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การออกแบบและการก่อสร้างเรือนจำ การจัดหาเงินทุน การบำรุงรักษาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ อาหาร ร้านซักรีด ซูเปอร์มาร์เก็ต การทำความสะอาด การขนส่ง การเยี่ยมญาติ การฝึกอบรมอาชีพ และ การทำงานของนักโทษ ฯลฯ โดยมีตัวชี้วัดที่งบประมาณค่าใช้จ่ายเรือนจำ และ คุณภาพการให้บริการที่เพิ่มขึ้น ............................

ในปัจจุบันเรือนจำของประเทศต่างๆ ได้นำแนวคิดเรือนจำกึ่งเอกชนไปใช้ในหลายประเทศ เช่น เรือนจำกึ่งเอกชน บราซิล มีเรือนจำกึ่งเอกชน 26 เรือนจำ ใน 6 รัฐ ที่ได้แบ่งงานบางส่วนให้เอกชนดำเนินการ (Outsource) ญี่ปุ่น มีองค์กรเอกชน JCA ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการฝึกวิชาชีพ จัดทำผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากฝีมือผู้ต้องขัง มีตราสินค้าราชทัณฑ์ว่า CAPIC สิงคโปร์ มีองค์กรเอกชน SCORE เข้ามาทำหน้าที่ดูแลเรื่องการฝึกวิชาชีพภายในเรือนจำ การจัดหาวัตถุดิบ และการตลาด ในละตินอเมริกา ได้แบ่งงานบางส่วนให้เอกชน องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และกลุ่มศาสนาดำเนินการ ชิลี เพิ่งเปิดเรือนจำกึ่งเอกชนใหม่จำนวน 3 แห่ง ในประเทศเบลีซ สมาชิกของสโมสรโรตารีในท้องถิ่นช่วยในการจัดการเรือนจำ และ สหรัฐอเมริกาที่มีเรือนจำกึ่งเอกชนอยู่โดยทั่วไป เป็นต้น สำหรับเรือนจำกึ่งเอกชน (semi-private prisons) ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ เรือนจำกึ่งเอกชนของประเทศฝรั่งเศส โดยจะเป็นการกล่าวถึง ความเป็นมา แนวคิด ความหมาย แนวทางการดำเนินงาน โดยสังเขป ดังนี้

เรือนจำกึ่งเอกชน

ความเป็นมา

เรือนจำกึ่งเอกชน เกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ในปี 1980 ฝรั่งเศสมีการดำเนินการครั้งแรกในปี 1989 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของเรือนจำ และ เพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ สิ่งอำนวยความสะดวกเรือนจำ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนงบประมาณ และปัญหาสภาพเรือนจำที่เก่าและทรุดโทรม และทางรัฐบาลยังถูกแรงกดดันจากประชาชนให้ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของเรือนจำ ลดการผูกขาด ปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง และ เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเปรียบเทียบ

แนวคิด

เรือนจำกึ่งเอกชนในสหรัฐอเมริกา / ฝรั่งเศส ดำเนินการภายใต้แนวคิดที่เหมือนกัน คือ แนวคิด ในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ เนื่องมาจากความเชื่อที่สำคัญหลายประการ เช่น เชื่อว่าการแข่งขันจะทำให้มีการปรับปรุงคุณภาพ ภาคเอกชนมีความเป็นมืออาชีพ และ มีเงินทุนมากกว่าภาครัฐ เรือนจำเอกชนสามารถช่วยแก้ปัญหาความแออัดในเรือนจำของรัฐ การเพิ่มกำลังการผลิตเตียงคุกได้มากขึ้น การลดค่าใช้จ่ายงบประมาณเรือนจำ แนวคิดในการแข่งขันเปรียบเทียบ และ แนวคิดในการลดการผูกขาดการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น

เรือนจำแปรรูปเต็มรูปแบบ/เรือนจำกึ่งเอกชนในสหรัฐอเมริกา

ความหมาย

เรือนจำกึ่งเอกชน เป็นเรือนจำเอกชนประเภทหนึ่งจาก 2 ประเภท คือ เรือนจำเอกชนประเภทเรือนจำแปรรูปเต็มรูปแบบ และ เรือนจำกึ่งเอกชน โดยสามารถให้บทนิยามความหมายของเรือนจำเอกชนทั้ง 2 รูปแบบ ดังนี้

  • เรือนจำเอกชนประเภทแปรรูปเต็มรูปแบบ หมายถึง เรือนจำเอกชนที่บริษัทเอกชนดำเนินงานสิ่งอำนวยความสะดวกเรือนจำทุกอย่าง 100 เปอร์เซ็นต์ หรือสัมปทานเรือนจำ เป็นการดำเนินงานทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการควบคุม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการแก้ไข การออกแบบ การก่อสร้าง และ การจัดหาเงินทุน โดยภาครัฐจะต้องจ่ายค่าทดแทนตามจำนวนนักโทษ หรือจำนวนเตียง ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การออกแบบ การก่อสร้าง ก็เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา ในปัจจุบันเรือนจำเอกชนประเภทแปรรูปเต็มรูปแบบมีดำเนินการในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย



เรือนจำแปรรูปเต็มรูปแบบ/เรือนจำกึ่งเอกชนในสหราชอาณาจักร

  • เรือนจำกึ่งเอกชน หมายถึง เรือนจำของรัฐที่มีการถ่ายโอนงานบางส่วนให้เอกชนดำเนินการ (Privatization) การแบ่งงานงานบางส่วนให้เอกชนดำเนินการ (Outsource) โดยการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างภาครัฐและ บริษัท เอกชน (Joint management) เช่น งานฝึกวิชาชีพ งานจัดการศึกษา งานนำผู้ต้องขังไปศาล งานย้ายผู้ต้องขัง งานจัดหาอาหาร งานซักรีด งานทำความสะอาด และ ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมตลอดถึงการออกแบบก่อสร้างเรือนจำ การออกทุนค่าก่อสร้าง ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแบ่งเบาภาระงานของเจ้าหน้าที่ ลดค่าใช้จ่ายงบประมาณเรือนจำ และ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

แนวทางการดำเนินงาน

สำหรับเรือนจำกึ่งเอกชน (semi-private prisons) ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ เรือนจำกึ่งเอกชนของประเทศฝรั่งเศส ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://owni.fr/2010/11/23/interview-le-juteux-business-des-prisons/ พบว่า นับตั้งแต่ฝรั่งเศสมีกฎหมาย Chalandon ในปี 1987 ที่กำหนดให้รัฐสามารถบริหารจัดการเรือนจำร่วมกับผู้ให้บริการภาคเอกชนรายเดียวหรือหลายราย โดยได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) หรือที่เรียกว่า การบริหารจัดการร่วมกัน (Joint management) เป็นครั้งแรกในปี 1989 ในปัจจุบันฝรั่งเศสได้มีการจัดตั้งเรือนจำกึ่งเอกชน จำนวน 50 เรือนจำ จากทั้งหมด 197 เรือนจำ ดำเนินการในรูปแบบของการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้ง 50 แห่ง โดยในการดำเนินงานนอกเหนือจากงานด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่แล้ว ภาคเอกชนจะดูแลทุกอย่าง หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การออกแบบและการก่อสร้างเรือนจำ การจัดหาเงินทุน การบำรุงรักษาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ กิจการอาหาร บริการทางการแพทย์ ร้านซักรีด ซูเปอร์มาร์เก็ต การทำความสะอาด การขนส่ง การเยี่ยมญาติ การฝึกอบรมอาชีพ และ การทำงานของนักโทษ ฯลฯ

เรือนจำกึ่งเอกชนน็องต์(ขนาดความจุ 570) ฝรั่งเศส (เอกชนออกแบบ ก่อสร้างเรือนจำ และการบำรุงรักษาส่งมอบในปี 2011 ระยะเวลาเช่า 27 ปี)

เรือนจำกึ่งเอกชนลีลล์(ขนาดความจุ 688) ฝรั่งเศส

(เอกชนออกแบบ การก่อสร้างเรือนจำ และ การบำรุงรักษา ส่งมอบในปี 2011 ระยะเวลาเช่า 27 ปี)

เรือนจำกึ่งเอกชน Reau (ขนาดความจุ 798) ฝรั่งเศส

(เอกชนออกแบบ การก่อสร้างเรือนจำและ การบำรุงรักษา ส่งมอบในปี 2011 ระยะเวลาเช่า 27 ปี)

ด้านตัวชี้วัดเรือนจำกึ่งเอกชน ใช้ตัวชี้วัดที่งบประมาณค่าใช้จ่ายเรือนจำที่เพิ่มขึ้นและลดลง หมายความว่าถ้าค่าใช้จ่ายลดลงแต่คุณภาพในการให้บริการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการบริหารจัดการของรัฐถือว่าผ่านตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน จากรายงานผลการดำเนินงานเมื่อ กรกฎาคม 2010 จากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างเรือนจำกึ่งเอกชนและเรือนจำของรัฐ จากตัวชี้วัดงบประมาณค่าใช้จ่ายเรือนจำและคุณภาพการให้บริการ พบว่า ยังไม่มีหลักฐานปรากฏว่าการดำเนินงานของเรือนจำกึ่งเอกชนสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย และ เพิ่มคุณภาพการให้บริการมากกว่าเรือนจำของรัฐ

ทางเข้าเรือนจำกึ่งเอกชนน็องต์ ฝรั่งเศส

โดยสรุป

เรือนจำกึ่งเอกชนในฝรั่งเศสได้มีการดำเนินการ เป็นครั้งแรกในปี 1989 ในปัจจุบันฝรั่งเศสได้มีการจัดตั้งเรือนจำกึ่งเอกชน จำนวน 50 เรือนจำ จากทั้งหมด 197 เรือนจำ ดำเนินการในรูปแบบของการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้ง 50 แห่ง โดยในการดำเนินงานนอกเหนือจากงานด้านการควบคุม และรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่แล้ว ภาคเอกชนจะดูแลทุกอย่าง หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การออกแบบและการก่อสร้างเรือนจำ การจัดหาเงินทุน การบำรุงรักษาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ กิจการอาหาร ร้านซักรีด ซูเปอร์มาร์เก็ต การทำความสะอาด การขนส่ง การเยี่ยมญาติ การฝึกอบรมอาชีพ และ การทำงานของนักโทษ ฯลฯ มีตัวชี้วัดที่งบประมาณค่าใช้จ่ายเรือนจำและคุณภาพการให้บริการที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงแต่จากรายงานของทางการในปี 2010 พบว่า พบว่า ตัวชี้วัดงบประมาณค่าใช้จ่ายเรือนจำและคุณภาพการให้บริการ ยังไม่มีหลักฐานปรากฏว่าการดำเนินงานของเรือนจำกึ่งเอกชนสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพการให้บริการมากกว่าเรือนจำของรัฐ จึงเห็นว่า เรือนจำกึ่งเอกชน มีประโยชน์ จุดดี หรือจุดเด่นในแง่ของการแข่งขันเปรียบเทียบ และ ลดการผูกขาดการใช้อำนาจรัฐ แต่ยังคงมีประเด็นคำถามกรณีที่รายงานของทางการยังไม่มีหลักฐานปรากฏว่าการดำเนินงานของเรือนจำกึ่งเอกชนสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย และ เพิ่มคุณภาพการให้บริการมากกว่าเรือนจำของรัฐและเป็นประเด็นคำถามที่ยังต้องค้นหาคำตอบกันอีกต่อไป

................


เอกสารอ้างอิง

ภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://uconnharassment.tumblr.com/page/60



คำสำคัญ (Tags): #เรือนจำกึ่งเอกชน#แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม#แนวคิดในการแข่งขันเปรียบเทียบ#แนวคิดในการลดการผูกขาดการใช้อำนาจรัฐ#เรือนจำแปรรูปเต็มรูปแบบ#เรือนจำกึ่งเอกชนในสหรัฐอเมริกา#เรือนจำกึ่งเอกชนในสหราชอาณาจักร#เรือนจำกึ่งเอกชนในออสเตรเลีย#เรือนจำแปรรูปเต็มรูปแบบในสหรัฐอเมริกา#เรือนจำแปรรูปเต็มรูปแบบในสหราชอาณาจักร#เรือนจำแปรรูปเต็มรูปแบบในออสเตรเลีย#เรือนจำกึ่งเอกชน หมายถึง#เรือนจำเอกชนแปรรูปเต็มรูปแบบ หมายถึง#การบริหารจัดการร่วมกัน (Joint management)#ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership)#เรือนจำกึ่งเอกชนน็องต์ฝรั่งเศส#เรือนจำกึ่งเอกชนลีลล์ฝรั่งเศส#เรือนจำกึ่งเอกชน Reau ฝรั่งเศส#ตัวชี้วัดเรือนจำกึ่งเอกชน#prison privatization#semi-private prisons#เรือนจำกึ่งเอกชนบราซิล#เรือนจำกึ่งเอกชนญี่ปุ่น#เรือนจำกึ่งเอกชนสิงคโปร์#เรือนจำกึ่งเอกชนในละตินอเมริกา#เรือนจำกึ่งเอกชนในประเทศเบลีซ
หมายเลขบันทึก: 590947เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2015 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2017 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Is there any thinking of or outsourcing prison management to private companies in Thailand?

เงินทุนในการดำเนินการมาจากที่ไหนได้คะ

มันเป็นการลงทุนที่ไม่มีกำไร??

ถึงพี่ sr

การแบ่งงานให้บริษัทเอกชนบริหารจัดการในเรือนจำของไทยมีบ้างแต่เป็นส่วนน้อยครับ เช่น การให้เอกชน เช่น บริษัท รปภ. เข้ามาทำหน้าที่ยามป้อมรักษาการณ์เรือนจำร่วมกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าจะให้ตอบว่าในทางปฏิบัติเรามีไหม ตอบว่ามีแต่ส่วนน้อย แต่ถ้าจะให้ตอบว่าในทางวิชาการหรือทางทฤษฎีเรามีไหม ตอบว่า เราอาจยังไม่เข้าหลักเกณฑ์เพราะเรามีเพียงส่วนน้อย และเท่าที่ทราบเรายังไม่มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบเรือนจำกึ่งเอกชนที่เป็นทางการครับ

ขอบคุณพี่ sr มากครับที่ติดตาม

ถึงพี่ nui

เงินทุนในการดำเนินงานมาจากงบประมาณของเรือนจำซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชนครับ ในสหรัฐ งบประมาณเลี้ยงดูผู้ต้องขัง 1 คนต่อวันประมาณ 50 ดอลล่า ในประเทศไทยเรามีงบประมาณของกรมราชทัณฑ์ซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน ข้อมูลในปี 2555 เรามีงบประมาณสูงถึง 9,297,500,100 บาท และมันเป็นการลงทุนที่มีกำไรมากครับ ซึ่งข้อมูลของกำไร ดังกล่าว ติดตามอ่านในบทความเรื่อง "เจ้าพ่อคุก" และ บทความเรื่อง "เรือนจำเอกชนในสหรัฐร่ำรวยกว่าค้ายาเสพติด" ซึ่งผมจะไดลงเผยแพร่ในเร็วๆนี้ ครับ

ขอบคุณพี่ nui มากน่ะครับที่ติดตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท