จริยธรรมข้าราชการราชทัณฑ์


จริยธรรมข้าราชการราชทัณฑ์ของสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ของมลรัฐต่างๆใน USA ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ โดยหลักการที่สำคัญของจริยธรรม ดังกล่าว กำหนดขึ้นภายใต้แนวคิด การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจจริต เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การให้บริการอย่างมืออาชีพ การยึดหลักสิทธิมนุษยชน และ เคารพกฎหมาย ซึ่งในทางปฏิบัติกรมราชทัณฑ์ทุกมลรัฐใน USA เป็นสมาชิกของสมาคมฯ และจะต้องยึดหลักจริยธรรม ดังกล่าว เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน......................................


จริยธรรมข้าราชการราชทัณฑ์


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.


จริยธรรมข้าราชการราชทัณฑ์ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ จริยธรรมของสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน หรือสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์ ฉบับที่ 124 สิงหาคม 1994 เป็นมาตรฐานทางด้านจริยธรรมของข้าราชการกรมราชทัณฑ์มลรัฐต่างๆ ใน USA ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ สำหรับใช้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านจริยธรรมโดยทั่วไป โดยจะเป็นการกล่าวถึง แนวคิด และ หลักการสำคัญต่างๆ ตามข้อมูล ที่ปรากฏในเว็บไซต์ http://www.fdle.state. fl.us/ Content/CJST/Menu/Officer-Requirements-Main-Page/CO-Ethical-Standards-of-Conduct.aspx โดยสังเขป ดังนี้


การบังคับใช้จริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์


  • แนวคิด
    • การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจจริต
    • การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
    • ให้บริการอย่างมืออาชีพ
    • ยึดหลักสิทธิมนุษยชน และ
    • เคารพกฎหมาย


จริยธรรมข้าราชการราชทัณฑ์ของสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน


  • หลักการสำคัญ
    • สมาชิกจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ มีความตั้งใจ ห่วงใยสุขภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่มีผลประโยชน์ ส่วนตน
    • สมาชิกจะต้องรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การเคารพซึ่งกันและกันในอาชีพและ มีการปรับปรุงคุณภาพ ของการบริการ
    • สมาชิกจะต้องรักษาความเป็นกลางและไม่เลือกปฏิบัติ
    • สมาชิกจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันขันแข็ง
    • สมาชิกจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ งดเว้น จากการรับค่าตอบแทน หรือ ของขวัญใด ๆ ในการบริการประชาชน
    • สมาชิกจะต้องเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างบุคคล
    • สมาชิกจะต้องรายงานพฤติกรรมที่เสียหาย หรือ ผิดจริยธรรมและมีหลักฐานเพียงพอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • สมาชิกจะต้องละเว้นจากการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ชาติกำเนิด อายุ เพศ ความเชื่อ ความพิการ หรืออื่น ๆ
    • สมาชิกจะต้องรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ละเว้น จากการเปิดเผยข้อมูลที่ห้ามเปิดเผยต่อสาธารณชน เว้นแต่ เป็นข้อมูล ที่ได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้ง
    • สมาชิกจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ และ ข้อบังคับของทางราชการทำในการทำสัญญาข้อตกลง หรือ การเลิกจ้าง
    • สมาชิกจะต้องจัดสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและปราศจากการคุกคามหรือการรบกวนในรูปแบบใดๆ
    • สมาชิกจะทำงานอย่างสร้างสรรค์ โปร่งใส ตรวจสอบได้
    • สมาชิกจะต้องปฏิบัติงาน ปรับปรุงความร่วมมือ ให้ความเคารพ และให้ความสำคัญกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทุกหน่วย
    • สมาชิกจะต้องให้เกียรติ เคารพสิทธิของประชาชน ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และการปฏิบัติต่อประชาชนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
    • สมาชิกจะต้องเคารพและปกป้องสิทธิของประชาชนที่จะได้รับจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
    • สมาชิกจะต้องละเว้นจากการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ของตน
  • โดยสรุป จริยธรรมข้าราชการราชทัณฑ์ของสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ของมลรัฐต่างๆ ใน USA ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ โดยหลักการที่สำคัญของจริยธรรม ดังกล่าว กำหนดขึ้นภายใต้แนวคิด การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจจริต เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การให้บริการอย่างมืออาชีพ การยึดหลักสิทธิมนุษยชน และ เคารพกฎหมาย ซึ่งในทางปฏิบัติกรมราชทัณฑ์ทุกมลรัฐใน USA เป็นสมาชิกของสมาคมฯ และจะต้องยึดหลักจริยธรรม ดังกล่าว เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน


คำสำคัญ (Tags): #จริยธรรมข้าราชการราชทัณฑ์#จริยธรรมของสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน#จริยธรรมของสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์#ข้าราชการราชทัณฑ์จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจจริต#ข้าราชการราชทัณฑ์จะต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์#ข้าราชการราชทัณฑ์จะต้องให้บริการอย่างมืออาชีพ#ข้าราชการราชทัณฑ์จะต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน#ข้าราชการราชทัณฑ์จะต้องเคารพกฎหมาย#จริยธรรมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์#ราชทัณฑ์มืออาชีพ#ข้าราชการราชทัณฑ์มืออาชีพจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจจริต ถ้าไม่ซื่อสัตย์สุจจริตไม่ใช่ข้าราชการราชทัณฑ์มืออาชีพ#จรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
หมายเลขบันทึก: 589917เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2015 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2015 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์ขจิต ฝอยทอง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท