ระบบให้เช่านักโทษ (Convict Lease System)


ระบบให้เช่านักโทษ (Convict Lease System) เกิดขึ้นครั้งแรกครั้งแรกในมลรัฐจอร์เจีย และ อลาบามา USA ในปี 1868 ระบบเช่านักโทษได้ใช้มาจนถึงปี 1908 ทางการจึงได้มีการออกกฎหมายห้ามไม่ให้เช่านักโทษ........................

ระบบให้เช่านักโทษ (Convict Lease System) ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www. georgiaencyclopedia.org/nge/Article.jsp?id=h-2635 พบว่า ระบบให้เช่านักโทษเกิดขึ้นครั้งแรกในมลรัฐจอร์เจียและมลรัฐต่างๆทางภาคใต้ USA ที่ภายหลังจากสงครามกลางเมือง (1861 – 1865) รัฐบาลได้ประกาศเลิกทาสทำให้การใช้แรงงานทาสเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เจ้าของที่ดินที่ต้องอาศัยแรงงานทาสสำหรับการเกษตรและการทำงานหนัก จึงประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางการจึงได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการอนุมัติให้เอกชนเช่านักโทษ (1867-1876) โดยได้มีการทำสัญญาเช่านักโทษก่อสร้างทางรถไฟครั้งแรกในรัฐจอร์เจีย และ อลาบามาในปี 1868 ผลปรากฏว่าภายใน 5 ปี นักโทษให้เช่าได้กลายเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐ โดยในปี 1872 และ 1873 นักโทษให้เช่าได้ทำรายได้ให้กับทางรัฐจอร์เจียเป็นเงินมากกว่า 35,000 ดอลล่า ต่อมาในปี 1876 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านกฎหมายรับรองสัญญาเช่านักโทษในรัฐต่างๆ มีการกำหนดระยะเวลาเช่าเวลาอย่างน้อยยี่สิบปี ซึ่งผลของกฎหมาย ดังกล่าว ทำให้มลรัฐต่างๆ มีรายได้จากสัญญาเช่านักโทษเป็นเงินมากกว่า 500,000 ดอลล่า และจากอิทธิพลของสื่อมวลชนที่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติต่อนักโทษอย่างไร้มนุษยธรรมและการทารุณนักโทษให้เช่า และ การผลักดันจนมีการออกกฎหมายห้ามไม่ให้เช่านักโทษ ในปี 1908

ต่อมาในปี 1940 สื่อมวลชนระดับชาติเคลื่อนไหวเปิดเผยข้อมูลการทำงานของนักโทษที่มีการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมและการทารุณนักโทษ ผลการสืบสวนของข้าหลวงเอลลิส อาร์นัล ได้ความว่าการให้นักโทษในจอร์เจียทำงานไม่มีการทารุณนักโทษ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักโทษ และ รัฐจอร์เจียยังคงใช้นักโทษในลักษณะของแรงงานราคาถูกทำงานในโครงการก่อสร้างที่สำคัญต่างๆ เช่น การตกแต่งริมถนน และ อื่นๆ เป็นต้น

โดยสรุป

ภายหลังจากการออกกฎหมายห้ามไม่ให้เช่านักโทษ ในปี 1908 ในปัจจุบันการใช้แรงงานนักโทษใน USA ทั้งเรือนจำของรัฐและเรือนจำเอกชนทั้งของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ จักต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ฉบับ คือ Prison Industry Enhancement Act 1979 ที่ออกโดยสภาคองเกรส และ กฎหมายในรูปแบบของนโยบายและ แนวทางปฏิบัติ (Framework & Government Policy) ของสมาคมอุตสาหกรรมมลรัฐ ตามที่สภานิติบัญญัติของรัฐบาลมลรัฐกำหนด

................................






ความเห็น (7)

เป็นความรู้ใหม่ที่ไม่ทราบมาก่อน

ขอบคุณค่ะที่นำมาให้อ่าน

นักโทษที่เรือนจำให้ออกไปทำงานให้เอกชนคงได้ค่าแรงที่เหมาะสมเช่นเดียวกับคนทั่วไปนะคะ ในสหรัฐถ้าเขา

ออกกฏหมายหรือระเบียบใด ๆมักคิดค่อนข้างละเอียดรอบคอบ คงไม่ปล่อยให้ผู้คุมอมค่าแรงนักโทษง่าย ๆนะคะ

ขอบคุณอาจารย์อร วรรณดา และอาจารย์ผศ.ดร. กัลยา ธรรมพงษา ที่ติดตามและแสดงความเห็น กรณีความเห็นของ อาจารย์ผศ.ดร. กัลยา เรื่องค่าแรงนักโทษในสหรัฐคงได้ค่าแรงที่เหมาะสมและคงไม่ปล่อยให้ผู้คุมอมค่าแรงนักโทษ นั้น ความเห็นของอาจารย์ถูกต้องแล้วครับ เพราะในปัจจุบัน Prison Industry Enhancement Act 1979 ได้กำหนดให้การจ่ายค่าจ้างจะต้องเป็นการดำเนินการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในอัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่จ่ายสำหรับการทำงานที่คล้ายกันในภาคเอกชนท้องที่เดียวกัน ซึ่งเป็นค่าแรงที่สูงมาก ส่วนการปฏิบัติต่อนักโทษอย่างไร้มนุษยธรรมและการทารุณนักโทษให้เช่าหรือการอมค่าแรงนักโทษ นั้น เป็นเหตุการณ์เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันยังมีข้อครหาอยู่บ้างในกรณีของเรือนจำเอกชนที่มีการล็อบบี้สภานิติบัญญัติมลรัฐในการออกกฎหมาย ซึ่งในรายละเอียดผมเคยเขียนไว้ในบทความเรื่อง "เจ้าพ่อคุก" เผยแพร่อยู่ในเว็บไชต์ฐานข้อมูลวิจัยกรมราชทัณฑ์ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท