การจัดการตลาดไม้ประดับ


การจัดการตลาดไม้ประดับ

การจัดการตลาดไม้ประดับ

ในปัจจุบันตลาดไม้ประดับในประเทศไทยจัดว่ามีมูลค่ามหาศาล โดยตลาดไม้ประดับครอบคลุมทั้งไม้ประดับขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่อย่างไม้ขุดล้อม เราจะเห็นว่าธุรกิจร้านขายต้นไม้ประดับเราสามารถพบเห็นได้มากมาย ทั้งนี้เนื่องจากคนทั่วไปเห็นความสำคัญของการปลูกต้นไม้มากขึ้น ทั้งปลูกเพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อเป็นงานอดิเรก

ไม้ประดับจัดเป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนควรเริ่มต้นศึกษาจากต้นน้ำคือกระบวนการผลิต ซึ่งถือเป็นกระบวนการได้มาซึ่งสินค้าที่จะนำไปสู่ปลายน้ำ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคสุดท้าย การจัดการการตลาดไม้ประดับมีประเด็นที่ควรนำมาพิจารณา ดังนี้

1. ที่ดิน สำหรับการผลิตไม้ประดับไว้ขาย ที่ดินมีความหมายมากกว่าการเลือกทำเลที่ตั้ง ดังเช่นการเลือกทำเลที่ตั้งของการผลิตสินค้าชนิดอื่น โดยสินค้าทั่วไปมักเลือกที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งผลิต หรืออยู่ใกล้กับแหล่งบริโภค แต่การเลือกทำเลที่ตั้งในการผลิตสินค้าเกษตร เช่น การผลิตไม้ประดับ ฯลฯ จะต้องพิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำเลที่ตั้งมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมหรือไม่ มีแหล่งน้ำพอไหม อยู่ในเขตแนวฝนตกชุกหรือเขตแห้งแล้ง มีความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากในการผลิตไม้ประดับ ถ้าสามารถเลือกทำเลที่มีความเหมาะสม จะทำให้มีต้นทุนทางการผลิตลดต่ำลงนั่นเอง

2. แรงงาน ในการผลิตไม้ประดับ แรงงานถือเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในการทำกิจกรรมในระดับฟาร์มยังคงต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในการทำ กิจกรรมต่างๆ เช่น การเตรียมดินปลูก การกรอกถุงดิน การย้ายต้นกล้า การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช เป็นต้น

3. ทุน ในการผลิตไม้ประดับแต่ละชนิด การใช้ทุนก็จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของต้นไม้ และขนาดของต้นไม้นั้นๆ เช่นถ้าเลือกปลูกไม้ประดับที่เติบโตได้ดีในสภาพอากาศปกติ ทุนในการจัดการผลิตก็ไม่สูงมาก แต่หากเลือกปลูกไม้ประดับที่ต้องทำโรงเรือนปิดเพื่อควบคุมอุณหภูมิและความ ชื้น ก็จะทำให้ทุนในการจัดการสูงขึ้น เป็นต้น

4. การประกอบการ การผลิตไม้ประดับเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดนั้น มีปัจจัยที่สำคัญ เช่น ชนิดของต้นไม้ประดับ ความรู้หรือเทคโนโลยี ความสามารถในการบริหารจัดการ และประสบการณ์ในการบริหารหรือปฏิบัติงาน เป็นต้น ทั้งนี้ต้นไม้ประดับต่างชนิดกันก็อาจมีการจัดการต่างกันด้วย

การ จัดการไม้ประดับซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีชีวิตจะมีความยุ่งยากในการจัดการดูแล มากกว่าสินค้าไม่มีชีวิต โดยปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งคือปัจจัยที่ใช้ในการดูแลรักษาต้นไม้ ประดับเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ สามารถนำไปเป็นต้นพันธุ์ในการขยายพันธุ์ต่อไป หรือนำไปขายต่อให้กับผู้ซื้อได้ ทั้งนี้อาจมีการใช้สารควบคุมกำจัดโรคและแมลง การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน เพื่อให้ต้นไม้โตเร็ว แข็งแรง มีผลผลิตสูง เป็นต้น

การ นำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้จะต้องเตรียมการคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆไว้ล่วง หน้า และเตรียมกลยุทธ์ในการแก้ไขรองรับ และต้องตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อพร้อมทึ่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง หรือปัญหาทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝัน

ในการผลิต และจำหน่ายไม้ประดับ นอกจากจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติการเติบโตของต้นไม้ชนิดนั้นแล้ว เกษตรกรผู้ดูแลควรมีความรับผิดชอบ มีความอดทนต่องานหนัก เป็นคนช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ วางแผนได้ดี และมีความสามารถในการตัดสินใจได้ดี รวดเร็ว ไม่เกี่ยงเวลาทำงาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด หากเกิดปัญหาขึ้นจะต้องเข้าไปทำการแก้ปัญหาได้ทันที เนื่องจากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในฟาร์มเป็นปัญหาที่เกิดกับต้นไม้ซึ่งเป็น สิ่งมีชีวิต หากแก้ไขไม่ทันเวลา อาจทำให้ต้นไม้ตายได้

ความ รู้ในการจัดการการผลิตและการตลาดต้นไม้ประดับได้รับการเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆจากการทำงาน เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจในผลการประยุกต์ใช้ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆนั้นเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการของตนเองให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

5. การจัดการความไม่แน่นอน สำหรับการจัดการการตลาดไม้ประดับ เกษตรกรจะเผชิญกับภาวะความไม่แน่นอน 2 ประการหลักคือ ความไม่แน่นอนของภาวะตลาด และความไม่แน่นอนของธรรมชาติ

1) ความไม่แน่นอนของภาวะตลาด เป็นความไม่แน่นอนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจนี้ หากส่งผลกระทบในทางที่ดีก็จะทำให้ธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ เพราะอาจมีผลทำให้ความต้องการต้นไม้ประดับของตลาดเพิ่มสูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากภาวะเศรษฐกิจดี ประชาชนมีเงินเหลือใช้ก็จะทำให้อยากตกแต่งบ้าน มีผลทำให้ธุรกิจไม้ประดับเติบโตตามไปด้วย เป็นต้น

2) ความไม่แน่นอนของธรรมชาติ การผลิตไม้ประดับซึ่งถือเป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่ง ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน แสงแดด ตลอดจนสภาพของดินที่ใช้ปลูก

ในการจัดการการตลาดไม้ประดับจำเป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน และประสบการณ์ในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ เกษตรกรจะได้เตรียมหามาตรการ หรือกลยุทธ์ในการบริหารจัดการตลาดไว้รองรับได้ทันท่วงที

เชน ม่วงสกุล ผู้เรียบเรียง

13 พ.ค. 2558

หมายเลขบันทึก: 590188เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท